สรุปบทเรียนการต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติดของภาคประชาชน ภาคใต้ตอนล่าง: บ้านคลองหมวย


จะทำงานนี้ให้ดีได้นั้นไม่ใช่ทำตามกระแส แต่ให้ทำตามจิตสำนึกว่าเราต้องทำ

 

             หมู่ 1 บ้านคลองหมวย ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความเข้มแข็งในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติดภาคประชาชน ภาค 9  แกนนำในการต่อสู้คือ พี่เหลิม (นายเฉลิม ศรภักดี)  โดยเริ่มจากที่ทีมงานตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้วได้ชักชวนให้เข้าร่วม ศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ภาคประชาชน หรือ ศตส.ภาคประชาชน โดยได้นำเครือข่ายสินธ์แพรทอง เข้าร่วมสมัคร  ทุกหมู่บ้านได้ดำเนินการเรื่องนี้ แต่ หมู่ 1 สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และ เป็นพื้นที่ที่มีความเข้มแข็ง พื้นที่หนึ่ง จนเราต้องนำมาเป็นบทเรียน ในการแสดงเจตนารมณ์ ต่อต้านยาเสพติด

 

            กิจกรรมในการดำเนินงาน คือ จัดอาสาสมัคร อยู่เวรลาดตระเวน ดูแลความเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน มีกิจกรรมระหว่างผู้สูงอายุ และ เยาวชนร่วมกันทุกเดือน มีสมาชิก เยาวชนจำนวน 35 คน ผู้สูงอายุจำนวน 85 คน โดยให้ผู้สูงอายุถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ให้เด็กได้เฮ ปลูกฝังหลักคำสอนของศาสนาให้กับเยาวชน สอนให้เยาวชน เป็นผู้นำ ในการสวดมนต์ไหว้พระ มีการร่วมสมทบทุนจากกองทุนหมู่บ้าน การบริจาคสินทรัพย์ จากชาวบ้าน เพื่อจัดกิจกรรมเหล่านี้

 

            พี่เหลิมบอกว่าหลังจากมีกิจกรรมเหล่านี้ เหตุการณ์ลักเล็กขโมยน้อย หมดไป ชาวบ้านมีความสุขมากขึ้น กลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม พี่เหลิมสามารถการันตีได้เลยว่ายาไม่สามารถเข้าถึงได้ แม้แต่บุหรี่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลิมมีความภาคภูมิใจมาก และ สิ่งที่พี่เหลิมภาคภูมิใจอีกอย่างหนึ่ง คือการได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน ด้วยความเต็มใจ เพราะหากชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือ และ ไม่เต็มใจให้เกิดกิจกรรมเหล่านี้ แม้จะมีกลุ่มอาสา หรือ มีโอกาสในการดำเนินงานแค่ไหนก็ไม่สามารถที่จะดำเนินงานได้ด้วยดี และ ส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ผู้นำที่เสียสละในการดำเนินกิจกรรม

 

            พี่เหลิมทำงานด้านนี้ด้วยแนวคิดที่ว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของทุกคนที่ต้องร่วมกันช่วยกันทำ เราในภาคประชาชน สามารถทำได้ในด้านการป้องกัน และ ต้องป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ใช่ไปป้องกันช่วงปลายๆ อย่างเช่นเด็กและเยาวชน เราควรปลูกฝังเรื่องนี้ตั้งแต่วัย 10 ขวบ เพราะ เด็กวัยนี้เป็นวัยที่เรียนรู้ รับสิ่งต่างๆ ได้เร็ว เราต้องเอาสิ่งดีๆ ใส่เข้าไปตั้งแต่วัยนี้ เด็กก็จะคิดดี ทำดี หาก รอจนอายุ 17-18 ขวบ เด็กเริ่มแหลงไม่รู้ฟัง (พูดไม่รู้เรื่อง เนื่องจากเด็กเริ่มมีความรู้สึกอยาก ลอง อยากทำด้วยตัวของตัวเอง ) และที่สำคัญ หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านกึ่งเมืองใครเข้าใครออกเราไม่รู้ ถนน สี่เลน ก็ผ่าน เราในชุมชน จึงต้องช่วยเหลือกัน

 

            พี่เหลิมให้ความคิดเห็นว่า การที่เราจะทำงานนี้ให้ดีได้นั้นไม่ใช่ทำตามกระแส แต่ให้ทำตามจิตสำนึกว่าเราต้องทำ และทำแนวราบอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นระยะ  และ ต้องทำที่ครอบครัว รวมทั้งครอบครัวที่ไม่มีเยาวชน ให้ทุกครอบครัว ตระหนักว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็น ที่จะต้องร่วมมือกัน ส่วนการได้รับงบประมาณจากข้างนอกใช่ว่าจะเป็นเรื่องดีเสมอไป หากเป็นไปได้ ให้ชุมชนชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจ่ายงบประมาณ เพราะ จะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของงานมากขึ้น ให้ความร่วมมือกันมากขึ้น และ หวงแหนกันมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 267980เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2009 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

  • สวัสดีครับ
  • อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมนิดนึงว่าเขาเริ่มตั้งต้นปีไหนครับ หรือเอาว่าประมาณกี่ปีมาแล้วที่เขาคิดทำเรื่องนี้ขึ้นมานะครับ

ของสินธุ์แพรทองเยี่ยมมากเลย และมีเรื่องราวมากมายที่ ส.ศรัณ เองอยากเรียนรู้จากกล่มนี้

ผมเด็กคลองหมวยครับ

เหอะๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท