เล่าเรื่องงานเบาหวานที่ฮานอย (๓)


ปัญหาที่พบมากคือครอบครัวมีเงินไม่พอที่จะซื้ออินซูลิน ทำให้คุมน้ำตาลไม่ได้ดี

ตอนที่

วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๒
วันนี้มีเรามีนัดนำเสนอข้อมูลกับทีมของ Dr. Hoan,  National Hospital of Pediatrics ตอนบ่าย เป็นการพูดคุยกัน ไม่ได้นำเสนออย่างเป็นทางการ นอกจาก Dr.Hoan แล้วมีแพทย์หนุ่ม-สาวมาคุยด้วยอีก ๒ คน แพทย์หนุ่มจบจากรัสเซียและเคยไป train ที่เมลเบริน์

โรงพยาบาลเด็กที่นี่มีบริเวณกว้างกว่า Endocrinology Hospital อาคารมีสภาพเก่า มีหลายชั้น มีลิฟต์ จำไม่ได้ว่าห้องประชุมที่ใช้อยู่ชั้นไหน David พาเดินขึ้นบันไดไป เราไปถึงก่อนเวลาที่นัดหมายเกือบ ๒๐ นาที Dr.Hoan จึงพาไปพบผู้อำนวยการโรงพยาบาล ซึ่งเป็นแพทย์หญิง เราได้ฟังข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยต่างๆ และการให้บริการในภาพรวม ที่นี่เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ดู high tech. มีผ่าตัดทำ organ transplant มี gene laboratory แต่การตรวจ HbA1C ต้องไปทำข้างนอก

โรงพยาบาลมีผู้ป่วย type 1 ประมาณ ๑๘๐ คน ช่วงอายุ ๑๑-๑๕ ปี มีจำนวนมากที่สุด พอผู้ป่วยอายุเกิน ๑๕ ปี จะถูกส่งไป Endocrinology Hospital มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละ ๑๐ กว่าราย เด็กอายุต่ำกว่า ๖ ปีจะได้รับอินซูลินฟรี อายุเกินกว่านี้ต้องผ่าน insurance หรือครอบครัวจ่ายเงินเอง ปัญหาที่พบมากคือครอบครัวมีเงินไม่พอที่จะซื้ออินซูลิน ทำให้คุมน้ำตาลไม่ได้ดี มีความพยายามหาอินซูลินจากแหล่งอื่น เช่น NGO แต่ก็ยังไม่เพียงพอ มี diabetic club, parent club พยายามขอรับการบริจาค เพราะการเดินทางมาร่วมกิจกรรมมีค่าใช้จ่าย

Dr.Haon พาไปเยี่ยมเด็กเบาหวานที่ admitted เด็ก ๑ รายมีอายุเพียง ๑ เดือนมาโรงพยาบาลด้วยปัญหา DKA อีกหนึ่งคนเป็นเด็กผู้หญิงอายุ ๑๔ ปี แต่ตัวเล็กและไม่มีลักษณะของ puberty บอกเราว่าฉีดอินซูลินเองได้

Marg McGrill ให้ข้อมูลเรื่องความสำคัญของการฝึกให้พยาบาลทำหน้าที่ educator เข้าใจว่ามีพยาบาลที่ผ่านการฝึกที่ออสเตรเลีย แพทย์ยังรู้สึกว่าช่วยอะไรยังไม่ได้มากเท่าไหร่ แต่ก็มีความมั่นใจที่จะสอนผู้ป่วยมากขึ้น

สิ่งที่ทางโรงพยาบาลต้องการให้ช่วยเหลือคือ insulin, equipments, educators, อยากให้มี specialist มา share สาเหตุที่ผู้ป่วยคุมเบาหวานไม่ได้ดีคือครอบครัวดูแลไม่ได้ดี ไม่มา follow up สม่ำเสมอ ไม่ได้ฉีดอินซูลินทุกวัน เพราะมีเงินไม่เพียงพอ บางทีต้องลดขนาดอินซูลินเอง แพทย์ตรวจดูว่าผู้ป่วยฉีดอินซูลินหรือเปล่าจากรอยเข็มฉีดยา ที่เวียดนามก็มี insulin pen แต่ผู้ป่วยมักไม่มีเงินซื้อ

เรากลับไปที่โรงแรมตั้งแต่บ่าย ๓ กว่าๆ นั่งดื่มเครื่องดื่มและคุยกันต่อ (ฝรั่งชอบ soft drink เลยจำเป็นต้องดื่มไปด้วย) ได้เวลา ๑๖.๔๕ น. รถที่เช่าไว้มารับไปส่งที่สนามบินเพื่อเดินทางไป Ho Chi Minh City ด้วย Vietnam Airlines เมื่อไป check in จึงรู้ว่าเครื่องบิน late ไป ๑ ชม. จากเวลาเดิม ๑๘.๔๕ น.

การบริการบนเครื่องบินอยู่ในระดับพอใช้ เที่ยวบินนี้มีผู้โดยสารเยอะ ใช้เวลาบินประมาณ ๒ ชม. อาหารที่เสริฟบนเครื่องไม่อร่อย พอเครื่องบินลงจอดแตะพื้น ก็พบสภาพเหมือนที่บ้านเราคือผู้คนพากันเปิดโทรศัพท์มือถือ ปลดเข็มขัดที่นั่ง ทั้งๆ ที่มีประกาศว่ายังไม่ให้ทำ ที่บริเวณทางออกจากสนามบิน มีเจ้าหน้าที่คอยตรวจรหัสด้วยว่าหยิบกระเป๋าไปถูกใบหรือเปล่า

โชเฟอร์แทกซี่มาช่วยเข็นของไปที่ที่จอดรถของสนามบิน มีคนมาล้อมวงดื่ม-กินอยู่บริเวณนั้นด้วย แทกซี่คันนั้นมีสภาพไม่ดีนัก เป็นรถเก๋งธรรมดาและเก่า เอาของใส่ท้ายรถได้ไม่หมดต้องถือกระเป๋าใบเล็กไว้ เวลารถวิ่งมีเสียงสายพานอะไรสักอย่าง สภาพของ Ho Chi Minh City แตกต่างจากที่ดิฉันคิดไว้มาก เดิมคาดไว้ว่าน่าจะดีกว่าฮานอย รวมๆ แล้วเหมือนจะแย่กว่า ถนนหนทางมีฝุ่นเยอะจนรู้สึกได้ อาจเป็นเพราะมีการก่อสร้างมาก

ผ่านสวนสาธารณะ พบว่ามีหนุ่มสาวพลอดรักและแสดงความรักต่อกันเป็นคู่ๆ เต็มไปหมด ส่วนใหญ่นั่งบนรถมอเตอร์ไซด์ หันหลังให้ถนน Marg McGrill บอกว่า so hot, so romantic

เราพักที่ Norfolk Hotel ถนน Le Than Ton ถึงโรงแรมก็ดึกแล้ว ดิฉันเปิดคอมพิวเตอร์ check e-mail และพิมพ์บันทึก กว่าจะเข้านอนก็ประมาณเที่ยงคืน

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 255928เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2009 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีคะ

ดีใจที่ได้อ่าน เรื่องราววิชาการจากช่องทางนี้อีกทางคะ

ตอนนี้คุณพรรณมาทำงานและรออาจารย์ แล้วนะคะ

สวัสดีคะ

ขอบคุณอาจารย์ดวงสมรที่แวะมาเยี่ยม ได้เล่าให้ฝรั่งและคนเวียดนามฟังด้วยว่า The Institute of Hospital Quality Improvement and Accreditation ของเรา เป็นหน่วยงานหนึ่งที่กระตุ้นให้โรงพยาบาลต่างๆ พัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

เรียนท่านอ.วัลลา

มารับความรู้ค่ะ

คนเวียตนามน่าจะเป็นเบาหวานมาก เพราะอาหารเวียตนามีผักมากก็จริง แต่ก็ใช้แป้งนำทุกรายการอาหาร  อาหารส่วนใหญ๋นิยมทอดๆ น้ำจิ้ม ทุกชนิด หวานนำ นอกจากนี้ประเภทของหวานก็หวานแหลมถูกใจเบาหวาน แต่ไม่แน่ใจว่าประชากรชาวเวียตนาม ออกกำลังกายมากน้อยเพียงใด

ขอบคุณค่ะ

จริงอย่างที่ krutoi บอก อาหารเวียดนามมีแป้งนำ ของที่กินแกล้มด้วยก็เป็นของทอด เช่น ข้าวเกรียบ แต่เรื่องความหวาน เช่น ขนม รู้สึกว่าจะหวานน้อยกว่าของบ้านเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท