การประชุมผู้บริหารกรมฯ


ให้แต่ละเขตนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาผลผลิตการเกษตรและการพัฒนาเพื่อปรับปรุงงานในทีประชุมผู้บริหารครั้งต่อไป

    การประชุมผู้บริหารกรมส่งเสริมการเกษตรเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 โดยมี ท่านรองเกรียงไกร เป็นประธาน มีสาระสำคัญดังนี้

  • การเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผน
  • แผนปฎิบัติงาน 5 ปี กรมฯได้แจ้งให้ทุกหน่วยงานจัดทำแผนปี 51-55
  • กรอบอัตรากำลังของกรมฯปี 2549-2553 มีข้อมูลเกี่ยวกับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ การเกษียณอายุในรอบ 5 ปี

      จากข้อมูลนี้ท่านรองไพโรจน์ได้กล่าวว่าควรจะมีการชี้แจงทำความเข้าใจกับสำนักงานก.พ.ว่าหากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรจะมีแต่ข้าราชการระดับสูงแต่ข้างล่างไม่มีเจ้าหน้าที่เลย แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรอย่างใกล้ชิด

  • สถานการณ์ผลไม้ภาคตะวันออก ขณะนี้มีทุเรียนเหลือร้อยละ 10  เงาะเหลือร้อยละ 15  มังคุดเหลือร้อยละ 5

       ท่านรองไพโรจน์กล่าวว่าตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูงมากแต่เราไม่สามารถส่งออกได้ เพราะยังขาดการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  สสจ.ควรมีการศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป

  • กรมฯจะจัดงานชุมนุมยุวเกษตรกรทั่วประเทศ โดยมาจากทุกจังหวัดในระหว่างวันที่ 2-5 กรกฎาคม 2550 ที่จังหวัดนครนายก ทั้งนี้สมเด็จพระเทพรัตนฯจะเสด็จทรงเปิดงานวันที่ 3 ก.ค.2550 เนื้อหาการสัมมนามีทั้งเนื้อหาวิชาการ  จัดนิทรรศการ 80 อาชีพที่พ่อให้ ตลอดจนมีการสาธิตของจริงจังหวัดละ 1 อย่าง ทั้งนี้ให้จังหวัดเสนอมา 5 อย่างเพื่อนำมาคัดเลือกไม่ให้ซ้ำกันส่งภายในวันที่ 8 มิ.ย 2550 โดยให้เขตประสานงาน

 

  • กรมฯจัดงานตลาดนัดโครงการสายใยรัก ที่ตลาด อตก.วันที่ 30 พ.ค. 2550 - 3 มิ.ย. 2550  ซึ่งจะมีการจัดทุกเดือนพุธสุดท้าย-วันอาทิตย์ของเดือน จึงขอเชิญชวนให้เยี่ยมชมและซื้อสินค้าราคาประหยัดและคุณภาพดี

 

  • การดูงานที่ยุโรป  ท่านรองไพโรจน์เล่าว่าตลาดยุโรปมีความต้องการสินค้าคุณภาพและมีความปลอดภัยโดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์จะมีราคาสูงกว่าสินค้าอื่นร้อยละ 36 และจะขายดีมากกว่าสินค้าอื่น ชาวยุโรปให้ความสำคัญด้านการป้องกันมากกว่ารักษาเพราะเป็นที่ทราบกันว่าสารเคมีเป็นสาเหตุใหญ่ของโรคมะเร็ง   ดังนั้นเราต้องพัฒนาคุณภาพดินและน้ำซึ่งเป็นพื้นฐานการผลิตทางการเกษตร โดยการทำบัญชีธาตุอาหารและองค์ประกอบการผลิตไว้

         อนึ่งเรายังมีปัญหาด้านการผลิตสินค้าที่ได้แสดงต่างประเทศที่มีคุณภาพสูง เมื่อมีการสั่งซื้อก็ผลิตได้ปริมาณน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ดังนั้นควรมีการวางแผนและประสานการทำงานร่วมกับสำนักที่ปรึกษาพาณิชย์ และกรมส่งเสริมการส่งออก โดยการใช้หลักการ ดินดี น้ำถึง  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำแผน 5 ปีต้องร่วมมือกับกรมชลประทานและกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อกำหนดเป้าหมายได้ชัดเจนว่าเราจะเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรต่อคนต่อปีเท่าไร คิดเป็นมูลค่ารวมของประเทศเท่าไรต่อปี จึงจะเป็นกระบวนการพัฒนาการเกษตรที่ถูกต้อง ผู้รับผิดชอบในพื้นที่จะได้ทราบเป้าหมายที่ชัดเจน

  • ที่ประชุมมีมติให้แต่ละเขตนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาผลผลิตการเกษตรและการพัฒนาเพื่อปรับปรุงงานในทีประชุมผู้บริหารครั้งต่อไปเรียงลำดับ ดังนี้

         เขตภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่  เรื่องแนวทางการพัฒนาลิ้นจี่ให้มีคุณภาพและไม่ล้นตลาด

         เขตภาคใต้ จังหวัดสงขลา  เรื่องแนวทางการพัฒนาลอกองในภาคใต้ รวมทั้งการประมาณผลผลิตที่จะออกมาในฤดูกาลนี้

         เขตภาคตะวันออก จังหวัดระยอง เรื่องแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตการเกษตรภาคตะวันออก

        เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น เรื่องการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยภายใน 5 ปี

       เขตภาคตะวันตก จังหวัดราชบุรี เรื่องการผลิตพืชปลอดภัย โดยเฉพาะกระเจี๊ยบเขียว กล้วยหอมทอง และพืชอื่น ๆ แนวทางแก้ไขกรณีถูกยกเลิกการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น

       เขตภาคกลาง จังหวัดชัยนาท เรื่องโครงการฟื้นฟูเพื่อสายใยรักแห่งครอบครัวผู้ประสบภัยพิบัติ ให้มีการวางแผนล่วงหน้าหากมีน้ำท่วมจะทำอย่างไร สำหรับการตั้งครัวสายใยรักนั้น กระทรวงการคลังอนุมัติให้สามารถเบิกจ่ายได้แล้ว

      บันทึกมาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ

ธุวยนันท์ พานิชโยทัย

30 พ.ค.2550

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 99525เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2007 08:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • การผลิต น่าจะทำได้
  • แต่ ตลาด ไม่ค่อยไปถึงไหน
  • สินค้า GAP ราคาเดียวกับสินค้าทั่วไป
  • ไม่มีจุดต่าง เกษตรกร จึงไม่ค่อยเชื่อ จนท.เราแล้วครับ
  • เห็นด้วยกับหนุ่มเมืองร้อยเกาะว่าการตลาดเป็นจุดอ่อนของเราเป็นอย่างยิ่ง ควรมีการลงทุนฝึกฝนทักษะในเรื่องนี้ ความจริงเจ้าหน้าที่เราเก่งในเรื่องนี้หลายคน ควรนำมา ลปรร.กันจะเกิดประโยชน์มากเลยคะ
  • ในส่วนราคาสินค้านั้นจะต้องมีการส่งเสริมรณรงค์อย่างขนานใหญ่เลยคะ มีการพูดเรื่องนี้มาก ตั้งนานแล้วด้วยคะ ไม่ทราบว่ามีใครทำอะไรไปบ้างถึงไหน เพราะเรื่องนี้เป็นจิตสำนึกทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
  • ได้ทราบว่าจ.สุราษฎร์ฯก้าวหน้ามาก ๆ เรื่องKM แอบไปดูหลายครั้งแล้วคะ น่าชื่นชมจริง ๆ

  วันนี้แวะมาเยี่ยม ความจริงแล้ว ผมติดตามผลงานของคุณมาตลอด  ต้องขอชื่นชมจริงฯ ที่ได้เล่าถึงเมาเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อนักส่งเสริม ที่อยู่ในภาคสนามมากเลยครับ โดยเฉพาะการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยเราจะทำอย่างไรที่จะใช้ระบบส่งเสริมการเกษตร ขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจังแก่เกษตรกรครับ

  • ขอบคุณคุณเขียวมรกตมากนะคะ ที่ติดตาม มีอีกหลายเรื่องที่ข่าวสารไปไม่ถึงภาคสนาม หลายเรื่องที่เราไม่สามารถสื่อสารได้ ทำให้เสียดายองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ดี ๆ หลายเรื่อง จะพยายามเล่าเรื่องที่ตนเองทราบคะเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  • ขณะนี้กรมฯก็พยายามใช้ km เป็นเครื่องมือในการผลิตสินค้าที่ปลอดภัย หลายจังหวัดที่เป็นจังหวัดนำร่อง 2 ปีที่แล้วก็ขับเคลื่อนอยู่เช่นกำแพงเพชร นครพนม นครศรีธรรมราชและอีกหลายจังหวัดคะ ลองติดตามดูนะคะ
   ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน

   วันนี้เลิกงานแล้วกลับไปถึงบ้านพัก ก็ต้องรีบเปิดบล๊อกดูทันที เพราะใจจดจ่อว่าวันนี้คุณจะเล่าเรื่องอะไรที่เป็นประโยชน์แก่นวส.ผู้ที่ทำงานอยู่ภาคสนามนะครับ

ผมลองติดตามดูการส่เสริมพืชปลอดภัยที่ใช้หลัก GAP นั้นมันยังไม่ต่อเนื่องเท่าไหร่ ที่ผ่านมามันเริ่มต้นที่ดีเอามากเลย แต่ก็พบอุปสรรคมีไม่น้อย ถ้าหากมีเวทีKM  กรมฯเมื่อใดหากมีโอกาสไปร่วม จะได้ลปรร. กันน่ะครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท