มหาวิทยาลัยกับการประเมินโดย กพร.


กพร.

 

            เมื่อวันที่ ๔ ต.ค. ๕๑ มีการบรรจุวาระขอคำแนะนำจากสภามหาวิทยาลัย   ในการที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะไปเจรจาเกณฑ์ตัวชี้วัด และคะแนน กับ กพร.    กรรมการสภาฯ ผู้ทรงคุณวุฒิได้แนะนำว่า    ให้ถือกระบวนการเจรจา และการประเมิน โดย กพร. เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน   กพร. ก็ต้องเรียนรู้ด้วย   

           ผมได้ให้ความเห็นว่า ให้ระวังตกอยู่ใต้กระบวนทัศน์ incremental improvement    ละเลยการทำงานใน new paradigm

ควร dialogue กับคณะกรรมการของ กพร. ให้เห็นเป้าหมายที่แท้จริงของ มอ. ในการทำหน้าที่ให้แก่สังคม    ซึ่งจะมีธรรมชาติที่ซับซ้อน (Complex – Adaptive)    การใช้ตัวชี้วัดนั้น ใช้วิธีการแบบ reductionism   ลดความซับซ้อนลงเหลือเป็นตัวชี้วัดที่ simple เพื่อให้วัดได้ง่าย    แต่ไม่สะท้อนภาพของผลงานจริง  

นอกจากนั้น ตัวชี้วัดของ กพร. ใช้กับหน่วยงานทั้งประเทศ   หรือมหาวิทยาลัยทั้งประเทศ   จึงมีธรรมชาติเป็น generalization   ในขณะที่ภารกิจของ มอ. มีเป้าหมายที่ excellence และ uniqueness    จึงควรเจรจาปรับตัวชี้วัดให้เข้ากับความจำเพาะของ มอ.   อย่าไปยอมตกอยู่ภายใต้ generalization

            มีการให้ความเห็นเรื่องคะแนนการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ    ว่าเราควรมีระบบวารสารวิชาการของเราเอง    เป็นระบบที่รับใช้สังคมไทย

 

วิจารณ์ พานิช

๕ ต.ค. ๕๑

หมายเลขบันทึก: 216420เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2008 08:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กราบเรียนท่านายกสภา ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

  • ไมแน่ใจว่า กพร เข้าใจกระบวนการ ประเมินเพื่อพัฒนาหรือไม่
  • เพราะเน้นแต่ ตัวชี้ และ ตัววัด ตามเอกสาร
  • ไม่มี คือ ไม่มี ไม่ได้คะแนนครับ
  • ขอแต่เอกสาร
  • ไม่เน้นกระบวนการที่เป็นสุนทรียสนทนา และ การพัฒนาสู่ LO ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท