โยนิโสมนิการ


รู้จักคิด คิดถูกวิธี

โยนิโสมนสิการ    ได้แก่   รู้จักคิด  คิดถูกวิธี  “เมื่อโยนิโสมนสิการเกิดขึ้นแล้วก็หมายถึงว่า  ได้มีจุดเริ่มของการศึกษาแล้ว  จากนั้นก็จะเกิดการคิดที่ใช้ปัญญาทำให้ปัญญาเจริญงอกงามยิ่งขึ้น”  โยนิโสมนสิการมี  ๑๐  วิธี  คือ
                  ๑.   วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
                  ๒.   วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ
                  ๓.   วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา
                  ๔.   วิธีคิดแบบแก้ปัญหา
                  ๕.   วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์
                  ๖.    วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก
                  ๗.    วิธีคิดแบบคุณค่าแท้ – คุณค่าเทียม
                  ๘.    วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม
                  ๙.    วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน
                 ๑๐.   วิธีคิดแบบวิภัชชวาท  (คิดแบบแยกแยะ,  จำแนก,  แจกแจง,  วิเคราะห์)  เช่น
-    จำแนกโดยแง่ด้านของความจริง
-    จำแนกโดยส่วนประกอบ
-    จำแนกโดยลำดับขณะ
-    จำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
-    จำแนกโดยเงื่อนไข
-    จำแนกโดยทางเลือกหรือความเป็นไปได้อย่างอื่น
-    วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง



                                               องค์ประกอบในการคิด
      อิมมานูเอล  คานต์  กล่าวว่า
                “Thoughts  without  contents  are  empty,  Intuitions  without  concepts  are  blind.”
๑.  ความคิดที่ปราศจากข้อมูลเป็นความว่างเปล่า  

๒.  การรับข้อมูลที่ไม่มีความคิดกำกับเป็นความมืดบอด
                                                       
                                                                                                                                          องค์ประกอบในการคิดของมนุษย์มี   ๒   อย่าง  คือ  ข้อมูล   (เรื่องราว  ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะคิดที่มีอยู่เดิม  หรือที่หามาได้)  กับ  วิธีคิด   ผลหรือคำตอบ  ถ้าถูกต้อง  คือ  ความรู้ใหม่  หรือ  ปัญญา  ที่เกิดใหม่ในเรื่องนั้น
                                                         


                                                    หน้าที่ของกัลยาณมิตร (ปรโตโฆสะ)
      บิดา  -  มารดา  ครู  -  อาจารย์  และผู้ใหญ่ทั้งหลายที่เป็นกัลยาณมิตรที่ดีของเด็กมีหน้าที่อย่างน้อย  ๒  อย่าง  คือ
                                  ๑.  คัดเลือก  หรือจัดสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่เด็ก
                                  ๒.  ฝึกฝน  อบรม  ชี้แจง  แนะนำ  สั่งสอน  ชักจูงให้เด็กรู้จัก  แสวงหาข้อมูลและใช้วิธีคิด   ให้ถูกต้องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญ
                                                          

คำสำคัญ (Tags): #คิดถูกวิธี
หมายเลขบันทึก: 96214เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2007 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์.....วรรธนชัย (。◕‿◕。) ♫ ♬ ♪ ♩ ♭  

เหมือนเป็นห้องสมุดให้ครูอ้อยเลยค่ะ...เยี่ยม

“Thoughts  without  contents  are  empty,  Intuitions  without  concepts  are  blind.”

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณที่มีเรื่องดีๆมาให้อ่าน...แต่อยากให้อธิบายเพิ่มวิธีการคิดแบบอรรถสัมพันธ์นะค่ะ..ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท