Workshop Note Taker สำหรับเยาวชน (๓)


คำถามจากผู้ฟังเมื่อกี้นี้แสดงว่าเรื่องเล่าของเรายังขาดรายละเอียดบางอย่าง เวลาเล่าเวลาเขียนต้องให้คนที่ไม่รู้อ่านแล้วเข้าใจ ทำตามได้...

ตอนที่ ๒

วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
เช้าวันนี้ผู้เข้าประชุมชุดเด็กเล็กมาถึงห้องประชุมก่อนใคร เมื่อพี่ๆ ชาววังอ่างมากันครบแล้ว เราก็เริ่มทบทวนกันว่าเมื่อวานได้เรียนรู้อะไรบ้าง คุณธวัชบอกให้สรุปสั้นๆ เป็นประโยค เป็นวลี หรือคำกลอน เขียนลงในกระดาษแล้วให้ทุกคนพูด ประทับใจคำพูดของอาจารย์พิณัฎฐา และน้องเตยที่เชื่อมโยงความรู้ที่ได้ยินได้เห็นไปสู่การจดบันทึก

คุณธวัชอธิบายเสริมให้เข้าใจส่วนประกอบของการจัดการความรู้ หัวปลา ตัวปลา หางปลา ความรู้รอบตัวที่เอามาแลกเปลี่ยน แล้วต้องมีการรวบรวมจัดเก็บ ไม่อย่างนั้นไม่ครบตัวปลา

ส่วนหัวอาจยากสักนิด ต้องมาคุยกัน เช่น อาชีพในวังอ่าง แล้วแตกไปเรื่อยๆ ทำนา ทำสวน....ก็จะเห็นภาพรวมมากขึ้น พอมองจะเห็นว่าบ้านเราในภาพใหญ่มีความรู้อะไรบ้าง นึกถึงปลาตะเพียนที่มีลูกปลา หลานปลา....ยกตัวอย่างเรื่องข้าวปลอดสารเคมี ก็มีการจัดการแมลง บำรุงดิน พัฒนาพันธุ์ข้าว

ตัวปลาเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บ้านเราไม่มีเครื่องมือไปเสียบหัวคนหนึ่งไปออกที่หัวของอีกคนหนึ่ง จึงต้องใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งมีเทคนิคมากมาย ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีคนหลายคน “คุณอำนวย” เหมือนเมื่อวานที่ ผอ.พิณัฏฐา และ ผญ.แม็ก คอยซักถามน้องต้อมให้ความรู้ค่อยๆ ออกมา และ ผอ.ทำหน้าที่เป็นคุณลิขิตไปด้วย

หางปลา เก็บเป็นคลังความรู้ เกร็ดความรู้ สูตรปุ๋ยชีวภาพ เกร็ดอาชีพ ...บางแห่งอาจพยายามวาดรูปออกมา ชวนคนมานั่งเล่าให้เด็กๆ ฟัง ทำให้รักบ้านรักรากเหง้า บางแห่งใช้การละเล่นพื้นบ้าน ให้ดูตัวอย่าง (คลิกอ่านได้) ได้แก่
วิธีกระตุ้นปลาตะเพียนให้วางไข่ จะมีทั้งเขียนมีทั้งรูปประกอบ ทำให้เราเห็นภาพได้ง่ายขึ้น..เทคนิคเหล่านี้ที่เราต้องบันทึกต้องเขียน พอมีเยอะๆ ก็จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ มีทั้งรูปและข้อความบรรยาย
โคระ...พอคนไปอ่านไปเห็นรูปภาพก็เข้าใจมากขึ้น
เครื่องล้อเดียวเพื่อเดินฉีดพ่นบนคันนา
กับดักแมลง
เครื่องอัดฟางเป็นแผงไม้ที่พับได้

ความรู้พวกนี้เราไปพูดคุยกับเจ้าของเรื่อง อาจถ่ายรูป เวลาเขียนเผยแพร่ อย่าลืมใส่ชื่อเจ้าของเป็นใคร อยู่ที่ไหน คนอื่นอาจตามไปคุยเพิ่ม จับหัวใจ จับหลักว่าเรื่องนี้แก่น/หัวใจสำคัญคืออะไร เป็นความรู้หมวดไหน วันหลังจะหาได้ง่าย

การเขียนมี ๓ ส่วน
- เนื้อเรื่อง อย่าลืมทำพันพรือ
- หัวใจของเรื่องคืออะไร
- ชื่อเจ้าของเรื่อง เป็นใคร อยู่ที่ไหน
เขียนแล้วให้เด็กที่บ้านอ่านดูว่าอ่านรู้เรื่องไหม มีประโยชน์มาก...เป็นความรู้ใกล้ตัว เป็นความรู้มือหนึ่ง

 

Check การทำงานของสมอง ยืนล้อมวง ทำตามที่บอก และการนับเลข ที่ห้ามนับเลขสามให้บอกชื่อผลไม้แทนและไม่ให้ซ้ำกัน

แบ่งกลุ่มให้เขียนเรื่องเล่าให้มีครบทั้ง ๓ ส่วน

๑๐.๓๐ น. เล่าเรื่องที่เขียน

 

การจับปูดำของสามสหายแสนซน ต้อม+ปอ+ก๊อต

ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ป๋องดักเปี้ยว มีการจำลองอุปกรณ์มาให้เห็นจริงด้วย

เทคนิคการจับลูกปลาซิว แบบอีมุ้ม (มีภาพวาดประกอบ)

การทำดินปืน (ติ๊ก เลิฟ เชน)

เด็กๆ รู้สึกเกร็งๆ ตอนนำเสนอ แต่น่าประทับใจที่ตอบได้ทุกคำถามเพราะเป็นสิ่งได้ทำมากับมือตัวเอง คนฟังช่วยกันถามเพื่อให้รู้ชัด คุณธวัชและดิฉันช่วยกันเติมว่าคำถามจากผู้ฟังเมื่อกี้นี้แสดงว่าเรื่องเล่าของเรายังขาดรายละเอียดบางอย่าง เวลาเล่าเวลาเขียนต้องให้คนที่ไม่รู้อ่านแล้วเข้าใจ ทำตามได้...

ถามน้องเล็กๆ ว่ารู้สึกอย่างไรที่ได้เล่าเรื่อง คำตอบที่ได้จากบีและต้อมคือภูมิใจ ถามคนฟังว่ารู้สึกอย่างไรขณะที่ฟัง เลิฟบอกว่าปิ๊งวิธีดักเปี้ยวจะเอาไปประยุกต์ใช้ดักหนู...มีความรู้สึกชื่นชมคนเล่าเรื่อง...เป็นเสน่ห์ของความรู้ปฏิบัติ ต่างจากที่เราไปฟังนักวิชาการบรรยาย

วัลลา ตันตโยทัย

 

หมายเลขบันทึก: 338915เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2010 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณอาจารย์ JJ ค่ะ ทำงานเรื่องนี้แล้วรู้สึกอิ่มเอิบใจ มีความสุขค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท