เนื้อหา


(Click ที่หัวข้อด้านบน เพื่ออ่านเนื้อหาโดยละเอียด)

 

การศึกษาเรื่องสีในระดับอุดมศึกษาอาจเป็นไปได้ 2 แนวทางใหญ่ๆ

·        ศึกษาเกี่ยวกับแสงและการเห็น (optics)

·        ศึกษาสีในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของศิลปะ                                  

 

 

 

 

 

 

การรับรู้เกี่ยวกับสี 

1. กายภาพของสี

ได้มีการค้นพบว่าสีเป็นส่วนหนึ่งของแสง เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แพร่กระจายในความถี่ที่เราสามารถมองเห็น 

 

2. กระบวนการทางสรีรวิทยา

เมื่อแสงกระทบเข้าสู่ตาของมนุษย์มันจะเข้าสู่กระบวนการทางด้านสรีรวิทยา (physiological) ทันที โดยขั้นแรกแสงจะเปลี่ยนเป็นภาพด้วยเซลล์ประสาทตาที่เรียกว่าเรตินา (retina)

 

3. สภาพแวดล้อม

สีเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของแสง (environmental) เป็นเรื่องยากที่จะ

ระบุสภาพของสีต่อแสงทั้งหมดได้  

 

4. สภาพทางวัฒนธรรม

มีอิทธิพลต่อการรับรู้เรื่องสี มนุษย์สามารถรับรู้สีได้เป็นล้านๆ สี แต่สามารถจดจำได้ไม่เกิน 180 สี คงเป็นการง่ายต่อนักออกแบบถ้าแต่ละสีจะมีความหมายตายตัวลงไป

 

5. อิทธิพลของสีต่ออารมณ์

สีต้องมีประสิทธิภาพพอที่จะให้ผู้อ่านหรือผู้ชมจดจำไปถึงจิตใต้สำนึก สามารถทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง

 

6. การเชื่อมโยงความคิด

ในแต่ละเชื้อชาติ ประเพณีวัฒนธรรม สมัยนิยมมีความเชื่อเกี่ยวกับสีที่แตกต่างกัน นักออกแบบจำเป็นต้องศึกษาเพื่อผลทางงานออกแบบให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

7. การสร้างสัญลักษณ์ให้จดจำ

เมื่อการใช้สีสามารถสร้างสัญลักษณ์ให้คนจดจำได้ จึงมีการแทนค่าสิ่งต่างๆ

ด้วยสีมากมาย เช่น ในประเทศไทยใช้สีแดง ขาว น้ำเงิน เป็นธงไตรรงค์ ประเทศญี่ปุ่นใช้ธงสีขาวมีดวงอาทิตย์เป็นวงกลมสีแดงอยู่ตรงกลาง เป็นต้นชื่อที่เจาะจงกว่าและรู้จักในบุคคลเฉพาะกลุ่ม เช่น Fuchsia Puce หรือBurnt Sienna เป็นต้น

 

8. การให้ความรู้สึกทางสุนทรียภาพ

ผลงานที่มีสีสวยมองดูเด่น และสง่างาม นอกเหนือจากประโยชน์ใช้สอยแล้ว ความงามและความรู้สึกทางสุนทรียภาพ

 

 

มิติของสี (dimension of colors)

ไว้ 3 ด้าน ดังนี้คือ สีแท้ (hue) น้ำหนักสี (value) และความอิ่มตัวของสี (saturation)

 

1. สีแท้

สีแท้ คือ ความแตกต่างของสีบริสุทธ์ิในวงจรสีแต่ละสี เช่น สีแดง สีเหลือง

สีเขียว สีน้ำเงิน ฯลฯ โดยยังไม่มีสีหรือแสงใดเข้าไปผสม สีแท้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1.1 สีของแสง (scientific color)

1.2 สีของสาร (pigmentary color)

 

2. น้ำหนักสี

น้ำหนักสี (value) คือ การเรียกค่าความมืดความสว่างสีของสาร ซึ่งค่าน้ำหนัก

ของสีจะแบ่งเป็นโทนไร้สี (achromatic) และโทนสี (chromatic) มีผลทำให้งานออกแบบ 2 มิติเกิดแสงและเงาในภาพ สามารถลวงตาให้เกิดความลึกได้

 

3. ความอิ่มตัวของสี

ความอิ่มตัวของสี (saturation) บางครั้งเรียกว่า chroma ความอิ่มตัวของสี

เป็นการวัดค่าความบริสุทธิ์ของสีแท้ ซึ่งรับรู้กันเป็นความสดของสี (intensity)

 

สรุป

 

การรับรู้เกี่ยวกับสี

1. การมองเห็นสีของมนุษย์เกิดจากแสงสีขาวซึ่งประกอบด้วยสี 7 สี คือ สีม่วงสีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีแดง รวมเรียกว่า spectrum

2. สีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุด เรียงตามลำดับการรับรู้ในสีรุ้ง

3. สีจะเปลี่ยนไปตามสภาพของแสง ทั้งแสงในธรรมชาติและแสงประดิษฐ์   จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

4. กระบวนการทางสรีรวิทยามีความสำคัญไม่น้อยกว่าการรับรู้อื่นๆ     เกี่ยวกับเรื่องสี นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการตอบสนองต่อสีของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการตีความของสมองต่อสิ่งเร้าที่ตามองเห็น

5. สีที่ตัดกันหรือผลของสีกับพื้นหลังมีความสำคัญที่จะทำให้ตัวอักษรมองเห็นชัด อ่านง่าย สีเหลืองเป็นสีที่สะดุดตาที่สุดในจำนวนสีที่มนุษย์มองเห็น

6. การรับรู้สีขึ้นอยู่กับภูมิหลังของผู้รับสาร ความเชื่อเกี่ยวกับสีที่ต่างกัน   ทำให้นักออกแบบต้องศึกษาเรื่องสีทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรม จิตวิทยา และการเชื่อมโยงความคิด

 

มิติของสี

1. แม่สีของแสง ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน ผสมกันได้

แสงสีขาว เรียกแสงทั้งสามสีนี้ว่าแม่สีบวก (additive color)

2. แม่สีของสาร ได้แก่ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ผสมกันได้สีดำ เรียกแม่สี

ของสารหรือสีแบบลบ (subtractive color)

3. น้ำหนักสี คือ การเรียกค่าความมืดความสว่างสีของสาร แบ่งเป็นโทนไร้สี

(achromatic) และโทนสี (chromatic)

4. tone คือ สีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีเทาทำให้ค่าของสีที่ถูกผสมคล้ำลง

tint คือ สีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีขาวทำให้ค่าของสีนั้นอ่อนลง

shade คือ สีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีดำทำให้ค่าของสีนั้นคล้ำลง

5. ความอิ่มตัวของสี (saturation) เป็นการวัดค่าความบริสุทธิ์ของสีแท้

ซึ่งรับรู้กันเป็นความสดของสี (intensity)

 http://www.jyyoi.com/misc-colourTheory.html 

เอกสารอ้างอิง

  • ปิยานันท์ ประสารราชกิจ. (2535). ทฤษฎีสีและการตกแต่งภายใน: โครงการตำราคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: พริกหวาน.

  • วิรุฬ ตั้งเจริญ. (2535). ทฤษฎีสีเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

 


 

หน้าหลัก / แผนการสอน  /  แบบฝึกหัดท้ายบท  /  คำถามท้ายบท

คำสำคัญ (Tags): #coloue theory#ทฤษฎีสี
หมายเลขบันทึก: 253991เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2009 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท