วิสัยทัศน์


vision
วิสย-,วิสัย  (วิสะยะ -, วิไส)  น.  ความสามารถ  เช่นอยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตรภรรยาได้  เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้;  ขอบ, เขต,  เช่น  คามวิสัย  โคจรวิสัย  อยู่ในทัศนวิสัย. (ป)
          ทัศนวิสัย  (ภูมิ) น.  ระยะทางไกลที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นอะไร
(พจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  หน้า  ๑๐๘๒, หน้า  ๕๒๑)
           เคยสังเกตเห็นว่าโรงเรียนต่างๆแม้กระทั่งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดต่างๆเวลาทำคู่มือครู นักเรียน และผู้ปกครองจะมีอยู่ตอนหนึ่งของเอกสารนั้นระบุข้อความว่า   “วิสัยทัศน์  (Vision),   พันธกิจ   (Mission),
เป้าหมาย (Goals)  ทางมหาวิทยาลัย หรือสถาบัน  หรือหน่วยงาน  คงจะวางรูปแบบไว้เป็นแบบเดียวกัน  ซึ่งต้องถือว่าเป็นรูปแบบที่ดี  อ่านแล้วทำให้มองเห็นว่า  “สถาบัน  หรือ  โรงเรียนนี้เป็นอะไร  จะทำอะไร  เน้นเรื่องอะไร
เท่าไร? เป็นต้น
             แต่ถ้าเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์การเขียนเรื่องเหล่านี้แล้ว  รู้สึกว่าจะไม่ครอบคลุมเรื่องที่ควรจะสื่อให้เป็นที่เข้าใจกัน  เหมือนการเขียนเรื่องสำคัญดังกล่าวนี้  เขียนโดยเจ้าหน้าที่  หรือครูเพียงคนเดียว  ซึ่งที่จริงต้องเขียนจากสมองของผู้บริหาร  หรือถ้าจะให้ดี  ให้สมบูรณ์ต้องระดมสมองทุกฝ่ายเป็นขั้นเป็นตอน  กลั่นกรองแล้วกลั่นกรองอีกจนเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายจริงๆ  จึงจะเกิดการร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติ  เกิดผลงานจริงได้  แต่ถ้าเขียนโดยผู้บริหารคนเดียว  ต้องทำความเข้าใจ ต้องชี้แจง  นิเทศ  กำกับ  ดูแล เสริมแรงกันเป็นพิเศษ จึงจะบรรลุความสำเร็จได้  มิฉะนั้นก็เขียนไว้อวดกันเล่นโดยไม่ได้หวังผลอะไร?
               ขอยกตัวอย่าง  วิสัยทัศน์ (Vision) ของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งเขียนว่า   “ในปีการศึกษา  ๒๕๕๐  โรงเรียน……………………จะเป็นโรงเรียนแบบอย่างของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา”
               หลักเกณฑ์การเขียนวิสัยทัศน์ (Vision)  โดยทั่วไประบุไว้ว่า
“ Visions  that  provide  direction  to  schools  must  be  based  on a  well – articulated  set  of  beliefs about:
The  purpose  of  schools.
The  ability  of  students  to learn.
 The factors  that determine the opportunity to learn.
The  role  of  the  family and  community in relation to students, and in
Relation to schools.
The kind of society for which children are being prepared.
The  focus of school activity.
The rules, roles, and relationships that should govern behavior within schools, between schools and the district-level office, and between schools and community.
The obligation of the system to employees, and the role of the system in encouraging and supporting continuous improvement.

             จะเห็นว่าวิสัยทัศน์ถ้าเขียนตามหลักเกณฑ์นี้เป็นงานของผู้มีส่วนได้เสียทุกคน (หลายๆคน) เจ้าหน้าที่อาจจะช่วยเป็นเลขานุการให้ได้ แต่ไม่ใช่เป็นคนคิดและเขียนเสียเองโดยไม่คำนึงว่าจะมีใครเห็นด้วยหรือไม่  จะเอาไปใช้ หรือไม่ใช้แล้วแต่บุญแต่กรรม  เพราะวิสัยทัศน์ที่ดี  อนาคตจะเป็นแรงดึงให้เกิดการพัฒนา ( pulls  by  the  future) แต่ถ้าสถาบันใดทำงานแบบไม่มีวิสัยทัศน์หรือมีแต่ไม่ได้ใช้  สถาบันนั้นจะถูกผลักดันด้วยปัญหาต่างๆในอดีต (pushes by the past)  แบบที่ชอบพูดกันว่า “วัวหายแล้วจึงล้อมคอก” นั่นแหละ.
หมายเลขบันทึก: 95861เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2007 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท