Learning organization


Learning organization

โดย เลิศชัย สุธรรมานนท์

บทความนี้แบ่งสาระสำคัญที่บรรยายได้เป็นสามส่วน คือ

1. ความหมายขององค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

2. คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้(Characteristics of Learning Organization)

3. รูปแบบของการเรียนรู้เป็นกลุ่ม (Types of Group Learning)

ส่วนที่หนึ่ง

ความหมายขององค์การแห่งการเรียนรู้

ความหมายขององค์การแห่งการเรียนรู้ โดยอ้างอิงนักวิชากรต่างๆหลายท่าน ที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ คือ

Senge , P. ซึ่งให้ความหมายว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ คือ องค์การที่บุคลากรเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานได้ตามที่ต้องการ เป็นองค์การที่สนใจความคิดใหม่ๆ และให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง

Pedler และคณะ ซึ่งได้ให้ความหมายขององค์การแห่งการเรียนรู้ ว่าเป็นองค์การที่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างกันทั่วทั้งองค์กร

ทั้งนี้องค์การแห่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ในบริษัทของวัฒนธรรมการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย

1. มีการสื่อสารภายในองค์การที่ดีและเปิดเผย

2. มีกลไกในการสำรวจตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับ

3. ให้เวลาอย่างเพียงพอกับกระบวนการเรียนรู้

4. ให้เกียรติ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน

ส่วนที่สอง

คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้

คุณลักษณะขององค์การแห่งการเรียนรู้ โดยอ้างอิงจากนักวิชาการ 3 ท่าน ประกอบด้วย Senge , Argyris และ Schon ว่าองค์การแห่งการเรียนรู้มีลักษณะดังนี้

 

Characteristic

Definition

Best Practices

Byproducts

ปัจเจกบุคคลที่มีความตื่นรู้ (Mastery Individual) สามารถที่จะวินิจฉัยสิ่งต่างๆอย่างตรงไปตรงมา เปิดเผย  มีวิสัยทัศน์ที่แจ่มชัด

- มีแรงกระตุ้นที่เป็นทางบวกจากผู้บริหาร

- แลกเปลี่ยนประสบการณ์

- มีปฏิสัมพันธ์กับหัวหน้า

- ได้รับ Feedback

- จัดดุลยภาพระหว่างงานกับชีวิต

- เกิด Commitment

- มีแนวคิดเชิง Negative น้อย

- เผชิญหน้ากับข้อจำกัดต่างๆได้

- ปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง

ปัจเจกบุคคลที่มีความแหลมคม (Mental Models Individual) สามารถมองเห็นสัจจะธรรมและเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ

- ให้เวลาสำหรับการเรียนรู้

- มองตนเองอย่างเปิดเผย

- เป็นนักสำรวจสอบถาม- มีความยืดหยุ่น ปรับตัว

-  ไม่เน้นปกป้องตนเอง

- ไม่หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่มีความยุ่งยาก

-ไม่แสดงพฤติกรรมที่ทำให้การทำงานร่วมกันมีความผิดเพี้ยนไป 

มีการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์กัน (Shared vision) แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ และเกิดวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตร่วมกัน

- มีส่วนร่วมอย่างเปิดเผย

- มีความน่าเชื่อถือ

- มีพฤติกรรมที่พร้อมแลกเปลี่ยน

- สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจร่วมกันได้

- ไวต่อการเปลี่ยนแปลง

- มีความเชื่อถือศรัทธากัน

- มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

- ผนึก ประสานการทำงานร่วมกันได้อย่างดี 

เรียนรู้กันเป็นทีม (Team Learning) การเสวนา เล่าสู่กันฟังมากกว่าการถกเถียงกัน

- มีส่วนร่วมอย่างเปิดเผย

- สร้างความคิดเห็นพร้องต้องกัน

- สื่อสารจากบนสู่ล่าง และล่างขึ้นบน

- แสดงความคิดสร้างสรรค์ 

- ความสามัคคี

- ความคิดริเริ่ม

ความคิดเชิงระบบ (System Thinking) วิเคราะห์ และมองเห็นความสัมพันธ์ เชิงเหตุผลของสิ่งต่างๆ

- ฝึกปฏิบัติตนเองให้มีความคิดที่เฉียบคม

- แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์

- เรียนรู้เป็นทีม

- ลดความขัดแย้ง

- มีการปรับปรุงต่อเนื่อง

- อ่านสถานการณ์ออก ซึ่งลงมือก่อนเหตุการณ์คับขัน 

ส่วนที่สาม

รูปแบบของการเรียนรู้เป็นกลุ่ม วิทยากร มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกลุ่มของบุคคล จะนำไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้

 การเรียนรู้เป็นทีม เป็นกุญแจสำคัญไขไปสู่การเรียนรู้ และเกิดองค์การแห่งการเรียนรู้ กล่าวคือ

1. การเรียนรู้เป็นทีม แบบ Cooperative เป็นการถ่ายทอด ทักษะ ข้อมูล การสนับสนุนช่วยเหลือกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกัน เป็นสังคมเป็นหรือองค์การ (Instrumental Knowledge)

2. การเรียนรู้เป็นทีม แบบ Collaborative เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนความคิด ด้วยการถ่ายทอดความรู้สึก ประสบการณ์ เพื่อสร้างความรู้ใหม่ มากกว่าให้แค่ข้อเท็จจริง จึงได้ผลลัพธ์เป็นความรู้ที่เรียกว่า Communicative Knowledge ซึ่งเป็นความรู้เชิงค่านิยม วัฒนธรรมขององค์การ

3. การเรียนรู้เป็นทีมแบบ Transformative เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในแง่มุมมองกรอบความคิดเดิม ทำให้เกิดความรู้แบบ Emancipator Knowledge ซึ่งเป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความตระหนัก มีการปรับกรอบความคิดจากเดิม อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้เป็นทีมแต่ละแบบ ต่างมีการคาบเกี่ยวเกื้อหนุนซึ่งกันและกันอย่างแยกไม่ออก

วิเคราะห์ วิจารณ์ และอภิปราย

เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ชัดเจนยิ่งขึ้นจึงเสนอมุมมองเพิ่มเติมอีก 3 ประเด็นคือ

1. องค์การแห่งการเรียนรู้ ว่าไม่ได้เป็นการที่รวบรวมคนที่เต็มไปด้วยความรู้ไว้ในที่เดียวกัน แต่เป็นที่ซึ่งสมาชิกในองค์การเรียนรู้ร่วมกัน และผลของการเรียนรู้ทำให้องค์การมีความสามารถเพิ่มขึ้น องค์การแห่งการเรียนรู้ จึงมีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จขององค์การเป็นอย่างยิ่ง ตามนิยามขององค์การแห่งการเรียนรู้ ที่ได้เลือกสรรมาอธิบาย

2. นักวิชาการจำนวนมาก ได้อ้างอิง วินัย 5 ประการของการเรียนรู้ ของ Senge ในการนำเสนองานของตน ในกรณีนี้ก็เช่นเดียวกัน แต่วิทยากรได้หยิบวินัย 5 ประการที่เดิม เหมือนคำสอนที่เป็นนามธรรมมากให้เป็นรูปธรรม กล่าวคือ ได้แนะนำแนวทางปฏิบัติในวินัยแห่งการเรียนรู้แต่ละข้อ และอธิบายถึงผลที่จะได้รับไว้ด้วย ทำให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น

3. ได้นำเสนอรูปแบบของการเรียนรู้ที่ยังคงเน้นที่การเรียนรู้เป็นทีม ถึง 3 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบทำให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะต่างกัน เช่นเกิดการเรียนรู้แค่ข้อเท็จจริง เกิดการเรียนรู้ในเชิงค่านิยม วัฒนธรรมองค์การ และเกิดการเรียนรู้ถึงขั้นเปลี่ยนกรอบความคิด ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบ ต้องเกิดขึ้นในองค์การ จึงจะทำให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้

ข้อเสนอแนะ

การนำเสนอบทความนี้ แม้จะอย่างกระชับ แต่คงมีคุณค่ามาก โดยเฉพาะในส่วนที่สาม ที่เป็นการนำเสนอการเรียนรู้เป็นกลุ่ม 3 รูปแบบที่มีการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างครบถ้วน ทั้งในด้านข้อมูล ทักษะ ทัศนคติ และการเปลี่ยนกรอบความคิด น่าจะได้มีการสร้างเป็นตัวแบบ และมีการยืนยันด้วยกระบวนการวิจัย หากผลการวิจัยสนับสนุนตัวแบบนี้ และมีความสอดคล้องเหมาะสมกับองค์กรใด องค์กรนั้นสามารถนำผลไปปฏิบัติได้ อย่างไรก็ตาม ตัวแบบที่กล่าวข้างต้นนี้ นอกจากต้องเพิ่มเติมมิติด้านวัฒนธรรมภายในองค์กรแล้ว น่าจะเพิ่มมิติบริบทแวดล้อมภายนอกองค์การมาใช้ในการศึกษาด้วย จะทำให้ผลการศึกษามีความสมบูรณ์และเกิดคุณค่าอย่างมาก

คำสำคัญ (Tags): #learning organization
หมายเลขบันทึก: 98651เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2007 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 06:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้เข้ามาอ่านผมคิดว่าสิ่งที่อาจารย์สื่ออกมามีความชัดเจนอย่างมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท