กับประชาสัมพันธ์เชิงรุกอีกครั้งหนึ่ง


จากบันทึกเก่า "ประเด็นข่าว: ประชาสัมพันธ์เชิงรุกไม่เหมือนกันการลงมือกระทำจริง" ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นที่ไม่มีข้อเสนอแนะ และยังไม่ได้มีแนวทางแก้ปัญหาการเสนอข่าวร้ายของประเทศไทยโดยสื่อต่างประเทศที่ไม่เข้าใจประเทศไทย (หรือเจตนาจะไม่เข้าใจประเทศไทย) อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้านซึ่งจะช่วยขยายข่าวร้ายของเมืองไทยด้วยความเบิกบาน ผมมีข้อเสนออย่างนี้ครับ

  • เป็นไปได้หรือไม่ที่จะจัดตั้งเว็บไซต์เพื่อแสดงข้อมูล "จากอีกด้านหนึ่ง" เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีข้อจำกัดด้านความยาวเหมือนการใช้สื่อสารมวลชนตามรูปแบบ
  • วัตถุประสงค์ของเว็บไม่ใช่การตอบโต้ แต่เป็นการให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่ง เพื่อความเข้าใจต่อเมืองไทยที่ดีขึ้น เนื่องจากข่าวสารต่างๆ ของเมืองไทย อยู่ในรูปภาษาไทย บรรดา "ผู้เชี่ยวชาญ" เกี่ยวกับเมืองไทย มักจะให้ข้อมูลด้านเดียว และลืมใส่หมวก So shalow but will never admit (ตื้้นเขินแต่ไม่ยอมรับ)
  • เว็บนี้ จัดทำโดย NGO หรือภาคประชาชน โดยไม่รับความช่วยเหลือจากรัฐในรูปของเงิน แต่อาจขอความช่วยเหลือเรื่องข้อมูล ไม่ตอบแทนผู้เขียนบทความในรูปของเงิน
  • นักเขียน นักแปล บรรณาธิการ ฯลฯ ใช้อาสาสมัครทั้งหมด และใช้ชื่อจริงทั้งหมด (ต้องการอาสาสมัครเป็นจำนวนมาก)
  • ใช้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบ Creative Commons License ใช้ "by" เพื่อให้ refer กลับมายังเว็บและข้อมูล ใช้ "sa" เพื่อให้ตัดตอนข้อความไปอธิบายต่อได้ ไม่ใช้ "nc" เพื่อต้องการให้ข่าวสารแพร่กระจายไปได้ในทุกสื่อ -- หากมี license แบบที่ดีกว่านี้ ยินดีรับฟังครับ
  • URI (URL) ของข่าว จะเก็บไว้เป็นระยะเวลานาน -- อยากเก็บไว้ตลอดไปหากเป็นไปได้ -- ให้ blogger บล็อกต่อได้ (การบล๊อก หมายถึงการเชื่อมโยงบทความที่บล๊อกเกอร์อ่านมา แล้วมีความเห็นเพิ่มเติมไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ แต่จะให้เครดิตแก่ต้นทางเสมอผ่าน online link ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วิธี trackback หรือ pingback; ทั้งสองวิธียังไม่มีบน g2k ในขณะนี้ แต่ผู้พัฒนาได้ตอบรับความคิดนี้แล้ว)

ข้อเสนอทั้งหมดนี้ เกิดจากความหงุดหงิดที่เมืองไทยไม่มีมาตรการป้องกันตัวเอง และปล่อยให้ความเข้าใจผิดร้ายแรงเกิดขึ้น แม้จะมีความพยายามแก้ไข แต่ความเสียหายก็เกิดขึ้นแล้ว!

คำถาม:

  • มีข้อเสนอที่ดีอื่นไหมครับ
  • ข้อเสนอข้างบนปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไร
  • มีใครอาสาจะช่วยบ้างหรือไม่ ด้านใด
หมายเลขบันทึก: 96234เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

It sounds similar to  "citizen journalism" ? where

"The idea behind citizen journalism is that people without professional journalism training can use the tools of modern technology and the global distribution of the Internet to create, augment or fact-check media on their own or in collaboration with others. For example, you might write about a city council meeting on your blog or in an online forum. Or you could fact-check a newspaper article from the mainstream media and point out factual errors or bias on your blog. Or you might snap a digital photo of a newsworthy event happening in your town and post it online. Or you might videotape a similar event and post it on a site such as YouTube."

 

เท่าที่อ่านมาน่าจะใกล้เคียงกับ Metroblogging Bangkok มากที่สุด คือเป็นคนท้องถิ่น เล่าข้อมูลออกมาเป็นภาษาอังกฤษ

เพียงแต่หัวข้ออาจจะแตกต่างกันหน่อย Metroblog ขอเรื่องอะไรก็ได้เกี่ยวกับเมืองนั้นๆ ส่วนของคุณ Conductor นี้ผมอ่านแล้วไม่แน่ใจว่าครอบคลุมหัวข้ออะไรบ้าง

แต่เท่าที่เคยเขียน Metroblog มา พบว่าปัญหาคือต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษแล้วเขียนไม่ออกนี่แหละ

I don't want to see good ideas, facts, or information to not get expressed because of language barrier.

In other words, there will always be some interpretation and translation and they are subject to misinterpretation and mistranslation. But that's where good journalism and professional editors should come in, or a peer review.  

ที่ผมอยากเห็นคงไม่ใช่ citizen journalism หรือ Metroblogging หรอกครับ แต่เป็นการให้ข้อมูลตามความเป็นจริง ในบริบทของคน-วัฒนธรรม-สังคมไทย ซึ่งพวก "ผู้เชี่ยวชาญประเทศไทย" มักใช้ช่องว่างนี้โจมตีเมืองไทย

ผมไม่ได้อยากเห็นสำนักข่าว หรือชุมชนบล๊อกใหม่หรอกครับ แต่อยากเห็นความพยายามที่จะอธิบายเรื่องราวต่างๆ ให้คนที่มีใจเป็นธรรมได้เห็นข้อมูลอีกด้านหนึ่ง

แม้แต่เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนะครับ wikipedia จัดเป็น localism ซึ่งเป็นส่วนของปรัชญาการเมืองที่ต่อต้านโลกาภิวัฒน์ -- ผมคิดว่าเป็นความคิดบ้องตื้น และไม่ได้ใกล้เคียงกับสิ่งที่เป็นอยู่เลย ผิดมาตั้งแต่ความเข้าใจพื้นฐาน

The idea of self-sufficient economy is not new, it can be found in economic text book/reading i.e. the United States' economy might be more self-sufficient if it didn't have to heavily dependent upon oil production in the Middle East, or cheaper labor in China.

But what does it tell us? Thailand's IT industry might be more self-sufficient if it didn't have to depend on R&D in Redmond ?

It does not always linked to "localism" as defined in wikipedia - but then again anyone who can write, can be a wiki author - What shows up in wikipedia didn't mean it is credible i.e.

"The question of Wikipedia credibility has been raised by a number of sources. A September 8, 2004 Washington Post article included the following:

  • Jorge Cauz, president of Encyclopedia Britannica Inc., conceded that at its best, some Wikipedia entries reflect the collective wisdom of many contributors. He also stated: 'The problem with an effort like that is that at other times, it may reflect just the wisdom -- or lack of wisdom -- of the last contributor.'"

Self-sufficient economy concept has been politicized (big time) in TH. Anything for or against it - can be easily taken out of context. There some good of localism and globalism, the challenge is to balance both  - I know it's easier said than done!

 

  

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสรุปกับคำว่า Sufficiency Economy ครับ ในพระราชดำรัสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสองปีถัดมา ท่านตรัสว่า ถ้าพอมีพอกิน คือพอมีพอกินของตัวเองนั้น ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจสมัยหิน

สภาพัฒน์จัดทำเว็บไซต์อธิบายไว้ทั้งไทยทั้งอังกฤษ (ชื่อ sufficiencyeconomy.org) และกรมพัฒนาฝีมือแรงงานก็ทำสรุปรวบรวมพระราชดำรัสสำคัญที่เกี่ยวเนื่องไว้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท