ดูเด็ก ป.๒ ทำนาที่เชียงใหม่


ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวว่าสนุกมากแต่ถ้าเป็นชาวนาจริงคงจะเหนื่อยและร้อนมาก

 

 

เด็กเด็กที่น่ารักกำลังย้อนสู่วิถีชีวิต..

กำลังซึมซับความงดงาม..เกิดความตระหนักในรากเหง้า

โดยการนำพาของครูลินลดา..หนึ่งครูไทยหัวใจนักสู้

 

 

Field Trip  ต้นข้าวชาวนาไทย

  บ้านควายไทย  อ. แม่ริม 

จ. เชียงใหม่

มีอะไรแทรกอยู่ในการเรียนรู้ของเรา

      ข้าว นับเป็นอาหารหลักของคนไทย ทั้งในอดีต และปัจจุบัน การปลูกข้าว ต้องใช้เวลาและแรงงานไม่น้อยกว่าจะได้มาซึ่งข้าว 1 เมล็ด ต้องแลกกับหยาดเหงื่อ แรงกายจำนวนมากของชาวนาและควายไทย แล้วเรายอมรับกันหรือไม่ว่า  ในยุคสมัยปัจจุบันนี้  จะมีใครบ้างที่จะมองเห็นคุณค่าของข้าว คุณค่าของควายไทยในอดีตที่นับวันจะถูกลบเลือนหายไปกับกาลเวลา  ซึ่งหากเราจะพร่ำบอกกับเด็กๆ ว่า “ข้าวนี้มีประโยชน์นะลูก กว่าจะปลูกได้ต้องใช้แรงกายแรงใจมากมายชาวนาต้องเหน็ดเหนื่อย.....”  รับรองได้ว่า  เด็กๆ จะฟัง แต่ไม่ซาบซึ้งใจไม่จดจำหรือไม่ได้ฟังเลยด้วยซ้ำสำหรับเด็กบางคนที่เขาไม่อยู่นิ่ง 

     ดังนั้น โครงการทัศนศึกษานอกสถานที่ หรือ   Field Trip  ของเราชาว English Program อนุบาลเชียงใหม่จึงเลือกที่จะให้เด็กๆ ได้เรียนรู้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวนา  เพื่อที่จะได้นำประสบการณ์ที่ได้รับนั้น มาบูรณาการความคิดของเขาเอง  โดยได้วางแผนเริ่มแรกคือ  จุดประกายความสนใจโดยใช้คำถามว่า 

“หนูเคยเห็นควายไทยหรือไม่ 

แล้วรู้ไหมว่าควายมีไว้ทำอะไร 

และกว่าจะเป็นข้าวหนึ่งเมล็ดมีขั้นตอนอย่างไร” 

 

เด็กๆ จะหาคำตอบด้วยตนเองโดยใช้ Internet ค้นหาข้อมูล  แล้วครูจะคอยกระตุ้นถามย้ำและคอยตอบคำถามที่เขาสงสัย  สารพัดสิ่งที่เขาถามบางครั้งก็มีอะไรแทรกอยู่ในคำถามของเด็ก ๆ ที่เราไม่ควรมองผ่าน  แต่เราจะนำสิ่งเหล่ามาท้าทายให้เขาพิสูจน์ได้ด้วยตัวเขาเอง  เมื่อเราได้เรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ร่วมกันเช่น วิธีการปลูกข้าว ซึ่งถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทย   โดยจะมีรายละเอียดตั้งแต่ การเตรียมเมล็ดพันธุ์ในขั้นแรก การเลือกแปลงหว่าน การไถนาที่มีถึง 4 แบบ เช่น  ไถดะ ไถคราด ไถแปร ไถปรับ  การหว่านกล้า การหลกกล้า การดำนา  การดูแลปราบศัตรูพืช  ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว ซึ่งถือเป็นภาระงานที่หนักมากของชาวนา แล้วยังได้สัมผัสกับควายไทยที่พวกเขาได้เรียนรู้มาแล้วว่า ควายเป็นสัตว์ที่ใช้แรงงานชนิดหนึ่งที่มีความผูกพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มาอย่างเหนียวแน่น และต่อเนื่อง นอกจากควายจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยทำงานแล้ว ควายยังเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่ออาหาร ทั้งนมและเนื้ออีกด้วย โดยควายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่


       1. ควายแอฟริกา (Africa buffalo)
       2. ควายแคระ(Anoas or warf buffalo)
       3. ควายเอเชีย (Asiatic water buffalo)


ควายเอเชีย
        สำหรับควายเอเชีย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
       1. ควายแม่น้ำ (River or Riverine Buffalo) เป็นควายที่นิยมเลี้ยงมากในบริเวณเอเชียใต้ เช่น ประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้เพื่อใช้นมเป็นอาหาร มีลักษณะสูงใหญ่ และขนยาวผิวสีน้ำตาลแดง เขางุ้มเข้าหาลำตัว ชอบอาสัย อยู่ในหนองน้ำ ลำธาร ริมแม่น้ำ ลำคลอง
       2. ควายปลัก (Swamp Buffalo) เป็นควายที่นิยมเลี้ยงมากในแถบประเทศจีนตอนใต้ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิยมเลี้ยงไว้เพื่อใช้แรงงานในภาคการเกษตร และเพื่อบริโภค มีลักษณะแข็งแรง เขาโง้งเป็นวงกว้าง ผิวสีดำสนิท และมีผิวสีขาวที่รู้จักในนามของควายเผือก พบมากในแถบภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย มีจำนวนควายเผือกประมาณ 15 % ของปริมาณควายในภาคเหนือ

จากความผูกพันระหว่างชาวนากับควายในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกัน ชาวนาได้อาศัยแรงงานของควายในการทำนา ควายได้พักอาศัยในที่ปลอดภัยและมีอาหารกินพอเพียง ทำให้มนุษย์เริ่มมีแนวความคิดซับซ้อนในเชิงพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับควาย ในลักษณะสัตว์ที่มีบุญคุณแก่ผู้ที่เป็นเจ้าของ ดังปรากฏให้เห็นในพิธีที่เกี่ยวข้องกับควายในรูปแบบดังต่อไปนี้
         1. ความเชื่อเกี่ยวกับลักษณะรูปร่างของควาย
         2. พิธีสู่ขวัญควาย
         3. ความเชื่อเรื่องฤกษ์ยาม และตำราทำนายน้ำฝน จากลักษณะรูปร่างควาย
       ความสำคัญของควายได้พัฒนาเจริญงอกงามสืบต่อมาในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยงให้แรงงาน เป็นทรัพย์สมบัติของชาวนา ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการเลี้ยงควาย ในอดีตของชาวนา คือการเลี้ยงไว้ใช้แรงงานและเป็นมรดกตกทอดต่อไปแก่ลูกหลานไว้ใช้งาน

 

เมื่อเด็กๆ มีความรู้ก่อนที่จะไปสัมผัสชีวิตชาวนาแล้ว  เราจึงเตรียมพร้อมที่จะเดินทางกัน  เมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่จะเกริ่นนำและพาไปดูการแสดงของควายกับชาวนา เช่น  การเล่นดนตรีบนหลังควาย การฟังคำสั่งและปฏิบัติตามของควาย  การใช้แรงงานควายหีบอ้อยเพื่อทำน้ำอ้อยน้ำตาลหวาน  หรือการใช้แรงงานควายวิดกังหันน้ำเข้านา  ทุกสิ่งที่เด็กๆ ได้เห็นพวกเขาตื่นตาตื่นใจและคอยปรบมือให้ควายกับชาวนาซึ่งเป็นภาพที่น่ารักมาก 

 

 

ต่อจากนั้นเราก็จะได้ลงทุ่งนาเพื่อเริ่มต้นวิถีชีวิตของชาวนา  วันนั้นแดดร้อนแรงมากแต่ไม่มีเสียงบ่นจากเด็กๆ เลย พวกเขาบอกว่าชาวนาต้องทนแดดทนฝนทุกวันยังไม่บ่นแล้วเขาจะบ่นได้หรือ ทุกคนสวมหมวกปีกกว้างแบบชาวนาดูทะมัดทะแมงดีจังเลย  เด็กบางคนไม่เคยลงนาเปื้อนโคลนเลยในชีวิต  เขากำลังเรียนรู้วิถีชีวิตในอีกแง่มุมหนึ่งที่ต้องจดจำไปตลอด  พวกเขาได้ทดลองทำทุกอย่างตามขั้นตอนของการทำนา การดำนาหรือปลูกข้าวนี้จะสนุกตรงที่ทุกคนเปื้อนโคลนหมดเลย  บางคนไม่สามารถทรงตัวได้เพราะโคลนเหนียว  ก็จะหอบหิ้วจูงแขนเพื่อนกันพะรุงพะรังน่ารักแบบเด็ก ๆ บางคนก็ทนแรงเพื่อนไม่ไหวหกล้มตกคันนาไปเลยก็มี  อ้อ ! ตอนไถนายิ่งสนุกสุดๆ เพราะควายได้ยินเสียงเด็กๆ ร้อง ฮุย เล ฮุย ก็สนุกคึกคักไถนาอย่างรวดเร็ว  เด็กตัวเล็ก 4-5 คน ก็ปลิวไปตามคันไถ บางกลุ่มก็หยุดรอควายฉี่ ขอบอกว่าฉี่นานมากๆ พอเสร็จจากการไถนา ก็มาดูขั้นตอนการตีข้าว บางคนยกไม้หนีบข้าวยังไม่ขึ้นก็อยากจะตีกับเขาด้วย  ตอนตำข้าวยิ่งสนุกเพราะช่วยกันหลายคน  พอเสร็จจากกิจกรรมแล้ว 

ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวว่าสนุกมากแต่ถ้าเป็นชาวนาจริงคงจะเหนื่อยและร้อนมากและเมื่อกลับมาถึงโรงเรียนแล้วให้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  เด็กคนหนึ่งบอกว่า  ไม่วาดรูปควายตอนไถนาได้ไหมเพราะสงสารมัน  แต่จะวาดรูปควายเหล็กแทน ควายจะได้ไม่เหนื่อย  บางคนก็บอกว่า ต่อไปนี้จะทานข้าวให้หมดจานจะตั้งใจเรียนให้มากๆ จะได้เรียนสูงๆ และมีอาชีพที่ดีสิ่งเหล่านี้ต่างหาก  คือเป้าหมายของการวัดผลประเมินผลจากสภาพจริงที่อยากให้เกิดสำนึกที่ดีหลังการเรียนรู้เพราะหากเด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดี  การปฏิบัติตนของเขาจะต้องดีและอนาคตภายหน้าจะต้องเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน

 

              ร่วมถ่ายทอดความทรงจำโดย

                    ครูลินลดา   กันทะพงค์.

 

4. ครูขวัญ [IP: 117.47.45.11] เมื่อ อ. 12 พฤษภาคม 2552 @ 21:21
1287278

สวัสดีค่ะ

วันนี้มาพร้อมกับรอยยิ้มและพนมมือก้มกราบขอบคุณศน.อ้วน นายสถานีคนเก่งค่ะ

ดีใจที่ทำให้เด็กๆ ได้เห็นคุณค่าของชาวนา ข้าวและควายไทย รวมทั้งได้ปลูกฝังคุณธรรมที่พ่อหลวงของไทยต้องการให้ชาวไทยทุกคนได้ตระหนักในเศรษฐกิจพอเพียง และภูมิใจที่ได้เห็นการถ่ายทอดผลงานของตนเอง ศน.อ้วนทราบไหมคะว่า วันที่เห็นเด็กๆกำลังหว่านข้าวลงในท้องนาจำลองในสวนเกษตร พร้อมกับท่องบทดอกสร้อย ต้นข้าวชาวนาไทย ที่ครูขวัญเป็นคนแต่งและพร่ำสอนพวกเขาจนเขาท่องได้อย่างไพเราะ ครูขวัญต้องสวมแว่นกันแดดสีดำเพื่อปกปิดน้ำตาที่กำลังไหลด้วยความปลาบปลื้มใจ และวันที่แอบถ่ายรูปของเด็กๆที่กำลังประคองรวงข้าวด้วยความทะนุถนอมและบังเอิญว่าที่ข้อมือของเด็กคนหนึ่งนั่นสวมสายรัดข้อมือของในหลวงด้วย เป็นภาพที่มีความหมายสำหรับครูคนนี้มากค่ะ และอีกไม่นานภาพเหล่านี้จะไปปรากฏที่เวทีการแข่งขันนวัตกรรมของเอเชียแปซิฟิก จะขอเป็นตัวแทนของครูไทยที่ส่งเสริมคุณค่าของข้าวและชาวนาไทยรวมทั้งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการอ่านและเขียนเพื่อแสดงให้ผู้ชมเห็นในความภาคภูมิใจของคนไทยค่ะ...ยินดีร่วมแบ่งปันความสุขจากการจัดการเรียนรู้ให้ครูไทยทุกท่านค่ะ   ..ลินลดาเจ้า

 

เด็กเด็ก..กำลังเกิดจิตตระหนักรู้

นี่แหละค่ะ..ความหนักหน่วงของการศึกษาไทย

สิ่งที่สังคมไทยต้องการ "การเกิดจิตสำนึกที่ดีงาม" 

                                                    

 กว่าจะเป็นรวงข้าวชาวนาเหนื่อย       ควายก็เมื่อยอ่อนล้าแรงหดหาย

ต้องไถนาสู้แดดแสบผิวกาย             เช้าจรดบ่ายชาวนาต้องอดทน

..CAR 2 ของครูขวัญน่าชื่นชมมาก สู้ต่อไปนะคะ..

หมายเลขบันทึก: 260796เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2009 05:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

แงๆพิมพ์ไปตั้งเยอะหายหมดเลย

(จะหายอีกไหมเนี่ย)

    สวัสดียามเช้าค่ะ...

        เป็นความสุขอีกครั้งในทุกๆครั้งที่ได้ร่วมโดยสารไปกับCARของครูขวัญ

        เห็นรอยยิ้มของเด็กๆแล้วชื่นใจแทนครูขวัญคนสวย

        ทุกถ้อยคำสัมผัสได้ถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจ

        บันทึกนี้สร้างแรงบันดาลใจให้หนูได้มากมายเชียวค่ะสำหรับเช้าวันนี้

       

            ขอบคุณความงดงามในเช้าวันนี้..

            ไปโรงเรียนก่อนนะคะ ...^_^...

                          ...ด้วยรักค่ะ...

เชียงใหม่ก็มีบ้านควายไทย..เนอะ..ผมนึกว่ามีแต่..สุพรรณ

  • อ่านเรื่อง ดูภาพ มีความหวังและความสุขมาก
  • สู้ต่อไปนะครับ
  • สู้แบบนี้ดีกว่าสู้บนท้องถนน สร้างอนาคตของชาติด้วย

สวัสดีครับพี่ศน.อ้วน

ชอบภาพนี้มากๆครับผม พร้อมคำบรรยายสะกิดใจ :)

พี่ศน.อ้วนครับ ผมชวนพี่เอาภาพนี้ หรือภาพในกิจกรรมวันนั้น เข้าร่วมประกวดภาพถ่ายกับนิตยสาร สารคดี หัวข้อเปลี่ยนโลกได้ด้วยใจอาสา ประกวดภาพถ่ายสารคดี 2552

ชมภาพพร้อมอ่านเรื่องราวดีดีนี้จึงนึกขึ้นได้ครับผม :) นะครับ นะครับ ลองดู ^_^

สวัสดีค่ะ

 สวยงามและน่ารัก ขอให้มีกิจกรรมดีๆอย่างนี้นะคะ

 เด็กจะได้รู้จักและภูมิใจในรากเหง้าของตัวเอง

มาอีกรอบค่ะ...

       มาบอกว่า   ขออนุญาตพาดพิงค่ะ อิ.อิ..ที่นี่ค่ะ>>>...อย่าปล่อยให้มือที่สามลอยนวล...

       และแวะไปให้กำลังใจยายด้วยนะคะที่นี่ค่ะ>>>..วันแรกก็โดนซะแล้ว...^_^...

       จะรอนะคะ...ด้วยรักค่ะ ^_^

สวัสดีกะเจ๊าครูพี่อ้วนจ๋า

น้องปูจ๋า มาดูน้องป. 2 ทำนา ค่ะ

ชอบภาพมากๆ ... บรรเจิด งดงาม

พอเพียง เพียงพอ ขอบคุณค่ะ

 

อย่าลืมบอกเด็กๆของเราด้วยนะว่าอาชีพชาวนาก็ไม่ได้เป็นอาชีพที่ต่ำต้อยเป็นอาชีพที่ดีมีคุณธรรม..ควายก็ไม่ใช่ว่าเหนื่อยยากควายดีใจที่มีงานทำรับใช้สังคมมนุษย์ที่ไม่ได้ดูถูกดูหมิ่นว่าควายโง่ทำงานสู้ควายเหล็กไม่ได้..ยิ่งยุคขาดแคลนน้ำมันที่กำลังมีมา

  • สวัสดีค่ะ
  • เป็นภาพที่น่ารัก น่าประทับใจจริง ๆ ค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ สำหรับบันทึกน่ารัก ๆ เช่นนี้

สวัสดีค่ะ ชอบมากเลยกับกิจกรรมดีๆแบบนี้

ดิฉันก็เป็นครูค่ะ ร.ร.เอกชน (อุดรฯ)ดิฉันก็มีกิจกรรมคล้ายๆแบบนี้

ก็น่ารักดีอะน่า ควายไม่ใช้คน 555555555555555555555555555555555555555555555555555555

ด.ช.กฤติธัช อัครภัทร (อาร์ท)

คุณครูคนเก่งของผม คุณครูขวัญใจดีมากครับ ตอนสอนผมในห้องเรียน ผมรักคุณครูมากครับ อาร์ท G 2/7 โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท