การสอบแบบประกาศเฉลย


สอบเสร็จ เฉลยทันที มีที่ไหน...ถ้ายังไม่มีมาทำให้มีกันเถอะ
การสอบแบบประกาศเฉลย               ชวลิต  จิตต์ชื่นกศ.ม.การวัดผลการศึกษา 


 
การสอบแบบประกาศเฉลย  (
Open keys Test)  เป็นการสอบที่ใช้ข้อสอบ(Item)  ได้หลายประเภทตามหลักวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาทั่วๆ ไป  เพียงแต่เพิ่มขั้นตอนกระบวนการดำเนินการที่สำคัญเข้าไปอีกส่วนหนึ่ง คือ  ในการดำเนินการสอบเมื่อหมดเวลาการสอบแล้ว  จะมีการติดประกาศเฉลยพร้อมคำอธิบายเฉลยโดยละเอียด 


จึงเป็นการสอบที่เร้าความสนใจผู้สอบได้ดี และสร้างแรงจูงใจในการใฝ่เรียนรู้ได้มากที่สุด  เพราะตามหลักจิตวิทยาแล้ว เมื่อคนเราได้เกิดความสงสัยแล้ว  การได้รับคำตอบพร้อมเหตุผลอธิบายจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ทันที  กระบวนการคิดจะได้รับการพัฒนาถึงขีดสูงสุด เพราะผู้เข้าสอบจะเกิดการประมวลผลความรู้ในตัวเขาเพื่อนำเหตุผลมาเปรียบเทียบกับเฉลยว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่  หากเหตุผลตามเฉลยถูกต้องก็จะเกิดการยอมรับ (
Accept)  หากเหตุผลตามเฉลยไม่ถูกต้อง หรือเขามีเหตุผลที่ดีกว่าอธิบายได้ถูกต้องเหมาะสมกว่า ก็จะเกิดการโต้แย้ง  และคัดค้านการเฉลยนั้น  กระบวนการคิดขั้นตอนนี้นำไปสู่การปรับปรุงเฉลย  ทำให้ได้ความรู้ที่ถูกต้อง และเป็นการฝึกการคิดวิเคราะห์แก่ภาพรวมของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
 


 
แนวทางในการจัดเตรียมการสอบแบบประกาศเฉลย   (
Open keys Test)  หรือ OK Test  การทดสอบแบบประกาศเฉลย  มีความแตกต่างจากการทดสอบโดยทั่วไป ในขั้นตอนที่เพิ่มเข้ามาหลังสอบ คือ  การประกาศเฉลย  ดังนั้นการทดสอบแบบนี้  จะต้องมีการเตรียมเฉลยและคำอธิบายเฉลยไว้ล่วงหน้า ความสำคัญของการทำเฉลยและคำอธิบายเฉลย  ต้องมีการพิจารณาพฤติกรรมการเรียนรู้ทางสมองเป็นสำคัญ


นั่นคือ  ในการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างข้อสอบจะมีการประเมินน้ำหนักเนื้อหาแต่ละสาระบทเรียนให้มีความสมดุลกันและนำสาระบทเรียนเหล่านั้นมาจัดทำข้อสอบตามระดับพฤติกรรมการเรียนรู้  คือ  ความรู้ความจำ  ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์  และการประเมินค่า  โดยในแบบทดสอบชุดหนึ่ง ๆ  ควรมีการสอบวัดพฤติกรรมหลาย ๆ ระดับ  หรืออาจทำเป็นชุดเฉพาะระดับพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งก็ได้  ยิ่งระดับพฤติกรรมสูงขึ้นเท่าใด  การแสดงถึงความรู้ความสามารถในเรื่องนั้น ๆ ก็จะยิ่งชัดเจนมากขึ้น  ข้อทดสอบที่ใช้สำหรับการสอบแบบประกาศเฉลย ควรใช้เพียงครั้งเดียวสำหรับการวัดคน ๆ เดียวกัน  แต่ควรเปลี่ยนระดับพฤติกรรมของคำถามให้สูงขึ้นเรื่อย
   ตัวอย่างเช่น


ข้อสอบระดับพฤติกรรม  ความรู้ความจำ

 (1)  โทมัส  เอลวา  เอดิสัน เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ในข้อใด ?

1)  โทรศัพท์               
2)  ตู้เย็น      
3)  หลอดไฟฟ้า      
4)  โทรทัศน์


               
เฉลย  3)  หลอดไฟฟ้า    เพราะ  เมื่อปี ค.ศ. 1878  โทมัส  เอลวา
 เอดิสัน ( Thomas  Alva  Edison ))นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า  หลอดไฟฟ้า  สำเร็จเป็นคนแรกของโลก  ทำให้เรามีหลอดไฟฟ้าใช้มาจนถึงทุกวันนี้

ข้อสอบระดับพฤติกรรม  ความเข้าใจ
(2)  หลอดไฟฟ้าของโทมัส  เอลวา  เอดิสัน ทำงานอย่างไร ? 
1)  กระแสไฟฟ้าไหลเข้าหลอดทำให้เกิดแสงสว่าง 

2)  กระแสไฟฟ้าเผาไหม้ไส้หลอดทำให้เกิดแสงสว่าง       
 3)  กระแสไฟฟ้าต่างศักย์กับหลอดไฟฟ้าจึงเกิดแสงสว่าง     
4)  กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดเกิดความร้อนและแสงสว่าง

               
เฉลย  ข้อ 4)  เพราะ  เมื่อกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานรูปหนึ่งไหลผ่านขดลวดเล็ก ๆ ที่มีความต้านทานสูงจะเกิดความร้อนและทำให้เกิดแสงสว่าง  ดังนั้นหลอดไฟฟ้าทุกหลอดเมื่อทำงานจะมีความร้อนเกิดขึ้นด้วยเสมอ ส่วนแสงสว่างนั้น เป็นผลพลอยได้ของการทำงานของหลอดไฟฟ้านั่นเอง


ข้อสอบระดับพฤติกรรม  การนำไปใช้
(3)  เครื่องมือใดนำหลักการสำคัญของหลอดไฟฟ้าของโทมัส  เอลวา  เอดิสัน ไปทำงาน ? 
1)  เครื่องกกไข่

2)  เครื่องสูบน้ำ
3)  เครื่องทำน้ำเย็น
4)  เครื่องถอนขนไก่

               
เฉลย  ข้อ 1)  เพราะ  เครื่องกกไข่ อาศัยกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดเล็ก ๆ ที่มีความต้านทานสูงจนเกิดความร้อนที่ใช้ในการกกให้ไข่ฟักตัว  และให้แสงสว่างไปพร้อม ๆ กัน  ซึ่งอาศัยการทำงานของหลอดไฟฟ้านั่นเอง


ข้อสอบระดับพฤติกรรม  การวิเคราะห์
 (
4)  หลอดไฟฟ้าของโทมัส  เอลวา
 เอดิสัน มีส่วนประกอบใดบ้าง  ?
1)  ขั้วหลอด  ไส้หลอด 
2)  ขั้วหลอด  ไส้หลอด  หลอดแก้วมีอากาศ
3)  ขั้วหลอด  ไส้หลอด  หลอดแก้วสุญญากาศ
4)  ขั้วหลอด  ไส้หลอด  หลอดแก้ว  สายทองแดง

 
                เฉลย  ข้อ 3)  เพราะหลอดไฟฟ้า มีขั้วหลอดที่ต่อกับแหล่งจ่ายไฟให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอด  ที่อยู่ภายใต้สุญญากาศซึ่งก็คือหลอดแก้วสุญญากาศ จึงจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์

ข้อสอบระดับพฤติกรรม  การสังเคราะห์
5)  การทำงานของหลอดไฟฟ้าสามารถนำมาประกอบสร้างเป็นสิ่งใด  ?
1)  โคมไฟ  ไฟส่องรั้ว  ไฟส่องป้ายโฆษณา 
2)   นาฬิกาดิจิตอล  เครื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์
3)  ไฟฉาย  เทียนไฟฟ้า  เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
4)   รถบังคับวิทยุ  เครื่องรับโทรทัศน์  โทรศัพท์

 
                เฉลย  ข้อ 2)  เพราะการทำงานของหลอดไฟฟ้า คือมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านแล้วเกิดแสงสว่าง  ซึ่งนาฬิกาดิจิตอล  เครื่องคิดเลข และคอมพิวเตอร์ ล้วนอาศัยหลักการนี้ เครื่องจึงทำงานแสดงภาพหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ จึงเป็นการสร้างสิ่งใหม่จากหลักการตามคำถาม  ส่วนข้ออื่น เป็นเพียงการนำหลอดไฟฟ้ามาใช้งาน  หรือไม่เกี่ยวข้องกับคำถามเลยจึงไม่ถูกต้อง 

ข้อสอบระดับพฤติกรรม  การประเมินค่า
 (6)  หลอดไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างไร?
1)   เมื่อมีหลอดไฟฟ้าให้แสงสว่าง  เวลากลางวันยาวนานขึ้น
2)   กิจกรรมเล่นรอบกองไฟหันมาใช้หลอดไฟฟ้าแทนกองไฟ
3)   อุตสาหกรรมด้านหลอดไฟฟ้าเกิดการขยายตัวขายได้มากขึ้น
4)   เกิดการสร้างงานอาชีพในเวลากลางคืนทำให้คนมีรายได้มากขึ้น

              
เฉลย  ข้อ 4)  เพราะการสร้างงานอาชีพในเวลากลางคืนทำให้คนมีรายได้มากขึ้น  แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการประเมินผลที่เกิดจากหลอดไฟฟ้ากับการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ถูกต้องมากที่สุด  ส่วนข้ออื่น เป็นเพียงการกล่าวถึงหลอดไฟฟ้าในโอกาสต่าง ๆ เท่านั้น   

การสอบแบบประกาศเฉลยนี้ ยังไม่ปรากฏว่ามีการใช้งานจริงในประเทศไทยมาก่อน จึงเป็นโอกาสดีที่วงการศึกษาไทยเราจะบุกเบิกทำให้มีขึ้น เพื่อจะได้สร้างเสริมให้เกิดการคิดแบบก้าวกระโดด จนครบทุกพฤติกรรมการเรียนรู้ ทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่กล้าที่จะคิดนอกกรอบ คิดต่างเพื่อสร้างทางเลือกที่ดีที่สุด แก้ไขปัญหาการเฉลยผิดพลาดแล้วนำข้อสอบมาวัดคนอย่างผิด ๆ  และหากเป็นการสอบคัดเลือกด้วยแล้ว  สามารถสร้างความถูกต้อง เป็นธรรมแก่ทุกคนในสังคมได้อีกทางด้วย 
หมายเลขบันทึก: 112660เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2007 02:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผู้ที่เกี่ยวข้องน่าจะนำวิธีนี้ไปใช้ในการสอบคัดเลือก

จะดีมาก ๆ เลย สอบแล้วรู้ผลเลย  ดีจริง ๆ

น่าจะส่งแนวคิดนี้ไปให้ กพ.และหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีการสอบคัดเลือกคนเข้าทำงานนะ

จะได้รู้ผลกันทันที โปร่งใสตรวจสอบได้ ตามสโลแกนที่ชอบพูดกัน

อ่านแล้ว ดีมากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท