การจัดการความรู้ในสถานศึกษา:3


การจัดการความรู้ในสถานศึกษา ไม่ทำไม่รู้

วันวานผมพูดถึงกิจกรรมที่ควรใช้ในการสร้างการจัดการความรู้ในสถานศึกษา หากใครมีข้อคิดเพิ่มเติม หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันสามารถแนะนำได้เลยครับ

ส่วนวันนี้อยากนำเสนอเรื่องของผู้ที่น่าจะมีบทบาทในการขับเคลือ่นกระบวนการทำงานด้านการจัดการความรู้ในสถานศึกษากัน

ผู้ที่มีบทบาทในการดำเนินการจัดการความรู้          

1. ผู้บริหารสูงสุด (CEO) สำหรับวงการจัดการความรู้ ผู้บริหารสูงสุดควรเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจัดการความรู้ โดยกำหนดตัวบุคคลที่จะทำหน้าที่ คุณเอื้อ (ระบบ)ของ KM ซึ่งควรเป็นผู้บริหารระดับสูง เช่น รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายบริหาร เป็นต้น        

2. คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer, CKO) บทบาทแรกของคุณเอื้อก็คือ นำ เป้าหมาย/หัวปลา ไปขายผู้บริหารสูงสุด ให้ผู้บริหารสูงสุดกลายเป็นเจ้าของ หัวปลาให้ได้ บทบาทต่อไปของคุณเอื้อคือ การหา คุณอำนวยและร่วมกับ คุณอำนวยจัดให้มีการกำหนดเป้าหมาย/หัวปลาในระดับย่อยๆ ของ คุณกิจ/ผู้ปฏิบัติงาน”, คอยเชื่อมโยงหัวปลาเข้ากับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ขององค์กร, จัดบรรยากาศแนวราบ และการบริหารงานแบบเอื้ออำนาจ (Empowerment), ร่วม Share ทักษะในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการจัดการความรู้โดยตรง และเพื่อแสดงให้ คุณกิจเห็นคุณค่าของทักษะดังกล่าว, จัดสรรทรัพยากรสำหรับใช้ในกิจกรรมจัดการความรู้ พร้อมคอยเชื่อมโยงการจัดการความรู้เข้ากับกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ทั้งภายในและนอกองค์กร, ติดตามความเคลื่อนไหวของการดำเนินการให้คำแนะนำบางเรื่อง และแสดงท่าทีชื่นชมในความสำเร็จ อาจจัดให้มีการยกย่องในผลสำเร็จ และให้รางวัลที่อาจไม่เน้นสิ่งของแต่เน้นการสร้างความภาคภูมิใจในความสำเร็จ ซึ่งอาจเป็นหัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มสาระ เป็นต้น      

3. คุณอำนวย (Knowledge Facilitator , KF) เป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ ความสำคัญของ คุณอำนวยอยู่ที่การเป็นนักจุดประกายความคิดและการเป็นนักเชื่อมโยง โดยต้องเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ (คุณกิจ”) กับผู้บริหาร (คุณเอื้อ”), เชื่อมโยงระหว่าง คุณกิจต่างกลุ่มภายในองค์กร, และเชื่อมโยงการจัดการความรู้ภายในองค์กร กับภายนอกองค์กร โดยหน้าที่ที่คุณอำนวยควรทำ คือ - ร่วมกับ คุณเอื้อจัดให้มีการกำหนด หัวปลาของคุณกิจอาจจัด มหกรรมหัวปลาเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของ หัวปลา” - จัดตลาดนัดความรู้ เพื่อให้ คุณกิจ นำความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดความรู้ออกมาจากวิธีทำงานที่นำไปสู่ความสำเร็จนั้น เพื่อการบรรลุหัวปลา” - จัดการดูงาน หรือกิจกรรม เชิญเพื่อนมาช่วย” (Peer Assist) เพื่อให้บรรลุ หัวปลาได้ง่าย หรือเร็วขึ้น โดยที่ผู้นั้นจะอยู่ภายในหรือนอกองค์กรก็ได้ เรียนรู้วิธีทำงานจากเขา เชิญเขามาเล่าหรือสาธิต - จัดพื้นที่เสมือนสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสำหรับเก็บรวบรวมขุมความรู้ที่ได้ เช่น ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศซึ่งรวมทั้งเว็บไซต์ เว็บบอร์ด เว็บบล็อก อินทราเน็ต จดหมายข่าว เป็นต้น - ส่งเสริมให้เกิดชุมชนแนวปฏิบัติ (CoP-Community of Practice) ในเรื่องที่เป็นความรู้ หรือเป็นหัวใจในการบรรลุเป้าหมายหลักขององค์กร - เชื่อมโยงการดำเนินการจัดการความรู้ขององค์กร กับกิจกรรมจัดการความรู้ภายนอก เพื่อสร้างความคึกคักและเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภายนอก ซึ่งอาจเป๋นหัวหน้ากลุ่มสาระ ,หัวหน้างาน เป็นต้น       

4. คุณกิจ (Knowledge Pracititoner, KP)คุณกิจหรือผู้ปฏิบัติงานการจัดการความรู้ เพราะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ประมาณร้อยละ 90-95 ของทั้งหมด คุณกิจเป็นเจ้าของ หัวปลาโดยแท้จริง และเป็นผู้ที่มีความรู้ (Explicit Knowledge) และเป็นผู้ที่ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ หา สร้าง แปลง ความรู้เพื่อการปฏิบัติให้บรรลุถึง เป้าหมาย/หัวปลาที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจเป็นหัวหน้างานของโรงเรียนก็ได้       

5. คุณประสาน (Network Manager) เป็นผู้ที่คอยประสานเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงาน ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงที่กว้างขึ้น เกิดพลังร่วมมือทางเครือข่ายในการเรียนรู้และยกระดับความรู้แบบทวีคูณ

            ทั้งนี้ทั้งนั้นองค์กรจึงควรแต่งตั้งทีมงานด้านการจัดการความรู้ในองค์กรอย่างชัดเจน เพื่อทำหน้าที่ในการจัดการความรู้ในองค์กรให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

บางท่านอาจจะมีความรู้ตรงนี้อยู่แล้ว ก็ขออภัยด้วยนะครับ

หมายเลขบันทึก: 98023เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2007 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท