การฝึกอบรมแบบ แอ็คทีฟเทรนนิ่ง


Active Training

การฝึกอบรมเป็นวิธีการเพิ่มพูนหรือปรับเปลี่ยนสมรรถภาพของผู้ปฎิบัติงานในทุกระดับให้ดีขึ้น  แต่ที่นิยมอบรมกันทั้งภาครัฐและเอกชนมักจะใช้การอบรมแบบ  “แพสสีพ  เทรนนิ่ง”  (Passive  Training)  คือแบบการบรรยาย  ให้ความรู้ขยายวิสัยทัศน์  ซึ่งจัดอบรมระยะสั้นๆ  จบแล้วก็แล้วกันไป  ไม่มีการติดตามผล  หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง   แพสสีพ  เทรนนิ่ง   (Passive  Training)  ใช้กิจกรรมอบรมแบบให้ผู้ฟังเกิดปัญญาแบบ  สุตมยปัญญา  และ จินตามยปัญญา  นั่นเอง  ซึ่งปัญญาทั้งสองอย่างนี้  แม้จะเข้มงวดอบรมสักเท่าใด  ตัวปัญญาก็ยังคงเป็นของวิทยากรอยู่ดี  ไม่มีวันจะกลายเป็นปัญญา   ของคนที่นั่งฟังการอบรมไปได้  หรือถ้าได้ก็น้อยมาก  เว้นแต่คนที่เก่งๆ  ฉลาด  ๆ ที่ เอาปัญญาดังกล่าวไปทดลองใช้  แล้วเกิดรู้แจ้งได้ด้วยการกระทำนั้น  ซึ่งก็คือเอาไปทำให้เป็น   ภาวนามยปัญญา   เสียก่อนนั่นเอง   แอคทีฟ  เทรนนิ่ง  จึงจะเกิดขึ้น  นี่ทางหนึ่ง  อีกทางหนึ่งผู้จัดการอบรมจัดให้ผู้เข้ารับการ  -อบรมได้มีประสบการณ์  หรือได้ลงมือทำจริง  เรียนรู้ในเรื่องนั้นเสียเลย  แอคทีฟ  เทรนนิ่ง  (Active  Training)  ซึ่งเป็น ปัญญาของเขาเอง จึงเกิดขึ้น  แต่ผู้จัดการอบรมมักจะทำไม่ได้ตามข้อนี้  เพราะทำยากมาก  คือยากตั้งแต่คิดหากิจกรรมที่เหมาะๆ  สั้นๆ  ไม่กินเวลามากเกินไป  และไม่น่าเบื่อด้วย  คิดดูซีถ้าทำตามนี้จะยากสักแค่ไหน  โบราณท่านจึงคิดวิธีที่ยากน้อยหน่อยให้เบาลงมาอีก  แต่ก็ไม่ถึงกับง่ายอย่างไม่มีคุณค่าดอกนะ  วิธีนั้นคือ  ผู้สอนใช้วิธีฟังอย่างตั้งใจ   ถาม  และ  ให้กำลังใจแก่ผู้ตอบ  ให้ผู้ตอบค้นหาคำตอบ  หรือเป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาของเขาเอง  เรื่องใดถ้าผู้สอนเห็นว่า  ผู้ตอบยังตัดสินใจแก้ปัญหา  ไม่ถูกต้อง  หรือไม่สมบูรณ์ก็อาจเสนอ  หรือถามด้วยถ้อยคำว่า  “เป็นอย่างนี้จะได้ไหม?  หรือคุณคิดไหมว่า  คำตอบเรื่องนี้อาจจะเป็นอย่างนี้ได้  แล้วคุณจะทำอย่างไร?  ซึ่งเป็นการช่วยเสริมให้ผู้ตอบได้คิดเพิ่มเติมให้สมบูรณ์มากขึ้น  วิธีที่สามนี้น่าจะเอามาใช้ให้มากๆ  แม้จะก้ำกึ่งอยู่ในระหว่างการสอนแบบใช้  จินตามยปัญญา  กับ  ภาวณามยปัญญา  คือเป็น  แพสสีพ  เทรนนิ่ง  (Passive  Trainning)  นิดหน่อย  แต่ก็เป็น  แอคทีพ  เทรนนิ่ง  (Active  Trainning)  อยู่มากทีเดียว  และสัมพันธภาพซึ่งกันและกันก็อบอุ่นเป็นพวกเดียวกันไว้วางใจกันเป็นอย่างดีด้วย  

                                                                                                                                             ความรู้ในเรื่องนี้เป็นประโยชน์ในการจักฝึกอบรมเป็นอย่างมาก  มิฉะนั้นจะเสียเวลาอบรม  เสียทรัพยากร  ค่าใช้จ่ายในการอบรมแบบแพสสีฟ  เทรนนิ่งแล้วๆเล่าๆ  แต่บุคลากรก็ไม่เก่งตามต้องการเสียที         

หมายเลขบันทึก: 95437เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2007 19:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท