โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

ประสบการณ์ fammed ตอนที่ 3


"ระบบการเรียน fammed"

     หลังจากผมได้เป็นแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว(fammed)ได้พบเพื่อนที่มีความสนใจเดียวกันก็รู้สึกดีขึ้น ระบบการเรียนของแพทย์ประจำบ้านปี1 จะต้องไป workshop 1 เดือนมีการรวมแพทย์(fammed) ทั่วประเทศ มีการบรรยายที่มีประโยชน์กับแนวคิดพื้นฐานงาน primary care มีผู้มีประสบการณ์ด้านนี้มาเล่าเรื่องราวการทำงานให้ฟัง ได้ไปดูงานในที่ๆเริ่มสร้างระบบ primary care ที่ดีในบริบทเมืองไทย และที่สำคัญได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นการเติมไฟในการเรียนรู้ให้มากขึ้น workshop จะมีปีละ 1-2 ครั้ง          

           พอกลับมาที่ภาควิชาต้องไปขึ้น ward ต่างๆ ก็เริ่มที่จะอึดอัด ได้เดินตามแพทย์ประจำบ้าน/อาจารย์ของภาควิชาอื่นๆ ถ้าเรามีความสัมพันธ์ที่ดีหรือถ้าเขามีมนุษย์สัมพันธ์ดีเราก็จะมีความสุข แต่ถ้าเขามี attitude ที่ไม่ดีกับ fammed เราก็จะกดดัน หลายครั้งถูกถามว่ามาเรียน fammed ได้อะไร(ส่วนใหญ่เป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ)ทุกวันศุกร์เราจะกลับมารวมกันที่ภาค fammed เล่าความทุกข์ของกันและกัน เป็นช่วงเวลาที่ดีในตอนนั้น ช่วงบ่ายจะมี conference ที่เตรียมกันเอง มีอาจารย์เข้าฟัง พยายามเตรียมหัวข้อที่เป็นการมองปัญหาแบบ fammed แต่ก็ยังขาดประสบการณ์ อาจารย์ก็ไม่ได้ทำให้เรากระจ่างนัก         

         พอขึ้นปี 2 เริ่มวิจัย ผมทำหัวข้อเรื่อง diabetic education เปรียบเทียบกระบวนการกลุ่ม/การบรรยาย ได้เรียนรู้ระเบียบวิธีวิจัย+ได้เรียนรู้การทำโครงการ+ได้เรียนรู้การติดต่อราชการ(ผมไปทำที่ รพ. เทศบาล+ขอทุน สสส.) เป็นช่วงที่เหนื่อยมาก(แต่เกิดผลที่คุ้มค่าในเวลาต่อมา)  

         ช่วงปี 3 เป็นปีสุดท้ายที่สำคัญ มีโอกาส elective 6 เดือน(เป็น elective จริงๆจะไปไหนก็ได้ ไม่ใช่ selective นะ HA HA) ผมไป fammed รามา พบอาจารย์สายพิณ สัมผัสระบบที่เป็น fammed academic จริงๆ มีความเป็นตัวตนของ fammed ที่ชัดเจนที่สุดใน 3 ปีที่ผมเรียนมา หลังจากนั้นผมไป family therapy ที่ รพ.จุฬาแผนกจิตเวชเด็ก ได้รับความอนุเคราะห์จาก อาจารย์หลายท่าน โดยเฉพาะอาจารย์อุมาพรได้ให้มุมมองการเข้าใจปัญหาครอบครัวในบทบาทของแพทย์ทั่วไป/อาจารย์อำพลได้ให้มุมมองจิตวิทยาเชิงพุทธ

          ในช่วง 3 ปีของการเรียนผมถามตัวเองเสมอว่า เรียนแล้วจะเอาไปใช้ที่แม่สอดอย่างไร จะสร้างงาน primary care อย่างไร "ความรู้สึกของผมต่อการมาเรียน fammed คือผมคิดถูกแล้ว"

วิเคราะห์ข้อดี/ข้อด้อยของ family medicine training ในขณะนั้น(2546-2548)

1.การมี workshop รวมทั้งประเทศดีมากเพราะจะทำให้หมอ fammed รู้จักกันและเกิดเครือข่ายเวชศาสตร์ครอบครัวในอนาคต(สามัคคีคือพลัง)

2.การที่ fammed เน้นวิจัยเป็นสิ่งที่สำคัญ ถึงแม้แพทย์ประจำบ้านจะไม่ชอบแต่เกิดประโยชน์ใหญ่หลวงกับ fammed เป็นบาทฐานแห่งการพัฒนาองค์ความรู้ของ fammed ในบริบทไทย (แบบที่ไปเรียนเมืองนอกก็ไม่ได้องค์ความรู้นี้)

3.ระบบ trainning ที่ฝากกับภาควิชาอื่นมีสัดส่วนที่มากเกินไปโดยเฉพาะภาควิชาที่เฉพาะทางมากๆ (นัยหนึ่งแสดงถึงความไม่เข้มแข็งของระบบ trainning ใน fammed เอง) และขาดการชี้นำจากอาจารย์ fammed ว่าในบทบาทแพทย์ primary care ควรมีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับ tertiary care

4.ยังมีความต่างกันอย่างมากในมาตรฐานการ training ในแต่ละสถาบัน core cirriculum ดูจะไม่ชัดเจน ถ้าจะเสนอความเห็น ผมอยากให้อาจารย์ fammed แต่ละที่มาทำ KM ดูว่าใครมีจุดเด่นเรื่องใด แล้วพัฒนากันไปพร้อมๆกัน (เพราะไม่ว่าจะเป็นน้องสถาบันไหนก็เป็นคนที่รัก fammed เหมือนกัน) ก็จะเกิดผลิตผลที่ดี จริงๆฐานการ training ควรอยู่ใน primary care อย่างน้อย 40%ของเวลา training (ตอนนี้ประมาณ20%)

5.free elective ดีมากอาจจะจัด pool ที่น่าสนใจว่าไปที่ไหนได้บ้าง+อาจารย์ต้องติดตามผล elective

       สุดท้ายนี้ขออภัยอาจารย์ที่สอน fammed ถ้าผมวิพากษ์วิจารณ์ตรงเกินไปแต่ก็ทำไปเพราะหวังดีครับ

หมายเลขบันทึก: 95036เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2007 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

"ความรู้สึกของผมต่อการมาเรียน fammed คือผมคิดถูกแล้ว"

ผมก็ว่าโรจน์คิดถูกแล้ว  เพราะเท่าที่เล่ามา แสดงว่าเรารักงานด้านนี้จริง ๆ  ถ้าเป็นเมื่อก่อน ตอนให้เลือก training สมัยพี่มี fammed พี่ก็คงเลือกไปเรียนเหมือนกัน ( แต่มันไม่มี )  

มาวันนี้ก็ทำงานด้านนี้เพราะใจรัก อย่างเดียว  อาจเป็นเพราะตกกระไดพลอยโจน   มวยวัดชอบกล  ทำไปทำมาก็รู้ว่าใช่  ชอบ   สงสัยวันข้างหน้าต้อง ขอความรู้ จากโรจน์บ่อย ๆ  

เมื่อต้นปี ได้ไปอบรมกับ อาจารย์สายพิณ ( เป็นรุ่นน้องที่จบ ศิริราช )    ก็เห็นอย่างที่โรจน์บอกมา

สัมผัสระบบที่เป็น fammed academic จริงๆ มีความเป็นตัวตนของ fammed ที่ชัดเจนที่สุด

ยินดีมากที่ได้ เจอ คนจริตเดียวกัน

 รุ่นพี่ที่เดินนำหน้าถางทางและขจัดขวากหนามให้รุ่นน้องได้เดินสะดวก รุ่นน้องเดินตาม+เรียนรู้จากรุ่นพี่และพัฒนา/ต่อยอดเพื่อวันที่ดีกว่า

ยินดีที่รู้จักอาจารย์หมอจิ้นครับ ผมคิดว่าผมคงต้องเรียนจากอาจารย์เช่นกันครับ

อืม ๆๆๆ ข้อคิดเห็นน่าสนใจนะคะ

ระบบ primary care ดูคนไข้แบบองค์รวมดีจังค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมอโรจน์

Fammed เป็น field ที่ทำให้คนเป็นหมอมีใจที่อ่อนโยน ไม่เป็นนักวิชาการจนเกินเหตุ แต่รู้จักเอาวิชาการมาแปลงไปใช้ให้เหมาะกับคนแต่ละคน 

ประสบการณ์ตอน trainning ที่คุณหมอสัมผัสตอนขึ้น ward ไม่ใช่เรื่องความแปลกแยกหรือความด้อย แต่เป็นเพราะ field อื่นไม่เข้าใจว่า FAMMED ต่างจาก GP อย่างไร  เขาจึงมีคำถาม  ซึ่งไม่ใช่คำไม่ให้เกียรติ

สิ่งที่ท้าทายมากคือ ทำอย่างไรที่ FAMMED จะทำให้คนอื่นมีความเข้าใจ  FAMMED ว่าแตกต่างจาก field อื่นอย่างไร 

เช่น เวลาดูแลผู้ป่วยเบาหวาน GP หรือ MED ก็ดูได้ แต่ความต่างอยู่ที่ความชำนาญเฉพาะเกี่ยวกับการวิเคราะห์โรคและความชำนาญในการใช้ยา  แล้วเมื่อ FAMMED ดูแลเบาหวาน อะไรคือความต่างจาก GP หรือ MED  เพราะเมื่อพูดว่า FAMMED ดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวม จึงไม่เหมือนที่ MED และ GP ดูแลคนไข้  คนที่ไม่รู้จัก FAMMED โดยแท้  มองไม่เห็นความต่างในสิ่งที่เขาทำและ FAMMED ทำ 

 

สวัสดีครับ อาจารย์ หมอเจ๊

ขอบคุณที่แวะมาให้ comment ครับ ผมเห็นด้วยกับเอกลักษณ์ ของเวชศาสตร์ครอบครัว "อยู่ที่การเข้าใจคนเพื่อดูแล"  

ประสบการณ์ในอดีตสอนผมว่า "การตอบคำถามผู้คนได้ดีที่สุดไม่ใช่การพยายามอธิบาย แต่เป็นการทำงานเพื่อพิสูจน์ว่า ทำอย่างไร และทำงานอย่างเป็นทีม ประสานกับหน่วยงานอื่นๆได้อย่างดี มิใช่แยกตัวโดดเดี่ยว เพราะเราก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบ"

เห็นด้วยเลยค่ะ ในความคิดที่ว่า ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบ คนในระบบงานเวชศาสตร์ครอบครัวไม่ควรแยกตัวโดดเดี่ยว

การพาตัวเข้าไปให้เขารู้จัก การแสดงตัวให้เขารู้จักและทำงานในฐานะทีมของเขาก่อน เป็น proactive ที่ดี เขาจะได้รู้จักว่า คุณค่าของ FAMMED เป็นอย่างไรจากการทำงานร่วม ซึ่งไม่ต้องอธิบาย 

เพิ่งมาเห็นบันทึกนี้ของพี่โรจน์

อยากเพิ่มเติมอีกนิดว่า..สิ่งที่สำคัญ คือ role model คะ

พี่โรจน์ก็เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจ ให้ยังคงอยู่บนถนนสายนี้ต่อไป (แม้เกือบจะ บายหลายรอบ 55)

"ระบบ trainning ที่ฝากกับภาควิชาอื่นมีสัดส่วนที่มากเกินไปโดยเฉพาะภาควิชาที่เฉพาะทางมากๆ" <-- เห็นด้วย 199%

พันธกิจที่มุ่งมั่น คือการสร้าง "ความมีคุณค่า เป็นประโยชน์ต่อองค์กร" เลิกเป็น "เกาะกูด" แยกจากระบบ

กำลังจะเรียนแฟมเมด สิ่งที่คิดค่อนข้างจะฉีกออกมาจากคนอื่นมาก ค่านิยมคนไทย หมอไทย ดูถูกหมอแฟมเมด เพราะไม่ทราบความต่างกับGP แต่เรารู้สึกว่ามันทำอะไรให้คนไข้ได้มากๆเลยหละ

อ่านละเป็นแรงบันดาลใจมากๆเลยคะ อจ :

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท