ใช้โป๊ยกักรักษาไข้หวัดใหญ่ อร่อยได้ใจ ของชอบของครอบครัว


ช่วงนี้เป็นเทศกาลไข้หวัดใหญ่ในโรงเรียนของเจ้าต้นไม้ครับ เด็กๆ เป็นกันทั่วหน้าและเจ้าต้นไม้ก็ไม่เว้น

พวกเราก็รักษาเจ้าต้นไม้ตามวิธีการแพทย์แผนปัจจุบันนั่นคือการไปหาหมอครับ และแพทย์แผนปัจจุบันก็บอกว่าควรให้เจ้าต้นไม้กินน้ำเยอะๆ แต่ก็เป็นปกติของเด็กที่จะไม่ยอมกินน้ำถ้าโดนบังคับให้กิน

ผมกับ อ.จัน นั่งคิดวิธีอยู่หลายตลบถึงวิธีที่จะให้เจ้าต้นไม้กินน้ำได้เยอะๆ ในที่สุดผมก็เกิดปิ๊งแว้บขึ้นมาว่า "ต้มน้ำสมุนไพรให้กินดีกว่า"

ผมขุดค้น "ยากลางบ้าน" อยู่พักใหญ่จนไปเจอโป๊ยกักที่เราซื้อไว้ต้มพะโล้ สมองก็ปิ๊งแว้บต่อว่านี่ล่ะยาต้านไวรัสแท้ๆ ทีเดียวเพราะครั้งหนึ่งสมัยไข้หวัดนกระบาดแล้วยา Tamilflu ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสจำพวกไข้หวัดใหญ่ (flu) ขาดตลาด โป๊ยกัก (Star Anise) ที่ใช้ผลิตยา Tamilflu ก็ขาดตลาดตามทำให้ช่วงนั้นทำพะโล้กินไม่อร่อย

เมื่อเห็นประโยชน์ดังนั้นผมก็จัดการเอาโป๊ยกักทั้งซองต้มน้ำจนเดือดแล้วเบาไฟปล่อยให้งวดสักพักจึงเอามาให้เจ้าต้นไม้ดื่ม ปรากฎว่าเป็นที่ชอบใจของเจ้าต้นไม้อย่างมาก ตอนนี้อาการดีขึ้นแล้วก็ยังพก "น้ำที่พ่อคิดค้นขึ้น" ไปกินต่อที่โรงเรียน รับประกันว่าเจ้าต้นไม้ไม่มีขาดน้ำ

น้ำต้มโป๊ยกักนี่อร่อยจริงๆ ยิ่งทิ้งไว้เย็นรสชาติซ่าๆ ก็ยิ่งออกก็ยิ่งอร่อยเข้าไปใหญ่ ผมยังไม่ได้ทดลองแช่เย็นเพราะเจ้าต้นไม้ยังไออยู่ไม่ควรกินน้ำเย็น แต่เชื่อว่าถ้าแช่เย็นนี่จะยิ่งอร่อยมาก

เวลาต้มน้ำโป๊ยกักบ้านก็จะหอมกรุ่นไปทั้งบ้านอีกต่างหาก สุคนธบำบัด (aromatherapy) แท้ๆ เชียว

โป๊ยกักนี้นอกจากใช้ทำ Tamilflu และเป็นเครื่องเทศแล้ว เขายังสกัดน้ำมันหอมระเหยไปทำสิ่งต่างๆ อีกสารพัดโดยเฉพาะพวกขนมต่างๆ ดังนั้นกลิ่นโป๊ยกักเป็นกลิ่นที่คนทั้งโลกคุ้นเคยไม่แพ้กลิ่นมินต์และวนิลาทีเดียว

ส่วนจะรักษาไข้หวัดใหญ่ได้แค่ไหนผมไม่รู้ แต่ถ้าเขาใช้สกัดทำ Tamilflu ที่เป็นยาต้านไวรัสได้น้ำต้มโป๊ยกักก็น่าจะมีส่วนช่วยบ้างละน่า

แล้วถ้ากินมากๆ จะอันตรายหรือเปล่า อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่บ้านนี้กินโป๊ยกักกันมากเพราะพะโล้เป็นของชอบของครอบครัว เป็นอาหารหลักประจำบ้านที่ทำง่ายเก็บไว้กินได้นาน ผมเดาว่าถ้ากินมากแล้วอันตรายโป๊ยกักก็คงไม่เป็นเครื่องเทศสำคัญของอาหารจีนมาถึงปัจจุบันนี้หรอกครับ

ดังนั้นบ้านไหนที่ลูกไม่สบายเป็นหวัดอาจจะลองเอาสูตรต้มน้ำโป๊ยกักให้ลูกดื่มก็เป็นความคิดที่น่าสนใจทีเดียวนะครับ

หมายเลขบันทึก: 601807เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

โป้ยกัก..น่าจะเป็นคำจีน..ภาษาจีนแปลว่าอะไรคะ..กดแปลก็ไม่เป็น..เพราะเขียนภาษาจีนก็ไม่ได้อ่านก็ไม่เป็น..5..

เป็นคำจีนจริงๆ ครับ เพราะเป็นเครื่องเทศจากประเทศจีน แต่คนไทยเราก็เรียกทับศัพท์ว่า "โป๊ยกัก" ครับ สามารถซื้อได้ตามร้านเครื่องเทศทั่วไปนี่ละครับ

หน้าตาเป็นดอกแข็งๆ แปดเหลี่ยมครับ ยายธีน่าจะเคยกินเวลากินพะโล้แล้วแต่ไม่ได้สังเกตครับ ในขนมฝั่งยุโรปก็มีใช้ครับ เรียกว่า Star Anise ครับ

บ้านเราน่าจะมีแต่ของจีนนะคะ ถ้าของจีนเขาว่าปลอดภัยค่ะ อ.เหน่ทันสมัย ดัดแปลงเก่ง แต่ถ้าเป็นของญี่ปุ่นจะเป็นพิษค่ะ เขาบอกว่าถ้าเป็นดอกแห้งๆจะแยกไม่ออก ลองอ่านดูนะคะ ที่นี่ค่ะ http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?art...

โอ.... ความรู้ใหม่ครับพี่โอ๋ ผมเดาว่ามันคงเป็นพืชคนละพันธุ์กันไหมครับ (แต่ทำไมเรียก star anise เหมือนกัน.....) ที่ผมเอามาต้มก็คือในซองที่ขายในซุเปอร์มาร์เก็ตไว้ทำพะโล้นี่ละครับ คิดว่าน่าจะปลอดภัยในการใช้ระดับทำพะโล้แน่ๆ แต่การกินมากๆ แบบชานี่ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรบ้างนะครับ

แต่ตอนเขียนความเห็นอยู่นี่ผมยังกินอยู่เลยครับ มันอร่อยดีครับ ตอนจิบแรกจะซ่าๆ มีความเปรี้ยวนิดนึง แล้วถ้าอมไว้ในปากต่อสักหน่อยนี่จะหวานไปทั่วปากครับ

น่าสนใจค่ะ..พี่ใหญ่ค้นจาก Google มาฝาก

โป๊ยกั๊ก ชื่อสามัญ Chinese Star Anise[1], Star Anise[2], Star Aniseed[4], Badiane (ฝรั่งเศษ)[4], Badian (อาหรับ), Badian Khatai (อินเดีย), Bunga Lawang (มาเลเซีย, อินโดนีเซีย)[3],[4], Thakolam (มาลายาลัม)

โป๊ยกั๊ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Illicium verum Hook.f. จัดอยู่วงศ์ SCHISANDRACEAE

สมุนไพรโป๊ยกั๊ก (มักเขียนผิดเป็น โป๊ยกั้ก, โป๋ยกั๊ก, โป้ยกั้ก, โป้ยกัก) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า โป๊ยกั๊กจีน จันทร์แปดกลีบ จันทน์แปดกลีบ แปดแฉก (โป๊ย แปลว่า “แปด” ส่วน กั๊ก แปลว่า “แฉก”) เป็นต้น [1],[3]

โป๊ยกั๊ก จัดเป็นสมุนไพรจีน เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดและเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศจีนและเวียดนาม โดยจัดเป็นพืชพื้นเมืองในแถบเอเชียเขตร้อน มีการใช้กันมาอย่างยาวนานในประเทศจีนกว่า 1,300 ปีแล้ว โดยส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ก็คือ ส่วนของเมล็ดของผลแก่ที่มีลักษณะคล้ายดาว 8 แฉก และในปัจจุบันจะมีการเพาะปลูกโป๊ยกั๊กมากในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย เวียดนาม และประเทศญี่ปุ่น [2]

สรรพคุณของโป๊ยกั๊ก

  1. สรรพคุณโป๊ยกั๊ก ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ผล)[1]
  2. ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ให้กับร่างกาย ด้วยการใช้ผงโป๊ยกั๊ก 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำอุ่นสุกดื่ม แต่สำหรับเด็กเล็กมากให้ใช้น้ำมันโป๊ยกั๊กมาทาบริเวณฝ่าเท้า จะทำให้เท้าอุ่นช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้ดีนัก [3]
  3. ช่วยแก้ธาตุพิการ (ผล)[1]
  4. โป๊ยกั๊กสมุนไพรที่มีคุณสมบัติเป็นหยาง ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายในช่วงอากาศเย็นชื้น มีรสร้อนนิดเจือหวานเล็กน้อย ไม่เผ็ดร้อนมากจนเกินไปเหมือนสมุนไพรชนิดอื่น ๆ วิธีการรับประทานก็ให้ใช้ผงโป๊ยกั๊ก 1 ช้อนชาชงกับน้ำอุ่น 1 แก้ว กาแฟ ใช้ดื่มหลังอาหารในช่วงเช้าหรือเย็น หรือในช่วงที่มีอากาศเย็น[3]
  5. ช่วยขับเสมหะ (ผล)[1]
  6. เมล็ดโป๊ยกั๊กเมื่อนำมาสกัดจะได้กรดชิคิมิค (Shikimic Acid) อันเป็นสารตั้งต้นสำคัญในการสังเคราะห์ยาทามิฟลู (Tamiflu) ซึ่งตัวยามีฤทธิ์ใน
  7. การต้านเชื้อไวรัสได้หลายชนิด รวมไปถึงไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ 2009 (เมล็ด)
  8. ช่วยแก้หวัด ลดไข้[3]
  9. น้ำมันหอมระเหยใช้ผสมกับชะเอมช่วยแก้อาการไอ1]
  10. น้ำมันหอมระเหยนำมาใช้ผสมในยาผงสำหรับแก้หืด และยาสำหรับสัตว์[1]
  11. ช่วยรักษาอาการอักเสบเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินปัสสาวะ[3]
  12. ช่วยบรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ (เมล็ด)[6]
  13. ช่วยแก้ลมกองหยาบ (ผล)[1]
  14. ช่วยแก้อาการปวดท้อง แก้อาการท้องอืด[3] จุกเสียดในเด็กทารก
  15. ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (ผล)[1]
  16. ช่วยขับลมในลำไส้ (ผล)[1]
  17. ช่วยแก้ปัสสาวะขัด[5]
  18. ช่วยแก้อัณฑะบวม และไส้เลื่อน[5]
  19. ช่วยขับน้ำดี (เมล็ด) (เป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ที่มีการโฆษณาขายสินค้าสมุนไพร)
  20. ผลใช้เป็นยากระตุ้น (ในข้อมูลไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นยากระตุ้นอะไร)[1]
  21. ช่วยเพิ่มสมรรถภาพให้กับกล้ามเนื้อ[3]
  22. ช่วยระงับความเจ็บปวด[3]
  23. ช่วยรักษาโรครูมาติสม์ (Rheumatism) ระงับอาการปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดหลัง ปวดเอว ด้วยการใช้ผงโป๊ยกั๊ก 1 ช้อนชานำมาชงกับน้ำร้อนดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น [3]
  24. ช่วยแก้ตะคริว หรือเหน็บชาตามข้อมือข้อเท้า[3]
  25. น้ำมันหอมระเหยประมาณ 1-4 หยดผสมกับชะเอมใช้ฆ่าเชื้อโรคได้[1]
  26. ช่วยรักษาวัยทองในเพศชาย[7]
  27. ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ[7]
  28. ช่วยส่งเสริมสุขภาพของอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง[6]
  29. ช่วยเพิ่มการหลังน้ำนมของสตรีหลังคลอดบุตร[6]


ขอบคุณมากครับพี่ใหญ่ สรรพคุณของโป๊ยกักมากจริงๆ ครับ

จากประสบการณ์ตรงและจากคนใกล้ตัวพบว่า

โรคบางอย่างสมุนไพรของจีนสามารถรักษาได้ตรงจุดคือ

แก้ที่ต้นเหตุจึงทุเลาลงได้ดีกว่ายาของแผนตะวันตก

อาทิ โรคปรับธาตุให้สมดุล รอบเดือนไม่ปกติ ภูมิแพ้

เป็นหวัดเรื้อรังมาตั้งแต่หนาวจัดกะทันหัน จะลองต้มทานดูค่ะเผื่อจะหาย ขอบคุณนะคะ

แวะมาให้กำลังใจ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท