"รักเพื่อนมนุษย์" เส้นทางสู่นักเขียนสารคดีและนักวิจัยเชิงคุณภาพ


ความจริงที่เราเจอเป็นชีวิตสอนชีวิต เรามองเห็นทุกข์จากการได้เข้าไปเรียนรู้ นั่นหมายถึง เราเข้าใจทุกข์ เราจะรู้จักสุข เป็นธรรมะที่กล่อมเกลาจิตใจเรา ...นี่คือผลพลอยได้จากงาน

บ่ายวันหนึ่งผมมีโอกาสได้พบ พี่อรสม สุทธิสาคร  นักเขียนที่ผมชื่นชอบคนหนึ่ง เรียกได้ว่าผมเป็นแฟนประจำของพี่อรสมคนหนึ่ง ด้วยลีลาการเขียนเชิงสารคดีที่ผมโปรดปราน  ผมมองว่าการเขียนที่มีชีวิต คือการเข้าไปคลุกเก็บข้อมูลแล้วนำเสนอออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ + เร้าใจ ผู้อ่าน ซึ่งช่วงหลังๆงานเขียนของผมก็ผลิตออกมาแนวนี้

 Dsc02204

พี่ อรสม สุทธิสาคร

 

ผมหลงใหลงานวิจัยเชิงคุณภาพ ย้อนหลังไปในช่วงที่ผมเรียนปริญญาโท งานวิทยานิพนธ์ของผมเขียนเหมือนงานสารคดี แต่ก็เกือบจะไม่ผ่านการพิจารณา แต่ผมก็ยังเชื่อมั่นว่า หากจะเข้าใจปรากฏการณ์ของสังคมจริงๆการนำเสนอต้องให้ละเอียด ให้เห็นภาพ เห็นชีวิตจริงๆทั้งความรู้สึก อารมณ์ ไปด้วยกัน นึกย้อนไปถึงวันสอบวิทยานิพนธ์ครั้งนั้น เหมือนผมกำลังเล่านวนิยายให้กรรมการฟัง อาจารย์ทุกท่านตั้งใจฟังและเคลิ้บเคลิ้มไปกับเรื่องเล่า...เป็นบรรยากาศการสอบที่มีความสุขดี

จากงานวิจัยเชิงคุณภาพมาถึงงานเขียนสารคดีดีๆ  ผมใฝ่ฝันอีกหละครับอยากเป็นนักเขียน แต่ก็ยังไม่สมความฝันสักที เคยเขียนหนังสือมาหนึ่งเล่มวางตลาดแล้ว ตอนนี้หนังสือก็หมดไปแล้ว (เพราะผมบังคับให้เพื่อนๆคนรู้จักซื้อคนละหลายๆเล่ม) ก็เป็นความภูมิใจเล็กๆที่เกิดขึ้นบนถนนสายอักษร คิดว่าในอนาคตผมน่าจะมีหนังสือเป็นของตัวเองในประเด็นที่ผมสนใจและผมมีประสบการณ์ตรงน่าจะเกิดประโยชน์ต่อสังคมบ้าง

วันนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีอีกวันที่มีโอกาสได้สนทนากับพี่อรสม สุทธิสาคร ผมพยายามดึงเอาเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ในการสนทนามาให้ทุกท่านได้เรียนรู้ร่วมกับผม

งานของพี่อรสม เป็นงานเขียนที่เขียนเรื่องที่ว่าด้วย “ชีวิตจริง” ภายใต้บริบทที่หลากหลายของละครชีวิตโรงใหญ่ ตั้งแต่วาระแรกของจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ที่พี่อรสมบอกผมว่า ได้กำไร เพราะไม่ใช่แค่เห็นแต่ได้สัมผัสเรียนรู้ชีวิตร่วมไปกับเป้าหมายที่สัมภาษณ์ไปด้วยแค่นั้น การเข้าถึงแก่นเรื่องเล่าทำให้เรามี้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น สามารถเข้าใจคนอื่น ในขณะเดียวกันทำให้เราเข้าใจตนเองเพิ่มมากขึ้นด้วย

ปรากฏการณ์ชีวิตที่เห็น หากมองผิวเผินเราอาจสรุปความได้แค่เปลือก แต่หากเราเปิดใจเข้าไปร่วมเรียนรู้ในมุมเดียวกับเขา อคติที่เรามักตั้งไว้เมื่อเห็นเพียงฉากแรกก็จะเปลี่ยนไป เราจะสัมผัสมิติของผู้คนที่เป็นมิติที่มีคุณค่า เป็นมุมมองใหม่ๆจากการเปิดใจ ยอมรับซึ่งกันและกัน

ตรงนี้พี่อรสม เน้นให้ความสำคัญของ การเปิดใจ...เป็นเบื้องต้นที่นำไปสู่ความสำเร็จ (ทั้งงานเขียน และการเป็นนักวิจัยเชิงคุณภาพที่ดี)

ถามว่า พื้นฐานที่สำคัญของ นักเขียน  ควรประกอบด้วยอะไรบ้าง

พี่อ้วนบอกว่า พื้นฐานของนักเขียนควร ชอบที่จะอ่านหนังสือ วิเคราะห์และศึกษารูปแบบการเขียนของนักเขียนแต่ละท่าน การอ่านหนังสือเป็นเส้นทางลัดในการเข้าใจการเป็นไปของโลก ทั้งระดับปัจเจกและสังคม นักเขียนต้องเข้าใจโลก เข้าใจชีวิต

นอกจากนี้คุณสมบัติที่ดีของนักเขียน ควร...

·         ชอบที่จะตั้งคำถาม แล้วค้นหาคำตอบ

·         สานเสวนากับผู้รู้ เราจะได้ข้อคิดที่ดี ที่เราคิดไม่ถึง

·         มีทักษะการตั้งคำถามเร้าจินตนาการ

·         มีทักษะแปรรูปจากภาษาเล่า เป็นภาษาเขียน

·         มองในมุมที่คนอื่นไม่ค่อยมอง

·         ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)

·         มีความอ่อนไหว(sensitive) กับสิ่งที่มากระทบ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

·         เก็บข้อมูลเหมือนเก็บทรัพย์ พยายามเรียนรู้จากเขาให้มากที่สุด เรียนรู้เชิงลึกทำการบ้านให้หนัก

·         “รักเพื่อนมนุษย์” ผมชอบคำนี้จังเลยครับ  พี่อรสมสำทับเพิ่มอีกว่า การรักเพื่อนมนุษย์จะทำให้เรามองเห็นความงามที่แทรกตัวอยู่ทุกที่ได้ง่าย เป็นการฝึกธรรมะ ฝึกจิตใจ ฝึกจิตปัญญา

ผมถามคำถามต่อไปอีกว่า จากที่ผมอ่านงานเขียนของพี่อรสม เป็นงานเขียนที่บอกเล่าเรื่องราวที่เป็น Crisis ของชีวิตแทบทั้งนั้น การเข้าถึงแหล่งข้อมูล (นักเขียน – นักวิจัย) ควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

พี่อรสมบอกว่า สิ่งแรกคือ การบอก วัตถุประสงค์การมาเก็บข้อมูลให้กลุ่มเป้าหมายของเราให้เข้าใจ และบอกให้เป้าหมายเรารู้ว่า เรื่องราวของเขานั้นจะมีประโยชน์แก่คนอ่าน บทเรียนที่ถอดออกมาเปรียบเสมือนครูให้กับผู้คนในสังคม  การสร้างมนุษยสัมพันธ์ มีอารมณ์ขัน สร้างความคุ้นเคยด้วยการพูดคุยกับเขาก่อนที่จะเก็บข้อมูลพูดคุยในประเด็นที่เราตั้งใจไว้  และเราต้องฟังอย่างตั้งใจ ท่าทีที่นุ่มนวล ใส่ใจ ทำตัวให้กลมกลืน

บ่อยครั้งที่เราสัมผัสชีวิตคนๆหนึ่งผ่านเรื่องเล่า เรามักติดอยู่กับอารมณ์ ที่เรียกว่า Symphaty หากเราไม่รู้จักดึงเอาตัวเองออกจากอารมณ์นั้น เป็นเรื่องที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของเรามาก ดังนั้นการแยกแยะอารมณ์ โดยการมองเห็นเหตุแห่งอารมณ์ แล้ววิเคราะห์ถือว่าเป็นทักษะแบบหนึ่งที่เราควรฝึกฝน

เราควรทำอย่างไร?

·         ไม่เก็บเรื่องราวเหล่านั้นมาคิดอีกหรือฝึกการแขวนลอยความรู้สึกเอาไว้  (Hold หรือ Suspending )

·         จากกันกับเป้าหมาย ด้วยความรู้สึกสบาย ไม่เครียด

ข้อค้นพบที่น่าสนใจ เมื่อสัมผัสกับเป้าหมายที่มีวิกฤติชีวิต นักเขียนควรดึงออกมากให้ได้คือ “เมื่อมนุษย์มีความทุกข์ เรามีวิธีการจัดการกับความทุกข์นั้นอย่างไร อยู่ได้ด้วยอะไร ฝ่าข้ามความทุกข์นั้นได้อย่างไร? ตรงนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจและเป็นแนวทางชีวิตให้กับใครอีกหลายคน

ความเป็นจริงที่เราควรยอมรับว่า “มนุษย์เรามีจุดเปราะบาง มีจุดอ่อนแอ  มีต้นทุนสูงในบางด้าน และต่ำในบางด้าน”

ความจริงที่เราเจอเป็นชีวิตสอนชีวิต เรามองเห็นทุกข์จากการได้เข้าไปเรียนรู้ นั่นหมายถึง เราเข้าใจทุกข์ เราจะรู้จักสุข เป็นธรรมะที่กล่อมเกลาจิตใจเรา ...นี่คือผลพลอยได้จากงาน

ผมอ่านเจอหนังสือที่พี่อรสม ได้ให้สัมภาษณ์ นิตยสาร "ฅ ฅน" พี่อ้วนได้สรุปความได้อย่างน่าฟังว่า

"...อย่างที่บอกอุปสรรคมันมาก แต่ถ้าคุณก้าวเข้ามาได้สำเร็จ

คุณก็จะมีความสุข เพราะงานนี้ทำให้เราได้รู้จักชีวิต

รู้จักตัวเราเองมากขึ้น

และต่อให้เราทำสารคดีเกี่ยวกับเรื่องที่น่าหดหู่มากแค่ไหน

แต่สิ่งที่เราได้คือการเห็นคุณค่าชีวิต

ให้เราได้เรียนรู้ว่าโลกใบนี้ยังมีสิ่งดีๆ

อีกมหาศาลให้เราได้ชื่นชม..."

ระยะหลังผมกับพี่อรสม ได้เดินทางร่วมเส้นทางกันบ่อยๆในงานประเด็นเดียวกัน ที่เราจะต้องร่วมกันถอดบทเรียน “จิตปัญญา” อันเป็น ความจริง ความดี ความงาม ของมนุษย์ เมล็ดพันธุ์ที่ดีงามในสถานการณ์ที่ปัจจุบันเรามองหาความงามเหล่านี้ยากมากขึ้น

ในฐานะที่ผมเป็นหนึ่งในวิทยากรกระบวนการในแผนพัฒนาจิต ของมูลนิธิสดศรี เราทำงานถอดบทเรียน "จิตปัญญา" กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ภาคใต้ แต่เราเชื่อมั่นว่าในโลกใบนี้มีสิ่งดีๆมหาศาลความดีงามเหล่านั้นจะถูกนำมาถ่ายทอด และชื่นชม ยินดีร่วมกันครับ

 


 

ส่วนหนึ่งของ ความจริง ความดี ความงาม ของมนุษย์

บันทึก "จิตปัญญา" ที่ภาคใต้

 

 อ่านเรื่องราวของ คุณอรสม สุทธิสาคร  ต่อที่

P KMI Thailand »
คนดีวันละคน : ๑๖๐. อรสม สุทธิสาคร 
โดย Prof. Vicharn Panich
หมายเลขบันทึก: 206745เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2008 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

รักเพื่อมนุษย์

รักผืนแผ่นดินค่ะ

มีความสุขในสิ่งที่รัก  นะคะ

รักษาสุขภาพ  ปลอดภัย

แวะมาทักทายยยยยยยยค่ะ

                                 

 

รักเพื่อนมนุษย์ค่ะ  sorry

พิมพ์ผิดค่ะ

สวัสดีตอนเช้าค่ะคุณเอก

คงไม่มีความรู้แลกเปลี่ยน  เรื่องการเขียนหนังสือแต่ก็ชอบเข้ามาอ่านแนวความคิดของแต่ละท่านในบล็อก  

และก็ชอบประโยคที่ว่า 

"การรักเพื่อนมนุษย์จะทำให้เรามองเห็นความงามที่แทรกตัวอยู่ทุกที่ได้ง่าย เป็นการฝึกธรรมะ ฝึกจิตใจ ฝึกจิตปัญญา"

ก็ขอเป็นกำลังใจในการเขียนหนังสือเล่มต่อไปก็แล้วกันค่ะ

ถ้าพี่มีเวลามากกว่านี้ คงต้องบวกความมุ่งมั่น(อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้)

งานเขียนเชิงสารคดี เกี่ยวเนื่องสิ่งที่เรารู้ จะต้องออกมาให้ได้ในหนึ่งปีนี้ค่ะ

แล้วจะส่งไปให้อ่าน แนะนำ ค่ะ

ปล.งานเป็นวิทยากร เขาฝึกฝน เรียนรู้กัน หรือ...โอ๊ย (คำถามอีกเยอะ)

พี่ใจรักแต่ยังไม่มีแวว และ ไม่ค่อยเคย มีใครแนะนำชักจูงค่ะ

เป็น หนึ่งความฝัน หนึ่งความหมาย ของพี่...ค่ะ

@..สายธาร..@ ขอบคุณสำหรับคำทักทาย ในเช้าที่สดใสของวันนี้ครับผม

ฟังเพลงนี้ด้วยกันครับ รักคนโทรมาจังเลย

Akejatuporn

คุณ danthai

ผมประทับใจคำนี้เช่นกันครับ

"รักเพื่อนมนุษย์"

หากเรารักกัน เราจะเดินทางไปสู่ความสมานฉันท์ ความเอื้ออาทร แบ่งปัน

และสันติสุขเป็นเรื่องราวเล่าถึงโลกใบนี้

ขอบคุณมากครับ :)

พี่หมอเล็ก จริยา

ทุกคนสามารถเขียนได้ หัวใจที่สำคัญคือ การเก็บข้อมูล และทักษะการเขียน จากที่อ่านใน gotoknow ทุกคนมีทักษะการเขียนอยู่แล้ว

เชื่อแน่ว่าจะเรียน ป.เอก ป.โท thesis เชิงคุณภาพ คงง่ายนิดเดียวนะครับ

ส่วน วิทยากรกระบวนการนั้น ไม่ยากครับ ฝึกฝนกันได้อยู่แล้ว เพียงแต่เราให้โอกาสตัวเองครับ

ว่างๆเรามานั่งจิบกาแฟคุยกันดีมั้ยครับผม

:)

เฮ่อ....ต่างกับพอลล่า จังเลย อิอิ

พอลล่ามาแถลงไข ต่อนะครับว่า  ต่างกันยังไงครับ??

:)

อิอิ ... มาแถลงไข ...ก็พี่เขียนซะยาววว ดี มีสาระ พอลล่าเขียนไม่มีสาระเท่าไหร่ อิอิ

มาชม คุณจตุพร

เป็นบันทึกหนึ่งที่เข้าถึงใจคนอ่านนะนี่

ก้าวต่อไปในเส้นทางที่ดีงามนี้นะครับ

ผมทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ ฮิฮิ แต่พยายามเขียนรายงานแบบวิชาการ ยากแสนเข็ญ เพราะอยากเอาทุกความรู้สึกที่เราได้รับใส่ลงไปในรายงานที่เป็นทางการ ออ.แต่เวลาผมนำงานผมไปเสนอ นั่นแหละครับ ถึงจะได้อารมณ์อย่างแท้จริง (เดือนหน้าคิดว่าจะมีโอกาสไปนำเสนองานที่ กทม.)

อ่านที่คุณเอกเขียนมาตลอด คุณเอกเขียนเก่งนะคะ เป็นแฟนประจำค่ะ

แวะมาเยี่ยมตามคำแนะนำ...โอ้ โฮ...เขียนได้สาระและประพันธ์ได้ดีมาก ๆ ๆ เลยนะครับ..ศรัทธามาก ๆ เลยจ้า........พี่ชาย ชยพร แอคะรัจน์

สวัสดีค่ะ

* ตามมาจากอาจารย์ Umi ค่ะ

* ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ " การดึงตัวเองออกจากอารมณ์ "

* ฝากม้าวิ่งมาให้ชมค่ะ

  • ตามอาจารย์ชยพร แอคะรัจน์ มาแนะนำตัว ...
  • ชอบแนวเขียนแบบนี้ค่ะ
  • เขียนดี มีสาระ
  • กำลังฝึกอยู่...ได้แนวคิดมากมาย
  • ขอบคุณค่ะ

 

พี่เรียนการทำวิจัยเชิงคุณภาพจบไปแล้ว กำลังพยายามทำความเข้าใจค่ะ

อ่านแล้วตรงใจมาก

ทำให้ได้ความรู้และหลักในการเก็บข้อมูลมากขึ้นค่ะ

ชอบครับ...หากเราเปิดใจเข้าไปร่วมเรียนรู้ในมุมเดียวกับเขา อคติที่เรามักตั้งไว้เมื่อเห็นเพียงฉากแรกก็จะเปลี่ยนไป เราจะสัมผัสมิติของผู้คนที่เป็นมิติที่มีคุณค่า เป็นมุมมองใหม่ๆจากการเปิดใจ ยอมรับซึ่งกันและกัน...

"การเปิดใจ" ง่ายๆ แต่ดูเหมือนจะทำได้ยากนะครับ...เพราะผู้คนส่วนหนึ่ง "ติด" อยู่กับชุดความคิดเดิมๆ แล้ว "รื้อ" ออกยากซะด้วยซี

...ถึงได้มีเรื่องยุ่งๆ อย่างทุกวันนี้..

แล้วใครจะถอยก่อนใคร!!!....

ขอบคุณครับ

แวะมาเยี่ยมพี่เอกค่ะ เมื่อไรจะมาเที่ยวเมืองแปง ถั่วเหลือง เขียวขจีแล้วค่ะ

  • รักเพื่อนมนุษย์  และ รักพี่อ้วน ทั้งที่ไม่เคยรู้จัก
  • ผากบอกเธอด้วย ว่าชอบมากกับข้อคิดจากเธอ

paula ที่ปรึกษา~natadee

น้องพอลล่าเขียนบันทึกได้ดีครับ ผมติดตามเก็บความรู้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะ ประเด็นที่ผมทำงานอยู่ตอนนี้- Humanized health care

จะติดตามต่อไปครับผม

สวัสดีครับอาจารย์ umi

ผมเพิ่งไปเปิดเวทีเรียนรู้ถอดบทเรียน  "จิตปัญญา" ที่ รีสอร์ท ไม่ไกลจากเกาะยอ เพิ่งกลับมาที่ กทม.เมื่อคืนนี้เองครับ..

ขอบคุณครับ สำหรับกำลังใจครับ

 

อ.อีย์ จารุวัจน์

ผมคิดว่า เราสามารถเขียนงานได้เต็มที่ และค่อยๆปรับให้สามารถได้เนื้อหา สาระ งานวิชาการได้ แต่อยากให้งานนั้นอ่านแล้วได้อารมณ์ ความรู้สึก และใช้ประโยชน์ได้จริง

งานแบบนี้เขียนยาก แต่หากฝึกฝนทักษะการเขียน เราก็ประสบควงามสำเร็จได้ไม่ยาก

gotoknow นี่หละครับ เป็นเวที ฝึกฝีมือ

สวัสดีค่ะ พี่เอก....... คิดถึงจังเลย ..อยู่ไหนหรือคะ ตอนนี้ กลับมาหรือยังคะพี่

หวัดดีค่ะ...คุณเอก

รักเพื่อนมนุษย์...

รักทุกคน...

อืม !!  แล้ว...รักคนโทรมาจังเลย

เกี่ยวกันไม๊ค๊ะ...

   ^___^

น้องpaula ที่ปรึกษา~natadee

พี่อยู่ กทม.ครับ และสัปดาห์หน้าขอกลับไป หนุนตักแม่ที่ ปาย สัก ๑ week ครับ

ครูwindy

ผมชอบเพลง "รักคนโทรมาจังเลย"  มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท