การจัดการความรู้ในสถานศึกษา:4


โรงเรียนเป็นองค์กรที่มีความจำเป็นต้องมีการจัดการความรู้เป็นอย่างยิ่ง เพื่อมิให้องค์ความรู้ต่า่ง ๆ ต้องสูญไปโดยเปล่าประโยชน์
กระบวนการปฏิบัติการจัดการความรู้ ในโรงเรียน
    วันนี้อยากนำำเสนอกระบวนการปฏิบัติการจัดการความรู้ในโรงเรียน การจัดการความรู้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะครูถือว่าเป็นบุคลากรที่มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์เยาวชนหรือบุคลากรที่มีคุณภาพแก่สังคม ดังนั้นครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและทักษะในการจัดการความรู้ให้สูงขึ้นดังนี้
1.ขั้นการกำหนดความรู้ ครูจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแต่ละระดับ เพื่อนำมากำหนดความรู้ที่ต้องการในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งให้ความร่วมมือกับโรงเรียน และบุคคลอื่นในการคิดวางแผน กำหนดความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2.ขั้นการแสวงหาความรู้ ครูต้องตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน เพื่อนำมาพัฒนาความสามารถ และทักษะของตนเอง รู้จักใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงข้อมูล และรู้จักการแสวงหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และภูมิปัญญาในท้องถิ่น ชุมชนที่ตั้งของโรงเรียน
3.ขั้นการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ครูควรมีการจัดทำแผนการจัดการความรู้โดยผ่านการวิเคราะห์ความต้องการขององค์กร   และมีเนื้อหาแผนสอดคล้องกับแนวคิดการจัดการความรู้
4.ขั้นการสร้างความรู้ ครูต้องร่วมสร้างความรู้และนวัตกรรมของโรงเรียน สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ประชุม อบรม เพื่อนำมาซึ่งความรู้และนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนและเพื่อครูด้วยกัน
5.ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูควรเป็นสมาชิกเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพของครูทั้งในและนอกสถานศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอยู่เสมอ รวมไปถึงการเผยแพร่ความรู้ ความสามารถตนเองที่เป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของตนเอง เช่น วิธีการสอน เป็นต้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่นอยู่เสมอ
6.ขั้นการเก็บความรู้ ครูต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีในการเก็บความรู้ในเวบไซต์ สื่อต่าง ๆ ตลอดจนถึงการจัดทำเอกสารประกอบการสอนที่ได้จากการสร้างความรู้ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นขุมความรู้ ( Knowledge  Asset ) ที่เกิดจากการสกัดความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งใน     และนอกองค์กร ทั้ง Tacit และ Explicit Knowledge )
7.ขั้นการนำความรู้ไปใช้ ครูควรเข้าร่วมกิจกรรมการเสนอผลงาน ความรู้ในโอกาสต่าง ๆเพื่อแสดงถึงการนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง รวมทั้งมีการเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น วารสาร เวบไซต์ ต่างๆ รวมทั้งการเป็นFacilitator แก่บุคลากรในโรงเรียนในเรื่องการจัดการความรู้
ผลดีของโรงเรียนที่มีการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องจริงจัง
1.โรงเรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้น สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปการศึกษา
2.มีมาตรฐานและคุณภาพการจัดการศึกษาสูงขึ้น เป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
3.โรงเรียนสามารถพัฒนาไปสู่องค์กรคุณภาพได้โดยง่าย “องค์กรแห่งการเรียนรู้”
4.บุคลากรมีสมรรถนะในการทำงานสูงขึ้น เหมาะสมกับวิชาชีพขั้นสูงอย่างแท้จริง
หมายเลขบันทึก: 99590เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2007 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท