ดอกไม้


แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช
เขียนเมื่อ

วันนี้ไปร้านกาแฟสไตล์ญี่ปุ่นสวยงาม ถูกใจการแต่งสวนสวย

3
2
ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์
เขียนเมื่อ

วันนี้ได้เป็น Superior กับเขาบ้างแล้ว

5
2
ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์
เขียนเมื่อ

ประมาณ 65% ของการเข้าใช้ ClassStart มาจากโทรศัพท์มือถือ = Mobile Learning มีเพียงแค่ 2% ใช้งานผ่าน Tablets

5
3
บุรชัย
เขียนเมื่อ

ผมมีหนังสือเล่มหนึ่ง ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นของคุณแม่ซื้อไว้ ผมเชื่อว่าน่าจะหมดอายุของลิขสิทธิ์แล้ว หรือไม่ก็ สำนักพิมพ์ตอนนี้คงไม่อยู่แล้ว ผมคิดว่าน่าจะสแกนเก็บไว้เป็น archive ได้ คงไม่ผิดกฏหมาย ก็เลยเพิ่งดำเนินการเสร็จ เพิ่งอัพโหลดไว้ที่นี่ หนังสือที่ว่า คือ "ประมวลภาพทรงผนวช" ซึ่งมีภาพประวัติศาสตร์มากมาย ท่านส่วนมากคงไม่เคยเห็น ดูแล้วก็ปลื้มใจ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย 

หน้าปกเลอะนิดหนึ่ง เด็กมือบอนคนหนึ่งระบายสีเล่นเมื่อกว่า ๕๐ ปีก่อน (ผมเองแหละ) :-) ขออภัยด้วย 

ท่านใดสนใจ ก็ดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ เป็น zip file ภายในมีภาพ JPEG สแกนจากหน้าหนังสือ จำนวน ๘๕ ภาพ

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/037/610/original_King_ordination_2499_book_JPEG.zip?1406815713

6
3
บุรชัย
เขียนเมื่อ

ห้องทำงานที่บ้านต่างจังหวัด ที่ที่มีอากาศดีๆ ใกล้ชิดธรรมชาติ เป็นสถานที่ที่เหมาะกับการไปนั่งคิดอะไรเงียบๆ เพื่อระดมสมอง ทบทวนเรื่องราว ศึกษาสิ่งที่ยาก และเขียนหนังสือ 

ห้องทำงานผมที่บ้านทางเหนือเพิ่งเสร็จสมบูรณ์ เพิ่งจัดหนังสือเสร็จ

หนังสือนี้ บางเล่มสะสมมาตั้งแต่เรียนประถม ผมอยากนึกมีห้องสมุดส่วนตัวมาตั้งแต่สมัยเรียนประถม ๖ แล้ว ต่อมาก็ต้องขอบพระคุณคุณครูประจำชั้นสมัยผมเรียนประถม ๗ ช่วยตอกย้ำ ทำให้ผมเป็นนักอ่านตามท่าน ครูผมสอนว่า "ครูเงินเดือนน้อย แต่ครูแบ่งเงินซื้อหนังสืออ่านทุกเดือนๆ ละเล่มสองเล่ม เก็บสะสมไว้เป็นชั้นหนังสือ" จากนั้นผมก็ซื้อหนังสืออ่านมาเรื่อยๆ และผมก็ยังนึกถึงครูท่านนี้อยู่เสมอครับ ทั้งๆ ที่เคยพลอยโดนไม้เรียว(ทั้งชั้นเรียน)ของท่านเจ็บก้นทีเดียว แต่รักท่านมาก

ผมจัดแจงเอาหนังสือเล่มหนึ่งที่ยังหลงเหลืออยู่ ไม่สูญหาย ไม่โดนปลวกกิน (เล่มข้างล่าง โชว์ปกใน) ขึ้นชั้นเป็นประเดิมครับ

บทเรียนของผมในเรื่องนี้ก็คือ คำพูดของครูประถมที่หมั่นเน้นค่านิยมที่ดี เด็กบางคนอาจจะประทับใจบ้างก็ได้ จนทำให้มันเป็นความจริงในอนาคตขึ้นมาก็ได้

สำหรับการพัฒนาประเทศไปสู่ยุคสังคมความรู้ เด็กรุ่นใหม่ควรเป็นผู้ใฝ่รู้ เป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องปลูกฝังนิสัยรักการอ่านครับ 

มันก็เหมือนปลูกต้นไม้ หรือปลูกผัก มันก็ต้องมีต้นที่รอดบ้างแหละ

8
6
บุรชัย
เขียนเมื่อ

ในรอบ ๑ เดือนที่ผ่านมา ผมเริ่มเขียน blog เฉพาะทางให้เว็บที่ทำงานใหม่
เนื้อหาที่นั่นมีขอบเขตที่แน่นอน คือข่าวและความรู้ในเรื่อง สาธารณสุข โรคระบาด โรคติดเชื้อ การระบาดของโรค (ทั้งในคน และ สัตว์), และ มโนทัศน์เกี่ยวกับ สุขภาพหนึ่งเดียว (One Health), โดยเน้นการให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับสาธารณชน รวมถึงครูบาอาจารย์ โดยผู้สนใจตามอ่านได้ครับ ที่ thohun.org

ในอนาคต ผมตั้งใจว่าจะเขียนบทความที่เป็นเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ภาษาไทยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวเพิ่มอีก ซึ่งคุณครูในโรงเรียนบางท่านอาจจะนำเนื้อหาไปใช้ประกอบการสอนนักเรียนได้ด้วย

5
0
บุรชัย
เขียนเมื่อ

สองเดือนมานี้ผมผ่านพ้นภาระที่ไปช่วยงานที่กรุงเทพ ได้มาใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านต่างจังหวัด ได้มีเวลาอ่านโน่นอ่านนี่ และก็วางแผนสิ่งที่จะทำต่อไป

นึกถึงบทความเก่าภาษาอังกฤษที่เคยเขียนไว้เมื่อ ๒๒ ปีมาแล้ว (แหม เวลาผ่านไปเร็วจัง) เคยอัพโหลดไว้บนเว็บเก่าแต่ตอนนี้คงไม่มีแล้ว เลยสำเนามาฝากเก็บไว้ใหม่ที่ GotoKnow เผื่อในอนาคตใครจะสนใจประวัติศาสตร์ของชีวเคมีบ้าง บทความที่ว่านี้เดิมเขียนในปี ค.ศ. ๑๙๙๔ ลงพิมพ์ในหนังสือ "สานสายใย สายสัมพันธ์ สามทศวรรษชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" เป็นเรื่องความเปลี่ยนแปลงของวิชาชีวเคมี และภาควิชาฯ ในขณะนั้น ซึ่งกำลังจะเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ต และก็พูดถึงประวัติศาสตร์พัฒนาการทางเทคนิคของชีวเคมี (หลังจากตีพิมพ์ครั้งนั้น มีแก้ไขเล็กน้อย และเปลี่ยนชื่อบทความเล็กน้อย)

ลิงก์เอกสาร PDF

6
0
บุรชัย
เขียนเมื่อ

สองวันมานี้งัดบทความที่ผมเคยแปลไว้เมื่อ ๓ ปีก่อนมาปรับปรุงคำแปลใหม่ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น คือ พุทธศาสนาและนักปรัชญาเยอรมันในศตวรรษที่ ๑๙ ที่ผมแปลมาจากบทความของ Dumoulin ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 1981 และเอกสารหาอ่านยาก ผมเคยเซฟภาพบทความไว้ก็เลยต้องไปแกะเนื้อความจากภาพขยาย เอกสารที่เคยแปลครั้งก่อนยังแปลไว้ไม่ดีพอ คราวนี้ปรับปรุงแล้วก็ได้อีเมลส่งไปถวายพระท่านที่เคารพนับถือได้พิจารณาศึกษาต่อไปแล้ว

ท่านที่สนใจ เอกสาร pdf ดาวน์โหลดได้ที่นี่


6
2
บุรชัย
เขียนเมื่อ

ผมเพิ่งดูคลิปนี้ คิดว่าน่าสนใจมากสำหรับชาวพุทธ อยากแบ่งปันให้สมาชิก Goto Know แวะไปดูด้วยครับ เกี่ยวกับสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่อังกฤษค้นพบในอินเดียในสมัย ร. ๕ และได้ถวายพระบรมสารีริกธาตุให้ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ซึ่งต่อมาได้บรรจุไว้ที่ยอดภูเขาทอง

ชาวไทยที่เคยอ่านเกี่ยวกับเรื่องราวตอนอัญเชิญมาในสมัย ร. ๕ นั้นคงไม่สงสัยว่าพระบรมสารีริกธาตุนั้นจริงหรือไม่ เพราะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเรื่องน่าทึ่งที่คนสมัยนั้นเล่าขาน แต่ฝรั่งซึ่งไม่ทราบเรื่องเล่าดังกล่าว ต้องการจะพิสูจน์ เพราะทายาทของผู้ที่ขุดค้นต้องการความสบายใจ เพราะปู่เขาโดนกล่าวหาว่าทำปลอม

ดูคลิปนี้แล้วก็ได้ความเข้าใจมากขึ้นเยอะ สรุปว่า จากจารึกในผอบหินที่ค้นพบนั้น ผู้เชี่ยวชาญอักขระอินเดียโบราณสรุปว่าเป็นอักขรพราหมีสมัยพระเจ้าอโศก มีศัพท์ที่ไม่เคยเจอที่ไหนอีกเลยนอกจากบนผอบหินนี้ และนั่นแสดงว่าย่อมไม่มีใครปลอมได้ และพระเจ้าอโศกน่าจะเป็นผู้ให้สร้างสถูปที่พบผะอบนี้ที่ตอนเหนือของอินเดีย ตรงสถานที่ที่เคยเป็นแหล่งบรรรจุพระอัฏฐิของเชื้อพระวงศ์ของศากยวงศ์ (บริเวณนั้นไม่ไกลจากกบิลพัสดุ์ของเนปาล)

ผมออกจะขำที่ว่า สมัยนั้นรัฐบาลอังกฤษพยายามโยนเผือกร้อนออกไป เพราะเชื่อกันว่าคงเป็นของปลอม ก็เลยหาทางปัดให้พ้นตัว เรื่องราวจะได้เงียบลง โดยถวายให้รัชกาลที่ ๕ เสีย แล้วแถมก็ได้พระราชไมตรีไปด้วย ไปๆ มาๆ เราเลยได้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าของจริง ไม่ต้องสงสัยกันอีก

ว่างๆ ผมคงต้องไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุที่ภูเขาทองอีกสักครั้ง

คลิปที่ยูทิวบ์ : National Geographic: Bones of the Buddha clip

7
0
บุรชัย
เขียนเมื่อ

เมื่อคืน ผมอ่าน "มาริษาราตรี" นวนิยาย (ย้อนยุค 1960s) ของ สมเถา สุจริตกุล จบ วันนี้เลยบันทึกความคิดเอาไว้ในบล๊อกข้างนอก ผู้ใดสนใจตามไปอ่านที่ลิงก์นะครับ มาริษาราตรี

4
0
บุรชัย
เขียนเมื่อ

เมื่อห้องสมุดภาควิชาโดน digital disruption / ตำราและหนังสือวิชาการพิมพ์ด้วยกระดาษที่กำลังหายไป พร้อมความรู้พื้นฐานดั้งเดิม

วันนี้ ผมไปเยี่ยมภาควิชาเก่าที่เคยทำงาน (ขออนุญาตไม่ระบุสถานที่เพราะไม่ใช่ประเด็นสำคัญ) วันนี้ห้องสมุดภาคฯ โดนเปลี่ยนไปเป็น co-working space แล้ว มีโต๊ะทำงานและเก้าอี้นั่งสบายไว้ทำงาน(กับโน้ตบุ๊คที่ผู้ใช้ต้องนำมาเอง) หนังสือเก่านับพันเล่มที่เก็บสะสมมากว่า ๕๐ ปีออกมาวางตั้งไว้เพื่อให้นักศึกษาที่สนใจเลือกเก็บไปใช้ส่วนตัวได้

มันมีความรู้สึกเกือบตรงกันข้ามอยู่ ๒ ด้านในหัวผม

๑. ในแง่ใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ผมก็เห็นด้วยว่าการเปลี่ยนรูปแบบการใช้พื้นที่ ให้ตรงกับความต้องการของคณาจารย์และนักศึกษาในปัจจุบันของภาควิชา ก็เหมาะสมดีแล้ว

๒. แต่ในแง่ความรู้สึกของคนรักหนังสือ (ซึ่งอายุเลยวัยเกษียณ) ดูเหมือนว่าหนังสือเก่าๆ นั้น คนรุ่นหลังไม่ได้ให้ค่าและคิดเฉลียวใจเลยว่า ความรู้เก่าๆ เชิงรายละเอียด และความรู้ทางเทคนิคเก่าๆ ที่มีในหนังสือวิชาการเก่าในสาขาวิชาเฉพาะทางต่าง ๆ นั้น ไม่ได้มีให้ค้นหาได้ง่ายใน ebook หรือว่ามีใน เอกสาร PDF เสียทั้งหมด (ลองนึกถึงหนังสือวิชาการรายปีของต่างประเทศ พวก Annual Reviews ในสาขาวิชาต่างๆ เป็นตัวอย่างดูครับ) ในอนาคต เราต้องอิงกับการจ่ายค่าสมาชิกบอกรับวารสารจากต่างประเทศทุกปีเป็นจำนวนเงินมหาศาล ต้องจ่ายค่าต๋งแสนแพงให้ฝรั่งทุกปีตลอดไป. หนังสือตำราดีๆ ที่กระจายไปแล้ว เอ็นโทรปีที่เพิ่มขึ้นทำให้เราคงไม่มี hard copy เหลือให้ค้นได้อีกในอนาคต หรืออาจมีเหลืออยู่บ้างในบางที่ แต่ก็คงหายากมาก หรืออยู่ไกลจนไม่มีใครในอนาคตจะเดินทางไปค้น. อันที่จริงมันมีประเด็นให้คนน่าจะคิดทำอีกมากมาย ตัวอย่างเช่น digitization of books ในห้องสมุดก่อนจำหน่ายจ่ายแจกออกไป ฯลฯ แต่ไม่มีใครทำ (เพราะไม่มีคนเห็นว่าสำคัญ). ที่เปรยเล่ามา เพราะคงมีเหตุการณ์คล้ายแบบนี้ที่อื่นอีกแน่.

ผมเองคงไม่ได้ใช้ความรู้ในหนังสือเหล่านั้นอีก ผมจึงไม่ได้ไปใส่ใจค้นหนังสือดูว่าจะมีเล่มไหนน่าสนใจ เพียงแต่แอบทราบว่า มีบางเล่มที่เป็นหนังสือบริจาคให้ห้องสมุดของคณาจารย์เกษียณบางท่านเมื่อหลายสิบปีก่อน ท่านก็มาหยิบหนังสือของท่านคืนไป.

4
1
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท