โรงเรียนแนวพุทธ(1)


้เพราะชีวิตคนไทยที่สมบูรณ์คงต้องตั้งอยู่บนรากฐานของ “พระพุทธศาสนา” เป็นหลัก
ความสนใจในการจัดการศึกษาแนวพระพุทธศาสนาเริ่มได้รับความสนใจครั้งใหม่  ตามที่ปรากฏในเอกสารเผยแพร่  “ข้อคิดความเห็นของ  พระธรรมปิฎก  (ป.อ.  ปยุตโต)  เมื่อ ๑๔   ก.พ.  ๒๕๔๖ ในสมัยที่  ดร. สิริกร  มณีรินทร์  เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “  แต่ถ้าจะสืบลึกลงไปตามประวัติการศึกษาไทยตามที่สั่งสอนกันมา   “การศึกษาแนวพุทธ”  ในประเทศไทยมีมาตั้งแต่โบราณกาล  ที่เริ่มการศึกษา   “ในวัด”  โน้นเลยทีเดียว   แต่ท่านไม่ได้ใช้ชื่อว่า   “การศึกษาแนวพุทธ”  เท่านั้นเอง  ดูเหมือนแผนการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๐๓  จะเป็นแผนการศึกษาสุดท้ายที่เน้นการศึกษาแนวพุทธที่ชัดเจน   แผนการศึกษาฉบับนี้ใช้มานานถึง  ๑๗  ปี
 
พอถึงแผนการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  ๒๕๒๐  และฉบับต่อๆมาก็ปรับเปลี่ยนไปวิ่งตามวิธีการแบบตะวันตกอย่างเต็มที่กันเลยทีเดียว  เพราะคณาจารย์สำคัญๆที่จบการศึกษาระดับสูงจากประเทศตะวันตก  (อเมริกา)  กำลังเฟื่องที่สุด  แต่พอหลัง  พ.ศ.  ๒๕๒๙  คณาจารย์ที่เป็นศิษย์ทายาทปรมาจารย์ตะวันตกนั่นแหละท่านได้เป็นใหญ่เป็นโตในบ้านเมือง  ได้ตั้ง  “สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย”  ผลงานที่สมาคมนี้พิมพ์เผยแพร่  คือ  หนังสือ  “การศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์  เพื่อสันติภาพและการพัฒนา”  เป็นหนังสือปกแข็ง  ปกสีเขียว  เป็นหนังสือขนาดใหญ่  เล่ม ๑  -  ๓  รวม  ๓  เล่ม  แต่เป็นที่น่าเสียดาย  เท่าที่ทราบหนังสือ  “การศึกษาตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา”  ชุดนี้ดูจะไม่มีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาของไทยแต่อย่างใดเลย  หากได้มีการอภิปรายหลักการ  แนวคิด  วิธีการทดลองนำไปใช้  และมีการพัฒนา  ปรับปรุงให้ดีขึ้นๆ  ก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่านี้
 
เพราะชีวิตคนไทยที่สมบูรณ์คงต้องตั้งอยู่บนรากฐานของ “พระพุทธศาสนา”  เป็นหลัก  แต่วิชาการทางตะวันตกที่เสริมกัน  “คงต้องมีการเลือกสรรค์เอาแต่สิ่งที่ดีที่สุด  เหมาะสมที่สุด  และประหยัดที่สุด” โดยไม่ขัด  ทำลาย  หรือหลุดหล่นไปจากหลักการของพระพุทธศาสนา

หลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา  ที่อาจเรียกว่าเป็นคุณสมบัติของชาวพุทธ  ๔  อย่าง  คือ
๑.  ชาวพุทธ  “ถือหลักการกระทำทุกอย่างด้วยความเพียร”
๒.  ชาวพุทธ “ถือหลักการเรียนรู้พัฒนาตนเองจนกว่าจะบรรลุสิ่งที่ควรได้รับสูงสุด”
๓.  ชาวพุทธ  “ถือหลักการพึ่งตนได้  จึงทำให้มีอิสระภาพ”  ไม่ตกเป็นทาสของคนและวัตถุ   การพึ่งตนคือต้องทำให้แก่ตัวเองด้วยตนเอง  จึงต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดชีวิต  เพื่อให้ทำได้ด้วยตนเอง
๔.  ชาวพุทธ  “ถือหลักความไม่ประมาท”  คือต้องขวนขวาย  ขยันขันแข็ง  ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปอย่างสูญเปล่า
“คือ  ชาวพุทธจะเชื่อกรรม  คือการกระทำทางกาย  วาจา  และใจ  ของตนเองเท่านั้น  ไม่เชื่ออำนาจดลบันดาลจากภายนอก  และต้องกระทำด้วยความเพียรพยายาม,  การกระทำของตนเองจะให้เกิดมีผลดีได้ขึ้นอยู่กับ  ภูมิปัญญาและฝีมือของตนเอง  จึงต้องเรียนรู้และพัฒนาตนโดยตลอด  ไม่หวังพึ่งใครและสิ่งใด,  ชาวพุทธมีอิสระภาพ  ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งใด  เป็นตัวของตัวเอง,  ชาวพุทธเป็นคนกระตือรือร้น  ขวนขวาย  เอาจริงเอาจัง  ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่า”  ถ้าใครมีคุณสมบัติแตกต่างจากหลักการทั้ง  ๔  ข้อนี้แม้ข้อหนึ่งข้อใด ท่านบอกว่าเป็นคนที่  “หลุดร่วง”  จากความเป็นชาวพุทธแล้ว
หมายเลขบันทึก: 97248เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2007 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ เราน่าจะมี มหาวิทยาลัยวิถีพุทธ บ้างนะครับ

เราจะได้ไม่ต้องถามตัวเองว่า...........

นี่หรือเมืองพุทธ?

Mr.แอนเดอร์สัน เราได้ยึดโลกไว้เกือบหมดแล้ว

 They're crazy.


Look familiar?


It's never too early...

Matrix Reloaded

ดูซิ นี่หรือเมืองพุทธ? 

ยอมเสียเถิด Mr. แอนเดอร์สัน มาเป็นพวกเรา

 

เรียน คุณ thai tutor ที่นับถือ ผมประทับใจในหลักใหญ่ของพุทธทั้ง 4  ข้อที่สรุปมาครับ  และผมมีความคิดเห็นส่วนตัวว่าในเรื่องโรงเรียนวิถีพุทธถ้าจะดำเนินการกันอย่างจริงจัง คงจะต้องยึดตามประเด็นทั้งสี่ข้อที่กล่าวมาครับ คือ คิดเอง ทำเอง  แต่ที่ผ่านมาโรงเรียนบางส่วน ยังคงยึดติดในรูปแบบ มากกว่า เนื่อหา ครับ และยังคุ้นเคยกับวัฒนธรรมพึ่งพา มากกว่าที่จะพึ่งตนเอง ดังนั้นผลผลิตของโรงเรียนวิถีพุทธที่มีวัฒนธรรมแห่งการพึ่งพา จึงได้ผู้เรียนแบบอำนาจนิยมครับ  ขออนุญาตเสริมอีกประเด็นครับในประเด็นที่ว่าชีวิตคนไทยที่สมบูรณ์ต้องตั้งอยู่บนรากฐานของพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ผมว่าแค่นี้ก็สมบูรณ์แล้วครับ ประโยคต่อไปที่ว่าแต่วิชาการทางตะวันตก... ไม่ต้องใส่มาก็ได้ครับ เพราะชางพุทธจริงๆ ตะวันตกจะมาอย่างไร ชาวพุทธรับได้หมด แต่ต้องเป็นพุทธจริงๆนะครับ ไม่ใช่พุทธแต่เปลือก
พิมพ์พร สุเชาว์อินทร์

ดิฉันกำลังมองหาโรงเรียนอนุบาลให้ลูกชายอยู่ค่ะ ลองเข้ามาค้นหาในเน็ต ก็ได้อ่านความคิดเห็นที่หลากหลายของคนหัวอกเดียวกัน และก็มีบางส่วนที่ประสบปัญหาเหมือนกันนั่นก็คือค่าเล่าเรียนเด็กอนุบาลที่แสนจะแพง แพงจริง ๆ ค่ะ ดิฉันว่าแพงกว่ามหาวิทยาลับหลายแห่งเสียอีก อันที่จริงสถาบันหรือโรงเรียนน่าจะสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสในการเรียนรู้เป็นหลักการขั้นพื้นฐานโดยที่ไม่หาผลกำไรสูงเกินไป เพราะผู้ปกครองหลายท่าน รวมถึงดิฉันเองก็ไม่ได้มีรายได้สูงมากนัก เรียกว่าเดือนหนึ่งยังหาได้ไม่เท่าค่าเล่าเรียนของเด็กอนุบาลเลย! แต่พอจะหันไปพึ่งสถานที่เรียนที่คิดค่าเล่าเรียนถูก (ถูกมากจริง ๆ เดือนหนึ่งไม่ถึงพัน) ก็ไม่ค่อยได้มาตรฐาน การพัฒนาบุคลากรหรือสภาพแวดล้อมก็ต่ำไปอีก ไม่มีที่ให้คนจนยืนกันเลย ทั้งที่ประเทศไทยนั้น โดยส่วนใหญ่จะมีคนยากจนเป็นคนกลุ่มใหญ่ในสังคมแท้ ๆ คนรวยก็จะรวยมาก คนจนก็จนเข็ญใจจริง ๆ ถึงตอนนี้ก็เลยไม่รู้ว่าจะให้ลูกเรียนที่ไหนดี ดิฉันอยู่เขตหนองแขม โรงเรียนใกล้บ้านมีหลายแห่ง ส่วนใหญ่เป็นเอกชน ยิ่งโรงเรียนแนวพุทธ โอ้โฮ! แพงสุด ๆ ไม่เห็นว่าจะช่วยชาวพุทธด้วยกันเลย ก็มีแต่คนมีฐานะดีนั่นแหล่ะที่จะได้สิทธิ์นั้น!!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท