Pui
นางสาว อัมพวรรณ อิ่มเอมทรัพย์

digital divideในมุมมองคนเป็นครู(ตัวเล็กๆคนหนึ่ง)


ความไม่รู้เป็นประเด็นสำคัญของ digital divide การลดความไม่รู้ก็ต้องเพิ่มความรู้

ในช่วงที่ผ่านมานี้ g2k ของเรามีdigital divide เป็นประเด็นร้อน (hot issue) ที่ปลุกให้ตื่นตัว และกลับมามองปัญหาตัวแม่ที่แฝงตัวอยู่อย่างเงียบๆ ปล่อยให้ลูกหลานของมัน อาทิ ปัญหาการกู้เงินนอกระบบ, ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลาง, ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ของเด็กในชนบท, ปัญหาการขาดแคลนสาธารณูปโภคในพื้นที่ห่างไกล, ปัญหาการกระจายรายได้, ปัญหาการหลั่งไหลของคนในชนบทสู่เมืองเพื่อหางานทำ,ปัญหาการขาดแคลนพลังคนหนุ่มสาวเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และอื่นๆ อีกมากมาย เหล่านี้ซึ่งเป็นปัญหาปลายเหตุมาก่อกวนให้ปวดหัวกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แก้ไขกันจนลืมมองหาต้นเหตุที่แท้จริงของมัน

"ความเหลื่อมล้ำ" ไม่ว่าทางความรู้ เทคโนโลยี หรือแม้แต่สถานะภาพทางเศรษฐกิจ

แน่นอนว่าเป็นธรรมดาของสังคมที่ต้องมีความเหลื่อมล้ำ เป็นสัจธรรมของโลก มีขาวก็ต้องมีดำ ถ้าไม่มีขาวจะรู้ได้อย่างไรว่าดำเป็นอย่างไร แต่เมื่อยังต้องใช้ชีวิตอยู่บนความเหลื่อมล้ำแห่งนี้ มันคงเป็นการดีไม่น้อยถ้าจะย่นระยะห่างของมันลงมา

หลังจากที่ได้อ่านหลากหลายบันทึก รับข้อมูลจากหลายๆความคิดเห็นที่ส่งผ่านกันบนเครือข่ายนักปฏิบัติแห่งนี้ และมีโอกาสได้ชมคลิ๊ป bridging digital divide เกี่ยวกับพื้นที่ห่างไกลแห่งหนึ่งในไต้หวันที่ internet สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในการส่ง ลูกพีชออกขายผ่านเวปไซด์ โดยมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัย Chung Yuan Christian University และลูกศิษย์ เป็นผู้มาติดตั้งระบบและสอนเด็กๆที่นี่ให้ใช้งาน internet จากนั้นเด็กๆเหล่านี้ก็เป็นผู้จัดการดำเนินการ e-commerce เอง

ตัวอย่างของความพยายามเชื่อมความต่างในสังคม โดยมีกลุ่มคนผู้รู้เดินทางเอาความรู้ไปเชื่อมต่อยังจุดที่ขาดหรือ ความรู้ยังเข้าไปไม่ถึง..

เมื่อมองกลับมา..จะว่าไปในประเทศไทยของเรามีบุคคลเหล่านี้อยู่มากมายที่ทำหน้าที่ของพวกเขาในการเชื่อมต่อความรู้ ตามความสามารถของเขาเหล่านั้น

ด้วยสายงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทำให้มองเห็นว่า ความไม่รู้เป็นอีกประเด็นสำคัญของ digital divide การลดความไม่รู้ก็ต้องเพิ่มความรู้ แล้วพระเอกนางเอกของเรื่องนี้ก็คงไม่พ้น ครู อาจารย์ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย

แล้วทำอย่างไรละ?? นั่นสิๆ

จริงอยู่ว่า เทคโนโลยีเป็นกุญแจสำคัญที่จะลดช่องว่างตรงนี้ แต่ในเมื่อด้วยเทคโนโลยีอันจำกัดในหลายพื้นที่ และบางแห่ง(เทคโนโลยี)มันก็ยังเข้าไปไม่ทั่วถึง แล้วจะให้ทำอย่างไร?

 

ในฐานะคนเป็นครู อาวุธและเครื่องมือที่ดีที่สุดคือ ปาก ดังนั้นก็ต้องใช้ปากให้เป็นประโยชน์นะสิคะ อิอิ

โดยความคิดเห็นส่วนตัว

ครูสามารถขับเคลื่อนความไม่รู้ออกไป และลดการเหลื่อมล้ำทางความรู้ได้โดยการ

  • ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่(อย่างจำกัด)เพื่อการแตกความรู้ เพิ่มความเข้าใจ แล้วก็บอกเล่าเรื่องราวจากภายนอก(ที่เป็นประโยชน์)ไปยังกลุ่มคนภายใน (เด็ก,คนในชุมชน)เพื่ออย่างน้อยเค้าก็จะได้เกิดการรับรุ้ว่าโลกภายนอกเค้าไปถึงไหนแล้ว
  • กระตุ้นให้พวกเค้าเกิดการใฝ่รู้ โดยเอาความสนใจของเด็กเป็นตัวตั้ง
  • สรรหาความรู้แบบปฏิบัติ ที่พวกเค้า(เด็กๆ) สามารถเรียนรู้จากการลงมือทำ ซึ่งมันมีความหมายกว่าการพูดหลายเท่านัก
  • สอนให้พวกเค้ากระจายความรู้อันเป็นประโยชน์ อย่างน้อยก็ไปยัง พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ของเด็กเหล่านั้น (เป็นลดความเหลื่อมล้ำอีกทอดหนึ่ง)
  • เหล่านี้น่าจะเป็นอีกหนึ่งหนทางในการ bridging the digital divide ที่ครูตัวเล็กๆและเทคโนโลยีอันจำกัดในทุกๆพื้นที่สามารถรังสรรค์ประโยชน์สุงสุดได้ แล้วหลังจากนั้นกระบวนต่อยอดก็จะดำเนินการของมันเอง ไปเรื่อยๆ

แล้วทำอย่างไรถึงจะได้ครูที่มีประสิทธิภาพขนาดนี้!!

จะว่าไปมันก็เป็นเกลียวคลื่นที่ส่งผ่านกันมาเป็นทอดๆ นานมาแล้วที่เราถูกปลูกฝังให้พอเพียงกับความรู้ที่มีอยู่(อาจด้วยวิถีชีวิตเรียบๆ ง่ายๆ และความเคยชิน ส่งผลให้เราอยู่ได้โดยไม่ต้องขวนขวายอะไรมากมาย) การปฏิวัติครูเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้ใฝ่รู้ด้วยจิตวิญญาณนั้นเป็นเรื่องยาก สิ่งที่ทำได้คงเป็นเพียงการสร้างความตระหนักว่าตนเอง(ครู)ยังรู้ไม่พอ  (อาจค่อนข้างเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้นะคะ แต่ก็สร้างได้แน่นอนค่ะ ส่วนสร้างอย่างไรนั้น คงต้องฝากเป็นคำถามไปขบคิดกันต่อแล้วล่ะค่ะ แต่อย่างน้อยๆก็ดีใจว่าตอนนี้ก็มีผู้ใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้แล้ว ที่นี่) คงจะเป็นแรงขับที่ดีที่สุดที่จะนำพาไปสู่การขวนขวายความรู้ของตัวครูเอง อันจะส่งผลไปยังการปลูกฝังการใฝ่รู้ในเด็กต่อไป (โดยส่วนตัวเชื่อว่า ทัศนคติของครูมีผลต่อการสอนในห้องเรียนค่ะ ครูใฝ่รู้ก็จะกระตุ้นให้เด็กใฝ่รู้ตามไปด้วย)

แล้วคนที่ไม่ใช่ครูล่ะ??

โดยการบอก การเล่า การนำเสนอสิ่งดีๆ ซึ่งถือเป็นการให้ความรุ้ทางหนึ่งที่ง่ายมากๆ แค่นี้คุณก็จะกลายเป็นครูโดยจิตวิญญาณแล้วค่ะ อิอิ

 

การลดความเหลื่อมล้ำ ต้องลดทอนความไม่รู้ของคนในสังคม เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับบันทึกของ อ.จันทวรรณ แค่คุณรู้ว่าดีแล้วบอกต่อ ความเหลื่อมล้ำก็ลดลงแล้ว ว่ามั้ยคะ?

 

ปล.ด้วยประสบการณ์ในอันน้อยนิดในวงการการศึกษาและโลกใบนี้ จึงยังไม่แน่ใจนักว่ามุมมองนี้ถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ควรจะเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงกำลังรอการเชื่อมความต่าง(กันคนละมุม)ทางความคิดและประสบการณ์จากผู้รู้ทุกท่านอยู่นะคะ อิอิ

 

 

Reference:http://www.taitran.com/


คำสำคัญ (Tags): #digital divide#knowledge divide
หมายเลขบันทึก: 256264เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2009 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีค่ะน้องสาวหัวใจติดปีก

ขอบคุณค่ะสำหรับแนวคิดดีๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการลด digital divide ค่ะ

พี่ชอบนะ "สร้างความตระหนักว่าตนเอง(ครู)ยังรู้ไม่พอ" เพราะถ้าคุณครูรู้สึกว่าความรู้ยังไม่พอก็จะขวนขวายความรู้ใหม่ๆ ให้ลูกศิษย์อยู่เสมอ

เด็กในเมืองกับเด็กนอกเมืองจะได้ค่อยๆ มีความต่างลดลงบ้าง

สวัสดีค่ะ พี่สี่ซี่

การสร้างให้ตระหนักรู้นี่สิคะยาก ค่อนข้างเป็นนามธรรม ต้องได้รับการปลูกฝังหรือปรับเปลี่ยนทัศนคติ แนวความคิดเพื่อนำไปสู่การลงมือปฏิบัติอย่างเป็นธรรมชาติ นั่นคือค้นคว้าด้วยความเต็มใจนั่นเอง คงต้องอาศัยทั้งเวลา,กระบวนการทางสังคมและที่สำคัญที่สุดคือการยอมรับตัวเองค่ะ

ยากแต่ก็มีหนทางค่ะ เพราะเราไม่ได้ย่ำอยู่กับที่ อิอิ

กลับไปใช้ระบบอนารอกงัย

Bridging the Digital Divide เป็นเรื่องราวที่ดีๆ อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ดูแล้วก็ตื้นตันใจ ที่สถาบันการศึกษา อาจารย์ นักศึกษา ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร รู้สึกดียิ่งขึ้น ตรงที่รัฐบาลเขาเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ด้วย

ฝันว่าประเทศไทยจะมีอะไรแบบนี้บ้าง ถ้า...

ถ้า ICT เปลี่ยนภาระกิจจากการบล็อคเว็บ มาเป็นการเปิดโอกาสให้คนบ้านนอกได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากและง่ายกว่านี้

ถ้า SIPA เปลี่ยนภาระกิจจากการตั้งเป้าจะเป็น Asia software hub - ซอฟต์แวร์ไทยสู่ตลาดโลก มาเป็นซอฟต์แวร์ไทยเพื่อคนไทย เพื่อเกษตรกรไทย

ถ้า NECTEC เปลี่ยนภาระกิจทำ A, B, C, D แห่งชาติที่แทบจะไม่มีใครใช้ มาทำอะไรที่ชาวบ้านร้านตลาดได้ใช้งานจริงๆ

สวัสดีค่ะคุณ  กวิน

นั่นสินะคะ back to basic อิอิ

สวัสดีค่ะพี่ ต้นกล้า

จะว่าไปในสังคมไทยก็มีลักษณะความร่วมมือแบบนี้อยู่นะคะ เพียงแต่ว่าเป็นโครงการที่ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มคนเล็กๆ ที่ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนรายใหญ่ แต่ถ้าหากเราร่วมมือกันในการประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดขึ้น นอกจากนั้นก็ช่วยกันลงมือต่อจิ๊กซอร์เหล่านี้ทีละเล็กละน้อยตามกำลังความสามารถ เชื่อแน่ว่า ไม่นานนักช่องว่างก็จะแคบลงและเข้มแข็งขึ้นด้วยการยื่นมือมาช่วยพยุงกันค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาแสดงความคิดเห็นและเปิดมุมมองทางเทคโนโลยีในสังคมเรานะคะ

 

ตามเข้ามาอ่านเรื่อง ความรู้ค่ะ

แต่ความรู้นั้น จริงๆ ยังมีความซับซ้อน พันกันไป พันกันมา จนเป็นกระบวนการ นำไปสู้ความรู้อย่่างใหม่ๆได้อีก คือ ข้อมูลต่างๆมีความสัมพันธ์กันไปหมด
ดังนั้น ถ้าจะให้เรียกว่า "รู้ลึก" ก็คือรู้ไปถึงกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ของความรู้ด้วย  บางทีเราเข้าไปค้นในอินเตอร์เนทมากเท่าไร  เราก็ยิ่งจะรู้อะไรกว้างขึ้นๆ ไปเรื่อยจนเลยจุดที่สนใจไปก็มีค่ะ
มนุษย์มีสามารถคิดอะไรที่ลึกขึ้นๆ ไปได้ไม่สิ้นสุด  จนสามารถสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาได้
ในขณะที่อินเตอร์เน็ตทำได้เพียง ทำให้เรารู้อะไรกว้างขึ้นเท่านั้น  แต่ไม่สามารถทำให้เรารู้ลึกได้
อย่างไรก็ตาม เรื่องการแบ่งปันความรู้ การเพิ่มความรู้ ให้แก่กัน เป็นสิ่งที่ สนับสนุนอย่างมากๆอยู่แล้วค่ะ

 

สวัสดีค่ะ คุณ Sasinand

ขอบคุณมากค่ะที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น

เห็นด้วยค่ะว่าinternet เป็นเพียงหน้าต่างเปิดไปสู่โลกกว้างเท่านั้น การจะรู้อะไรอย่างแท้จริง ความรู้ทางเดียวช่วยไม่ได้แน่นอน นอกจากนั้นinternet ก็ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนักในการนำมาใช้ในการอ้างอิงแหล่งความรู้ (แม้ว่าหลายๆwebsite สามารถเชื่อถือได้ก็ตาม)

การรู้อย่างลึกซึ้งนั้น โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นอีกstep ของการเรียนรู้ค่ะ เมื่อเด็กรู้ในระดับพื้นฐานแล้ว การต่อยอดสู่ความรู้ในเชิงลึกย่อมตามมาเป็นกระบวนการในลำดับต่อไป สำหรับปัญหาdigital divide นี้ คิดว่าเป็นเพราะเรายังขาดความรู้แม้กระทั่งในระดับพื้นฐาน อาทิ เด็กในชนบทบางคนไม่กล้าใช้ internet ด้วยเหตุผลว่า ใช้ไม่เป็น ภาษาอะไรไม่รุ้ ไม่รู้จะกดตรงไหน, ผู้ใหญ่บางคนมองว่า internet เป็นเรื่องของคนหนุ่มสาว ทำให้ไม่กล้าที่จะลองเข้ามาสัมผัสโลกdigital แห่งนี้  เป็นต้น การพาพวกเค้าเหล่านั้นออกจากโลกแห่งความกลัว ความไม่รู้ น่าจะเป็นแนวทางเบื้องต้นในการลดความเหลื่อมล้ำตรงนี้ค่ะ

และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า มนุษย์มีสามารถคิดอะไรที่ลึกขึ้นๆ ไปได้ไม่สิ้นสุด  จนสามารถสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ การรู้ในมุมกว้างผ่านโลกของ internet ก็จะช่วยเปิดโลกทรรศ และช่วยให้เห็นอะไรๆ ในมุมที่ต่างออกไป จนกระทั้งเค้าเกิดการพัฒนาต่อไปอย่างไม่สิ้นสุดค่ะ :)

 

 

คุณครูครับ ... ผมมีคำถามครับ :)

... หากคุณครูใช้ "ปาก" ... แล้วเด็กไม่อยากฟัง เอามืออุดหู คุณครูจะทำอย่างไรคร้าบ ???

...........................................................

มีคนบอกว่า หากอยากให้ครูรู้จักตนเอง

ประการที่ 1 ... ต้องทำให้ครู "ตระหนก" ก่อน

ประการที่ 2 ... จึงค่อยทำให้ครู "ตระหนัก"

ประการที่ 3 ... เมื่อครูพร้อม จึงส่งความรู้ต่อไปให้ครูใช้เป็นเครื่องมือได้

สรุป "ตระหนก" ก่อน "ตระหนัก" อิ อิ

...........................................................

สมแล้วที่น้องเจ้าเป็น "ครู" ... คิดได้เป็นระบบดีมาก ๆ ครับ :)

กลับมาอย่าลืมมาอบ ... ครูที่ไม่ "ตระหนัก" ให้ด้วยนะ เพราะส่วนใหญ่ "ตระหนก" ท่าเดียว (อาจจะหลายท่านะ 555)

สู้ สู้ :)

สวัสดีค่ะ พี่อาจารย์ Wasawat Deemarn

ขอบคุณสำหรับคำถามค่ะ (เอ๊ะ ประโยคแบบนี้ คุ้นๆมั้ยคะ 555)

ไม่อยากฟังเพราะไม่เห็นประโยชน์ในการฟัง  ดังนั้นต้องสร้างความตระหนักว่า การฟังนั้นดี

  • อย่างแรก (ประยุกต์มาจากความคิดเห็นของพี่ อาจารย์แหละค่ะ อิอิ)ทำให้เค้าตระหนกว่าไม่ฟังไม่ได้ค่ะ โดยการพาเค้าเข้าไปยังสภาวะสงสัย ใคร่รู้ค่ะ  เช่น ทำข้อสอบก่อนเรียน หรือไม่ก็ตั้งคำถาม ตั้งสถานการณ์ให้เค้าแก้ไขประมาณนั้น
  • เมื่อเค้าตระหนกได้ว่า เค้ารู้ไม่พอ เค้าจะเกิดภาวะ อยู่ไม่ได้ ต้องขวนขวายหาทางออก
  • แล้วเราผู้เป็นครูก็ใช้โอกาสนี้จัดการ(สั่งสอน)เลยค่ะ อิอิ
  • เมื่อนั้นเค้าก็จะเกิดการตระหนักได้ว่า การฟัง(อย่างตั้งใจ)มันดีอย่างนี้นี่เอง หุหุหุ

.............................................................

ก็ว่ากันไปตามองค์ความรุ้ที่มีอยู่...ผิดถูกอย่างไร ของพี่อาจารย์ช่วยชี้แนะด้วย ข้าน้อยด้อยด้วยประสบการณ์ มิอาจมองเห็นจุดอ่อนของกระบวนยุทธ์นี้

 

 อิอิ :)

555 เจ้าน้องอาจารย์ หัวใจติดปีก เอ่ย ... พี่เฝ้ารอคำตอบของน้องอยู่

และพี่พบว่า ... หัวใจของน้องเป็นครูแล้วล่ะนะ :)

อะนะ จริงเหรอคะ! พี่อาจารย์เอาอะไรวัดอะคะ (ไม่ได้ถามเพราะลบหลู่นะคะ แต่อยากรู้จริงๆ แหะๆ)

แต่ยังไงก็ขอบคุณค่ะที่มาช่วยสร้างความมั่นใจให้รู้ว่า เราเดินทางมาถูกแล้ว :)

การเขียนในบันทึกนี้ไม่ง่ายนะครับ หากไม่ใส่ใจและมีวิญญาณของความเป็นครูจริง ๆ :)

สู้ สู้ ครับ

  • สวัสดีค่ะ..

มาเก็บเอา "ความรู้"  ของคนที่มีวิญญานของความเป็นครูค่ะ ^^  นี่นะ ต้อมตามไปดูคลิปที่คุณให้ไปดู  เยี่ยมไปเลย  ชอบเสียงสาวน้อยฟันหลอมาก

สวัสดีค่ะ คุณต้อม

สาวน้อยฟันหลอตอนนี้มีอัลบั้มเป็นของตัวเองแล้วนะคะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท