อย่ายอมขาดทุนเวลา


สิ่งที่แพงที่สุดคือเวลา เพราะไม่มีใครสามารถสร้างเพิ่มได้ ดังนั้นสิ่งที่ซื้อขายกันอยู่ในโลกนี้จริงๆ คือเวลา

เงินคือหน่วยเก็บของเวลา

เวลาจะถูกแปรรูปเป็นสิ่งต่างๆ ดูแล้วจะไม่เหมือนเวลา แต่สิ่งที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันทั้งหมดที่จริงแล้วคือ "เวลา" ทั้งสิ้น

มนุษย์จะซื้อเวลาและขายเวลาของกันและกัน แต่เราไม่สามารถเก็บเวลาได้ เราเลยใช้เงินเป็นตัวกลางในการเก็บ (ที่จริงแล้วยุคก่อนมีเงินเราใช้สินค้าที่เป็นตัวแทนของเวลามาแลกกันโดยตรง)

ยกเรื่องการซักผ้ามาเป็นตัวอย่าง

ในบางบ้านจ้างแม่บ้าน นั่นคือการซื้อเวลาของเขา แต่ในยุคปัจจุบันการจ้างแม่บ้านมาซักผ้ามันไม่คุ้มกับเวลาที่ซื้อได้ ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันเราจึงซื้อเครื่องซักผ้า

เครื่องซักผ้าก็มีเทคโนโลยีของมันอีก ยังเกี่ยวพันกับเวลา คือมนุษย์ยังต้องไปยุ่งเกี่ยวกับมันอยู่บ้างนั่นคือเวลาที่เรายังซื้อไม่ได้ส่วนหนึ่ง เทคโนโลยีที่ดีกว่าก็ทำให้มนุษย์ต้องใช้เวลาน้อยกว่าที่จะไปยุ่งกับเครื่อง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องใช้เงินมากกว่าในการได้เครื่องนั้นมา โดยเงินนั้นก็ได้มาจากการที่ผู้ซื้อเอาเวลาของตนไปขายให้แก่คนอื่น ตรงนี้เองที่จะเป็นจุดตัดสินใจว่า ระหว่างเวลาที่ซื้อมาได้กับเวลาที่ขายไปอะไรจะคุ้มกว่ากัน

การพิจารณาความคุ้มค่าระหว่าง "เวลาที่ขายไป" กับ "เวลาที่ได้มา" คือกิจกรรมหลักที่มนุษย์ทำในสังคมปัจจุบันนี้ บางคนก็ทำอย่างรู้ตัว แต่คนส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัว

ข้าวของที่มนุษย์ซื้อและใช้นี่ที่จริงไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้จริง ที่จริงแล้วทุกอย่างเป็นหน่วย "เวลา" ทั้งนั้น

ถ้าเราฝึกฝนสายตาให้เฉียบคม "รถ" "บ้าน" "อาหาร" "พลังงาน" "เสื้อผ้า" หรือทุกอย่างที่เราซื้อและขายกันในทุกวันนี้ที่จริงแล้วคือ "เวลา" ซึ่งเป็นหน่วยวัดพื้นฐานที่สุดของจักรวาลทั้งนั้น

มนุษย์ส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นเวลา เพราะไม่มีสอนวิชา "พิจารณาเวลา" ในชั้นเรียน ทำให้มนุษย์จำนวนไม่น้อย "ขาดทุนเวลา" คือขายเวลาไปไม่คุ้มกับเวลาที่ได้มา ดังนั้นทักษะในการบริหารเวลาจึงเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์ที่ต้องใช้ในทุกช่วงของชีวิต

ในบางครั้งที่ผมพูดเรื่องนี้ก็จะเจอคำถามว่า

"ถ้าเราเริ่มนั่งนึกถึงแต่เวลาที่ผ่านมา แสดงว่าเราเริ่มแก่แล้ว ใช่มั๊ยค่ะอาจารย์"

คำตอบของผมคือ "อดีตคือสิ่งที่เราซื้อไปแล้วด้วยเวลา ความทรงจำคือสินค้าที่เราได้รับ ถ้าเราได้สินค้าดี เราก็จะเอาออกมาชื่นชมอยู่เรื่อยๆ เหมือนคนที่สะสมของเก่า เขาเห็นมูลค่าที่ซ่อนอยู่ของสิ่งเหล่านั้นและจะเอาออกมาดูอย่างมีความสุขใจ"

หมายเลขบันทึก: 619982เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2016 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นการวิเคราะห์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตได้ชัดเจนดีนะคะ พี่โอ๋ก็เคยคิดแบบนี้เหมือนกันเวลาที่เห็นคนที่เสียใจว่าน่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ในอดีตเพื่อให้เกิดผลที่ต้องการในปัจจุบัน เพราะเรามักจะลืมว่า เวลาคือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราเอากลับคืนมาไม่ได้ เรามักจะแลกสิ่งต่างๆกับเวลาโดยไม่รู้ตัวจริงๆ

ธรรมที่เตือนสติให้เราอยู่กับปัจจุบัน ช่วยให้เราประเมินค่าของเวลาได้ถูกที่สุดนะคะ ว่าเราจะต้องทำอะไร ณ เวลานี้จึงจะคุ้มต่ากับการที่ยังหายใจอยู่มากที่สุด และความคิดของแต่ละคนก็เป็นเหตุผลส่วนตัวที่ตัวเองเท่านั้นที่จะประเมินได้ (เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว) ว่าใช้อย่างคุ้มค่าหรือไม่

สำหรับคุณมะเดื่อแล้ว....

ทำวันนี้ให้ดีที่สุดจ้ะ

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ครับ

-อาจารย์สบายดีนะครับ

-ไม่ได้ทักทายนานพอควร 55

-ด้วยความระลึกถึงอาจารย์และทีมงานครับ

-ขอบคุณครับ

https://www.gotoknow.org/posts/620856


คำตอบของผมคือ "อดีตคือสิ่งที่เราซื้อไปแล้วด้วยเวลา ความทรงจำคือสินค้าที่เราได้รับ ถ้าเราได้สินค้าดี เราก็จะเอาออกมาชื่นชมอยู่เรื่อยๆ เหมือนคนที่สะสมของเก่า เขาเห็นมูลค่าที่ซ่อนอยู่ของสิ่งเหล่านั้นและจะเอาออกมาดูอย่างมีความสุขใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท