ติดตามเยี่ยมโครงการ Lean รพ.เสาไห้


true lean คือทำให้เกิดทั้งสามสิ่งไปพร้อมกัน ได้แก่ การดูแลที่รวดเร็วขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น และค่าใช้จ่ายลดลง

ติดตามเยี่ยมโครงการ Lean รพ.เสาไห้

            วันที่ 22 มิถุนายน 2552 Dr.Kelvin Loh ที่ปรึกษาของโครงการสาธิตการใช้แนวคิด lean ในการพัฒนาบริการสุขภาพซึ่ง APO ให้การสนับสนุน ได้เข้าเยี่ยม รพ.เสาไห้ พร้อมกับ ผอ.สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล และผู้แทนจากสถาบันเพิ่มผลผลิต เพื่อติตดามความก้าวหน้าของโครงการเป็นครั้งที่ 2  ในการเยี่ยมทั้งนี้มีผู้แทนจาก รพ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ซึ่งเป็น รพ.ที่จะเข้าโครงการในรุ่นที่ 2 เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วยจำนวน 10 ท่าน

            รพ.เสาไห้นำแนวคิด lean มาใช้พัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โดยโครงการแรกเป็นการลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย และโครงการที่สองเป็นการให้ความรู้และเสริมพลังแก่ผู้ป่วย ซึ่ง Kelvin เรียกว่าเป็น true lean คือทำให้เกิดทั้งสามสิ่งไปพร้อมกัน ได้แก่ การดูแลที่รวดเร็วขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น และค่าใช้จ่ายลดลง

            ในการลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย ทางทีมงานริเริ่มให้มีระบบเจาะเลือดตรวจน้ำตาลที่ PCU ล่วงหน้าก่อนถึงวันนัดหมาย ร่วมกับการจัดเวลานัดหมายที่กระจายทั้งวัน (workload leveling) การที่ผู้ป่วยไม่ต้องงดน้ำและอาหารเพื่อมารอตรวจเลือดในตอนเช้า ทำให้สามารถนัดหมายผู้ป่วยในช่วงเวลาใดก็ได้ของวันนัด  ความสำเร็จในการนำระบบนี้มาปฏิบัติเกิดจากความร่วมมือระหว่าง รพ.เสาไห้และ PCU ต่างๆ 

            ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือระยะเวลาทั้งหมดที่ผู้ป่วยใช้ในการมารับบริการ (Total Turnaround Time-TAT) ลดลงจาก 258 นาที เหลือ 196 นาที, ระยะเวลารอพบแพทย์ลดจาก 72 นาทีเหลือ 30 นาที, สัดส่วนของเวลาที่ก่อให้เกิดคุณค่าเพิ่มขึ้นจาก 8% เป็น 21%, ภาระงานได้รับปรับเรียบให้มีระดับใกล้เคียงกันมากขึ้น, ความพึงพอใจของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

            ประเด็นที่น่าสนใจหลังจากการปรับเปลี่ยนนี้ก็คือ การขยาย value stream จากเดิมที่เริมต้นเมื่อผู้ป่วยมาลงทะเบียนที่ รพ.เสาไห้ ไปครอบคลุมขั้นตอนการเจาะเลือดที่ PCU ด้วย นั่นหมายถึงเวลาและต้นทุนของบุคลากรที่ PCU ซึ่งต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วย  นอกจากนั้นการวัดระยะเวลารอคอยในกรณีที่ผู้ป่วยมาก่อนเวลานัด ควรเริ่มตั้งแต่เวลาที่นัดผู้ป่วย มิใช่เวลาที่ผู้ป่วยมาถึง รพ.

            สำหรับโครงการที่สองเป็นเรื่องของการให้ความรู้และเสริมพลังผู้ป่วยโดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยผู้ป่วยรู้วิธีดูแลตนเองทั้งในด้านการดูแลเท้า ตา อาหาร และการออกกำลัง สามารถคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น เจ้าหน้าที่สามารถตรวจเท้าและให้คำแนะนำที่ PCU ได้ มีการดูแลเท้าในเครือข่าย ผู้ป่วยเชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น  การปรับปรุงในโครงการที่สองนี้ทำให้สัดส่วนของเวลาที่ก่อให้เกิดคุณค่าเพิ่มขึ้นเป็น 40%

            ความท้าทายในขั้นต่อไปจากการปรับเปลี่ยนนี้คือการพยายามที่จะวัด waste เนื่องจากการให้ความรู้ที่ไม่ effective, การเปรียบเทียบ waste ในขั้นตอนต่างๆ ของการพัฒนา, รวมถึงการใช้นวตกรรมในการให้ความรู้และเสริมพลัง

            Kelvin ให้ข้อแนะนำในการทำงานต่อเนื่องตามแผนงานที่วางไว้, การหาโอกาสที่จะลด waste ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานอย่างต่อเนื่อง, การขยายไปสู่ระบบการดูแลผู้ป่วยอื่นๆ และการแบ่งปันบทเรียนให้กับ รพ.อื่นๆ  ทั้งนี้โดยพยายามให้บุคลากรทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วม รับ feed back ด้วยความจริงใจ และทำงานอย่างคงเส้นคงวา วัดผลของการพัฒนาบนเส้นทางนี้ทั้งในด้านเวลา ประสิทธิผล และผลิตภาพหรือค่าใช้จ่าย

คำสำคัญ (Tags): #healthcare#lean#เสาไห้
หมายเลขบันทึก: 270081เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • โครงการโรงพยาบาลเสาไห้
  • น่าสนใจมาก
  • ว่าแต่คุณหมอ
  • จำผมได้ไหมเนี่ย
  • เจอหลายครั้งแล้ว
  • คุณหมอ งง งง ทุกครั้ง
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีีค่ะ โครงการน่าสนใจมากเลย อยากนำมาใช้ที่รพ.บ้าง แต่อยากถามถึงการดำเนินงานในเรื่องของการเจาะเลือดที่PCU มีกลวิธีอย่างไรที่จนท.ที่PCUได้ดำเนิการเจาะเลือดผู้ป่วย แล้วนำมาตรวจที่รพ.หรือค่ะ อยากทราบจริงๆ

เรียน อ.ขจิต ครับ

คราวหน้าไม่น่าจะพลาดอีกแล้วครับ

ฮ่าๆๆๆๆๆ

อยากได้แนวคิดหรือตัวอย่าง/หลักการในการนำ Lean มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพงานใน PCU เนื่องจากดิฉันปฏิบัติงานใน PCU จ.ลำปาง คะ ขอบคุณคะ

ขั้นแรกคือการเริ่มมองหาโอกาสครับ อาจจะมองด้านความสูญเปล่า เช่น การรอคอย การเข้าไม่ถึง การดูแลที่ไม่ได้ผล หรืออาจจะเริ่มจากความต้องการของผู้รับบริการ ว่ามีอะไรที่เรายังไม่สามารถตอบสนองได้เต็มที่

ลองแลกเปลี่ยนกันดูครับ หรืออาจจะลองค้นหาตัวอย่างจากใน web ด้วยการ key คำว่า lean primary care ก็ได้ครับ

มีความสนใจที่จะนำleanมาใช้ในสำนักงาน/หน่วยที่ไม่ได้ให้บริการโดยตรง เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดค่ะ ขอคำแนะนำ/แนวทางการ ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท