การเรียนรู้ฉันทลักษณ์โดยใช้เกม


แหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.

                  การสอนให้นักเรียนเรียนรู้ฉันทลักษณ์แต่ครั้งก่อน ๆ ของผู้สอนนั้น  ในขณะที่มีประสบการณ์น้อยผู้สอนจะสอนโดยใช้แผนผังแสดงประกอบคำอธิบายและยกตัวอย่างให้นักเรียนเห็น   แล้วให้นักเรียนท่องบทประพันธ์ตัวอย่าง    แต่เมื่อมีประสบการณ์การสอนมากขึ้น  ครูก็พบว่าหากให้นักเรียนได้อ่านเนื้อหาที่มีคำประพันธ์เหล่านั้นก่อน  ให้เด็กสังเกตฉันลักษณ์ด้วยตนเอง  โดยครูใช้คำถามนำ ให้นักเรียนเกิดข้อค้นพบ  เป็นวิธีการที่ดียิ่งกว่า   และเมื่อครูคิดว่านักเรียนเข้าใจแล้ว  ครูก็ให้นักเรียนลองฝึกแต่งคำประพันธ์นั้น ๆ  นักเรียนก็ใช้สัมผัสถูกต้องบ้าง  ไม่ถูกต้องบ้าง   นักเรียนที่ไม่มีความถนัดในการใช้คำ  การสัมผัสก็จะรู้สึกว่ายาก  และน่าเบื่อ   ผู้สอนจึงพยายามคิดค้นหาวิธีการใหม่  ที่จะให้นักเรียนเข้าใจฉันทลักษณ์โดยการเล่นเกม    ผู้สอนตั้งชื่อว่า  เกมดอกสร้อยร้อยสัมผัส  ซึ่งมีวิธีการจัดทำเกมดังนี้   

          วิธีการจัดทำเกม

   

                ๑. ครูเลือกชนิดของคำประพันธ์ที่ต้องการสอน  ในครั้งนี้ผู้สอนสอนเรื่องกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า    ผู้สอนเลือกมาจำนวน ๑๐   บท  

   

                ๒. แยกบทดอกสร้อยแต่ละบทออกเป็นวรรค ๆ     สลับกัน   พิมพ์ลงกระดาษ A 4  แล้วตัดแยกออกเป็นข้อ ๆ 

  

                ๓. เขียนวิธีการเล่น   พร้อมแบบบันทึกการต่อกลอนสำหรับนักเรียนแต่กลุ่ม 

 

                ๔. จัดทำแบบบันทึกคะแนน  
 

                ตัวอย่างเกม

  

ข้อที่   /วรรค ห้อง   /กลุ่ม ลำดับที่ คะแนน
                     

  ๑.   มีเนินหญ้าใต้ต้นเกลื่อนกล่นไป                      ๒. สูงใหญ่รากย้อยห้อยระย้า          

๓.  เรายิ่งใกล้หลุมนั้นทุกวันเอย                             ๔.  ต้นเอ๋ยต้นไทร 

๕.และต้นโพธิ์พุ่มแจ้แผ่ฉายา                                ๖. ดุษณีนอนราย ณ ภายใต้ 

๗. แห่งหลุมลึกลานสลดระทดใจ                           ๘.ล้วนร่างคนในเขตประเทศนี้    

เฉลย

ข้อที่   /วรรค ห้อง   /กลุ่ม ลำดับที่ คะแนน
     

       ตัวอย่างแบบบันทึกคะแนน 

ข้อที่  /กลุ่มที่ ๑๐ ๑๑ ๑๒
                       
                       
                       
                       
                       
รวม                        

 
วิธีการเล่น  ๑.      ให้แต่ละกลุ่มเตรียมการโดยอ่านบทดอกสร้อยอย่างน้อย ๑ . เที่ยว  สังเกตคำสัมผัสและเนื้อหาของบทดอกสร้อยนั้น ๆ  แล้วปิดหนังสือ

หมายเลขบันทึก: 64214เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

การลงข้อมูลมีปัญหา  ต้องมาลงต่อเพิ่ม

 

           ๒.    เริ่มต้นเล่น  โดยแต่ละกลุ่มรับปริศนาดอกสร้อยชุดที่ ๑   เขียนชื่อกลุ่มและห้อง ให้เรียบร้อย   กลุ่มไหนข้อมูลไม่ครบจะได้ ๐ ในข้อนั้น

 

๓.    นำหมายเลขหน้าวรรคของกลอนดอกสร้อยมาเรียงลำดับให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์และเนื้อหา  เสร็จแล้ว  ตัวแทนรีบชู กระดาษคำตอบขึ้น กรรมการจดลำดับพร้อมรับกระดาษคำตอบมาเก็บไว้  นักเรียนรับปริศนาดอกสร้อยชุดต่อไป 

 กณฑ์   ผู้ที่ส่งก่อนและคำตอบถูกต้องในลำดับที่ ๑ คะแนน ๑และ ๓  ดาว       กลุ่มที่ส่งเป็นที่ ๒  จะได้  ๑ คะแนน    ดาว  และกลุ่มที่ส่งเป็นที่ ๓ จะได้ ๑ คะแนน   ๑ ดาว   คนที่ส่งหลังจากนั้นจะได้ เฉพาะคะแนน  ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดและดาวมากที่สุดคือผู้ชนะ    และคะแนนสูงสุดคือคะแนนเต็ม 

การนำไปทดลองใช้            

                   

๑.      การเรียนรู้ให้นักเรียนเรียนรู้ในห้องเรียนประมาณ ๑๕  นาที  

 

๒.    นำนักเรียนนั่งที่สนามหญ้า หรือร่มไม้ที่เคลื่อนไหวสะดวก  นักเรียนเข้ากลุ่ม

 

๓.    ให้ตัวแทนกลุ่มมารับโจทย์แล้วรีบกลับเข้ากลุ่มเพื่อช่วยเหลือกันต่อกลอน

 

๔.    เมื่อกลุ่มใดเสร็จให้ยกมือขึ้น ครูรับมาพร้อม บันทึกลำดับการส่ง  

 

๕.    เมื่อนักเรียนส่งครบครูเฉลยทีละข้อแจ้งคะแนน  แล้วแจกโจทย์ข้อต่อไป

 ๖.     เมื่อครบทุกข้อ  ครูบันทึกคะแนนและดาวลงแบบบันทึกคะแนน 

ผลการทดลองใช้    กับนักเรียนชั้น ม .๒ / ๒

 

๑.      ในเบื้องต้น  นักเรียนแสดงทีท่าอิดเอื้อนที่จะออกจากห้องเรียน

 

๒.    เมื่อเริ่มต้นในโจทย์ข้อที่ ๑  นักเรียนตื่นเต้นมาก  ทุกคนช่วยเหลือกันอย่างดี  

 

๓.     ข้อที่ ๑   มีนักเรียนจำนวน  ๓ กลุ่มที่ต่อผิด    แต่หลังจากนั้นนักเรียนต่อได้ถูกต้องทุกกลุ่ม  เพียงแต่ใช้เวลาแตกต่างกัน   เมื่อถึงข้อที่ ๗- ๑๐  นักเรียนทุกกลุ่มใช้เวลาในการต่อกลอนน้อยมาก สามารถเรียบเรียงได้เร็วกว่าครู

 

๔.    ด้านมารยาทการเล่น   นักเรียนบางคนในกลุ่มที่แพ้เพื่อน  พยายามโกง  ด้วยการนำโจทย์ไป ๒ แผ่น เพื่อให้อีกกลุ่มไม่ได้รับ หรือรับช้า    ซึ่งผู้สอนได้ลงโทษทั้งกลุ่มโดยการวิดพื้น

 ๕.    บรรยากาศการเรียนรู้สนุกมาก     

ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้

 

๑.      การนำไปใช้กับคำประพันธ์กาพย์  กลอน  ควรให้นักเรียนต่ออย่างน้อย ๒ บท  เพื่อนักเรียนจะได้เรียนรู้เรื่องสัมผัสระหว่างบทด้วย

 ๒.    หากนำไปใช้กับโคลง  ควรนำโคลงของบทอื่นเข้ามาหลอกไว้ด้วย 

 

มีประโยชน์มากค่ะ..จะลองใช้สอนดูบ้าง ^^
ขอบคุณมากค่ะ  หากต่อยอดได้ผลอย่างไร  เผยแพร่ให้ทราบบ้างนะคะ
เป็นเกมที่ฝึกการสังเกต และสร้างความกระตือรือร้น เด็ก ๆ น่าจะสนใจดีขออนุญาตนำไปใช้และเผยแพร่นะคะ

ด้วยความยินดีค่ะครูเจี๊ยบ  ได้ผลอย่างไร  เล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

กำลังสอนเรื่องการแต่งกาพย์ กลอน โคลงอยู่พอดีเลยค่ะ ขออนุญาตนำแนวคิดไปใช้สอนบ้างนะคะ ท่าทางน่าสนุกทีเดียว

ด้วยความยินดีค่ะ ครูเดียว พบข้อค้นพบอย่าลืมนำมาเผยแพร่บ้างนะคะ ยินดีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

ขอนำมาใช้ประกอบการทำรายงานนะค่ะ ขบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ นิสิตวิชาครู  ด้วยความยินดีค่ะ

แต่   นะคะ   ไม่ใช่  นะค่ะ

       สวัสดีค่ะ     อย่างนี้ใช่

ขอขอบคุณค่ะที่ทำเว็บนี้ขึ้นมา

...ขอบคุณมากๆค่ะ ท่าน อาจารย์ภาทิพ

เป็นวิธีการสอนที่แยบยลมากค่ะ เป็นประโยชน์สำหรับการสอนให้เด็กๆเข้าใจง่าย

ขอบคุณค่ะสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สำหรับครูผู้สอน และเด็กๆที่ได้เรียน.

สวัสดีค่ะครูวรรณภา  ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

ครูโบว์อัสสัมศึกษา

พอดีกำลังสอนเรื่องกาพย์ค่ะ ขอนำไปใช้สอนเด็กๆนะคะท่าทางน่าสนุก

สวัสดีค่ะครูโบว์อัสสัมศึกษา ด้วยความยินดีค่ะ

ได้ผลอย่างไร  นำมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

เพิ่งเข้ามาครั้งแรก ดูแล้วปรับใจในวิธีการสอนที่ใหม่ๆ จะขอแนวคิดนี้นำไปใช้กับนักเรียนม.ปลายคงจะได้นะครับ

สวัสดีค่ะ ครูทัมม์ ด้วยความยินดียิ่งค่ะ

ขออนุญาตเอาไปลองใช่สอนนะคะเพราะเพิ่งจามาสอนไม่นานยังไม่มีประสบการณ์

มีเกมอื่นๆอีกไหมคะ

ขอบคุณมากนะคะสำหรับแนวทางการสอนใหม่ๆ

ขอบคุณที่ประเทศไทยมีคุณครูที่เก่งและแสนใจดีนะคะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

ด้วยความยินดีค่ะครูกัล

 

ขอบคุณค่ะครูอรษา

ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้เพิ่มเติม

ข้อสอบมันเปิดไม่ได้อ่ะค่ะ ทำข้อสอบไม่ได้เลยค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ภาทิพมากๆครับ เกมน่าสนใจมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท