BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

พุทธอุทาน


พุทธอุทาน

ได้นำเสนอซึ่งความรู้สึกของผู้เขียนตั้งแต่จำความได้ว่าเป็นอย่างไรในบันทึกชื่อ เจาะ (เพ่ง), ความว่างเปล่า... ใคร? เป็นอย่างนี้บ้าง  ... ซึ่งสรุปเนื้อความได้ว่า ใจจะส่ายหาอารมณ์เสมอ หรือดูเหมือนว่าพยายามจะเจาะบางสิ่งบางอย่าง... ประมาณนั้น

เพื่อจะขยายเนื้อหาประเด็นนี้ต่อไป จึงได้นำเสนอบันทึกชื่อ ปฐมพุทธพจน์  ซึ่งได้เริ่มต้นว่า ปฐมพุทธพจน์และพุทธอุทานคาถา อาจมีเนื้อหาที่สะท้อนความรู้สึกบางอย่างของผู้เขียนได้... ในครั้งก่อนได้นำเสนอปฐมพุทธพจน์ไปแล้ว ดังนั้นในครั้งนี้ ผู้เขียนจะเสนอพุทธอุทานคาถาสืบต่อไป....

สำหรับพุทธอุทานคาถามี ๓ คาถา โดยคาถาแรกเริ่มต้นว่า...

ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมา

อาตาปิโน ฌายะโต พราหมะณัสสะ

อะถัสสะ กังขา วะปะยันติ สัพพา

ยะโต ปะชานาติ สะเหตุธัมมัง

เมื่อใด ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ ต่อพรามณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่

เพราะรู้ว่าธรรมเป็นไปกับด้วยสาเหตุ

เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมเลือนหายไป...

คำว่า ธรรมทั้งหลาย ในคาถานี้ ก็คือ สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่เป็นอยู่ภายในใจนั้นเอง... แต่เพราะโดยปรกติ เมื่อไม่ได้ระลึก หรือไม่กำหนดรู้ สิ่งที่มีอยู่ภายในใจก็คล้ายๆ กับไม่ปรากฎอยู่ ( เหมือนลมหายใจ จะมีอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเราไม่ระลึก หรือไม่กำหนดรู้ ก็คล้ายๆ กับไม่ปรากฏ)...

ถามว่า สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่เป็นอยู่ภายในใจ มีปรากกฎใคร ? ....

ตอบว่า มีปรากฏ ต่อพราหมณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งอยุ่

พราหมณ์ ในคาถานี้ เป็นคำใช้เรียกคนทั่วๆ ไป ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นชื่อของวรรณะหนึ่ง หรือคนประเภทใดเป็นพิเศษ... แต่เจาะจงไปถึงใครก็ได้ ผู้มีความเพียร (อาตาปิโน)

อาตาปิโน ซึ่งแปลว่า ผู้มีความเพียร ในคาถานี้ หมายถึง ผู้มีความเพียรทางใจเท่านั้น มิได้หมายถึง ผู้มีความเพียรทั่วๆ ไป (ตามศัพท์ อาตาปิโน แปลว่า ผู้มีความเพียรเป็นเครื่องยังกิเลสให้เร้าร้อน หรือ ผู้มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส แต่แปลสั้นๆ ว่า ผู้มีความเพียร)

ฌายะโต ซึ่งแปลว่า เพ่งอยู่ ในคาถานี้ หมายถึง มีใจจดจ่อ เพ่งอยู่ที่ความรู้สึก ความคิด หรือสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ภายในใจนั่นเอง...

ดังนั้น สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่เป็นอยู่ภายในใจ จะมีปรากฎสำหรับผู้ที่มีความเพียรทางใจ ผู้เพ่งอยู่ ซึ่ง สภาวะที่มีอยู่เป็นอยู่ในใจในขณะนั้น เท่านั้น...

โดยปรกติ เราจะสงสัยว่า สิ่งต่างๆ ภายในใจเกิดขึ้นได้อย่างไร? เป็นไปอย่างไร? .... คำตอบในทางพระพุทธศาสนาตอบว่า เกิดขึ้นเพราะมีสาเหตุ นั่นคือ มีสาเหตุให้เกิดขึ้น...

เมื่อเราเพ่งอยู่ซึ่งความรู้สึกและสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่เป็นอยู่ภายในใจ รู้ได้ว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ภายในใจ กำลังเป็นไปอยู่นั้น เกิดขึ้นเพราะสาเหตุ เราก็จะไม่สงสัย หรือความสงสัยที่มีอยู่ก็จะเลือนหายไป...

นี้คือ เนื้อหาในคาถาแรกของพุทธอุทาน ส่วนอีก ๒ คาถา ผู้เขียนค่อยนำมาเล่าในตอนต่อไป... 

    

คำสำคัญ (Tags): #พุทธอุทานคาถา
หมายเลขบันทึก: 88030เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2007 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 07:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

กราบนมัสการครับหลวงพี่

  • ไม่ทราบว่าพุทธอุทานครั้งนี้  เกิดขึ้นเพราะเหตุผลอะไร หรืออยู่ในเหตุการณ์อะไรครับ
  • เพราะที่ผมพอทราบนั้น พุทธอุทานเกิดขึ้นไม่บ่อยนักครับ

กราบสามครั้งครับ

P

อุทานคาถานี้ เกิดตอนเสวยวิมุตติสุข....

ค้นหาในเน็ตได้ไม่ยาก เรื่องนี้....

หลวงพี่ จำเรื่องราว นิทาน ตำนาน ไม่ค่อยแม่นยำ...แต่ถ้าใครเล่ามาแปลกๆ ก็อาจนึกฉุกใจว่า ...น่าจะไม่ถูก....ประมาณนี้

แต่หมวดธรรม เช่น อิทธิบาท ๔ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗...ทำนองนี้ หลวงพี่ ค่อนข้างแม่น จ้า

เจริญพร

 

ผมชอบคำอธิบายตรงๆอย่างเงี๊ยะคำปฏิบัติได้เลย บางทีถ้ามาสำนวนอะไรมากๆผมว่ามันเฝืออะครับไม่ชอบ ชอบหลวงพี่นะครับเป็นกำลังใจให้ สั้นๆง่ายๆ เข้าใจดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท