ปี่พาทย์อยุธยา 10


ปี่พาทย์อยุธยา 10

วิถีวัฒนธรรมปี่พาทย์อยุธยา ๑๐ : ผู้หญิงกับปี่พาทย์เหตุผลใดกันแน่ ?

…………………………………..

กนก  คล้ายมุข

                   อันดนตรีปี่พาทย์ตะโพนเพลง     เป็นนักเลงเหล่าโลนเล่นโขนหนัง

                   แต่พวกกูผู้หญิงที่ในวัง            มันก็ยังเรียนร่ำจนชำนาญ

           

   บทประพันธ์จากวรรณคดีไทยเรื่องพระอภัยมณี จะเห็นว่าผู้ประพันธ์ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้หญิงกับดนตรีไทย ไม่ได้มีพรมแดนปิดกั้นแต่อย่างใด ผู้หญิงสามารถเป็นนักดนตรีที่ชำนาญ  ใช้ความสามารถด้านดนตรีได้เท่าเทียมกับผู้ชาย 

   ในปัจจุบันสังคมดนตรีไทย โดยเฉพาะปี่พาทย์ ยังปิดกั้น ผู้หญิงอยู่บ้าง เช่น การเรียนเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ครูดนตรีไทย  จะไม่ครอบเพลงองค์พระพิราพให้กับผู้หญิง โดยมีข้อกำหนดที่ยึดถือปฏิบัติว่า ผู้ที่จะเรียนเพลงหน้าพาทย์สูงสุด องค์พระพิราพได้ ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี เคยผ่านการบวชเรียนแล้ว หรือครูบางท่านให้เหตุผลว่าผู้หญิงสกปรก(ในช่วงหนึ่งของเดือน) เป็นต้น แต่ข้อกำหนดทั้งหลายทั้งปวง เป็นเพียงกรอบที่เกิดจากกลุ่มคนดนตรีปี่พาทย์บางกลุ่มกำหนดขึ้นเท่านั้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


นักดนตรีหญิงในปัจจุบัน

 

   ผู้หญิงเป็นเพศที่ถูกมองว่าอ่อนแอกว่าผู้ชาย  ในวงดนตรีไทยบทบาทของผู้หญิงในด้านดนตรี มักโดดเด่นกับการบรรเลงในรูปแบบของวงมโหรี และวงเครื่องสาย เป็นส่วนใหญ่ ด้วยเป็นวงดนตรีที่แสดงออกถึงความนุ่มนวล อ่อนหวาน ทั้งเครื่องดนตรีของวงเครื่องสาย มโหรี มีลักษณะสนองต่อรูปลักษณ์สรีระของผู้หญิงได้ดี ไม่ต้องใช้กำลังมากเช่นการบรรเลงเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ เพลง รูปแบบการบรรเลง เอื้อต่อบุคลิกภาพ เน้นความเรียบร้อย ต่างกับการเป็นผู้บรรเลงปี่พาทย์ เครื่องดนตรีแต่ละชนิดอาจดูแล้วไม่เหมาะกับผู้หญิง เช่น ระนาดเอก ปี่ ตะโพนมอญ เปิงมาง เป็นต้น  ทั้งรูปแบบการบรรเลง และเทคนิควิธีการ  ที่ต้องใช้ฝีมือที่จัดจ้าน เฉียบคม ฉูดฉาด และต้องอาศัยความคงทน เนื่องด้วยเพลงที่มีสีสัน แสดงอรรถรสที่หลากหลายด้วย

   แต่คงไม่ได้หมายความว่า ผู้หญิงจะเล่นเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม่ได้ เพราะปัจจุบันนักดนตรีผู้หญิง ก็สามารถเล่นดนตรีไทยในวงปี่พาทย์ได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย เช่น ปี่ ระนาดเอก เป็นต้น แม้ว่าจะต้องใช้พละกำลังมาก ก็ตาม

   วงปี่พาทย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีนักดนตรีที่เป็นผู้หญิงร่วมวงอยู่ด้วย  แต่มีจำนวนไม่มากนัก จากจำนวนนักดนตรีจำนวน ๑,๑๖๔ คน เป็นนักดนตรีผู้หญิงจำนวน ๑๕๐ คน  ดังนี้

 

ตาราง  แสดงจำนวนนักดนตรีเพศหญิง จำแนกตามสถานภาพครอบครัว

 

ลำดับที่

 

อำเภอ

 

จำนวนนักดนตรีหญิง

รวม

(คน)

จากครอบครัวดนตรี (คน)

จากครอบครัวทั่วไป(คน)

.

ท่าเรือ

๑๔

๑๕

.

นครหลวง

.

บางซ้าย

๑๙

๑๙

.

บางไทร

๑๐

.

บางบาล

.

บางปะหัน

๑๒

.

บางปะอิน

.

บ้านแพรก

.

ผักไห่

๑๐.

พระนครศรีอยุธยา

๑๓

๑๕

๑๑.

ภาชี

๑๒.

มหาราช

๑๔

๑๖

๑๓.

ลาดบัวหลวง

๑๔.

วังน้อย

๑๕.

เสนา

๑๙

หมายเลขบันทึก: 252505เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2009 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท