kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

ประสบการณ์ในการนำเสนอผลงานวิชาการ


ได้มีโอกาสครั้งหนึ่งที่ได้ไปนำเสนอผลงานวิชาการเพื่อคัดเลือกเป็นผลงานวิชาการยอดเยียมของกระทรวงสาธารณสุขปี 2549

เมื่อวันที่ 3 พ.ค.50 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปนำเสนอผลงานวิชาการเพื่อคัดเลือกเป็นผลงานวิชาการยอดเยี่ยมของกระทรวงสาธารณสุข ที่พัทยา  หลังจากที่ได้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการเมื่อปีที่แล้วและได้รับการคัดเลือกว่าเป็นผลงานวิชาการดีเด่น  จากประสบการณ์ในการประชุมวิชาการครั้งนั้น และการนำเสนอวิชาการในครั้งนี้ พบว่าบรรยากาศในการนำเสนอไม่เหมือนกันเลย  อาทิ

1. เป็นการนำเสนอรวมกันทุกสายงาน โดยแบ่งเป็นงานเชิงปริมาณ และงานเชิงคุณภาพ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ 1-2 คน เป็นผู้วิพากษ์ และมีผู้วิพากษ์สายงานอื่นอีก 4-5 คน ทำให้บรรยากาศไม่คุ้นเคย และการนำเสนอหากเป็นผลงานที่เป็นเฉพาะด้าน ผู้วิพากษ์ท่านอื่น ๆ จะไม่รู้เรื่อง ดังนั้นผลงานต้องเขียนให้อ่านได้รู้เรื่องทั้งวิชาชีพคนเอง และวิชาชีพอื่น ๆ

2. บรรยากาศจะค่อนข้างเคร่งเครียด เหมือนกับการสอบวิทยานิพนธ์  ทั้งที่กรรมการบอกว่าอย่าทำหน้าเครียด จริง ๆ แล้วผมไม่เครียดแต่บรรยากาศที่ไม่คุ้นเคย อาจทำให้หน้าเครียดโดยไม่รู้ตัว จนกรรมการต้องพูดแซวตลอดรายการที่วิพากษ์

3. อย่าคิดว่าผ่านการเลือกเป็นผลงานดีเด่นแล้ว ผลงานจะดีพอใช้ได้ เพราะผลงานของผมเมื่อตนนำเสนอเป็นผลงานดีเด่น ไม่โดนวิจารณ์ เลย แต่ในครั้งนี้ผมโดนวิจารณ์ว่าให้กลับไปเรียนหนังสือใหม่  ทั้ง ๆ ที่ผมก็จบปริญญาโทไปแล้ว  สงสัยต้องไปเรียนปริญญาเอกต่อ   

4. Mehodology ต้องแข็งแรงมาก ๆ  เพราะผู้วิพากษ์เน้นเรื่องนี้มาก ๆ  จะทำเป็นแบบลูกทุ่ง ๆ  หรือ R2R สงสัยคงจะไม่ได้  ยิ่งผลงานเป็นการวิจัยเชิงทดลองแล้ว ต้องรอบคอบจริง ๆ

5. งานนี้ตอนแรกผมจะไม่ไปนำเสนอเพราะรู้ว่าผลงานมีข้อจำกัดมาก ๆ  แต่เกรงใจผู้จัดและผู้อำนวยการ จึงทำให้รายงานการวิจัยที่ส่งไปก่อนทำได้ไม่ดีนัก ผู้วิพากษ์จะวิพากษ์ตามรายงานการวิจัย เป็นส่วนมาก ดังนั้นต้องเตรียมรายงานการวิจัยดี ๆ เหมือนจะส่งลงวารสารวิชาการสาธารณสุข 

6. สุดท้าย ผมคิดว่าควรจะให้โอกาสผู้เสนอผลงานวิจัยว่าต้องการประกวด หรือต้องการเผยแพร่ผลงานอย่างเดียว เพราะการนำผลงานไปแข่งขันกัน ทั้งที่ต้นทุนไม่เหมือนกัน เช่นบางเรื่องเป็นผลงานที่ต้องการทำ ปริญญาโท หรือ เอก งานที่ทำในชุมชนจะไปสู้ได้อย่างไร

สุดท้าย นับเป็นโอกาสที่หาได้น้อยที่ได้ไปร่วมในการนำเสนอเสนอครั้งนี้  แต่อย่างไรก็ตามประสบการณ์ที่ได้มา ทำให้รู้ว่าความรู้ของเรามีแค่เพียงน้อยนิด  เหมือนกับเป็นกบในกะลา การได้ไปเรียนรู้โลกภายนอกทำให้เราเปิดโลกทรรศน์ และได้มุมมองที่กว้าง และทำให้เราละเอียดรอบคอบ และต้องการค้นหาความรู้ ให้มากกว่านี้ .... ความรู้ไม่สิ้นสุด  และไม่คงที่  ................ ขอบคุณสำนักวิชาการสาธารณสุข ครับ  

 
 
หมายเลขบันทึก: 95000เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2007 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • แหม แบบนี้ก็ต้องไปเรียนปริญญาเอกต่ออีก ใช่ไหมคะ หมอก้อง
  • เชียร์ เชียร์ ค่ะ
ขอบคุณพี่นน ที่เข้ามาให้กำลังใจ ครับ

บทสรุปสั้น ๆ แต่ได้อารมณ์พอสมควร เพราะเพิ่งจะผ่านฉากนี้มาเมื่อไม่นาน ถ้าเป็นดิฉันถูกอาจารย์บอกให้กลับไปเรียนอีกหรือกลับไปเรียนใหม่ เพราะ ... อะไรก็แล้วแต่ คงล้มลงไปนอนหงายท้อง ตายไปเลยค่ะ

อยากเป็นกำลังใจให้นะคะ เมื่อมีครั้งที่หนึ่งแล้ว เชื่อว่าเวทีนี้อีกไม่นานเกินรอ จะต้องได้ต้อนรับหมอก้องในฐานะ candidate เหมือนเช่นเคย

ขำขำค่ะ มือไปกด enter ก่อน ยังโม้ไม่เสร็จ

ปริญญาเอกถ้าอยากเรียนก็อนุโมทนา สาธุค่ะ แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนหมอจะบอกว่าให้กลับไปเรียนใหม่ไม่เอาแล้ว

ถ้างานหน้าเรียนทางลัดพอไหวมั๊ยคะ เช่น ขอความกรุณาเชิญอาจารย์ที่วิพากษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา R2R เรื่องต่อไป ปีหน้าอาจมีครั้งที่สองก็ได้ค่ะ

หมอก้อง สู้...สู้

                                                                DAENG...D

        แอบเป็นกำลังใจให้คะ    นับได้ว่าหมอก้อง เป็นนักวิชาการนำร่อง  ของศูนย์ฯ คนหนึ่งที่เดียว    ที่คนในหน่วยงาน  ควรเอาเป็นแบบอย่าง 

         แต่ที่หมอถูกแซว ว่าดูหน้าเครียด  ขอแนะนำให้หมอยิ้มมากๆ  คะ  เพราะจะช่วยลดความเครียด  และที่สำคัญ  อีกอย่างคือ  ดีต่อสุขภาพจิต   ทั้งของตนเองและผู้ร่วมงานคะ 

          ขอเป็นกำลังใจกับหมอก้อง   สู้  สู้  เพื่อองค์กร   และเป้าหมาย คือประชาชน   นะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท