"ดัชนีกระรอก" กับการศึกษาระดับสูง


สืบเนื่องจากบันทึกของอาจารย์กมลวัลย์ เรื่องเจ้า world-class university นี่มันเป็นยังไงนะ? ตามมารยาท เมื่อจะเขียนเรื่องต่อ ก็ควรตามไปแจ้งอาจารย์ก่อนครับ แต่ว่าอาจารย์เขียนต้นเรื่องในบล๊อกนานาสาระกับอุดมศึกษาไทย ถ้าจะเอาเรื่องไม่เป็นเรื่องไปโพสไว้ในบล๊อกของอาจารย์ก็ใช่ที่ ขอโทษอาจารย์ไว้ตรงนี้ก็แล้วกันครับ

พูดถึงการวัด สหรัฐชอบเก็บสถิติ ตั้งข้อสังเกตอะไรแปลกๆ คือเขาใช้ดัชนีการพบเห็นกระรอก (Squerril) ในเขตมหาวิทยาลัย เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพของสถาบันการศึกษาครับ เรื่องนี้จะว่าแปลกก็แปลก จะปฏิเสธก็พูดไม่ถนัด

คือว่ากระรอกป่าที่เขาใช้วัด มีชีวิตอยู่ในธรรมชาติ หากกระรอกจะมีชีวิตอยู่ได้ ก็ต้องมีอาหารตามธรรมชาติ หมายความว่าเขตของมหาวิทยาลัยต้องมีต้นไม้ มีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร หากเขตของมหาวิทยาลัยอยู่ในธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผู้คนมีจิตใจเป็นโอบอ้อมอารี ไม่ทำร้ายสัตว์ บางทีอาจอนุมาณได้ว่ามหาวิทยาลัยนั้น มีสภาพแวดล้อมสมกับเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูง

มีคนชอบ ก็มีคนไม่ชอบ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยบางแห่ง วางยาเบื่อกระรอกครับ ชื่อมหาวิทยาลัยก็ปรากฏอยู่ในรายชื่อ แต่มีคะแนนติดลบ

ส่วนบ้านเรา กระรอกถ้าไม่ร้อนตายหมด ก็คงอดตายครับ

บางทีเมืองไทยอาจใช้กระรอกวัดมหาวิทยาลัยไม่ได้เนื่องจากภูมิอากาศต่างกับสหรัฐ ว่าแต่ว่าเรามีสัตว์อะไรที่ใช้วัดได้ไหมครับ?

หมายเลขบันทึก: 93303เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2007 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ตอนที่ลูกชายผมเรียนที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล ศาลายา ผมไปส่งบ้าง ไปประชุมผู้ปกครองบ้าง ไปดูลูก recital (แสดงดนตรี) บ้าง เกือบทุกครั้งที่ไปจะเห็นตัวตะกวด บางทีขึ้นมาผึ่งแดดกันเป็นฝูงเลย บางตัวก็ใหญ่มาก จากหัวถึงหางยาวเป็นเมตรได้กระมัง เด็กๆ เรียกตัวใหญ่นี้ว่า "ท่านขุน" ลูกผมเรียนจบแล้ว ผมจึงไม่ได้ไปอีก แต่คิดว่าสัตว์เหล่านี้น่าจะยังคงอยู่ เพราะลำคลอง(ลำน้ำ)ต่างๆ ในมหาวิทยาลัยก็ยังคงอยู่ สองข้างคลองก็ยังเป็นป่า มีต้นไม้หนาแน่น และคงมีปลาอุดมสมบูรณ์ให้พวกมันดำรงชีวิต(เผ่าพันธุ์)อยู่ที่นั่นได้ ความจริงพวกมันอยู่กันมาก่อนที่มหาวิทยาลัยจะไปตั้งด้วยซ้ำ

อีกที่หนึ่ง คือมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ราชบุรี มีลิงเยอะมากๆๆๆๆ เลยครับ เต็มมหาวิทยาลัยเลยครับ ทั้งที่เดินไปมาบนถนนและพื้นที่ต่างๆ ทั้งบนต้นไม้ และที่ชอบขึ้นมานั่งบนหลังคารถ หรือในกระบะของรถกระบะ รถผมไปจอดแผล็บเดียวหันกลับมาลิงขึ้นไปนั่งอยู่บนหลังคาแล้ว แต่ไม่มีปัญหาอะไรครับ เพราะเป็นลิงที่ดูท่าทาง friendly พอเราจะเอารถออกเขาก็กระโดดลง (คงไม่อยากติดรถเรากลับกรุงเทพฯ) ที่ประมาณเอาด้วยสายตา น่าจะเป็นร้อยตัว โดยทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ลูกเล็กเด็กแดง(ลูกลิง)ที่แม่กระเตงกันอยู่ก็มีไม่น้อย เดินไปเดินมาขวักไขว่ ตัวโตๆ เวลาเดินสองเท้าอาดๆ ดูเหมือนคนใส่เสื้อขนสัตว์ แสดงท่าเจ้าพ่อ(มาเฟีย) และชอบอยู่แถวๆ โรงอาหาร อยู่รอบๆ ถังขยะก็เยอะ  ได้เศษอาจารย์จากนักศึกษาหรืออาจารย์กิน

ถ้าฝรั่งใช้กระรอก เราจะใช้ตะกวดและลิงได้ไหมครับ?

บ้านเราต้องวัดที่ "วัด" ค่ะ แหล่งปล่อยสัตว์

อนึ่ง แถวบ้านยังมีกระรอกให้เห็นทุกวันค่ะ แปลกดีเหมือนกัน กลางเมือง (มลพิษ) แท้ๆ ก็ยังมีแฮะ
แต่ตอนสมัยอยู่เชียงใหม่ จะเจอ "กบ เขียด" โดนรถทับประจำ ถือ "กบ เขียด" เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ได้ไหมคะ

จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ขออย่าเป็นหนูหรืองูก็แล้วกันครับ

ถ้าวัดด้วยหนูหรืองูู เมืองไทยจะเป็นมหาอำนาจ เพราะมีแต่คุณหนูกับหัวงูเต็มไปหมด (แต่ทั้งสองอย่างจบออกมาแล้ว ทำอะไรไม่ค่อยเป็น เป็นโรคหัวใจทั้งคู่)

สวัสดีค่ะคุณ P Conductor

ขอบคุณค่ะที่กรุณาช่วย reference ให้ ดีแล้วที่ไม่ได้ไปเขียนข้อคิดเห็นต่อในบันทึกเก่า เพราะว่าอาจจะไม่มีคนตามไปอ่านบันทึกเก่าค่ะ แต่ถ้าขึ้นต้นใหม่ที่ blog ของคุณConductor จะได้ผู้อ่านมาร่วมให้ความเห็นอีกเยอะเลยค่ะ

เรื่องกระรอกนั้น ตอนอยู่อเมริกาก็เห็นอยู่เยอะค่ะ แต่ไม่ยักจะรู้ว่าเขามีดัชนีกระรอกกันด้วย : ) แต่จะบอกว่าที่มหาวิทยาลัยที่เมืองไทยก็ยังมีอยู่พอควรค่ะ มองไปนอกหน้าต่างห้องทำงาน (พอดีมีต้นหูกวางใหญ่ กับมีชมพู่อยู่ไม่ไกลนัก) ก็มีให้เห็นตัว สองตัวเสมอค่ะ

สัตว์อื่นที่มี ก็ประเภท สุนัขไม่มีเจ้าของค่ะ ; ) เต็มเลยค่ะ มีคนใจดีเลี้ยงข้างแต่ไม่เอากลับบ้านค่ะ

P

เมื่ออ้างถึง กระรอก ก็นึกถึงวัดที่อาตมาอยู่ขณะนี้... แม้จะเป็นวัดย่านไชน่าทาวว์... แต่ก็มีกระรอกอยู่ในวัดเล็กน้อย เพราะมีไม้ใหญ่อยู่ในวัดหลายต้น...

ตอนอยู่ มช. ก็เคยมีความเห็นต่างภายในเรื่องการกำจัดสุนัขในมช. มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย....

ความเห็นของคุณโยม [ minisiam ] โดนใจอาตมามากเลย จะไปเขียนเรื่องหมาแมวใน เรื่องเล่าจากในวัด ...

เจริญพร

What do you know, U of North Texas has made the list of 4 squirrels - on the scale of 5 squirrels being the best.

We do have an Albino Squirrel Preservation Society (ASPS) - here's photos of the campus of the squirrels.

History of the ASPS
   For years, stories had told of a special squirrel living on campus. A squirrel different from the others. A squirrel lacking pigmentation. In effect, an albino squirrel. The type of squirrel that could bring good luck to any student who spotted it before an exam. After hearing of such stories, evidence was sought. On a sunny day in the spring of 2002, T.J. Zambrano spotted and photographed this creature (see the very first picture here) and dedicated himself to raising awareness of this magnificent creature. The following fall, the Albino Squirrel Preservation Society at the University of North Texas was founded.

What We Do
   The ASPS exists to raise awareness of our albino squirrel, both to students at North Texas and to others in general. We are on a mission to provide a safe environment for all squirrels, especially of the albino variety. We must protect them at whatever costs necessary, and educate others to their existence

I guess squirrels on campus won't survive "modernization" if the community do not preserve them. 

Here's for Thai cats and dogs to envy - City of Denton's Dog Park - a playground for large and small/shy dogs  to roam around and play. It's close to my house, but since I don't have a dog, I rode a bike around instead.

Here's Denton city plan in the year 2020 (200+pages). This is a small town of close to 200,000 population. There are 3 public libraries, half a dozen public parks, and one dog park.

I wonder how many public libraries, parks and dog parks are there in BKK? 

 

ศราวุธ จันไตรรัตน์

ใช่ครับผม  และ  มจธ.  หลักสูตร  ค.อ.ม. วิศวกรรมเครื่องกลก็เป็นเช่นนี้ครับผม  คือมีคุณภาพครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท