วัฒนธรรมของคนในชุมชน


ภูมิปัญญาชาวบ้าน

เรื่องนี้แม้จะเกี่ยวข้องกับคน  แต่หนักไปในทางภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจากคนรุ่นก่อน  ที่เรียกกันว่า  “ภูมิปัญญาชาวบ้าน”  นั่นเอง  คนสมัยใหม่ส่วนใหญ่มักจะคิดว่า  ตนเองเก่งกว่าคนรุ่นก่อน  แท้ที่จริง 

“อาหารที่พวกเรากินจนมีชีวิตอยู่ได้ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ล้วนเป็นภูมิปัญญาของคนก่อนๆนี้ทั้งนั้น”  เพราะฉะนั้นวัฒนธรรม  หรือภูมิปัญญาในแต่ละด้านควรจะได้มีการสืบค้น  นำมาใช้จนเป็นความประพฤติของชุมชนด้วยความเห็นคุณค่า  มีการยกย่อง  ภาคภูมิใจ  จึงจะเป็นปัจจัยช่วยให้เป็น  “ชุมชนเข้มแข็ง”  ได้ 

ารที่คนในชุมชนพากันละทิ้งวัฒนธรรมของบรรพชนของตน  แล้วพากันไปนิยมวัฒนธรรมของชนชาติอื่น  

โดยธรรมชาติวัฒนธรรมเกิดมาจาก  “คุณธรรม(สัจธรรม)...........จริยธรรม...........วัฒนธรรม”  คือวัฒนธรรมทุกอย่างต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมรองรับ  ไม่ใช่เกิดขึ้นมาลอยๆ  วัฒนธรรมนั้นจะไม่มีประโยชน์และตั้งอยู่ไม่ได้

กรอบของวัฒนธรรมเป็นอย่างเดียวกับกรอบทางการศึกษาทุกอย่างเลย  กล่าวคือ  “วัฒนธรรม  คือภูมิปัญญา  หรือความรู้ของชุมชน”  ถ้ามีใครมาถามว่า  ชุมชนนี้หรือหมู่บ้านตำบลนี้มีความรู้หลักๆอะไรบ้าง  นั่นคือเขากำลังถามถึง  วัฒนธรรม  ของชุมชนนั่นเอง  “วัฒนธรรม  คือความประพฤติที่ดีของคนในชุมชน”  มีความประพฤติที่ดีเป็นปกตินิสัยของกลุ่มชนนั้นอะไรบ้าง?    ความสัมพันธ์อย่างเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน  พ่อ  -  แม่รักและปกป้องเลี้ยงดูลูกอย่างดี  ลูกๆปฏิบัติหน้าที่ลูกกตัญญูได้อย่างครบถ้วน  นั่นก็เป็นวัฒนธรรมอีกด้านหนึ่งและเป็นด้านที่สำคัญมากด้วย  เมื่อคราวเกิดคลื่นยักษ์  สึนามิ  ทางภาคใต้ของประเทศไทย  คนทั่วโลกพากันยกย่องคนไทยว่าเป็นคนที่มีคุณธรรมสูง   นั่นคือ  “คุณธรรมที่เรียกว่า  สังคหวัตถุ  ๔”  เพราะฉะนั้นความประพฤติดี  ความมีศีลธรรมของคนในชุมชนก็เป็นวัฒนธรรมที่ทุกคนต้องตระหนักและช่วยกันประพฤติให้ได้เป็นปกตินิสัยด้วย

  “วัฒนธรรม  คือผลงานที่เป็นความเก่ง  ความประณีต  ความเชี่ยวชาญของคนในชุมชน”  ผลงานเหล่านี้แสดงออกในด้านอาชีพ  การฝีมือ  กีฬา  สถาปัตยกรรม  วิศวกรรม  จิตรกรรม  คหกรรม  พาณิชย์กรรม  เกษตรกรรม  การแสดง  ขับร้อง  ดนตรี  ที่อยู่บนพื้นฐานของความดีงาม  ความสามัคคีและความจำเป็นสอดคล้องของการดำเนินชีวิต  อย่างนี้ก็เป็นเรื่องของวัฒนธรรม  “วัฒนธรรมจึงมิใช่เป็นเพียงงานทำบุญประจำปีของวัด,  งานสงกรานต์  การสรงน้ำพระ  การดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ,  งานลอยกระทง,  หรืองานแห่เทียนพรรษา  

สรุปว่า

๑.วัฒนธรรม  คือความรู้หรือภูมิปัญญาของชุมชน  

๒.วัฒนธรรม  คือ  คุณธรรม  จริยธรรม  ที่เป็นความประพฤติดีงามของคนในชุมชน  และ  

๓.วัฒนธรรม  คือ  ทักษะความเชี่ยวชาญของคนในชุมชน  และ  “วัฒนธรรมนี้เองเป็นเนื้อหา  เป็นหัวใจ  ของการท่องเที่ยว”  ของชุมชนที่ขายได้อย่างยั่งยืน

หมายเลขบันทึก: 96817เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2007 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 12:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท