ปัญหาคาใจ (1) เรื่อง “การค้นหา Tacit จากเรื่องเล่า”


ผมเพียงยกมาเป็นตัวอย่างเพื่ออธิบายให้เห็นความแตกต่างระหว่างการได้มาของ Tacit Knowledge (ที่มาจากเรื่องเล่า) และ Explicit Knowledge (ที่มาจากการวิจัย) เท่านั้นเองครับ
          มีผู้ถามผมว่า “การค้นหา Tacit Knowledge จากเรื่องเล่า มีวิธีการอย่างไร ถ้าหาไม่เจอจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ผู้ที่เล่าเรื่องนั้น เสียหน้า หรือรู้สึกไม่ดี”
          สิ่งที่ผมตอบไปก็คือ . . การแชร์ Tacit ผ่านการเล่าเรื่องนั้นเป็นวิธีการที่ถือว่า “บ้านๆ” ที่สุดแล้ว ผมหมายถึงว่าเป็นเรื่อง “พื้นๆ” ที่ตรงไปตรงมา อย่าคิดมาก หรือทำให้ซับซ้อนโดยไม่จำเป็น ตัวอย่างเช่น พนักงานทำความสะอาดเล่าเรื่องการเช็ดกระจก เล่าให้ฟังว่าตนเองนั้นมักจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ในการเช็ดกระจก เพราะเห็นว่าเช็ดแล้วสะอาด เช็ดง่าย และกระจกก็ใสกว่าการใช้ผ้า เป็นการเล่าอย่างตรงไปตรงมา ถ้าผู้ฟังยังไม่กระจ่าง ฟังแล้วยังไม่เข้าใจ ก็ถามเพิ่มเติมได้ เช่น ถามจนรู้ว่าที่ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เช็ดนั้นเป็นการเช็ดตอนที่กระจกเปียก ไม่ใช่เช็ดเพื่อให้แห้ง เป็นต้น
          Tacit Knowledge มักเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมา ไม่ต้อง “ตีความ” หรือไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์สังเคราะห์แต่อย่างใด ถ้าผู้ฟังอยากรู้ว่าใช้ได้หรือไม่ ก็ลองไปทำดู (ถ้าไม่เสี่ยงจนเกินไป) ทำจนความรู้ที่ได้รับมานั้นเป็น “ความรู้มือหนึ่ง” คือเป็นความรู้ “เวอร์ชั่น” ของเรา เช่น ทำไปจนเริ่มแน่ใจแล้วว่า ถ้าใช้หนังสือพิมพ์ภาษาจีน จะเช็ดได้สะอาดกว่าหนังสือพิมพ์ภาษาไทย ตอนมีคนมาให้เราแชร์ Tacit ในเรื่องนี้ เราก็อาจจะแชร์สิ่งที่เป็น “ความรู้มือหนึ่ง (Tacit)” ของเรา คือแชร์ไปว่า ให้ใช้หนังสือพิมพ์ภาษาจีนในการเช็ดกระจก โดยที่ตัวเองอาจไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
          แต่ถ้าบังเอิญนักวิชาการ (หรือนักวิจัย) ผ่านมา อาจต้องการศึกษา (วิจัย) ว่าทำไมใช้กระดาษหนังสือพิมพ์แล้วเช็ดกระจกได้ใสยิ่งขึ้น อีกทั้งยังต้องการพิสูจน์ว่า จริงหรือไม่ที่ใช้หนังสือพิมพ์จีนแล้วเช็ดได้ใสกว่าหนังสือพิมพ์ไทย อาจจะทำวิจัยจนพบว่าหมึกพิมพ์ที่ใช้นั้นมีสารเคมีที่ต่างกัน และเจ้าสารเคมีเหล่านั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้กระจกนั้นใส อะไรทำนองนี้ . . นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่ผมสร้างขึ้นมาลอยๆ เพื่ออธิบายเรื่องนี้ อย่า “ซีเรียส” กับเนื้อหาจนเกินไปนะครับ ผมเพียงยกมาเป็นตัวอย่างเพื่ออธิบายให้เห็นความแตกต่างระหว่างการได้มาของ Tacit Knowledge (ที่มาจากเรื่องเล่า) และ Explicit Knowledge (ที่มาจากการวิจัย) เท่านั้นเองครับ
หมายเลขบันทึก: 369555เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2010 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอขอบคุณผู้ถาม "คุณสุวิภา แซงโคตร" ที่เปิดประเด็นในเรื่องนี้ ทำให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม . . (ส่วนหนึ่งของการสัมมนาหลักสูตร "Storyteller & Note-taker" ที่ สคส. จัดขึ้นที่ โรงแรมหลุยส์แทเวิร์น วันที่ 23-25 มิ.ย. 53)

เรียนอ.ดร.ประพนธ์

  • จากประสบการณ์การถอดบทเรียนของผม
  • ผมมักจะใช้กระบวนการถอดบทเรียนแบบAI(สุนทรียสาธก) โดยถอดบทเรียนการทำงานเป็นองค์ความรู้ด้วยแผนภูมิต้นไม้(The  Tree  Model) ครับ  
  • ผลการถอดบทเรียนในตอนท้ายจะได้ออกมาเป็น “เรื่องเล่าเร้าพลังนำการเปลี่ยนแปลง”ครับ
  • ผมบันทึกประสบการณ์ที่http://gotoknow.org/blog/suthepkm/369414 และที่http://gotoknow.org/blog/suthepkm/369330
  • ขอบคุณครับ

ผมเข้าไปอ่าน Link ที่คุณสุเทพให้ไว้แล้วครับ ทำให้ทราบเรื่อง Tree Model และได้เห็นตัวอย่างเรื่องเล่าที่เร้าพลัง . . หลายครั้งผมรู้สึกว่าเวลาแชร์เรื่องเล่า สิ่งที่เราได้ ไม่ใช่แค่ Tacit Knowledge เท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญ (กว่า) ก็คือได้แรงบันดาลใจ (Inspiration) หรือทำให้ได้แรงฮึด (Passion) จนสามารถสร้างการพัฒนาหรือว่าสามรถเปลี่ยนแปลงได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท