beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

KM กับการพัฒนาการเรียนการสอน : มุมมองของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์


KM ต้องมีคนจัด ถ้าเมื่อไรไม่มีคนจัด คือ "คุณกิจมาเจอกันเอง" จะดีมาก

KM กับการพัฒนาการเรียนการสอน
(
Slide)

slide 2 : ชื่นชมพัฒนาการของ UKM 

  • ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวชื่นชมเครือข่าย UKM ว่า เดินทางมาไกลและทำประโยชน์ให้มหาวิทยาลัยสมาชิกได้พอสมควร (ส่วนนี้ทำให้ใจชื้นขึ้นมา เพราะมีบางท่านในบางมหาวิทยาลัยเข้าใจว่าพวกเรามาเที่ยวกัน) มีการแยกส่วนที่เป็น Process KS ออกจาก Content KS
  • มีการขยายเครือออกไปยังมหาวิทยาลัยนอกเครือข่าย UKM คือ Mini_UKM ซึ่งขับเคลื่อน "คุณอำนวยแห่งชาติ" (ตรงนี้ชม ท่านอาจารย์หมอจิตเจริญ)

Slide 3-6 : KM ต้องไม่เริ่มที่ความรู้\การจัดการ

  • KM หากไม่ระวังจะไปผิดทาง เพราะไปเน้นที่ความรู้ หรือ การจัดการ
  • KM ต้องเริ่มจากเป้าหมาย ว่าจะทำอะไรให้ดี ระหว่างทำเกิดความสุข ความภาคภูมิใจ และมิตรไมตรี (ตรงนี้เป็นความจริงครับ แรกสำหรับผมนั้น เกิดความสุขก่อน ตามมาด้วยการเกิดมิตรไมตรี ส่วนความภาคภูมิใจนั้นตามมาสุดท้าย)
  • KM เป็นเครื่องมือ ที่จะทำให้อาจารย์ทั้งหลาย เกิดความภูมิใจและเห็นคุณค่าของการสอนโดยไม่มีใครบอก (เพราะกระบวนการมันบอกเอง) (ตรงนี้ได้ทดลองนำไปปฏิบัติแล้วมันเกิดผลแบบนี้จริงๆ) เกิด reward ทั้งทางใจและที่เป็นรูปธรรมหลายรูปแบบ
  • ครั้งนี้ไม่มีเอกสารแจกให้ เพราะลูกผู้ชาย “ยืดได้หดได้” (ฮา ฮา อะไรหว่า)
  • เป้าหมายของการเรียนการสอน เพื่ออะไร ลอง “ลปรร” กันดู (ถามคนในห้อง)
  • เป้าหมายของการเรียนการสอน คือ การงอกงามทางปัญญา ของ....นักศึกษาและอาจารย์....และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง...ไม่ใช่แค่เพื่อสอนวิชา ไม่ใช่แค่เพื่อการเรียนรู้ของศิษย์ แต่เพื่อการเรียนรู้สู่ความงอกงามทางปัญญาของทุกคน และองค์กร (มหาวิทยาลัย) รวมทั้งสังคมด้วย...
  • การเรียนการสอน บางครั้งมุ่งการสอนมากไป จนไม่ได้สนใจเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง      

Slide 7 : ความสำเร็จของมหาวิทยาลัย

  • ความสำเร็จของการเรียนการสอนและการทำหน้าที่อื่นๆ ทำให้เกิด Organization Learning นั่นหมายถึง เกิดการเรียนเรียนรู้ว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้การทำงานตามหน้าที่อื่นๆ สำเร็จได้เร็วและง่ายขึ้น
  • เนื่องจากภาระหน้าที่ของอาจารย์มีหลายด้านเป็น Multifunction ทำอย่างไรจึงจะทำให้มันเสริมกัน (synergy) หรือเกิดความสนุก enjoy-->KM ช่วยได้
  • ดังนั้นการเรียนการสอน เป็นไปเพื่อการเรียนรู้และความงอกงามทางปัญญา ไม่แยกออกจากภาระกิจอื่นๆ (ทุกครั้งที่ผมไปสอน หรือไปร่วมเสวนาอะไรก็ตาม ผมจะเรียนรู้มาได้มากกว่าที่ผมให้ไป..อิอิ)
  • การทำหน้าที่แต่ละด้านดังนั้นการเรียนการสอน ต้องเชื่อมโยงไปยังภารกิจอื่นๆของอุดมศึกษาด้วย

Slide 8-10 : การเรียนการสอนที่ดีใน..(ทัศนะ..) มีลักษณะอย่างไรบ้าง

  • (1) อาจารย์ (2) ศิษย์ (3) สถานที่ (4) หลักสูตรและความเข้าใจในหลักสูตร (5) เครื่องอำนวยความสะดวก (6) การวัดผล (7) ผลสัมฤทธิ์
  • นำมาจัดทำ ตารางแห่งอิสระภาพหรือ Self Assessment Table ได้ 5 ระดับ
  • เป็นตารางแห่งอิสระภาพ ของการเรียนการสอนที่ดีด้าน...
  • การเรียนการสอนที่ดี มีลักษณะอย่างไรบ้าง และ ทำอย่างไร เป็นความรู้ เพื่อการปฏิบัติ การหาที่ดีที่สุด คือ จาก Success Story ซึ่งลูกศิษย์ จะบอกได้ ซึ่งมีความหลายหลายตามมุุมมองของแต่ละคน   

Slide 11 : เสาะหา SS ของการเรียนการสอนที่ดี

  • หาความรู้เพื่อการปฏิบัติ หาง่ายที่สุดคือ Sucess story (SS)
  • เครื่องมือ ที่อยากจะแนะนำ คือ ตารางแห่งอิสระภาพ หรือ Self Assessment Table ซึ่งแต่ละแห่งอาจจะแตกต่างกัน มันต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อยกระดับปฎิบัติการเรียนรู้
  • วิธีการ สมมุติว่าเป็นการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์ 101 สำหรับปี ๑ ก็ต้องให้คุณกิจ/ คนสอน หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง เอาเรื่องมาเล่ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
  • มีตัวอย่างที่นำมาตีความ ว่าใครสอนเก่ง และพยายามถอดออกมาให้ได้ โดยแต่ละคนให้ * ระดับ 1-5 พยายามตีความว่า ระดับ "ห้าดาว" นั้นเป็นอย่างไร
  • เช่น (1) มาตรงเวลา (2) มี motivation (3) ไม่ขาดเรียน (4) การมีส่วนร่วม (5) มีความสุขในการเรียน--เป็นการดูทางด้านพฤติกรรม
  • บางครั้ง เราอาจได้เรื่องเล่าบางเรื่องที่เป็น "เคล็ดลับ” ของความสำเร็จกลับมาด้วย
  • Unit of Analysis จะเป็นตัวอาจารย์หรือหน่วยงานก็ได้ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ มีอาจารย์สอน ๕ ท่าน นำมา “ลปรร” กัน รวมทั้งปัจจัยในแต่ละด้านที่สำคัญ ดูองค์ประกอบที่ทำให้เกิดการ “ลปรร” ที่ดี ระดับ ๕ ดาว เป็น อย่้างไรบ้าง
  • KM ต้องมีคนจัด ถ้าเมื่อไรไม่มีคนจัด คือ "คุณกิจมาเจอกันเอง" จะดีมาก และต่อไปมันจะมีพัฒนาการ เกิด System Thinking นำวิธีการทีดีไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Slide 12 : การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

  • การเสาะหา SSS หรือ Sucess story มา sharing กันนั้น เริ่มต้นต้องมีคนจัด พัฒนาต่อไปจนกระทั่งเกิดการจัดแบบไม่เป็นภาระ เช่น ทานข้าวเที่ยงใช้ด้วยกัน ในเรื่อง "การจัดการเรียนการสอนที่ดี" มีการจัด KA คลังเรื่องเล่า "การเรียนการสอนที่ภูมิใจ"
  • ระดับองค์กร ต้องมีการยกย่อง มี appreciation โดยผู้บริหาร ซึ่งมีหน้าที่ต้องดึง Organization Share Vision เข้ากับกิจกรรม KM การเรียนการสอน และเห็นความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมการเรียนกการสอนที่ดีกับกิจกรรมอื่นๆ
  • KM มักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว (เพราะมันเป็นทักษะ) ต้องผ่านการฝึกฝน เหมือนนักกีฬาเทนนิสที่ฝึกมาดีแล้ว จนกระทั่งตีลูกแบบไม่รู้ตัว ไม่ต้องใช้สมอง เพราะมันเป็น Reflex
  • ฝ่ายบริหารควรจัดงานประจำปีด้านการเรียนการสอน "มหกรรมการเรียนการสอน" เพื่อเป็นเวที SSS ขับเคลื่อนพลังทั้งมหาวิทยาลัย ยกย่องตัวบุคลให้รางวัลผู้ที่สอนดี และรางวัลแก่หน่วยงานด้วย

Slide 14 : R2R ด้านการเรียนการสอน

  • ต้องมีกลเม็ดเด็ดพรายในการวิจัยการเรียนการสอนที่เรียกว่า R2R เป็นอย่างไร เป็นกระบวนการทางวิชาการ

Slide 15-17 : R&D วิธีอำนวยการเรียนรู้ด้าน..

  • อาจารย์จะมีวิธีการ facilitate การเรียนรู้อย่างไร น่าจะเป็นโจทย์งานวิจัย และจะทำให้การเรียนการสอนสนุก เป็นการเชื่อมโยงการเรียนการสอนกับชีวิตจริง
  • การเชื่อมโยงการเรียนการสอนกับภาระกิจอื่นต้องเป็นเรื่องที่ควรกระทำ

Slide 18-20 : R2R พัฒนาการเรียนการสอน

  • การเขียนวิชาการด้านการเรียนการสอน น่าจะมีเป้าหมาย เพื่อการแลกเปลี่ยน และเป็นการท้าทายเพื่อการพัฒนา
  • วิชาการเพื่อการเรียนรู้ เมืองไทยมีน้อย มีวารสารเพื่อการเรียนรู้ ต้องมีการยกย่อง ต้องมีการเล่า มีการทำ VDO เพื่อให้ท่านอื่นได้เรียนรู้ นำไปเผยเเพร่ใช้ทั้งประเทศ มหาวิทยาลัยต้องมารวมตัวกัน ไม่ต้องรอให้ใครมาจัดให้
  • ทำดี แต่ไม่ได้ความชอบ แสดงว่าต้องมี something wrong ต้องทำให้มัน right
  • ผลงานด้านวิชาการด้านการเรียนการสอนต้อง reform
  • สอนดี ต้องอธิบายได้ด้วยว่าสอนดีอย่างไร ไม่ใช่แต่สอนดีเฉยๆ ต้องเอาทฤษฎีมาจับด้วย

Slide 21-23 : SSS เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

  • เรื่อง SS ต้องไปถามนักศึกษา ถามนา่ยจ้าง เพื่อให้เกิด SSS
  • ประเด็นที่สำคัญ คือ การไปถามเ็ด็ก (เช่น ศ.ดร.ยอดหทัย เทพธารานนท์ เคยทำ-ได้ทุนจากสกว) ว่าเด็กเก่งๆ เหล่านั้น อาจารย์ทำอย่างไร สร้างแรงใจให้เด็กมาเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ไปเรียนวิชายอดนิยม เราต้องมีวิธีที่จะหาการจัดการเรียนการสอนที่ดี ต้องหาจากหลายๆแห่ง
  • ประเด็นที่สำคัญ ต้องโยงกับ วัฒนธรรม ชีวิตจริง ทฤษฎีต่างๆ เพื่อให้ได้ ทฤษฎีใหม่ ขึ้นมา ความรู้เหล่านั้น อย่าเชื่อทั้งหมด เราต้องตั้งโจทย์วิจัย เพื่อสร้างการเรียนการสอนทีดียิ่งยิ่งขึ้นต่อไป
  • การเรียนรู้ ต้องโยงกับทฤษฎีต่างๆ ทั้งด้านการเรียนรู้ และ สมอง KM ไม่ใช่แค่ “ลปรร” แล้ว จบ ต้องสร้าง ทฤษฎีใหม่ ในวัฒนธรมขององค์กรเจ้าของ หรือ ชีวิตจริงของเรา

Slide 24 : สรุป KM เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

  • KM เป็นกระบวนการ Learn to How to Facilitate Learning เน้นสิ่งที่เกิดในตัวนักศึกษา และ How to Improve ของเจ้าของ ทั้งทฤษฎีและปฎิบัติ ต้องโยงสู่ รางวัลแรงจูงใจ และ การพัฒนาที่หลากหลายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำอย่างไรให้เกิดความสุขในมหาวิทยาลัย เกิดการรวมตัวกันอย่างมีความสุขในองค์กร
  • การประชุม กกอ. เมื่อวานนี้ อุดมศึกษา มีหลายยอด สุดยอดมี ๕ excellence  คือ มี ๕ มาตรฐาน ต้องมีการเชื่อมโยงทั้งพื้นที่และระดับโลก
  • KM เพื่อการเรียนการสอน คือ คุณค่าของความเป็นครู คือ Facilitate การเรียนการสอน

หมายเหตุ : บันทึกนี้ beeman อาศัย PPT ของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ และถอดบทเรียนโดยท่านอาจารย์หมอจิตเจริญ <,> รวมกับที่โน๊ตไว้ในสมุด..ไม่ได้เขียนเองแต่อย่างไร จุดประสงค์เพื่อสกัดออกมาเป็นบทเรียนเอาไว้ศึกษาในอนาคต..

 

beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

หมายเลขบันทึก: 235410เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2009 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  1. ผมดีใจมากครับที่ท่านอาจารย์วิบูลย์ได้เข้ามาอ่าน ผมตั้งใจทำบันทึกนี้เผื่อจะได้เกิดประโยชน์ที่ท่านอาจารย์วิบูลย์จะได้นำไปปรับใช้ในยุทธศาสตร์ 4 ปีข้างหน้า
  2. ไม่แน่ใจว่าวันที่ 29 มกราคม 2552 ผมจะว่างไป AAR กับท่านอาจารย์วิบูลย์หรือไม่ เพราะผมมีตารางสอนปฏิบัติการ 4 ห้อง
  3. อย่างไรก็ตาม ผมจะเขียนบันทึกอีก 2-3 บันทึก เพื่อสกัด Best Practice ที่ได้จากเวที UKM 14 ก่อนวันที่ ๒๙ นะครับ

บันทึกของบีแมนถูกใช้ประโยชน์แน่นอน จะคอยอ่านตอนต่อไปครับครับ ขอขอบคุณอีกครั้ง

  • ขอบคุณและรับทราบครับ

เป็นการเก็บประเด็นที่ครอบคลุมและมีประโยชน์เป็นอย่างมากครับ อย่างไรก็ตามทีมงาน วลัยลักษณ์ ก็ขออนุญาตเก็บเกี่ยวความรุ้นี้ไปใช้ประโยชน์ด้วยคนน่ะครับท่านอาจารย์ beeman

  • ยินดีครับ เพราะเป็นของสาธารณะ
  • และผมทำหน้าที่รวบรวม ไม่ได้เขียนเองครับ..
  • ตามมาอ่านบันทึกของอาจารย์ครับ
  • รับทราบครับคุณบอย
  • ได้ทราบว่าผู้ที่มาเพิ่มยอด visit คือใคร...อิอิ

beeman ค่ะ ดิฉันก็กำลังศึกษา HRD ตัวเองทำงานด้าน HRD และศึกษาเจาะลึกในด้าน learning และเป็นประเด็นของ Action Learning ข้อมูลตัวนี้มีประโยชน์ต่องานดิฉันมาก แต่ยังไม่ได้ทำ model อะไรออกมาชัดเจน ยังเป็น concept อยู่ว่า ใน IDP (individule Development Plan)มันน่าจะต้องมีเรื่องของ Learning เป็นอุปสรรคในงานการอบรมอยู่บ้าง อยากได้รายละเอียดในการบรรยายเสียง มี MP3 หรือ 4 ให้โหลดมั่งป่ะคะ

สวัสดีครับคุณ Patt

  • อันนี้เป็น ความรู้มือ 3 แล้วครับ
  • ผมไม่ได้อัดเสียงไว้เลยครับ
  • ขอบคุณที่ให้ความสนใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท