การแบ่งสาขา


ธรรมชาติของการจัดระเบียบอยู่หมายถึงปรากฏการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นผลของการกระทำหรือปรากฏการณ์ของอย่างใดอย่างหนึ่ง

วิทยาศาสตร์ (Science)   เป็นกระบวนการที่เป็นระบบที่ใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์  ของธรรมชาติ มนุษย์    และสังคม           นอกจากนี้ยังหมายถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาอย่างเป็นระบบปราศจากการลำเอียง

(Systematic and Unbiased Study)   ตามกระบวนการที่เรียกว่า   “วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)  คำว่า Science มาจากคำว่า Scientia  ในภาษา Latin  ซึ่ง   หมายถึงความรู้ (Knowledge)  


วิธีการทางวิทยาศาสตร์มีแนวคิดพื้นฐานจากความเชื่อที่ว่า   ในจักรวาลหรือบนดาวเคราะห์ที่ชื่อว่า “โลก” ( Planet Earth ) ดวงนี้ มีธรรมชาติของการจัดระเบียบอยู่หมายถึงปรากฏการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นผลของการกระทำหรือปรากฏการณ์ของอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทุกอย่างที่เกิดขึ้นต้องมีสาเหตุจึงจะทำให้เกิดผลวิทยาศาสตร์จึงมีแนวคิด     พื้นฐานในเรื่องของ  “เหตุ และผล”  วิธีการทางวิทยาศาสตร์  เป็นวิธีการหนึ่งในการแสวงหาความรู้ความจริงที่    ไม่จำกัดเป็นกฏเกณฑ์ตายตัวโดยทั่วไปจะมีวิธีการดำเนินการ   โดยเริ่มจากการกำหนดปัญหา    (Stating a Problem)    รวบรวมข้อมูล (Collecting Data)    ตั้งสมมติฐาน (Forming Hypotheses)   ทดสอบสมมติฐาน (Testing Hypotheses)     และสรุปผล (Forming a Conclusion)     ตามลำดับการแบ่งสาขา (Branches)        วิทยาศาสตร์นี้โดยทั่วไปจะใช้เกณฑ์ของเนื้อหาวิชา (Subject  Matter)   และจุดมุ่งหมาย (Purpose) เป็นเกณฑ์ในการแบ่งสาขา


   

    การแบ่งด้วยเนื้อหาวิชา (Classification by Subject Matter) ทางด้านวิทยาศาสตร์แบ่งย่อยเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Sciences) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติและกายภาพของโลก และสังคมศาสตร์ (Social Sciences) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพฤติกรรมและสังคมมนุษย์ ในแต่ละสาขายังแยกย่อยออกไปอีก การบริหารการศึกษาจัดอยู่ในกลุ่มของสังคมศาสตร์ ซึ่งนอกจากจะใช้เนื้อหาทาสังคมศาสตร์แล้วยังใช้เนื้อหาและความเข้าใจในกฏเกณฑ์ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติอีกด้วย


    การศึกษาเป็นการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำมาใช้กับการศึกษา   การนำความรู้    การแบ่งด้วยจุดประสงค์ (Classification by Purpose)    เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาโดยมีจุดประสงค์เพื่อต้อง การหาความรู้ความจริงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งยังไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับมวลมนุษย์ได้เรียก        การศึกษาโดยจุดประสงค์ลักษณะนี้ว่า  วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science)   หรือวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Basic Science) แต่ถ้านักวิทยาศาสตร์ต้องการศึกษาเพื่อจุดประสงค์ในการนำผลที่ได้ไปใช้เพื่อพัฒนาชีวิตและ    ความเป็นอยู่ หรืออื่นใดเพื่อเอื้อประโยชน์กับมนุษย์เรียกการศึกษานี้ว่าวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) การบริการความจริงและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและทางสังคมศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับมวลมนุษย์เรียกว่า การใช้เทคโนโลยี (Technology)


ดังนั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีความสัมพันธ์กันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้ความจริงและวิธีการไปใช้ ส่วนคณิตศาสตร์ซึ่งมีเนื้อหาด้านการคำนวณแต่เดิมจัดเป็นวิทยาศาสตร์ในกลุ่มวิทยาศาสตร์ธรรมชาติด้านฟิสิกส์ (Physical Science)  แต่ในปัจจุบันมักนิยมแยกไว้ในฐานะที่เป็นเครื่องมือของวิทยาศาสตร์ (A Tool of Science)  มากกว่าที่จะจัดว่าเป็นวิทยาศาสตร์


หมายเลขบันทึก: 98909เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
P

สวัสดีค่ะ

ให้ข้อมูลดีมากค่ะ

สวัสดีครับ

เนื้อหาดีมาก ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท