ผู้ปกครองเมืองขุขันธ์ในอดีต ตอนที่ 1


ผู้ปกครองเมืองขุขันธ์ในอดีต

                  เมืองขุขันธ์ดังได้กล่าวแล้วว่า  โดยในฐานะเมืองในอดีตเป็นเมืองขนาดใหญ่  (ตั้งขึ้นเป็นเมืองก่อนเมืองใด ๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ ) การปกครองบ้านเมืองของไทยในอดีตโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยา  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  จนถึงยุคปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาลนั้น  ได้ยึดหลักเดิมที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  พระมหากษัตริย์องค์ที่  ๘  แห่งกรุงศรีอยุธยา  ทรงกำหนดไว้จะมีวิธีการแตกต่างไปบ้าง  ก็เพียงแต่ทรงมอบอำนาจไม่ให้เสนาบดีก้าวก่ายกัน  อันมีสืบมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเพทราชา  ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับยุคสมัยจึงยุติว่า  กรุงรัตนโกสินทร์ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชองค์พระมหากษัตริย์ปกครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรมและทรงใช้อำนาจโดยสิทธิ์ขาด  ผู้ใดจะขัดขืนต่ออำนาจหรือโต้แย้งพระบรมราชโองการมิได้  โดยกำหนดเป็นศูนย์  ปกครองแยกเป็น  รูปแบบ

1.       รูปแบบเมืองราชธานี

2.       รูปแบบเมืองหัวเมือง

3.       รูปแบบเมืองประเทศราช

สำหรับเมืองขุขันธ์  ถือว่าปกครองในรูปแบบหัวเมืองแบบจตุสดมภ์  คือเป็นแบบที่มีลักษณะที่คล้ายองค์กรปกครองราชธานี  เริ่มมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นแบบเดิมของไทย  โดยดัดแปลงมาจากแบบของเขมร อันเป็นวัฒนธรรมปกครองหัวเมือง "แบบเจ้าเมืองกินเมืองแยกลักษณะองค์กรออกเป็น  ตำแหน่ง  คือ  คณะอาชญาสิทธิ์  ผู้ช่วยคณะอาชญาสิทธิ์  กรมการเมืองพิเศษ  กรมการเมืองผู้ช่วยและพนักงาน

คณะอาชญาสิทธิ์    คือ  คณะผู้บัญชาสิทธิ์ขาด  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  คณะกรรมการเมืองใหญ่  พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  แต่งตั้ง  "เจ้าเมือง"   ผู้ว่าราชการเมือง  หรือผู้สำเร็จราชการเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็น   พระพระยา, และ เจ้าพระยา   ถือบรรดาศักดิ์ตามฐานะของเมืองทรงมอบอำนาจให้ปกครอง  บังคับบัญชา  ปลัดเมืองยกบัตรเมือง  กรมการเมืองและราชการในเมืองนั้น ๆ  ถ้ามีเมืองขึ้นให้บังคับบัญชาเมืองขึ้นด้วย  และทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งกรมการเมืองผู้ใหญ่ร่วมเป็นคณะอาชญาสิทธิ์  ประกอบด้วย

1.       เจ้าเมือง

2.       ปลัดเมือง

3.       ยกบัตรเมือง

4.       ผู้ช่วยราชการเมือง ( บางเมืองมีหลายคน )

5.       กรมการพิเศษเมือง

 

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า จุดกำเนิดของเมืองขุขันธ์สืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยาเป็นราชธานี  ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์  มีเหตุการณ์เกิดขึ้น  คือ  พญาช้างเผือกได้แตกโรงหนีจากอยุธยาเข้าป่ามุ่งสู่ชายแดนไทย - เขมร แถบภูเขาพนมดงรัก  จึงได้โปรดให้นายทองด้วงและนายทองมา  สองพี่น้องที่เป็นทหารเอกแห่งกรุงศรีอยุธยาออกติดตามพญาช้างเผือก  โดยมาถึงเมืองพิมาย  เจ้าเมืองพิมายนำคณะ

ไปพบหัวหน้าหมู่บ้านเขมรป่าดงในเขตสุรินทร์  แต่ยังมิได้ข่าวพญาช้างเผือกแต่อย่างใดจึงนำคณะไปพบกับหัวหน้าเขมรป่าดงที่มีความชำนาญในการจับช้าง  ชื่อตากะจะและเชียงขัน   ที่อยู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน จึงได้ข่าวว่ามีช้างเผือกมาอยู่กับฝูงช้างป่าจริง พรานช้างทั้ง  6 คนสามารถจับพญาช้างเผือกได้  และมอบให้คณะผู้ติดตามนำกลับกรุงศรีอยุธยาด้วยความปิติยินดีของคณะผู้ติดตามยังความดีความชอบของหัวหน้าเขมรป่าดงทั้ง  คน จึงได้รับโปรดเกล้า ฯ  บรรดาศักดิ์    ในระดับ  "หลวง" คือ  ตากะจะ  หัวหน้าเขมรป่าดงบ้านสี่เหลี่ยมโคกลำดวน  ได้บรรดาศักดิ์เป็น "หลวงแก้วสุวรรณทำหน้าที่นายกองหัวหน้าหมู่บ้าน  ทำราชการขึ้นต่อเมืองพิมาย หลวงแก้วสุวรรณได้ปรับปรุงบ้าน เรือนรวบรวมไพร่พลพอสมควรแล้วได้ทรงโปรดเกล้า ฯ  ให้ยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนขึ้นเป็น "เมืองขุขันธ์และโปรดเกล้า ฯให้เลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงแก้วสุวรรณ เป็น พระไกรภักดีศรีลำดวน  เจ้าเมืองขุขันธ์

คนแรก  ตั้งแต่ปี พ.. 2306  จนถึงปี พ.. 2450 (เปลี่ยนตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองทำให้มีเจ้าผู้ครองเมืองขุขันธ์ในฐานะบรรดาศักดิ์     "พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน  เจ้าเมืองขุขันธ์สืบทอดอำนาจปกครองโดยสืบสายสกุลต่อเนื่องจนถึงลำดับที่  และเมื่อเข้าสู่สมัยปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาลทำให้ตำแหน่ง  "เจ้าเมืองกินเมืองหรือ  "เจ้าเมืองหมดไป  โดยเปลี่ยนเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองจนกระทั่งปัจจุบันเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด    เมืองขุขันธ์มีผู้ปกครองในตำแหน่งเมืองรวม  ๙  ลำดับ  ดังนี้

1.       พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ( ตากะจะ หรือ หลวงแก้วสุวรรณ ) เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่ 1

พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน  เดิมชื่อ  "ตากะจะ  เป็นหัวหน้าเขมรป่าดง แห่งหมู่บ้านปราสาท

สี่เหลี่ยมโคกลำดวน มีความชำนาญในการคล้องช้างป่าเพื่อจับมาฝึกใช้งาน โดยใช้พิธีกรรมปลุกเสกคาถาใช้ภาษาช้างพูดกับช้างที่ถูกฝึกมาแล้วได้ เมื่อปี พ..2302ไ ด้ออกติดตามช้างเผือกในสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์  หรือ  พระเจ้าเอกทัศน์  แห่งกรุงศรีอยุธยา  ร่วมกับสหายชาวเขมรป่าดง  เช่น  เชียงปุม  แห่งบ้านเมืองที่  เชียงสีแห่งบ้านกุดหวาย  เชียงฆะแห่งบ้านดงยาง   จนสามารถจับพญาช้างเผือกนำกลับกรุงศรีอยุธยาได้อย่างปลอดภัย  จึงได้รับ    พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น 

"หลวงแก้วสุวรรณให้ควบคุมลูกบ้านเขมรป่าดงในหมู่บ้านตน  คือ  บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน  ขึ้นต่อเมืองพิมาย

ต่อมาได้นำช้าง  ม้า  แก่นสน  ยางสน  ปีกนก  นอระนาด  งาช้าง  ขี้ผึ้ง เป็นของส่วยนำทูลถวาย  ณ กรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์จึงได้โปรดเกล้า ฯ พระราชทานยกฐานะบ้านปราสาท

สี่เหลี่ยมโคกลำดวนขึ้นเป็น  " เมืองขุขันธ์เลื่อนบรรดาศักดิ์จาก  " หลวงแก้วสุวรรณเป็น

"พระไกรภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมืองขุขันธ์ในปี  พ..  2306

ปี  พ..  2319  เมืองขุขันธ์  ได้ยกทัพไปช่วยเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ( ทองด้วง และกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ( ทองมา )   ครั้งยังดำรงตำแหน่ง เจ้าพระยาสุรสีห์  ไปตีเมืองเวียงจันทน์  เพราะพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาสัตนาคนหต แห่งเวียงจันทน์ ได้ให้พระสุโพธิยกทัพมาตีบ้านดอนมดแดงและจับพระวอประหารชีวิตการไปทัพครั้งนี้ทำศึกจนได้ ชัยชนะมีความชอบ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อนบรรดาศักดิ์จาก "พระ"  เป็น "พระยา"  จึงทำให้ตากะจะได้บรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายในราชทินนาม    "พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน"  เป็นเจ้าผู้ปกครองเมืองขุขันธ์เป็นคนแรก  ถึงแก่อนิจกรรมในปี      พ.. 2321   อยู่ในตำแหน่ง 10 ปี     นับเป็นบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งเมืองขุขันธ์เป็นคนแรก

2.       พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( เชียงขัน หรือ หลวงปราบ เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่ 2

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน  เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่ เดิมชื่อ ขัน หรือเชียงขันเป็นน้องชาย

ตากะจะ  ( เจ้าเมืองคนที่ 1 )  เป็นหัวหน้าเขมรป่าดงคู่บารมีพี่ชายคือ    ตากะจะ  ได้ร่วมจับพญาช้างเผือกครั้งแตกโรงจากกรุงศรีอยุธยา ปี พ.. 2302  พร้อมคณะทั้ง  คน  ได้ความชอบจึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น  "หลวงปราบผู้ช่วยราชการเมืองขุขันธ์

เมื่อเมืองขุขันธ์ได้ร่วมยกทัพไปตีเวียงจันทน์ ในปี พ..  2319    นั้นหลวงปราบได้แสดงฝีมือให้

กองทัพได้ประจักษ์จนได้รับชมว่าเป็นทหารเอกเมืองขุขันธ์  ทำศึกจนชนะเมื่อยกทัพกลับได้นางคำเวียงหญิงหม้ายตระกูลใหญ่ จากประเทศลาวเป็นภรรยาและได้อพยพ ครอบครัวนางคำเวียง    พร้อมด้วย

บ่าวไพร่มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านบก (บ้านบก   หมู่13     .ห้วยเหนือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษและยังได้ท้าวบุญจันทร์บุตรชายของนางคำเวียงมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมด้วย  หลวงปราบ  มีบุตรที่เกิดจากภรรยาคนแรก คือ  ท้าวกิ่ง   ท้าววัง ท้าวรส

ปี พ.. 2322  สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี  พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน  ( ตากะจะ)  

ถึงแก่อนิจกรรมจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  ให้หลวงปราบ  เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน

เจ้าเมืองคนที่ 2 และได้ย้ายเมืองขุขันธ์จากบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน   ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิม  ไปตั้งที่บริเวณหนองแตระ(บริเวณที่ตั้งอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน)   ตามที่เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่  คือ

พระยาไรภักดีศรีนครลำดวน( ตากะจะได้วางแผนเอาไว้แล้วในการย้ายเมืองขุขันธ์มาตั้ง  ณ  ที่แห่งใหม่ในครั้งนี้  ได้มีหลักฐานคือ  การฝังหลักเมือง  ณ  มุมวัดกลางอเมรินทราวาส ( ด้านตะวันตกเฉียงใต้ )

ในปี  พ..  2325  ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน

( เชียงขัน ได้มีใบบอกขอตั้งท้าวบุญจันทร์บุตรเลี้ยงเป็น  "พระไกรตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมือง และ

ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองขุขันธ์จากเดิม  พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน  เป็น

"พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน"  จึงทำให้เจ้าเมืองขุขันธ์  มีบรรดาศักดิ์ในราชทินนามว่า 

"พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวนตั้งแต่บัดนั้นมา  ต่อมา "พระไกรไม่พอใจ พระยาขุขันธ์ภักดี-

ศรีนครลำดวน  ที่มักเรียกตนเองว่า ลูกเชลย  เมื่อมีโอกาสจึงกล่าวโทษไปยังกรุงเทพฯ ว่า  พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (เชียงขัน) คบคิดกับญวนต่างประเทศ  จะเป็นกบฎ  เมื่อพิจารณาคดีที่กรุงเทพฯ 

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (เชียงขัน) ถูกจำคุกอยู่กรุงเทพ ฯ  ปี  ถือว่าเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์คนที่  ที่สร้างคุณประโยชน์อย่างยิ่งแม้จะอยู่ในตำแหน่งเจ้าเมืองได้  ปี

3.       พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( ท้าวบุญจันทร์ หรือ พระไกร  ) เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่ 3

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน  คนที่  3 เดิมชื่อ  ท้าวบุญจันทร์เป็นบุตรเลี้ยงของพระยาขุขันธ์คนที่ 2 ( เชียงขัน มารดาชื่อ  นางคำเวียงหญิงหม้ายตระกูลสูงจากเวียงจันทร์  ได้รับโปรดเกล้า ฯ  เป็น  "พระไกรช่วยราชการเมือง  หลังจากที่พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน( เชียงขันถูกจำคุกแล้วทรงโปรดเกล้าฯ  เป็นพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์ คนที่  สืบแทน  ในปี  พ..  2327

ปี  พ..  2349  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ทรงดำริว่า    เมืองขุขันธ์ได้ตามเสด็จทำศึกสงครามหลายครั้งมีความชอบจึงโปรดฯ ให้เมืองขุขันธ์ขึ้นต่อกรุงเทพฯ  โดยไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายอีกต่อไป  ( เป็นการยกฐานะเมืองขุขันธ์)

ปี  พ..  2369  ในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3 เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์กษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์  เป็นกบฎยกทัพเข้าตีเมืองนครราชสีมา  เจ้าโว้  ( โอรสเจ้าอนุวงศ์เจ้านครจำปาศักดิ์ยึดเมืองขุขันธ์  เมืองสังขะ  เมืองสุรินทร์  จับพระยาขุขันธ์     ( บุญจันทร์ และกรมการเมืองระดับผู้ใหญ่เมืองขุขันธ์  ประหารชีวิตหมดสิ้น   ส่วนเจ้าเมืองสังขะ  เจ้าเมืองสุรินทร์  พร้อมกรมการเมืองหนีไปได้  ต่อมากองทัพจากกรุงเทพฯ  ยกขึ้นมาปราบกบฎได้สำเร็จจึงทำให้พระยาขุขันธ์  คนที่ 3 ท้าวบุญจันทร์อยู่ในตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์  43  ปี  ทำให้เมืองขุขันธ์ขาดเจ้าเมืองปกครองอยู่ระยะหนึ่ง

 

4.       พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( เชียงฆะ หรือ เชียงเกา หรือ หลวงเพชร ) เจ้าเมืองขุขันธ์คนที่ 4

พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( เชียงฆะหรือเชียงเกาเจ้าเมืองขุขันธ์คนที่  4 เดิมชื่อ  เชียงฆะ หรือเชียงเกา  เป็นหัวหน้าเขมรป่าดงร่วมกับคณะนำจับพญาช้างเผือกส่งกลับกรุงศรีอยุธยา  ปี  พ..  2302 เมื่อตากะจะได้รับโปรดเกล้าฯ  ให้รับบรรดาศักดิ์เป็น     " หลวงแก้วสุวรรณเชียงฆะได้รับโปรดเกล้าฯ  บรรดาศักดิ์เป็น  "หลวงเพชรหัวหน้านายกองว่าราชการดูแลบ้านอัจจะปะนึง ( สังฆะ) ภายหลังยกฐานะเป็นเมืองสังขะทรงโปรดเกล้า ฯ  ให้หลวงเพชรเป็น "พระสังฆะบุรีนครอัจจะ  เจ้าเมืองสังขะ"

หลังจากที่กองทัพกรุงเทพ ฯ  ปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์เรียบร้อย  เมืองขุขันธ์ขาดเจ้าเมืองปกครอง  จึงโปรดเกล้า ฯ  ให้พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ( เชียงฆะ มาเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์  โปรดเกล้าฯ 

ให้พระใชย ( ท้าวใน ) เป็นพระภักดีภูธรสงคราม โปรดเกล้าฯ ให้พระสุเพี้ยน ( ท้าวนวน ) เป็นพระมนตรี  ยกบัตรเมือง   ภายหลังทรงโปรดเกล้าให้  ท้าวหล้า  บุตรพระยาขุขันธ์ (เชียงขันธ์) เป็นพระมหาดไทย  และให้ท้าวอินทร์บุตรพระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะ ( เชียงฆะ เป็น  " พระยาสังฆะบุรีศรีนครอัจจะเจ้าเมืองสังขะ  แทนบิดา  พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน ( เชียงฆะได้สร้างความเจริญความเป็น

ปึกแผ่น  มั่นคงให้แก่เมืองขุขันธ์เป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะได้ทำศึกสงครามกับเขมรและญวนในปี 

..  2376 และพ..  2383  ได้ขอพระบรมราชานุญาตตั้งบ้านไพรตระหมักหรือบ้านสีดาขึ้นเป็นเมืองโดยได้นามว่า  "เมืองมโนไพรและโปรดเกล้า ฯให้หลวงภักดีคำนาหรือทิดพรหมเสมียนตราเมืองขุขันธ์ เป็นเจ้าเมืองมโนไพร  พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน  ( เชียงฆะถึงแก่อนิจกรรม  ในปี  พ..  2393  ได้อยู่ในตำแหน่งเจ้าเมืองขุขันธ์ได้  22  ปี

 

หมายเลขบันทึก: 290520เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2009 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท