ความไม่เท่าเทียมในสังคม: การปฏิบัติต่อคนพิการ


เป็นความจริงที่ต้องยอมรับ ว่าสังคมของเรามีผู้มีความพิการอยู่จำนวนหนึ่ง อันความพิการนี้ ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเลือก แต่มันเลือกไม่ได้

กฎกระทรวงฉบับที่ 1 ออกตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 กำหนดให้ สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 200 คน ต้องจ้างคนพิการ 1 คน หากไม่จ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการครึ่งหนึ่งของค่าแรงขั้นต่ำ สำหรับสถานประกอบการที่จ้างคนพิการเข้าทำงาน ได้รับประโยชน์ในรูปของภาษี คือ หักค่าใช้จ่ายได้เป็น 2 เท่าของค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริง

แต่การจ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนฯ หรือการจ้างงานคนพิการ ควรจะเป็นไปเพียงเพราะถูกกฏหมายบังคับอย่างนั้นหรือ? เราคิดอย่างไรกับการให้โอกาสแก่คนพิการ ให้เขาได้ภูมิใจในตัวเอง ได้พิสูจน์ต่อตัวเองว่าเขาเป็นส่วนของสังคมและอยู่ในสังคมนี้ได้

หมายเลขบันทึก: 95505เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2007 02:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 08:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เรื่องความไม่เท่าเทียมนี้มีมากๆ เลยในเมืองไทย เพราะถ้าดูสภาพ infrastructure ที่สร้างขึ้นแล้วไม่ได้อำนวยให้คนพิการออกมาใช้ชีวิตตามปกติได้เลย เพราะ ฟุตบาทก็ไม่มี slope สำหรับรถเข็น (แต่ถ้ามีเยอะ ก็คงกลายเป็นทางมอเตอร์ไชค์อีก) แค่คนเดินยังต้องซิกแซกหนีตู้โทรศัพท์กับแผงร้านค้าเลย ไฟแดง ไฟเขียวก็ไม่มีสัญญาณเสียง สำหรับคนตาบอด เรื่องสถานประกอบการได้ tax benefits นั้นคงเป็นความพยายามของรัฐบาลมั้งคะ ที่จะหารายได้ให้กับคนพิการ แต่ก็คงไม่ได้ผลทางด้านจิตใจสำหรับคนพิการทันทีหรอกค่ะ

ที่คณะฯ เคยมีความคิดรับผู้พิการมาเรียนในสาขาวิศวฯ คอมพ์ เคยเห็น proposal ที่ต้องลงทุนปรับอาคารเรียนบางส่วน รวมถึงห้องเรียนด้วย แล้วยังมีเรื่องอุปกรณ์การเรียน การสอน หนังสือของนักศึกษาที่ต้องเตรียมด้วย นักเรียนแต่ละคนที่ทราบอาจต้องมีคนคอยช่วย ๑ คนประจำ นับเป็นการดำเนินการที่ยากพอสมควรค่ะ ไม่รู้ตอนนี้ project นี้ไปถึงไหนแล้วเหมือนกันค่ะ เล่าให้ฟังเพราะเคยเห็นความพยายาม แต่ไม่ทราบว่าสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ค่ะ..

เรื่องการเข้าถึง infrastructure ที่ไม่เท่าเทียมนี้ จะว่าไปแล้ว ส่วนใหญ่ก็เป็นเพราะในตอนที่ออกแบบในตอนต้น ไม่ได้คำนึงถึงครับอาจารย์ การแก้ไขก็จะแพงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเวลาผ่านมานาน

แต่ถึงอย่างไร เมื่อมีการปรับปรุง (แม้จะยังไม่เท่าเทียม) ก็ยังดีกว่าเขียนไว้ในกระดาษแต่ไม่ปฏิบัติครับ

ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็ไม่ควรมองว่าเป็นค่าใช้จ่าย แต่ควรมองว่าเป็นการลงทุนในคนมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาระดับสูง แต่เรื่องนี้อาจารย์กมลวัลย์เข้าใจลึกซึ้งกว่าผมมากครับ

สวัสดีค่ะคุณ Conductor

ความไม่เท่าเทียมนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานาน..เราคิดแค่เพียงการสงเคราะห์..แต่ความเป็นจริงพวกเค้าต้องการโอกาสมากกว่า

เบิร์ดมีเพื่อนเป็น อ.ที่ ม.นเรศวร ปีที่แล้วประสบอุบัติเหตุกระดูกสันหลังข้อที่ 11 , 12 หัก อัมพาตช่วงล่าง..อนาคตของอาจารย์หนุ่มที่วางไว้ต้องเปลี่ยนไป แต่เบิร์ดชื่นชมมากที่ ม.นเรศวรยังจ้างเพื่อนเบิร์ดเป็นอาจารย์ มีทางลาดให้ขึ้นหอพัก..มีนิสิตที่มาช่วยยกรถให้และไปทำกายภาพบำบัดอาทิตย์ละ 3 ครั้ง..และที่เบิร์ดภูมิใจมากกว่านั้นคือคำพูดของเพื่อนเบิร์ดตอนที่เบิร์ดบอกเค้าว่าเบิร์ดภูมิใจที่เค้ายังยืนหยัดอยู่ได้..เค้าตอบเบิร์ดว่า.. " ที่เสียไปคือขา ไม่ใช่หัว "...คนพิการไม่ได้หมายถึงเค้าจะทำอะไรไม่ได้..เพียงแต่โอกาสที่เราจะให้กับเค้านั้นมีมากน้อยเพียงใด ?

ขอบคุณมากค่ะที่เอาเรื่องนี้มาฝาก

 

 

ช่วงนี้รู้สึกว่ามียอดนักคิดแวะมาเยี่ยมบ่อย ขอบคุณนะครับ

ตอนเขียนนี้กำลังดูรายการทีวีเรื่องนักกีิฬาเฟสปิคเกมส์ท่านหนึ่ง ได้ประเด็นที่ดี คือพอเป็นเรื่องของความพิการแล้ว เราคิดไปเองว่าเขาทำไม่ได้ (คือเรานึกว่าถ้าเป็นเรา เราคงทำไม่ได้)

แค่ให้โอกาสเขา เราเสียอะไรนักหนาหรือ? 

"แต่การจ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนฯ หรือการจ้างงานคนพิการ ควรจะเป็นไปเพียงเพราะถูกกฏหมายบังคับอย่างนั้นหรือ?"

It would be a good policy to start with. With time, and with more handicapped persons in the work place (as a result of the policy), they would have proved themselves as being valuable workforce. IF that's the case, the policy can be lifted. But we need a "door opener", otherwise, they will not even have a chance.

Companies can also be proactive in hiring a qualified handicapped persons. I don't think Affirmative Action is enforced in  our homeland. That's being the case, good governance companies must take this matter in their own hands.

True,  it costed more to provide infrastructure to accommodate persons with disability in a public place. To redo existing facilities/buidlings would have costed more. But new buildings do have a chance of making things right. 

Question: Who will pay for it? 

An example with 9/11 airport tax - for every ticket I purchase - on top of the ticket price, there's a 9/11 airport tax to cover the cost of airport security.

Answer: A proud citizen.

 

 

สวัสดีค่ะคุณConductor

  • รู้สึกดีใจและปลื้มปิติอย่างสูงที่ได้อ่านบันทึกดีดีนี้
  • ขอบพระคุณค่ะ คุณConductor และทุกๆท่านที่เข้ามาใน blog นี้ทั้งอ่านและขอบพระคุณอย่างสูงยิ่งสำหรับท่านที่ comment ไว้  เพื่อการต่อยอดแนวคิดดีดีค่ะ
  • ตอนนี้ปลื้ม ปิติ จนเขียน( พิมพ์อะไรไม่ออกเลยหละค่ะ )

 

การให้โอกาสเป็นสิ่งที่ดีครับ

 

นโยบายภาครัฐเพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนพิการมีรายได้และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมคนทำงานเป็นสิ่งที่ดีครับ แต่จะดีกว่าถ้านโยบายนั้นส่งเสริมให้คนอื่นที่ปกติตระหนักถึงความเท่าเทียมในสังคมของคนพิการผู้ด้อยโอกาสด้วย

เท่าที่ได้มีโอกาสสัมผัสกับคนพิการ ผมเชื่อว่าสิ่งที่คนพิการอยากให้คนอื่นรับรู้คือให้รู้ว่าเขาเองไม่ได้แตกต่างจากคนอื่นๆ เลยครับ

วันนี้ได้รับหนังสือ "รัฐธรรมนูญใหม่... ชีวิตใหม่ของคนพิการ" จัดพิมพ์โดยแผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย ศูนย์สิรินทรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย (สสพ.) มูลนิธิคนพิการไทย และสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย

สามารถดาวน์โหลดหนังสือได้ที่นี่ pikarn.com ครับ

สวัสดีค่ะ

ที่อ.กมลวัลย์ comment..

เรื่องความไม่เท่าเทียมนี้มีมากๆ เลยในเมืองไทย เพราะถ้าดูสภาพ infrastructure ที่สร้างขึ้นแล้วไม่ได้อำนวยให้คนพิการออกมาใช้ชีวิตตามปกติได้เลย

ที่ประเทศเรา ตอนนี้ดูจะมีมากขึ้นค่ะ ที่จอดรถตามห้าง เขาก็มีที่จอดพิเศษให้ มีคนพิการนั่งรถเข็นไป shoppingบ่อยเหมือนกัน แต่คงต้องมีการออกแบบinfrastructure  ให้มากขึ้นค่ะแน่นอน

ส่วนดิฉัน เคยจ้างพนักงานตาบอดไปเป็น Operator รับโทรศัพท์ด้วยค่ะ

อย่างน้อยได้มีโอกาสช่วยเขาบ้าง

แต่มีประเทศไหนไหมคะ

ที่ ให้คนพิการมาขายล้อตเตอรี่มากอย่างบ้านเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท