จากบางกอก....กรุงเทพฯ .... จนถึงเมืองไทย ในวันนี้ จากการไปชมและได้ความรู้จาก “พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” (National Discovery Museum Institute) ตอนที่สอง


จากบันทึก ตอนที่หนึ่ง “ใครๆก็พูดถึงไทยแท้ แต่ใครรู้บ้าง ไทยแท้ๆเป็นอย่างไร....“พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” (National Discovery Museum Institute : NDMI)กำเนิดใหม่ สมิทโซเนียนเมืองไทย

จากบันทึก ตอนที่หนึ่ง  ใครๆก็พูดถึงไทยแท้ แต่ใครรู้บ้าง ไทยแท้ๆเป็นอย่างไร....พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” (National Discovery Museum Institute : NDMI)กำเนิดใหม่ สมิทโซเนียนเมืองไทย

เมื่อบันทึกตอนที่หนึ่ง ราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เดินทางมาถึงจุดสิ้นสุดลงที่พระเจ้าเอกทัศ หรือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ซึ่งเป็นกษัตริย์ องค์ที่ 34 หรือองค์สุดท้ายของสมัยอยุธยา ในวันสงกรานต์ปี พ.ศ.2310    

พระยาตาก ได้รวบรวมไพร่พล ตีฝ่าวงล้อมพม่า ไปทางทิศตะวันออกได้  ตั้งมั่นอยู่ที่กรุงธนบุรี  ต่อมาสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยาเป็นผลสำเร็จ  แล้วทรงปราบดาภิเษกเป็น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และสถาปนากรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร เป็นราชธานี  แต่ก็มาสิ้นสุดลง ในอีก 15 ปีต่อมา

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เสด็จขึ้นเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี และโปรดให้ย้ายราชธานี มายังฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีพระราชดำริ จะสร้างพระราชธานี แห่งใหม่ ให้เหมือนกับกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้ง รุ่งเรือง นอกจากนี้ ยังได้ทรงฟื้นฟูแบบแผนพระราชประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมต่างๆ ตามแบบที่ชาวกรุงเก่าเคยสร้างสรรค์มา

รูปด้านล่างนี้ ให้เห็นถึงการจัดงานพระเมรุ ที่สวยงามมาก ที่กรุงศรีอยุธยา และแผนที่ๆเห็นคือ แผนที่กรุงเทพฯสมัยรัชกาลที่หนึ่ง จนถึงรัชกาลที่ห้า

ใครสร้างกรุงเทพฯ  : เดิม บริเวณกรุงเทพมหานคร เคยเป็นเมืองท่ามาก่อน ชื่อ บางกอก มีคนหลายชาติอาศัยอยู่ ทั้งลาว มอญ จีน ญวณ แขก ฝรั่ง ต่อมา มีการเกณฑ์คนนอก เข้ามาสร้างเมือง เช่น เขมร 10,000คน ขุดคูคลองโดยรอบ คนลาว 5,000 คน สร้างกำแพงเมือง พอสร้างเสร็จก็ยังอาศัยอยู่ กลายเป็นคนกรุงเทพฯไปในที่สุด คนกรุงเทพฯ  กลุ่มสำคัญอีกกลุ่มหนึ่งคือ ชาวจีน ที่ก่อให้เกิด ความมั่นคงทางเศรษฐกิจตามมา นอกจากนี้ ยังมี ชาวมอญ  ญวณ ไทยดำ ลาวพวน ที่มีมาตั้งแต่จากการทำสงครามครั้งก่อนๆ  ได้เข้ามาตั้งชุมชนอยู่อย่างถาวร ทั้งในเขตพระนครและหัวเมืองด้วย

ครั้งแรกๆ ผู้คนยังผูกติดกับความเป็นคนกรุงเก่าอยู่ แต่พอผ่านไป 40 ปี หรือ สองรัชกาล ความรู้สึกผูกพันคลายลง  เลยกลายเป็นคนกรุงเทพฯกันไป  ฝรั่งเรียกว่า Bangkok

 แต่ในส่วนที่เกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย คือ ชีวิตในชนบท ในช่วงกรุงศรีฯตอนปลายถึงกรุงรัตนโกสินทร์  เพราะไม่มีการคมนาคม ไม่มีการสื่อสารใดๆเลย แต่ชาวชนบทก็อยู่รอด เพราะได้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นมาเองจากการเรียนรู้จากธรรมชาติและการปฏิบัติ

มีการแสดง วิถีชีวิตของคนรอบๆ กรุงเทพฯ แสดงให้เห็นถึงความเป็นสังคมเกษตรกรรม ได้รู้จักกับอุปกรณ์การดักสัตว์ เครื่องมือทำมาหากิน ความเชื่อ และพิธีกรรมต่างๆ

แผนที่สยามที่มีสัดส่วนที่ถุกต้อง   มีขึ้นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อยืนยันสิทธิ ความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนต่างๆ  แผนที่ฉบับแรกพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440  พร้อมๆกับ พร้อมๆกับรูปแบบการปกครองแบบ รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ถึงคราวสยามต้องปรับตัว:Siam at a Crossroad:

 สมัยรัชกาลที่ 4 มีความรุนแรงของลัทธิล่าอาณานิคมมากขึ้น อังกฤษยึดครอง อินเดีย พม่า มลายู และจีน ฝรั่งเศสได้เวียดนาม กัมพูชา ดังนั้น เพื่อให้รอดพ้นจาการรุกราน สยามจึงต้องปรับตัว ให้ทันสมัย ภายใต้ร่มเงาของมหาอำนาจตะวันตก การเริ่มการถ่ายภาพ ก็เริ่มจากสมัยรัชกาลที่ 4 นี้  

ต่อจากนี้ ก็มีการ รับวัฒนธรรมตะวันตกต่างๆ เข้ามาในสยามประเทศ มากขึ้นๆ  ไม่ว่าจะเป็น การตัดถนน การประปา ไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ เป็นต้น

โลกในอดีตถึงจุดอวสานแล้ว : The End of the Absolute Monarchy :

 สงครามสงบหมดแล้ว ถนนเริ่มสำคัญกว่าสายน้ำ วิทยาศาสตร์ให้คำตอบได้มากกว่าศาสนา รสนิยมทางอาหารการกิน การแต่งตัว ศิลปะ สถาปัตยกรรม มาตรฐานชีวิตถูกกำหนดด้วยแบบแผนจากโลกตะวันตกยุโรปทั้งสิ้น นี่คือจุดเริ่มต้น ของสยามประเทศยุคใหม่

ตั้งแต่รัชสมัย รัชกาลที่ 5 เกิดมีคนรุ่นใหม่ขึ้นคือ คือปัญญาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนอก คนกลุ่มนี้ ต่อมา รวมตัวกันเป็น คณะราษฏร์ ผลักดันให้เกิด มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นในปี พ.ศ. 2475

โดยที่ ในสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดวิกฤติการณ์ภายในประเทศ กล่าวคือ รัฐบาลขาดดุลงบประมาณอย่างรุนแรง และเศรษฐกิจไทยยังถุกซ้ำเติมจากวิกฤติการณ์การเงินโลก จากเหตุการณ์ เกรท ดีเปรสชั่น (great depression)  ในปี พ.ศ. 2472 (1929) วิกฤติเศรษฐกิจ  ซึ่งส่งผลกระเทือนถึงปี 2475 

อีกด้วย  ไทยมีการปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมาก เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งวิธีการดังกล่าว ยิ่งกระทบต่อสถาบันกษัตริย์ เพราะข้าราชการที่ถูกปลด ส่วนใหญ่เป็นสามัญชน เจ้านายเชื้อพระวงศ์มิได้ถูกปลด แต่ประการใด

สิ้นสุดการปกครองในระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นการเริ่มต้น การสร้างรัฐประชาชาติ ประชาชน เป็นเจ้าของประเทศ

ในหนังสือ ผู้แทนเมืองไทย ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า....คนไทยทั่วไปมักเข้าใจว่า ก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ประเทศสยามอยู่ภายใต้ การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาโดยตลอด

แต่จริงๆแล้ว ระบอบนี้ มิได้สืบทอดมาแต่โบราณกาลอย่างที่คิด ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพิ่งเกิดขึ้น ในประเทศสยามเมื่อร้อยกว่าปีก่อนนี่เอง ในสมัยรัชกาลที่ 5   (น่าจะนับจาก จากประมาณ ปี พ.ศ...2417 ผู้เขียนบันทึก) โดยก่อนหน้านี้ รัฐไทยโบราณ อยู่ภายใต้ระบอบ ราชาธิราช  ซึ่งเน้นอำนาจเฉพาะบุคคล และไม่มีการรวมศูนย์อำนาจอย่างเป็นระบบแต่อย่างใด

กระบวนการสร้างชาติ  Siam become Thailand:

 เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนมาถึงรัชกาลที่ 7 เกิดวิกฤติการณ์ภายในประเทศ  แต่กระบวนการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ ชาติ ซึ่งเป็นนิยามของนครรัฐสมัยใหม่  เริ่มเป็นจริงเป็นจังในสมัยรัชกาลที่ 8

โดยรัฐบาล จอมพลป.พิบูลสงคราม ได้ออกประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2482 เปลี่ยนชื่อ ประเทศสยาม เป็น ประเทศไทย และเรียกผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศว่า คนไทย ให้ใช้ชื่อ ประเทศ ว่า Thailand เรียกคนไทย ว่า Thai

เพลงชาติที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ได้มาจากการประกวดบทเพลงชาติ ในปีพ.ศ. 2482

มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรครั้งแรก เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2476 ภาพล่างนี้ เป็นรายชื่อส.ส.ประเภทที่ 1 บางส่วนค่ะ

แต่พอถึงยุคฟิฟตี้ ทศวรรษที่ 1950   ประเทศไทยเลือกสังกัดค่ายโลกเสรี คนไทยสนุกสนานกันมาก ลืมฝันร้ายจากยุคสงครามโลกโดยสิ้นเชิง

แต่ที่มีสีสันมากที่สุด คือ ยุค ซิกส์ตี้ ทศวรรษที่ 1960 การเข้ามาของทหารอเมริกัน ทำให้หลายๆเมืองขยายตัว กิจการทุกประเภท หันมาใช้ชื่อฝรั่งเพื่อความเป็นสากล   และมีความเป็นมา ...จนกระทั่งถึงเมืองไทย ในวันนี้  ลองดูภาพข้างล่างนี้ค่ะ แสงสีสดใสจริงๆ และบรรยากาศของร้านอาหาร กับตู้เพลงสมัยนี้ ก็เป็นสีสดๆอย่างนี้จริงๆค่ะ

จนมาถึงห้องสุดท้าย ซึ่งเป็นห้องที่ตอกย้ำว่า   "วันพรุ่งนี้ของประเทศไทยจะเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับคนปัจจุบันเท่านั้นที่จะเป็นคนให้คำตอบได้"

 

ที่เล่ามาทั้งสองตอนนี้ เป็นแค่ย่อๆ อยากขอเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจไปเยี่ยมชม ตอนนี้เปิดให้ชมแล้วค่ะ

"พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ" จะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้สู่สาธารณชน เรื่องความเป็นมานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของผู้คนและดินแดนในประเทศไทยและดินแดนอื่นในอุษาคเนย์

รวมทั้งภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมธรรมชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ และสนุกสนานค่ะ  ว่างเมื่อไรอย่าลืมไปให้ได้ค่ะ

หมายเหตุ::อ้างอิงข้อมูลจาก ข้อมูลที่จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และจากหนังสือ ผู้แทนเมืองไทย ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ 

 

หมายเลขบันทึก: 178265เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2008 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (179)

ภาพถ่ายอาจไม่ค่อยสวยเท่าใด เพราะ มีเวลาน้อย รีบไปรีบกลับ อยากให้ทุกท่านไปชมของจริงกันมากกว่าค่ะ ไม่เหมือนกับพิพิธภัณฑ์ที่เราเคยเห็นๆมาค่ะ

และนอกจากหัวข้อที่แสดงนี้แล้ว ต่อไปทางพิพิธภัณฑ์ จะแสดงหัวข้ออื่นๆอีกค่ะ รู้สึกจะมีอีกหลายรายการ

สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์

ทราบว่าเปิดเป็นทางการแล้วตั้งแต่ 2เมษายน ที่ผ่านมา

แต่ยังไม่มีโอกาสแวะไปเลยค่ะ ต้องหาโอกาสให้ได้ ยิ่งเห็นยิ่งอยากไปค่ะ

ขอบคุณพี่ศศินันท์ที่นำข้อมูลดีๆ มาแป่งปันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ได้เข้ามาชมบล็อกนี้แล้วไม่เคยผิดหวังเลยจริงๆ

ขอขอบคุณที่ให้ความรู้เพิ่มเติม  เยี่ยมมากๆครับ

สวัสดีค่ะ

กำลังรออยู่ค่ะว่าหายไปไหน พออ่านบันทึกแล้วคงต้องหาเวลาไป เดือน พ.ค. นี้แน่นอนค่ะ

  • ภาพชัดมากๆๆ  อยากทราบสเปคจัง
  • เขียนบันทึกได้ดีมาก
  • ทั้งภาพ ทั้งเนื้อหา บูรณาการได้น่าอ่านมากๆๆ

 

ขอบคุณมากค่ะพี่ศศินันท์ ... งานยุ่งๆ พักผ่อน ดูแลสุขภาพบ้างนะคะ

น่าไปชมมาก หากมีโอกาสได้เข้ากรุงเทพฯ เมื่อไหร่ต้องไม่พลาดค่ะ แต่ช่วงนี้ไม่ได้เข้ากรุงเทพฯ นานแล้วค่ะ...

มีคนแนะนำให้มาอ่านค่ะ อยากพาหลานๆไปในวันหยุดเดือนพ.ค.นี้ ไม่ปิดใช่ไหมคะ

ได้พอทราบเรื่องบ้างไปก่อน ทำให้การชมได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ

แม่ค้าหาบของขายตามซอย ตามบ้าน

ขนมแม่เอ๊ย เดี๋ยวนี้อาจมีน้อยมากๆ

ที่ในใจกลางกรุงเทพฯน่าจะไม่มีแล้ว

  • Change can not be stoped.
  • Whether we like or not.
  • Our community will be different tomorow .
  • From what it is today !!!!!
  • เราหยุดความเปลี่ยนแปลงไม่ได้แต่เราสามารถทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทิศทางที่ดีได้ค่ะ
  • ขอบคุณทีนำประวัติประเทศชาติมาช่วยกระตุ้นให้คนไทยเกิด
  • ความรักชาติรักแผ่นดินเกิดค่ะ

รถตุ๊ก ตุ๊ก มีมานานแล้ว และเดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่ ป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมาก เป็นสัญลักษณ์ที่เด่นอย่างหนึ่งของกรุงเทพฯค่ะ

สวัสดีค่ะ

เห็นรูปแม่ค้าหาบของขาย ตอนนี้ก็ยังเห็นอยู่เหมือนกันค่ะแถวรังสิต แต่ก็มีน้อย ส่วนใหญ่จะดูมีอายุค่ะที่หาบของขายตามซอย ตามหมู่บ้านค่ะ ขายของพวก ถั่วต้ม , ข้าวโพดต้ม , มันต้ม , เผือกต้ม , ถั่วแระ เป็นต้น

สวัสดีค่ะ พี่ศศินันท์

  • รูปสวยเหมือนเจ้าของบันทึกเลยค่ะ
  • อ่านง่ายด้วย ชอบจังค่ะ
  • มาอ่านทีไรได้ความรู้กลับไปมากมายเลย
  • ขอบคุณพี่ศศินันท์มากๆ ค่ะ
  • รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

              

สวัสดีค่ะ คุณพี่ศศินันท์

* สบายดีนะคะ คุณพี่

* กทม. ช่วงวันหยุดยาว การจราจรคงปลอดโปล่ง โล่งขึ้นมา

* ว่าจะไป ๆ ก็ยังไม่มีโอกาสเลยค่ะ เวลาเข้ากทม. ก็แค่ผ่านๆ แล้วต้องไปที่อื่นๆ ต่อ แบบรีบๆ

* ชอบดูพิพิธภัณฑ์ ของโบราณๆ ค่ะ

* ไม่ว่าอยู่ที่ไหนๆ ก็ไม่สุขใจเหมือนบ้านเราจริงๆ ค่ะ

* เมืองไทยเรา สบายที่สุดเลยค่ะ

* แม้ว่าจะประสบกับปัญหาต่างๆ ตามกาล แต่ก็ยังมั่นใจ

เพราะอยุธยา ไม่สิ้นคนดีฉันใด เมืองไทยปัจจุบันคงเช่นกัน

* ภาพรถตุ๊กๆ กับแม่ค้า หาบเร่ งามงด และเป็นเอกลักษณ์ จริงๆ ค่ะ

* ขอบคุณนะคะ สำหรับข้อมูลดีๆ ที่เป็นความแง่งามของชีวิต

ผมเกิดไม่ทันยุคซิกส์ตี้หรอกครับ แต่เท่าที่เห็นรูปภาพเป็นยุคที่ มีแสงสีสดใสจริงๆ สนุกสนาน แฟชั่นการแต่งกาย ทรงผม การแต่งตัวผู้ชายชอบนุ่งกางเกงขาบานๆ เสื้อเชิ้ตแขนยาวรัดรูป ส่วนผู้หญิง mini skirt เป็นที่นิยมสมัยนั้น ผมว่าสมัยนั้นคงจะมีอะไรดีเยอะครับ

  • สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์
  • สบายดีไหมคะ  มีฝนเทลงมาพอคลายร้อยได้บ้าง
  • เอกลักษณ์ของไทยแท้นอกจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สวยงามสัมผัสได้แล้ว
  • ในส่วนที่เป็นนามธรรมที่สวยงามและสัมผัสได้ด้วยความรู้สึกยังมีให้เห็นอยู่มาก
  • ดังคำกล่าวที่ว่า  ทำเนียมไทยแท้แต่โปราณ  ใครมาถึงเรือชานต้องต้อนรับ
  • ขอบคุณสำหรับเรื่องดีดีนะคะ  รักประเทศไทย  ความเป็นไทย  คนไทย  และเจ้าของบันทึกนี้ด้วยค่ะ  อิอิ

รู้สึกว่า วันที่ 15 พ.ย.2476 เป็นวันที่มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฏรเป็นครั้งแรก ใช่ไหมคะ ดีจังค่ะ บันทึกนี้ ทำให้นึกถึงประวัติศาสตร์การเมืองค่ะ

อ่านบันทึก คุณพี่ ที่ไร

ประทับใจ ได้สาระ มากคุณค่า

จารึกไว้ ได้เด่น เป็นตำรา

ให้ลูกหลาน ค้นคว้า น่าชื่นชม

ผมกำลังคิดถึงนิยายที่เคยอ่าน โก๋หลังวัง บูรพาภิรมย์ ช่างไม่เหมือนกับสมัย ขวัญกับเรียมเลย

เป็นสีสันตะวันตกจริงๆ

  • เข้าใจความเป็นประเทศไทย  และความเป็นคนไทยในปัจจุบันมากขึ้นเยอะครับ
  • วิวัฒน์และพัฒนาการของทุกสรรพสิ่ง ไม่มีวันหยุดนิ่งและจบลง ณ จุดใดจุดหนึ่ง
  • "มันเป็นเช่นนั้นเอง"
  • แต่เมื่อถึงวันนี้  เราจะรักษาความเป็นสุวรรณภูมิของ"คนไทย"(ทุกเชื้อชาติดั้งเดิม ณ ปัจจุบัน) ไว้ได้หรือเปล่า?
  • เพราะ "ทุนใหญ่" คือ "อาวุธร้ายไร้เทียมทาน" ขนาดที่ "ปรมาณูไม่ได้เสี้ยว"
  • สำหรับชาวบ้านแล้ว ขอแค่มีกิน มีที่ทำกิน และที่อยู่หลับนอน ไปตลอดช่วงอายุขัย และพอจะเหลือส่งต่อให้ "คนในความรับผิดชอบ" รุ่นต่อไปได้บ้าง ก็ประเสริฐสุดแล้ว
  • ......ฯลฯ......
  • คุณพี่สบายดีนะครับ
  • สวัสดีครับ
  • นั่งอ่านไป ชมไปแล้วชวนคุณสามีมาชมด้วย
  • สวยจริงๆเลยค่ะ เห็นแล้วน่าไปเที่ยวมากๆ
  • ตอนนี้ฝึกถ่ายภาพแบบนี้บ้างยังไม่คมชัด จัดวางภาพได้สวยขนาดนี้เลยคะ

น่าไปมากๆเลยค่ะ..มาปุ๊บได้ความรู้ปั๊บ..ดีจังค่ะ..

ขอบคุณนะคะ..

"พี่ศศินันท์..สบายดีนะคะ..^___^"

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์

การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยมีมากมายนะคะ แต่รู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลังๆ ก็คงมาจากเรื่องของเทคโนโลยีค่ะ

มาอเมริกาก็ยิ่งเห็นการผสมผสานของวัฒนธรรมได้เยอะค่ะ คนที่มีเชื้อสายมาจากประเทศต่างๆ วัฒนธรรมต่างๆ ไขว้ผสานกันไปหมด จนกลายเป็นวัฒนธรรมผสมแบบใหม่ ไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษสำเนียงเดียวกันเลย ^ ^

บ้านเราก็คงหนีไม่พ้นการเปลี่ยนแปลง เพราะเทคโนโลยีรวดเร็ว เห็นข่าวสารข้อมูลชิ้นเดียวกันในเวลาเดียวกันได้ทั่วโลก แต่การบันทึกประวัติศาสตร์ การสืบสานจากผู้ใหญ่สู่เด็ก และพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้นี้ก็คงจะช่วยให้ประเทศไทยคงสืบสานและคงความเป็นไทยไว้ได้นานขึ้นค่ะ ^ ^

อยากให้มีพิพิธภัณฑ์ดีๆ นานแล้ว ดีใจที่ได้เห็นค่ะ

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันกันนะคะ

สวัสดีค่ะคุณjaewjingjing

ดีใจจังที่มาอ่านนะคะ พี่ไปมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 แล้วค่ะ แต่เรื่องยาวมาก เลยต้องแบ่งเป็นสองตอนค่ะ

ใครจะไป มาอ่านก่อน จะทำให้ทุ่นเวลาในการดูอีกหน่อยค่ะ จะไปถ่ายรูปก็ได้ค่ะ เขาอนุญาต  ไปมาแล้ว มาเล่าให้พี่ฟัง ในมุมมองของคุณด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ โต

ขอบคุณสำหรับคำชมของอาจารย์ เป็นกำลังใจให้เป็นอย่างมากค่ะ

เมื่อสมัยรัชกาลที่ห้า ทรงให้ทำแผนที่ประเทศ ปฏิรูปการปกครอง เพื่อสถาปนาพระราชอำนาจเหนือดินแดนประเทศราชที่ปกครองมาแต่เดิม โดยรวมศูนย์อำนาจไว้ภายใต้ ราชสำนักกรุงเทพฯในรูปแบบ รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปวงชนที่อาศัยอยู่ในเขตแผนที่สยาม ถือเป็นพลเมืองของสยามรัฐทั้งสิ้น

นี่คือประวัติศาสตร์ก่อนจะมาใช้คำว่า ประเทศไทยค่ะ

มาเยี่ยมยามเรียนรู้เรื่องดีดีครับ

 สวัสดีค่ะคุณ กฤษณา

ไม่ได้หายไปไหน แต่ไม่ค่อยมีเวลา และสมาธิพอจะเขียนบันทึกค่ะ มีธุระยุ่งจริงๆ ช่วงนี้

แต่ที่ติดค้างตอนที่สองไว้ ก็เขียนแล้ว ถ้าปล่อยไว้นานกว่านี้ อาจมีลืม เพราะไปมาตั้งแต่เดือนมกราคมแล้ว

ขอบคุณที่ติดตามค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ นายประจักษ์

ขอบคุณมากๆ ที่มาเยี่ยมค่ะ

เดิมเรื่องเส้นเขตแดน ไม่เคยอยู่ในความคิดของรัฐบาลสยามเลยนะคะ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ ราชทูตอังกฤษ ที่เดินทางมาขอเจริญพระราชไมตรีกับสยาม ได้เคยถามว่า เขตแดนเราอยู่ตรงไหน คำตอบคือ ต้องไปถามชาวบ้านเอาเอง ก็คือ ให้ถือตาม คนชี้นั่นแหละค่ะ

เราเพิ่งจะมามี แผนที่ที่ถุกต้องในสมัยรัชกาลที่ 5 นี่เองค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ paew

ดีใจที่อาจารย์มาอ่านค่ะ เห็นว่ายุ่งๆตลอดเวลาเลย เหมือนกัน

ถ้ามากรุงเทพฯ หาโอกาสมาเที่ยวที่พิพิธภัณฑ์นี้ก็ดีค่ะ มีอะไรให้ดูมาก ได้ความรู้ใหม่ๆด้วยค่ะ

กรุงเทพฯนี้ ก็คือ กรุงศรีอยุธยาแห่งใหม่นั่นเองค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพี่

เคยเห็นรายการทีวีทางช่อง 11 ชื่อรายการ "พิพิธเพลิน" พูดเกี่ยวกับชื่อพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ตอนแรกไม่นึกว่าจะเป็นสถานที่ คิดว่าเป็นคอนเซปต์ของรายการ น่าสนใจดีค่ะ ว่างๆ จะขอแวะเข้าไปชมสักครั้ง

เห็นกล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วย ไม่ทราบว่าคุณพี่ไปชมพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ถนนหลานหลวงมายังคะ ตอนนี้เปิดส่วนที่สร้างปรับปรุงใหม่ด้วย มีเรื่องราวของพระนางเจ้ารำไพพรรณีน่าสนใจมากๆ เลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ จิรา

วันหยุดเดือนพฤษภาคมมีหลายวัน น่าจะถือโอกาสไปเที่ยวค่ะ ข้างในพิพิธภัณฑ์ไม่ร้อนเลยค่ะ สบาย และห้องน้ำก็สะอาดดีมาก

จริงๆเราเรียนประวัติศาสตรืกันมาทุกคนแล้ว แต่ยังมีบางแง่มุมที่เราก็ยังไม่ทราบค่ะ

วันนี้ นำภาพเส้นทางสายไหม เส้นทางการค้าสมัยโบราณ เชื่อมโลกตะวันออกและตะวันตกมาให้ชมค่ะ

เส้นทางบก เรียกว่าเส้นทางสายไหม Silk Road

เชื่อมโยงจีนกับยุโรปตะวันออก สินค้าสำคัญคือ ผ้าไหมจากจีน

เส้นทางน้ำเรียกว่า เส้นทางสายไหมทางใต้ Southern Silk Road หรือ Maritime Silk Road เป็นเส้นทางจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนสู่ทะเลแดง มาอ่าวเบงกอล ของอินเดีย และต่อไปยัง ทะเลจีนใต้ ไปจีน

ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเณย์ เป็นส่วนหนึ่ง ในเส้นทางการค้านานาชาตินี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ Lin Hui

ที่อาจารย์กล่าว เป็นสัจธรรมค่ะ

  • Change can not be stoped.
  • Whether we like or not.
  • Our community will be different tomorow .
  • From what it is today !!!!!
    • อาจารย์คะ ในสมัยรัชกาลที่ 5พระองค์ก็เคยจัดระเบียบการปกครองใหม่ โดยทรงตั้งสภาขึ้น 2 สภานะคะ คือสภาที่ปรึกษา... Council of State... มีสมาชิก 12 คน เมื่อ 17 มิถุนายน 2417
  •  และสภาองคมนตรี จำนวน 49 คนตั้งขึ้นหลังสภาที่ปรึกษา 2 เดือน

    ทั้งสองสภานี้ เป็นสถาบันการเมืองค่ะ ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ เพื่อคานอำนาจขุนนางรุ่นเก่า และใช้เป็นเครื่องมือการถ่ายเทอำนาจมาที่พระองค์ แต่ต่อมา สภาที่ปรึกษาก็ถุกยกเลิกไปค่ะ เมื่อ พ.ศ. 2437 มีแต่สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในพระองค์ และมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

  • อ้างอิง...หนังสือเอกสารทางการเมืองการปกครองไทย พ.ศ. 2417-2477--ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช

  • สวัสดีครับคุณพี่ พิพิธภัณฑ์ คือสิ่งที่จะบ่งบอกความเป็นรากของเราได้เป็นอย่างดี ผมก็ชอบไปหลายที่หลายครั้ง ไปทีก็คลุกอยู่ทั้งวัน สมุดที่พกไปก็แทบหมดเล่ม อยากให้เด็กไทยสมัยนี้เหลียวแลบ้าง ไม่ใช่เที่ยวสถานเริงรมณ์อย่างเดียว คิดดูสิ ในอนาคตถ้าคนไทยลืมราก แล้วจะเป็นอย่างไร

    ต้นไม้หยั่งรากลึกแล้วได้รับการดูแลเป็นอย่างดี จะอีกสักกี่ปี ไม่ว่าจะเจอพายุกระหน่ำกี่ครั้ง ก็ยังยืนต้นได้ยาวนาน

    ระลึกถึงครับ

    สวัสดีค่ะ

    มีคนแนะนำให้เข้ามาอ่านค่ะ เป็นการเขียนบันทึกที่สรุปประวัติศาสตร์ได้สั้นดี จากสมัยก่อน จนถึงปัจจุบัน ดูน่าสนใจและเข้าใจในเมืองไทยดีขึ้น

    สวัสดีค่ะคุณพี่ Sasinanda

    ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับความรู้ที่น่าสนใจเช่นเคยค่ะ ทานของหวานด้วยกันนะคะ ไม่กล้าทานคนเดียวค่ะ กลัวอ้วนค่ะ

     

    ผมดูจาก google ผ่านมาพบเส้นทางสายไหม ผมไม่เคยรู้เลยว่ามันจะรอบโลกเหมือนกัน ดีจริงๆ มีประโยชน์มาก ขอบคุณนะครับ

    สำบายดีค่ะ

    * อ่านบันทึกนี้แล้วคิดถึงเมืองมรดกโลกหลวงพระบางที่เพิ่งได้ไปเยือนมาหมาดๆ มีความเห็นเช่นเดียวกับอาจารย์ค่ะ....โลกตะวันออกถูกกำหนดโดยคนโลกตะวันตก...มันอะไรกัน...เงินฟาดหัวและชีวติคนได้ถึงเพียงนั้น.....

    * เขากำหนดให้เมืองมรดกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้แต่ผู้มาเยือนได้ทำลายความเป็นมรดกของเขาพินาศสิ้น...เช่นสวมใส่เสื้อผ้าเพียง ๑ - ๒ ชิ้น ลงเล่นน้ำตกในเมืองมรดกโลก.....เอาเปรียบและ....สิ้นดี

    * แล้วเมืองมรดกโลกจังหวัดน่านของเรา...จะน่านนะสิแบบหลวงพระบางหรือไม่..(สักวันจะแอบไปดู )

    สวัสดีค่ะคุณ สุภาวดี

    แม่ค้าที่หาบของกินเล็กๆน้อยๆนี้ แต่ก่อนมีมาก ทุกตรอก ทุกซอย เดี่ยวนี้ คนไปซื้อที่เซเว่น หรือ ซุปเปอร์กันหมด ก็เหลือน้อยลงทุกทีๆ

    ดิฉันก็ยังเคยเห็นเหมือนกัน แถวชานเมือง แต่ก็ไม่บ่อยค่ะ อาจจะเพราะไม่มีทุนเปิดร้านที่บ้าน เลยหาบมาขายตามบ้าน เหนื่อยก็พัก ไม่มีอะไรตายตัวค่ะ

    วิถีชิตของผู้คน ก็เปลี่ยนไปเป็นของธรรมดานะคะ ที่ไหนๆก็เหมือนกันในโลกนี้

    มะขามอ่อน/ครูมิม

    ขอบคุณค่ะ ที่บอกว่า บันทึกนี้อ่านง่ายๆ นั่นคืดจุดประสงค์ค่ะ ชอบเขียนอะไรให้อ่านง่ายๆค่ะ ไม่ซับซ้อน

    จริงๆก็เป็นการเล่าเรื่องที่ไปชมมาให้คนที่สนใจเรื่องราวแบบนี้อ่านค่ะ  

    ถ้ามีเวลาอยาให้ไป จะได้นำข้อมูลมาสอนเด็กๆด้วยค่ะ

    อยากให้เด็กๆภูมิใจในชาติของเรา....

    สยามประเทศตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ระหว่างอู่วัฒนธรรมที่สำคัญคือ จีนและอินเดีย ลักษณะพื้นที่ของเรา มีทั้งพื้นที่ๆส่วนหนึ่งเชื่อมต่อเป็นส่วนหนึ่งของทวีป และส่วนหนึ่งที่เป็นคาบสมุทรยื่นออกไปในมหาสมุทร

     ดินแดนแห่งนี้ จึงเป็นเหมือนสะพานที่เชื่อมโยง การเดินทาง ทั้งทางบก และทางทะเล

    เราจึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการติดต่อทางทะเลในภูมิภาคแถบนี้ มาตั้งแต่สมัยโบราณเลยค่ะ

    และยังเป็นทางผ่านของการค้าขาย ทางบกและทางทะเล ของสองดินแดนใหญ่ อย่างจีนและอินเดีย มายาวนานมากค่ะ

    สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์

    • คนไทยโชคดีหลายอย่างค่ะ
    • โชคดีที่เกิดมาในเมืองพุทธที่สุขสงบ มีเสรีภาพ มีทรัพยากรมากมาย (ในอดีต)
    • มีพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงดูแลทุกข์สุขของประชาชน
    • ภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นคนไทยค่ะ

    รักษาสุขภาพด้วยนะคะ /ด้วยความคิดถึงค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ poo

    คุณปูบอก...ชอบดูพิพิธภัณฑ์ ของโบราณๆ ค่ะ

    * ไม่ว่าอยู่ที่ไหนๆ ก็ไม่สุขใจเหมือนบ้านเราจริงๆ ค่ะ

    * เมืองไทยเรา สบายที่สุดเลยค่ะ

     ภาพรถตุ๊กๆ กับแม่ค้า หาบเร่ งามงด และเป็นเอกลักษณ์ จริงๆ ค่ะ

    พอเห็นคุณปูเข้ามาก็ดีใจค่ะ  เพราะคุณปูมีแง่คิด มุมมองดีๆสำหรับบันทึกของพี่เสมอมาค่ะ

    กรุงรัตนโกสินทร์ มีลักษณะเป็นเกาะเมือง เช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา พระราชวังประกอบด้วย ปราสาทราชมณเฑียร ถอดแบบเก่ามาเลย

    มีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์แห่งกรุงเก่านะคะ

    สวัสดีค่ะ คุณพี่ศศินันท์

    • ประวัติศาสตร์ชาติไทยเป็นเรื่องที่ควรศึกษาและควรจดจำเป็นอย่างยิ่ง
    • เข้ามาอ่านบันทึกแล้วช่วยรื้อฟื้นความจำอีกครั้ง พร้อมกับได้ความรู้เพิ่ม และได้ชมภาพที่สวยงามด้วยค่ะ
    • ขอบคุณมากค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ พิเชษฎ์

    เจ้าเก่ามาเยี่ยมแล้ว ดีใจค่ะ

    เท่าดู อายุคุณน่าจะเกิดหลังยุคซิกส์ตี้ ทศวรรษที่ 1960 แน่นอนค่ะ

    ยุคนี่เป็นยุคที่มีสีสันมากที่สุดค่ะ เรารับวัฒนธรรมของยุคนี้มาจากทหารอเมริกัน ที่เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2510

    มีการย้ายแหล่งวัยรุ่นจากโก๋หลังวัง มาอยู่ใจกลางเมืองใหม่ เช่น ศูนย์การค้าสยาม ย่านประตูน้ำ ย่านราชดำริ ซึ่งมีบันไดเลื่อนแห่งแรกในประเทศไทย

    นอกจากกรุงเทพนก็มีอีหลายเมืองที่ขยายออกไปมาก เช่น พัทยา อุดรธานี โคราช

    ทั้งในกรุงเทพฯเองก็เกิดย่านใหม่ๆขึ้นอีกค่ะ เช่น ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรีตัดใหม่เป็นต้น มีร้านค้า แหล่งบันเทิงมากมาย คึกคักด้วยแสงสี

    มีเมียเช่า จีไอ สายลับผุดขึ้นมาด้วยค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ rak-na

     เป็นจริงอย่างที่น้องพูดเลยค่ะ....เอกลักษณ์ของไทยแท้นอกจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สวยงามสัมผัสได้แล้ว

    ในส่วนที่เป็นนามธรรมที่สวยงามและสัมผัสได้ด้วยความรู้สึกยังมีให้เห็นอยู่มาก

    ทราบไหมคะว่า ข้าวผัดอเมริกันน่ะ อาหารไทยแท้ๆ  มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศไทยนี่เอง--Thailand..Country of Origin...

    โดยการนำเอาAmerican Breakfast ไข่ดาว หมูแฮม ไส้กรอก มารวมกับข้าวผัดคลุกซอสมะเขือเทศ บางทีใส่ลูกเกด กับ ถั่วลันเตาเข้าไปด้วย to boost flavour.

    ตอนแรก นึกว่า เป็นสูตรจากอเมริกา ต้นตำหรับอยู่ที่เมืองไทยนี่เอง แต่อร่อยนะคะ ชอบไหมคะ

    ฝนตกบ่อยๆ รักษาสุขภาพเช่นกันค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ สิรี

    เพิ่งเข้ามาอ่านใช่ไหมคะ ยินดีต้อนรับค่ะ

    ใช่ค่ะ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 คือวันที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเป็นครั้งแรกของประเทศสยาม

    แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม คือ...

    • ราษฏร ในหมู่บ้านเลือกผู้แทน เพื่อออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนหมู่บ้าน
    • ผู้แทนหมู่บ้านเลือกผู้แทนตำบล
    • ผู้แทนตำบลเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร

    มีผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 41.45

    จังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิมากที่สุดคือจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิไปใช้น้อยที่สุดคือ แม่ฮ่องสอน

    หวัดดีค่ะ

    • สบายดีนะค่ะ
    • แวะเข้ามาอ่านประวัติศาสตร์ไทยค่ะ
    • ขอบคุณค่ะสำหรับสาระดี ๆ ค่ะ
    • เข้ามาไม่ผิดหวังจริง ๆ ค่ะ

    สวัสดีค่ะอาจารย์  พิสูจน์

    ขอบคุณอาจารย์ที่เข้ามาอ่านบันทึกและcommentไว้อย่างน่าชื่นใจมากค่ะ เช่นเดียวกับที่เวลาไปอ่านบันทึกของอาจารย์ ก็ได้ความรู้กลับมาทุกครั้งเหมือนกันค่ะ

    ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรามีกระแสนิยมตะวันตกอย่างแรงมากค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนชั้นนำของประเทศ ทั้งในด้านการเมือง การปกครอง ศิลปะ การแต่งกาย อาหาร มาตรฐานการดำเนินชีวิตแบบสูงส่ง ก็เป็นไปตามแบบฝรั่งยุโรปส่วนใหญ่ค่ะ อาจารย์ลองดู ชุดสากลของฝ่ายชายที่นี่ค่ะ ช่วงนี้ ไม่นิยมนุ่งจงกระเบนแล้วค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณต้น

    เคยมีหนังเรื่องโก๋หลังวัง Born Blood ฉายเมื่อ 15 มี.ค. 45

    มีเรื่อง  ไปเกี่ยวข้องกับ เมื่อประมาณปี 2503 -1960-วังบูรพาภิรมย์คือ ที่รวมของวัยรุ่น ชายหญิง แหล่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย เป็นแหล่งรวมแฟชั่นทั้งปวงด้วย มีกระแสนิยมนักร้องเอลวิส/ เจมส์ ดีน ไม่ว่า ทรงผม เสื้อผ้า เลียนแบบดาราฮอลิวู้ด มาทั้งนั้น

    ภาพยนต์เรื่องนี้ ถ่ายทอดให้เห็นถึงชีวิตของวัยรุ่นหลังวังบูรพา ช่วงกระแสแฟชั่นจากตะวันตกกำลังเป็นที่นิยมมากค่ะ ทั้งทรงผม เครื่องแต่งกาย และโทนสีต่างๆ

    คุณเกิดทันหรือยังคะ

    สวัสดีค่ะ ครูวุฒิ

    ครูวุฒิ เข้าถึงสัจธรรมแล้วนะคะ

  • เข้าใจความเป็นประเทศไทย  และความเป็นคนไทยในปัจจุบันมากขึ้นเยอะครับ
  • วิวัฒน์และพัฒนาการของทุกสรรพสิ่ง ไม่มีวันหยุดนิ่งและจบลง ณ จุดใดจุดหนึ่ง
  • "มันเป็นเช่นนั้นเอง"

    ที่พิพิธภัณฑ์นี้มีแสดงเรื่องนี้ไว้ดังนี้ค่ะ....

    เย ธัมมา เหตุปปะภะวา.......ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ.....

  • อดีตแห่งพระสารีบุตร ถาม-"ใครเป็นศาสดาของท่าน ศาสดาของท่าน สอนไว้ว่าอย่างไร?

    พระอัสสชิ ตอบ-"อาตมาเป็นพระใหม่ ไม่อาจตอบสาระธรรมที่ลึกซึ้งได้"

    แม้พระอัสสชิเป็นพระนวกะ ยังไม่รู้ธรรมลึกซึ้ง แต่ได้แสดงธรรมสำคัญ อันเป็นหัวใจพระศาสนา โดยย่อว่า

    "เย ธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตะถาคะโต เตสัญจะ โย นิโรโธจะ เอวัง วาที มะหาสะมะโณ"....

    ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าตรัสบอกถึงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น พร้อมทั้งความดับแห่งเหตุของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้ามีปกติตรัสสอนอย่างนี้.....

    พระสารีบุตร ซึ่งกำลังแสวงหาโมกขธรรม ได้ยินคำตอบเช่นนี้ ก็เกิดความรู้แจ้ง ได้บรรลุธรรม มีดวงตาเห็นธรรม

    พระอัสสชิ ได้เผยแผ่ด้วยวิธีการทำให้ดู-อยู่ให้เห็น-เย็นให้สัมผัส แม้เป็นพระใหม่ หรือว่าพระนวกะ ย่อมสามารถทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมตามวิธีที่กล่าวมาแล้วได้

      คือทุกๆอย่างที่เกิดขึ้น ล้วน มีเหตุให้เกิดอย่างนี้ มาก่อนทั้งนั้นค่ะ

     

    สวัสดีค่ะ คุณ โรงเรียนพ่อแม่

    ขอบคุณที่เห็นว่า บันทึกเล่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์ค่ะ

    คนกรุงเทพฯกลุ่มสำคัญอีกกลุ่มหนึ่งคือ ชาวจีน ที่ก่อให้เกิด ความมั่นคงทางเศรษฐกิจตามมาค่ะ

    นอกจากนี้ ยังมีชาวมอญ เขมร ญวณ ไทยดำ ลาวพวน ที่มีมาตั้งแต่จากการทำสงครามครั้งก่อนๆ  ได้เข้ามาตั้งชุมชนอยู่อย่างถาวร ทั้งในเขตพระนครและหัวเมืองค่ะ

    ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 การทำศึกสงครามน้อยลง เศรษฐกิจการค้าเติบโต ทำให้เมือง มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มีการสร้าง วัด วัง และบ้านเรือนอีกมากมาย ขยายออกไปนอกกำแพงเมืองมากขึ้น

    ลักษณะคนกรุงเทพฯ จึงปรากฏชัดขึ้น ไม่ใช่คนกรุงเก่า อีกแล้ว

    การยึดโยงกับกรุงศรีอยุธยาค่อยๆ ลดลงๆค่ะ และเลือนหายไป

    สวัสดีค่ะ คุณ คุณครูแอ๊ว

    ขอบคุณที่ชอบเรื่อง ที่เล่าให้ฟังนี้  ทั้งหมด ก็ได้จากการไปดูพิพิธภัณฑ์มาทั้งนั้นค่ะ

    โลกของคนในชนบท ไม่ค่อยมีอะไรแตกต่างไป จากการที่มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หรือกรุงเทพฯเป็นราชธานีค่ะ

    The Unchanging Countryside

    มีเครื่องมือเครื่องใช้ ที่ชาวชนบท ประดิษฐ์ขึ้นใช้เอง ที่ทางพิพิธภัณฑ์นำมาให้ชม เช่น ตุ้มแรม เครื่องมือจับปลาสานจากดอกไม้ไผ่

    เพนียด เครื่องมือดักนก ใช้ใส่นกต่อ

     ฟ้าทับเหว เครื่งมือดักหนู เป็นต้นค่ะ

    สวัสดีค่ะอาจารย์ กมลวัลย์

    พิพิธภัณฑ์สมิทโซเนียนที่อเมริกา คงจะเป็นต้นแบบของพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกนะคะ

    และที่อาจารย์บอกว่า...มาอเมริกาก็ยิ่งเห็นการผสมผสานของวัฒนธรรมได้เยอะค่ะ คนที่มีเชื้อสายมาจากประเทศต่างๆ วัฒนธรรมต่างๆ ไขว้ผสานกันไปหมด จนกลายเป็นวัฒนธรรมผสมแบบใหม่ ไม่มีใครพูดภาษาอังกฤษสำเนียงเดียวกันเลย ^ ^

    ทำให้นึกถึง เรื่องของลัทธิ ล่าอาณานิคมค่ะ เราเจอเข้าตอนสมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว อังกฤษยึดครอง อินเดีย พม่า มลายูและจีน ฝรั่งเศสได้ได้เวียดนาม กัมพูชา พอถึงรัชกาลที่ 5 ประเทศเราก็ยิ่งเจอหนัก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ข้ออ้างของนักล่าอาณานิคมคือ การเสียดาย ทรัพยากรและแผ่นดินอันมีค่า ต้องตกอยู่ในมือของกลุ่มชนป่าเถื่อนล้าหลัง

    ดังนั้น จึงต้องตกเป็นภาระของ ของชาติที่เจริญแล้ว ต้องเข้ามายึดครองและจัดระบบบริหารเสียใหม่

    They are bringing civilization to backward and benighted peoples!!!!

    โลกในอดีตถึงจุดอวสาน  โลกตะวันตกก่อให้เกิดเหตุการณ์ใหม่ๆเข้ามา........

    สวัสดียามดึกค่ะพี่ศศินันท์

    • คิดถึงจังเลยค่ะ เอาดอกไม้มาฝากค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ MO

    ขอบคุณที่แนะนำค่ะ คงต้องหาเวลาไปชมให้ได้ ไปอ่านมาแล้วค่ะที่นี่...

    พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของสถาบันพระปกเกล้า ตั้งที่อาคารกรมโยธาธิกรเดิม บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานครอาคารหลังนี้เป็นอาคารสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 6-7 ซึ่งสถาบันพระปกเกล้า ได้บูรณะเพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดแสดงภาพถ่าย เอกสาร และพระราชประวัติของพระองค์

    อาคารกรมโยธาธิการหลังนี้ ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น คือ... อาคารเก่าที่มีคุณค่าทางทางสถาปัตยกรรม สมควรได้รับการบูรณะและอนุรักษ์ จากสมาคมสถาปนิกสยามด้วยค่ะ

    และมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ เผื่อใคร สนใจจะไปชมอีกบ้าง......

    พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมเรียกว่า พิพิธภัณฑ์รัฐสภา

     อยู่ในการกำกับดูแล ของสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร บริเวณใต้พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อาคารรัฐสภา

    จัดเป็นพิพิธภัณฑ์พระมหากษัตริย์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7

     พระราชทาน สิ่งของส่วนพระองค์ นำมาจัดแสดงและเปิดให้ประชาชนเข้าชมในปี พ.ศ. 2523

    ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2544 สถาบันพระปกเกล้า ได้รับโอนอำนาจการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ฯให้อยู่ในความดูแลรับ ผิดชอบของสถาบันฯ

    และได้รับความอนุเคราะห์ จากกรมโยธาธิการ ให้ใช้อาคารของกรมโยธาธิการ บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เป็นที่ทำการของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

     เพื่อจัดแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ เครื่องราชภัณฑ์ และวัตถุสิ่งของส่วนพระองค์ และเป็นแหล่งศูนย์รวมข้อมูลการศึกษา ค้นคว้าวิจัย เผยแพร่และบริการข้อมูลที่เกี่ยวกับ พระปกเกล้าศึกษา ตลอดจนพัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย

    พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น คือ... อาคารเก่าที่มีคุณค่าทางทางสถาปัตยกรรม สมควรได้รับการบูรณะและอนุรักษ์ จากสมาคมสถาปนิกสยาม

     

    สวัสดีครับ

    บันทึกนี้เป็นการย่อประวัติศาสตร์ประเทศไทยเลยก็ว่าได้ครับ

    ได้ความรู้มาก ๆ เสียดายที่ G2K มีทีหลังตอนเรียนประวัติศาสตร์ไทย

     

    สวัสดีครับคุณพี่

    ภาคสองของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาตินี่น่าสนใจมากเลยครับ

    ผมชอบที่มีการเปรียบเทียบกับทศวรรษเช่นในยุค 60s หรือ 70s

    ผมว่าถ้ามีการทำ time line เทียบเหตุการณ์โลกกับเหตุการณ์บ้านเราได้จะเป็นเรื่องดีมากๆ เลยนะครับ เพราะเหตุการณ์ต่างๆ มันเกี่ยวเนื่องกันไปทุกหนแห่ง เหตุการณ์โลกและเหตุการณ์ภายในมันเกิดขึ้นและโยงใยกันไป

    ผมมานึกย้อนดูว่าสมัยผมเรียน ในตำราเขาว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดเพราะเหตุการณ์ลอบสังหารรัชทายาทฮังกาเรียน ก็คงจะไม่ถูกนัก แต่มันเป็นเหมือนฟางเส้นสุดท้ายมากกว่า เพราะภาวะขัดแย้งนั้นมีขึ้นทั่วไปอยู่แล้ว การได้เห็นภาพกว้างๆ และลึกลงไป จะทำให้เราเข้าใจทั้งตัวเองและคนรอบข้าง ผมหมายถึงทั้งในบริบทของเราและชุมชนและในระดับนานาชาตินะครับ

    เป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากนะครับ ที่คนเราไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหนก็พยายามจะตอบคำถามว่าเราเป็นใคร ผมว่าลึกๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นการขุดหาอารยธรรมเก่าแก่หรือการลงทุนสร้างกระสวยอวกาศ เราก็ทำไปเพื่อจะตอบว่าเราเป็นใคร มาจากไหน... ผมก็คิดไปเรื่อยละครับ

    ไว้ผมมีโอกาสจะขอไปพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติบ้างนะครับ ตอนนี้คงต้องทัวร์ออนไลน์ไปก่อน

    ขอบพระคุณครับ

    สวัสดีค่ะคุณ วาทิน ศานติ์ สันติ

    ดีใจที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ และทราบว่าคุณชอบประวัติศาสตร์มาก โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ไทย

    เมื่อได้ไปที่พิพิธภัณฑ์นี้ เดินไล่เรียงดู ตั้งแต่ต้นจนจบ ก็เท่ากับได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติเราโดยย่อค่ะ รื้อฟื้นความจำสมัยเด็กๆขึ้นมา แต่เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ มีการคิดใคร่ครวญมากขึ้น และเข้าใจอะไรๆมากขึ้นค่ะ

    ยุคสมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นยุคทองของเราจริงๆ เหมือนเป็นเมืองแห่งอุดมคติ เมื่อครั้ง บ้านเมืองยังดี เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากๆ แม้จะไม่ได้ตั้งอยู่ริมทะเล มีกำแพงเมืองและป้อมปราการยาวกว่า 12 กิโลเมตร ป้อมปืน 22 ป้อม ประตูเมือง 99 ประตู มีถนนหนทางและคลองเชื่อมเป็นเครือข่ายกันทั่วเมือง

    มีวัดวาอารามมากกว่า 300 แห่ง  มีทั้งตลาดบก ตลาดน้ำ มากกว่า 30 แห่ง มีชาวสยามและชาวต่างชาติกว่า 200,000 คน

    แต่ทุกสิ่งในโลก มีเกิด ก็มีดับ ความรุ่งเรืองดังกล่าว มีอันต้องสิ้นสุดลง

    The Fall of Ayutthaya ปิดฉากความยิ่งใหญ่ลงเมื่อ วันสงกรานต์ ปี พ.ศ. 2310

    ข้อมูลจากการไปชมพิพิธภัณฑ์ค่ะ

    สวัสดีค่ะ  มะขามอ่อน/ครูมิม

    ขอบคุณสำหรับดอกไม้ดอกอะไรคะ สวยจัง

    เมื่อสิ้นสุดการปกครองในระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จไปประทับรักษาพระเนตร ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2476 และประทับอยู่จนเสด็จสวรรคตเมื่อ 30 พฤษภาคม 2484 รวมพระชนมายุ 48 พรรษาค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณจุฑาทิพย์

    ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ

    ตั้งแต่รัชสมัย รัชกาลที่ 5  ก็มีเหตุการณ์ กลุ่มก้าวหน้า ร.ศ 103..พ.ศ. 2427 ได้ทำหนังสือเพื่อทูลเกล้าฯขอพระราชทานรัฐธรรมนูญและเสนอความเห็น วิธีแก้ไขปัญหาและปรับปรุงการปกครอง 7 ข้อมาแล้ว

     เช่น เสนอการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  เป็นระบอบ พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้คนส่วนมากได้เข้ามามีส่วนในการปกครองด้วย

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นด้วยกับ ข้อเสนอดังกล่าวแต่ทรงเห็นควรว่า ควรมีการปรับเปลี่ยนการบริหาร ตะวันตก ที่ทรงเรียกว่า Government Reform เสียก่อน

    จะเห็นได้ว่า พอสยามเริ่มมีการคิดต่อกับประเทศทางตะวันตก ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ในทุกๆด้านอย่าง ไม่มีอะไรมาขวางกั้นได้ โดยเริ่มมาตั้งแต่ รัชกาลที่ 5 มาทีเดียว

    สวัสดีอีกครั้งค่ะพี่ศศินันท์

    ขออนุญาตมาปรึกษาว่า ควรจะจัดเวลาในการไปชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เท่าไร

    จึงจะดูได้ทั่วๆ แบบละเอียดๆ คะ พอดีแจ๋วจะพาคุณแม่ไปด้วยค่ะ

    จะได้เตรียมพร้อมเรื่องเวลา และการเดินทาง

    รบกวนแนะนำด้วยค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณหมอ อ๋อทิงนองนอย

    คุณหมอหายไปนาน ตอนนี้กลับมาเขียนบล็อกอีก เข้มข้นยิ่งกว่าเดิมแยะเลย จะติดตามนะคะ

    การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนี่ เหมือนเชื้อที่ลามได้เหมือนกันนะคะ

    ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5และสมัยรัชกาลที่ 6

     ก็มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการเมือง ในประเทศต่างๆค่ะ เช่น ปี 2451 มีการปฏิวัติ เพื่อสถาปนา ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ตุรกี และอิหร่าน

     ในปี 2454 มีการปฏิวัติในประเทศจีน เพื่อล้มล้างราชวงศ์แมนจู และจัดตั้งการปกครองแบบสาธารณรัฐ

     และในปี 2460 มีการปฏิวัติใหญ่ในรัสเซีย เพื่อล้มราชวงศ์โรมานอฟ และเปลี่ยนเป็นระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ เป็นต้นค่ะ

    เหมือนเมื่อเราทราบประวัติศาสตร์อย่างนี้แล้ว บางทีเราก็เข้าใจอะไรได้มากขึ้นนะคะ

    สวัสดีค่ะ พี่ศศินันท์

    • วันนี้มิมเอาดอกดาหลามาฝากค่ะ
    • ด้วยความคิดถึงค่ะ

     

    วาดลวดลายปลายกลีบแล้วจีบแหลม

    ขอบขาวแต้มแต่งเติมเสริมเลิศหรู

    ร่ายลีลาโค้งเว้าเคล้าชมพู

    ยอดพธูดาหลาฟ้าประทาน

    *************

    สวัสดีค่ะคุณ อำพน

    คุณสนใจเรื่องเส้นทางสายไหมนะคะ   เป็นเส้นทาง โบราณที่ใช้เดินทางคมนาคมขนส่งสินค้า    เชื่อมโลกตะวันออกและตะวันตกมา  สินค้าที่มีชื่อเสียง คือ ผ้าไหมจีน แก้ว เพชรพลอย เครื่องเคลือบดินเผา พรม เป็นต้น  แต่ต่อมาเส้นทางนี้ ไม่มีใครใช้แล้วค่ะ  

    ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเณย์ เป็นส่วนหนึ่ง ในเส้นทางนี้ค่ะ

    มีเอกสารด้านประวัติศาสตร์ระบุว่า สมัยนั้นมาร์โค โปโลก็ได้เดินทางมาถึงจีนโดยผ่าน“เส้นทางสายไหมทางทะเล” ตอนกลับประเทศ เขาได้ลงเรือที่เมืองเฉวียนโจวของมณฑลฮกเกี้ยนของจีนกลับถึงเวนิส ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขาโดยผ่านเส้นทางสายนี้เหมือนกัน

    สวัสดีค่ะอาจารย์ JJ คะ

    อาจารย์คะ เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศเรา มีคุกรุ่นมานานก่อน พ.ศ.2475 ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

    พอเข้ารัชกาลที่ 6 ก็ยังมีวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจมาซ้ำเติมอีกนะคะ คือ

    ได้เกิดฝนแล้งและน้ำท่วมติดต่อกันหลายครั้ง คือปีพ.ศ. 2451 และ 2454 กับเกิดภาวะฝนแล้งในปี 2453 และยังมีน้ำท่วมใหญ่อีกในปี 2460 ต่อมาเกิดฝนแล้งติดต่อกัน 3 ปี พ.ศ. 2461-2463 ผลผลิตข้าวน้อยลง

     ในปี 2462 รัฐบาลต้องห้ามส่งข้าวออกนอก ปี 2463

    มีผลให้ขาดดุลการค้าถึง 81 ล้านบาท ปกติจะเกินดุล 40 ล้านบาท ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศลดลง วิกฤติการณ์นี้ ส่งผลต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7ด้วย

    จึงมีคณะก่อการ ร.ศ.130 พ.ศ.2454 ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีสมาชิกประมาณ 800-1000 คน ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้เป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญ เป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ

    แต่แผนการไม่ประสบผลสำเร็จ แม้ว่าการก่อการครั้งนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็เป็นแรงดลใจที่สำคัญ และเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติในปี 2475 ค่ะ

    ข้อมูลจากหนังสือ ผู้แทนเมืองไทย ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

     

    สวัสดีค่ะ คุณ นาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง)

    ดีใจและยินดีมากที่เข้ามาอ่านค่ะ

    จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ร.ศ. 130 ทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างเมืองจำลองขึ้น ชื่อว่า ดุสิตธานี ในบริเวณพระราชวังดุสิต หลังพระที่นั่งอนันตสมาคม ในปีพ.ศ.2461 ต่อมาย้ายไปตั้งที่พระราชวังพญาไท ในปี 2462 ด้วยมีเนื้อที่กว้างกว่า

    เพื่อฝึกให้ข้าราชการ รู้จักการปกครองแบบประชาธิปไตย ให้กว้างขวางออกไปค่ะ

     

     

     

    คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลง หรือที่เรียกว่า กบฎ ร.ศ.130 หรือกบฎหมอเหล็ง มีขุนทวยหาญพิทักษ์(เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า

    สวัสดีค่ะคุณ จุฑารัตน์

    ยินดีมากๆที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นค่ะ

    ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีกลุ่มบุคคลคณะหนึ่ง เรียกตัวเองว่า คณะราษฏร The People's Party ได้ดำเนินการปฏิวัติในวันที่ 24 ม.ย.พ.ศ. 2475 เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิ์ราชย์ เป็น ระบอบประชาธิปไตย เป็นผลสำเร็จ โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด

    คณะราษฏร นี้มีสมาชิก 98 คนประกอบด้วย ทหารบก เรือ และพลเรือน

    นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าสายทหารบก และเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ

    นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามเป็นหัวหน้าสายทหารเรือ

    หลวงประดิษฐ์ มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้าสายพลเรือน

    สวัสดีค่ะ คุณ วัชรา ทองหยอด

    ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะมีพระชนม์เพียง 9 พรรษาค่ะ

    นำภาพ คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 ม.ย. 2475 เริ่มประชุมกันครั้งแรก พ.ศ. 2460  ที่หอพักแห่งหนึ่ง ในย่าน Rue Du Sommerard นครปารีส

    สวัสดีค่ะ  คุณแว้บ

    ยินดีมากที่คุณแว้บ เข้ามาอ่านและให้ความเห็นค่ะ

    เรื่องที่คุณแว้บบอกว่า ควรเทียบเหตุการณ์โลกกับเหตุการณ์บ้านเราได้จะเป็นเรื่องดีมากๆ เลยนะครับ เพราะเหตุการณ์ต่างๆ มันเกี่ยวเนื่องกันไปทุกหนแห่ง เหตุการณ์โลกและเหตุการณ์ภายในมันเกิดขึ้นและโยงใยกันไป

    พอดีเขียนไว้ตรงนี้ค่ะ
    ได้ไปอ่านหนังสือ ผู้แทนเมืองไทย ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มีข้อความตอนหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โลกและเหตุการณ์ภายในประเทศที่เกิดขึ้นและโยงใยกันไป ดังนี้ค่ะ.....

    ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้ สร้างสภาขึ้น  2 สภา คือ สภาที่ปรึกษา มีสมาชิก 12 คน (Council of State )และ สภาองคมนตรี  (Privy Council) มีสมาชิก 49 คน เพื่อทำหน้าที่ เป็นสถาบันการเมือง ทำหน้าที่นิติบัญญัติ (Legislative) เพื่อคานอำนาจ ขุนนางรุ่นเก่า  แต่สภาที่ปรึกษาถูกยกเลิกไป เมื่อ พ.ศ.2437

    ระบอบการปกครองนี้ ประสบผลสำเร็จในการรับมือกับลัทธิการล่าอาณานิคม และช่วยรักษาอธิปไตยของชาติเอาไว้ได้

    แต่ก็ถูกท้าทายโดยกระแสความคิดใหม่ คือการเรียกร้องให้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็น ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

    จริงๆแล้ว การแต่งตั้งสภาที่ปรึกษาทั้งสองสภาตามแนวพระราชดำริ ก็เป็นแนวทางที่พัฒนามามากกว่าเดิม ขาดแต่ไม่มีผู้แทนเท่านั้นค่ะ

    • มาขอบคุณครับ
    • สมัยก่อน
    • มีนายดาบทองยู่เกียงที่กาญจนบุรีด้วย
    • นามสกุลนี้หายไปนานจากกาญจนบุรี
    • ทองลงยา
    • สัญนิฐานว่าเป็นลูกครึ่งจีนครับ

    สวัสดีค่ะคุณ ขจิต ฝอยทอง

    เป็นชาวกาญน์ขนานแท้นะคะ ขนาด เห็นนามสกุล ก็บอกได้เลยว่า น่าจะเป็นใคร

    เรื่องเล่าเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ในตอนที่สองนี้ เกี่ยวกับการเมืองมากหน่อยค่ะ เพราะจริงๆแล้ว การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวเราค่ะ การเมืองเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเรา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง 

     และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเรา ก็ไม่ได้ มีแค่เพียงการหย่อนบัตรลงคะแนนเท่านั้นค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ jaewjingjing

    ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่คุณแจ๋วอยากได้นะคะ ขอโทษตอบช้าไปหน่อยพอดีไม่อยู่บ้านค่ะ

    มิวเซียมสยาม
    10.00-18.00 ทุกวันอังคาร-อาทิตย์
    ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

    วันจันทร์ปิดทำการ

    ในระยะแรกเริ่มนี้ไม่เก็บค่าเข้าชม

    สำนักงานพิพิธภัณฑ์
    เปิดและปิดในเวลาราชการ

    4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

    โทรศัพท์. 0 2622 2599
    โทรสาร   0 2225 2775

    กิจกรรมประกอบนิทรรศการ
    ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ 2 รอบต่อวัน
    10.00-12.00 น. และ 13.00-15.00 น.

    การแสดง ณ ลานเพลิน (Muse Squre)
    ทุกเย็นวันศุกร์ 17.30-20.30 น.

    ไม่เสียค่าใช้จ่าย

    มิวเซียมสยาม มีที่จอดรถจำกัด โปรดจอดรถของท่านที่ท้องสนามหลวง แล้วโดยสาร "รถรางชมเมือง" โดยกรุงเทพมหานคร มายังพิพิธภัณฑ์ฯ

    ขอบคุณน้อง มะขามอ่อน/ครูมิม มากๆนะคะ

    ช่วงนี้ฝนตกบ่อย ระวังสุขภาพค่ะ และถ้ามีเวลา แวะไปเที่ยวที่พิพิธภัณฑ์นะคะ เป็นการศึกษานอกรูปแบบอีกอย่างหนึ่งค่ะ

    ในเรื่องของ การปกครองระบอบประชาธิปไตย พี่ไปอ่านหนังสือฟื้นความจำมานะคะว่า...

    หลักการสำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย 5 ประการ คือ..

    1.อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน มิใช่ตกอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่ง เหมือนที่ อับราฮัม ลินคอล์น เคยกล่าวว่า...การปกครองระบอบประชาธิปไตยคือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน

    2.หลักเสรีภาพ

    3.ความเสมอภาค

    4.หลักกฏหมาย

    5.ผู้ปกครองมาจากการเลือกตั้ง โดยประชาชนเป็นผู้เลือกตั้ง

     

    สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์

    แวะมาอ่านคำตอบ และขอบคุณมากค่ะ :)

    คุณ jaewjingjing คะ

    เวลาเดินชม ต้องเดินชมตั้งแต่ต้น คือ..ตึกเก่าเล่าเรื่อง...สุวรรณภูมิ..พุทธิปัญญา...สยามประเทศ...จนถึงประเทศไทย

    พอชมจบ ก็เข้าใจสัจธรรมในโลกนี้มากขึ้นมากเชียวค่ะ

    สวัสดีค่ะน้อง อ้อยควั้น

    ดีใจที่น้องเข้ามาอ่านและให้กำลังใจค่ะ..มีภาพ สยามเมืองน้ำมาฝากค่ะ

    ชัยภูมิของกรุงศรีฯเป็นเกาะ เหมาะสำหรับยุทธศาสตร์การตั้งรับข้าศึก โดยอาศัยข้อได้เปรียบ จากการเป็นเมืองในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะเข้าท่วมพื้นที่ จนข้าศึกต้องถอยทัพกลับไป ยุทธวิธีนี้ ใช้ทุกครั้ง ที่มีข้าศึกมาประชิดพระนคร

    แต่ สุดท้ายกลศึกนี้ ถูกแก้ได้ จนกรุงศรีอยุธยา ต้องถึงกาลอวสาน....

    ดูภาพบ้านเรือนซีคะ ใต้ถุนสูง เตรียมพร้อมรับฤดู น้ำหลากค่ะ

     

     

    สวัสดีค่ะ

    แหมบ้านทรงไทยสมัยก่อนอยู่ในน้ำน่าจะเย็นสบาย แล้วขยะมูลฝอยจะไปทิ้งที่ไหนล่ะค่ะ หรือทิ้งลงในแม่บ้านได้อย่างเดียวซิค่ะ

    สวัสดีครับ

    มีเพื่อนแนะนำให้เข้ามาอ่านครับ อ่านแล้วได้ความรู้ดี อยากให้เจาะลึกลงไปอีกนิดหนึ่งครับ

    สวัสดีค่ะคุณอุทัยทิพย์

    ยินดีที่เข้ามาให้ความเห็นและทิ้งคำถามไว้..น่าคิดค่ะ...

    เรือนไทยสมัยก่อนๆนั้น เป็นเรือนสูงพ้นน้ำ เพราะเมืองไทยอยู่ในน้ำเสียครึ่งปี ไปไหน มาไหน ต้องแจวเรือไป พวกขยะมูลฝอย ก็โยนทิ้งน้ำหมด กระแสน้ำจะพัดพาขยะออกไปไกลๆ

    แต่ถ้าเป็นที่ๆน้ำไหลช้าๆ หรือไหลไม่สะดวก ขยะมูลฝอยก็อยู่ใต้ถุนบ้าน พอน้ำพัดมาแรงๆ ก็พาขยะออกไปเสียทีหนึ่ง

    สัตว์ที่ชอบเข้ามากินของสกปรก ก็คือพวกเหี้ยและแร้ง ซึ่งเป็นสัตว์ที่ไม่เป็นมงคล ต้องไล่ออกไป

    เรือนไทยสมัยก่อน จะมีการปลูกเรือนๆต่อๆกัน มีชานเรือนแล่นถึงกัน หรือพายเรือมาหากัน ส่วนตรงนอกชานจะกว้างมาก ปลูกต้นไม้กระถางกันทั้งที่มีดอกหอมๆและที่กินได้

    ชีวิตคนไทยสมัยเก่าจะอบอุ่นร่มรื่นดีค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณอานนท์

    ถ้าคุณอานนท์ อยากทราบอะไรเพิ่มอีก ก็คงต้องไปชมเองค่ะ ในบันทึกนี้ เล่าเพียงคร่าวๆเท่านั้นนะคะ เรียกน้ำย่อยค่ะ...

    ในเรื่องความคิดของความเป็นไทยนี่ ที่แสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ ก็มีอธิบายไว้....

    ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางได้สำเร็จ มีการสร้างสัญลักษณ์ที่ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์กลางของอำนาจ และมีการสร้างระบบราชการสมัยใหม่ ที่จะเป็นกลไกของรัฐที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนบนผืนธง  "บรมราชธวัชมหาสยามมินทร์"

    ซึ่งได้นำเสนอไปบ้างแล้ว ในการตอบข้อคิดเห็นตอนต้นๆ

    ส่วนในสมัยของรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงให้นิยามความหมายของชาติไทย ซึ่งประกอบขึ้นด้วยคนที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับวัฒนธรรมไทย และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และพระพุทธศาสนา

    โดยทรงเน้นว่า "ความเป็นไทยแท้" มีลักษณะที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ

    แต่"ความเป็นไทย" มีความเป็นสากล เหมือนกับอารยธรรมที่เจริญแล้วในยุโรป

     

     

    ในยุคทศวรรษที่  50

    ดาวเทียมได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500

    ดาวเทียมดังกล่าวมีชื่อว่า "สปุตนิก (Sputnik)" โดยรัสเซียเป็นผู้ส่งขึ้นไปโคจร สปุตนิกทำหน้าที่ตรวจสอบการแผ่รังสีของชั้นบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟีย

     ในปี พ.ศ. 2501 สหรัฐได้ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรบ้างมีชื่อว่า "Explorer" ทำให้รัสเซียและสหรัฐเป็น 2 ประเทศผู้นำทางด้านการสำรวจทางอวกาศ และการแข่งขั้นกันระหว่างทั้งคู่ได้เริ่มขึ้นในเวลาต่อมา

    ยุคทศวรรษที่  60  เป็นยุคที่มีสีสันมากที่สุดที่เมืองไทย ในยุคหลังสงครามโลก และทุกอย่างเข้าสู่ภาวะปกติ

    ช่วงทศวรรษนี้เป็นช่วงการเฟื่องฟูของดาวเทียมสำหรับมนุษยชาติ

     ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 สหรัฐได้ส่งดาวเทียม Echo 1 ขึ้นไปทำหน้าที่ในการสะท้อนคลื่นวิทยุสู่โลกได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เชื่อได้ว่าการสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นเรื่องที่สามารถเป็นไปได้ซึ่งก่อนหน้านั้น ในเดือนเมษายนปีเดียวกัน สหรัฐก็ได้ส่งดาวเทียม TIROS 1 ขึ้นไปสู่อวกาศ ดาวเทียม TIROS 1 เป็นดาวเทียมสำรวจสภาพอากาศดวงแรกที่ได้ส่งภาพถ่ายกลุ่มเมฆหมอกกลับมายังโลก จากนั้นกองทัพเรือสหรัฐได้พัฒนาดาวเทียมหาตำแหน่งดวงแรกที่ได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1960

    และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ได้พัฒนาดาวเทียมเป็นจำนวนมากกว่า 100 ดวงถูกส่งขึ้นไปโคจรแทนที่กันในแต่ละปี

    ยุคทศวรรษที่  70

    ช่วงทศวรรษที่ 70 ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เกิดขึ้นในโลกของดาวเทียม อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้ถูกนำมาใช้

    ชิ้นส่วนอุปกรณ์เหล่านั้นล้วนถูกทำขึ้นมาจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้างดาวเทียม

     คุณแว้บ คะ บันทึก ตอนนี้ นำมาฝากคุณแว้บค่ะ ที่บอกว่า อยากให้มีการเปรียบเทียบ กับวัฒนธรรมที่อื่นๆ ในสมัยเดียวกันด้วย

    ในช่วงทศวรรษที่ 50-70 สังคมไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากมาย  ตัวอย่าง เช่น เรื่องดนตรีในรูปแบบต่างๆ....

    สกา (Ska)
    เป็นแนวเพลงที่เกิดในประเทศจาไมก้า ช่วงปลายทศวรรษที่ 50 ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็น rocksteady และ เร้กเก้

    เพลงสกา เป็นการรวมองค์ประกอบเพลงแถบคาริบเบียนอย่าง เม็นโต และ คาลิปโซ เข้ากับ แจ๊ซทางฝั่งอเมริกา กับอาร์แอนด์บี มีลักษณะพิเศษตรงไลน์เบส สำเนียงกีตาร์ และจังหวะเปียโนที่ดูแตกต่างไป

    สิ่งที่โดดเด่นอีกอย่างคือมีการใช้เครื่องเป่า (อย่างแจ๊ซ) เช่น แซกโซโฟน, ทรัมเป็ต, ทรอมโบน เป็นต้น

    เร้กเก้ (reggae)
    เป็นแนวดนตรีแอฟริกัน-แคริบเบียน ซึ่งพัฒนาขึ้นบนหมู่เกาะจาไมก้า และมีความชิดใกล้เชื่อมต่อกับลัทธิรัสตาฟาเรียน (Rastafarianism) รากดั้งเดิมของเร้กเก้สามารถค้นหาได้จากดนตรีเทรดิชั่นหรือประเพณีนิยมของแอฟริกัน-แคริบเบียนที่มีพอๆ กับดนตรีริธึ่มแอนด์บลูส์ของอเมริกัน

     เร็กเก้ เป็นดนตรีที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่เดียวในโลกของประเทศจาไมก้า ซึ่งอิทธิพลทางดนตรีมาจากนิวออร์ลีน ริทึ่มแอนด์บลูส์ มาจากการฟังวิทยุทรานซิสเตอร์ที่รับคลื่นสั้นจากสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

    ร็อกแอนด์โรล (Rock'n Roll) เป็นดนตรีที่ประกอบด้วย กีตาร์ กีตาร์เบส กลอง เป็นเครื่องดนตรีหลัก รูปแบบดนตรีง่ายๆ เน้นความหนักแน่นในเนื้อหาที่ต้องการสื่อ และความสนุกสนาน

     คิดค้นขึ้นในค้นศตวรรษที่ 60 โดยเอลวิส เพรสลีย์ โดยการนำเอาการร้องที่ใช้เสียงสูงของเพลงบลูส์ของคนผิวดำ ผสมกับทำนองสนุกสนานของเพลงคันทรีของคนผิวขาว

     เป็นการผสมผสานของวัฒนธรรมของสองเชื้อชาติ ซึ่งเอลวิส เพลสลีย์ ต่อมาได้รับการยกย่องและเรียกว่าเป็น " ราชาร็อกแอนด์โรล " และเพลงร็อกก็ได้พัฒนาและต่อยอดมาอย่างหลากหลาย มาจนปัจจุบัน

    ในปี 1965 (2508) นั้น วงเดอะ บีเทิลส์ (the Beatles) วงขวัญใจที่เป็นวงป๊อบวงแรกของโลก

    มีการเล่นบทเพลงของพวกเขาเป็นล้านๆ ครั้ง และถือเป็นบทเพลงในดวงใจของวัยรุ่นทั่วโลก

    ซึ่งเดอะ บีเทิลส์ก็ออกอัลบั้ม ‘Rubber Soul’ ที่ถูกยกย่องให้เป็นอัลบั้มที่บันทึกเสียงดนตรีคลาสสิคโฟล์คร็อค โดยพัฒนาจากความรู้สึกและเนื้อหาความรักของวัยรุ่นเข้ามาสู่เรื่องการเมืองและประเด็นทางสังคม

     ตลอดระยะเวลาในยุคทศวรรษที่ 60 และ 70 เดอะ บีเทิลส์ และจอห์น เลนนอน (John Lennon) ได้สร้างความโดดเด่นในมิติทางสังคมและการเมืองขึ้นมาเป็นพิเศษ และมีการผลักดันอย่างต่อเนื่องผ่านบทเพลงที่ห่อหุ้มด้วยเรื่องราวทางสังคมทั้งในบทเพลงRevolution’ และ ‘Imagine

    ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

    ช่วง ๑๙๖๐ เป็นทศวรรษของเอลวิส เพลงของเขาขึ้นอันดับหนึ่งมากมาย   ร็อคแอนด์โรลกลายมาเป็นจังหวะเพลงที่วัยรุ่นทั้งโลกรู้จัก เอลวิสตระเวนออกคอนเสิร์ต โชว์เพลงที่ลาสเวกัสและอื่นๆทั่วประเทศ แฟนเพลงยังคงหนาแน่น ตลอดมาจนถึง ๑๙๗๐  ปัญหาการทำงานหามรุ่งหามค่ำ  ติดยานอนหลับและยากระตุ้นให้ตื่นตามเวลา ทำให้สุขภาพเขาทรุดโทรมลงกว่าวัย จนจากไปเมื่ออายุแค่ ๔๒ ปี  
    ข้อมูลและภาพ จากคุณเทาชมภู

     

    ในสมัยปี 1956 มีภาพยนต์ที่เกี่ยวกับการปฎิวัติในรัสเซียออกฉาย ในยุคนั้น เรื่องนี้โด่งดังมาก ....

    Doctor Zhivago (Russian: Доктор Живаго, Doktor Zhivago) is a 20th century novel by Boris Pasternak.

    The novel is named after its protagonist, Yuri Zhivago, a medical doctor and poet. The word zhivago shares a root with the Russian word for life (жизнь), one of the major themes of the novel.

    It tells the story of a man torn between two women, set primarily against the backdrop of the Russian Revolution of 1917 and the subsequent Russian Civil War of 1918-1920.

    More deeply, the novel discusses the plight of a man as the life that he has always known is dramatically torn apart by forces beyond his control.

    The book was made into a film by David Lean in 1965 and has also been adapted numerous times for television, most recently as a miniseries for Russian TV in 2005.

     

    โทรทัศน์ถือกำเนิดภายใต้กรมประชาสัมพันธ์ นับเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แพร่ภาพออกอากาศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2498 ในสมัย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ซึ่งข้าราชการกลุ่มหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ แสดงความคิดเห็นเรื่องการจัดตั้งโทรทัศน์มาตั้งแต่ พ.ศ.2493 ว่า " ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรมี TELEVISION "

    วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2493 ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้นำรัฐบาลมอบหมายให้  กรมประชาสัมพันธ์เสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อคณะรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2493 คณะรัฐมนตรีลงมติให้จัดตั้งวิทยุโทรภาพและให้ตั้งงบประมาณใน พ.ศ. 2494

             
      คำสั่ง
               ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2493 จอมพล ป. เขียนข้อความด้วยลายมือ ถึง พล.ต.สุรจิต จารุเศรณี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ในขณะนั้น ให้ศึกษาจัดหาและจัดส่ง " Television "

               กรมประชาสัมพันธ์มีบทบาทสำคัญ ในการก่อตั้งโทรทัศน์ในประเทศไทย ช่วง พ.ศ. 2493-2495 ศึกษา ทดลองการส่งโทรทัศน์ในประเทศ ฝึกและเตรียมคนทำหน้าที่ส่งวิทยุโทรทัศน์

               ขณะที่รอเครื่องอาร์.ซี.เอที่ประมูลได้ ก็ใช้กล้องยี่ห้อ "มาร์โคนี" ฝึก เพื่อให้คนไทยเห็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสมัยนั้น จึงสาธิตให้ชมที่ กรมประชาสัมพันธ์ "แบบวงจรปิด" คือนำกล้องโทรทัศน์ ถ่ายการแสดงบนเวที ให้ปรากฏที่จอเครื่องรับ ไม่ได้ส่งออกอากาศจริง นอกจากนี้ยังส่งข้าราชการเดินทางไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ณ ต่างประเทศ เช่น นายรักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช, นายสรรพสิริ วิรยศิริ, นายจำนง รังสิกุล

    คณะผู้จัดตั้ง 7 คน ประกอบด้วย อดีตข้าราชการ และข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ 3 คน คือ พ.อ. หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์), ม.ล.ขาบ กุญชร, นายประสงค์ หงสนันทน์

              
    และอีก 4 ท่าน คือ พล ต.อ. เผ่า ศรียานนท์, พล ต. เล็ก สงวนชาติสรไกร, พล อ.ท.มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และนายเลื่อน พงษ์โสภณ

              
    จดทะเบียนจัดตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2495 จำนวนทุนของบริษัท 20 ล้านบาท กรมประชาสัมพันธ์ถือหุ้นใหญ่ 11 ล้านบาท นายประสงค์ หงสนันทน์ เป็นกรรมการผู้จัดการ
    นายกำจัด กีพานิช เลขานุการคณะกรรมการ

     ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ ล้วนเป็นผู้บุกเบิกโทรทัศน์ไทย และเป็นคนแรกในวงการโทรทัศน์ไทย เช่น

    จำนง รังสิกุล
    ( ผู้จัดรายการโทรทัศน์คนแรก )

    อัมพร พจนพิสุทธิ์

    ธำรง วรสูตร

     

     

     

     

    สมชาย มาลาเจริญ
    ( ตากล้องคนแรก )

    ธนะ นาคพันธุ์

    ฟู ชมชื่น

     

     

     

     

    จ้าน ตัณฑโกศัย

    สรรพสิริ วิรยศิริ
    ( ผู้สื่อข่าวคนแรก )

    สนั่น ชีวประชา

    วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เปิดซองเครื่องรับวิทยุโทรภาพ จำนวน 9 เครื่อง ซึ่งบริษัท อาร์.ซี.เอ จำกัด เป็นผู้ประมูลได้ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2497 จึงจัดส่งข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ จำนวน 6 คน เดินทางไปฝึกงานและดูงาน เป็นเวลา 6 เดือน ฝึกงานโทรทัศน์ ได้แก่

    จำนง รังสิกุล

    Programme Director

    อัมพร พจนพิสุทธิ์

    Technical Director

    ธำรง วรสูตร

    Control Camera Unit and Microwave

    สมชาย มาลาเจริญ

    Camera Control Unit and Camera

    ธนะ นาคพันธุ์

    Receiver Servicing

    ฟู ชมชื่น

    transmitter

     

    วันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2497 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารสถานีวิทยุโทรทัศน์ ไทยทีวี ช่อง 4 บริเวณเดียวกับที่ตั้งสำนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ประกอบด้วย ห้องส่ง 2 ห้องเครื่องส่ง ห้องลำดับภาพ ห้องกำกับเสียง ห้องกำกับภาพ ห้องพัสดุ ห้องเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า ห้องแต่งตัว ห้องเครื่องทำความเย็น ฯลฯ

       วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2498 ซึ่งถือเป็นวันชาติในสมัยนั้น จอมพล ป.พิบูลสงครามได้เป็นประธาน ในพิธีเปิดสำนักงาน และที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการ เรียกชื่อตามอนุสัญญาสากลวิทยุ HS1/T-T.V. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกบนผืนแผ่นดินใหญ่แห่งเอเชีย เครื่องส่งโทรทัศน์เครื่องนี้มีกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพ

    ข้อมูลจาก สมาคมผู้บริโภคสื่อสีขาว

    ขอบคุณน้อง มะขามอ่อน/ครูมิม สำหรับดอกดาหลาที่นำมาฝากนะคะ

    อยากจะขอกล่าวถึง นายกรัฐมนตรีที่สำคัญมากๆอีกท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยคือ....

    จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป." เป็น นายกรัฐมนตรี ที่มีเวลาดำรงตำแหน่ง รวมกันมากที่สุดของไทย คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย

    มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยะประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ

    โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาิติ เช่น การรำวง ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

    คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า"

    เพลงชาติไทยฉบับปัจจุบัน

    • ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
    • คำร้อง: พันเอก หลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)
    ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
    เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
    อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
    ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
    ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
    เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
    สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
    เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย

     

    • ตามมาอีกรอบค่ะพี่ศศินันท์
    • เห็นป้ายเล็กๆตรงสถานีรถไฟฟ้าที่อนุสาวรีย์ติดไว้ว่าช่วงนี้เปิดฟรี ก็อยากไปดูเหมือนกันแต่เวลายังไม่ลงตัวค่ะ
    • เลยขออ่านรายละเอียดในบันทึกของพี่ก่อน
    • จากที่อ่านบันทึกแรกของพี่ก็ตามไปดูที่
    • มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้
    • ชอบ คำกล่าวของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ว่า คำว่าทำไมคำเดียวจะช่วยให้เรามีปัญญา How could the word Why spawn Wisdoms ?
    • เป็นคนที่เวลามีปัญหาแล้วชอบตั้งคำถามค่ะ รู้สึกเศร้าใจทุกครั้งที่ตั้งคำถามแล้วนักศึกษามักตอบว่า ตอบไม่ได้ค่ะ เจอแบบนี้ทุกระดับ คำตอบว่า ไม่ทราบ ยาก ทำไม่ได้ เหมือนปัดภาระให้พ้นตัว อึ้งค่ะที่คนสมัยนี้เอาง่ายเข้าว่า และมีความพยายามน้อยลงทุกที
    • ชอบอ่านเวลาที่พี่ตอบบันทึกค่ะ ครั้งนี้นอกจากเจอแอลวิส กับดอกเตอร์ชิวาโกแล้ว ยังได้รู้จักเพลงที่เปิดตามผับแถวชายทะเล สกา (Ska) กับ เร้กเก้ (reggae)
    • อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยรักษาสุขภาพด้วยนะคะ

    สวัสดีค่ะ อาจารย์ naree suwan

    อาจารย์หายไปนาน คิดถึงออก เลยแวะไปเยี่ยมที่บล็อกมา เห็นว่า ไปทะเลมา คงโดนแดดเผาน่าดู แต่ตอนนี้ ฝนตกแล้ว อากาศเย็นขึ้นเยอะเลยนะคะ และตอนนี้ อาการปวดท้องคงดีขึ้นแล้ว แต่ก็ระวังรักษาสุขภาพนะคะ

    ช่วงนี้ ใครๆก็พูดถึงเรื่อง โลกร้อน และการอนุรักษ์พลังงาน

    ในสมัยปี 60-80เป็นยุคที่ The Beatles ดังมากๆค่ะ ในยุคนั้น มีเพลงที่เขาแต่งและเล่น ที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรโลกอยู่นะคะ เช่น Across the Universe และ  Mother Nature Sun เป็นต้น เพลงของThe Beatles มักเกี่ยวกับพวกปรัชญาต่างๆนะคะ เข้ากันได้ดีทีเดียวกับยุคเรานี่

    จริงๆเขาดังมากๆ ตอนกลางของยุค 1960 โดยได้รับอิทธิพลมาจากแนวเพลงของยุค 1950 ซึ่งคือแนวร็อค แอนด์โรล

     

    และที่อาจารย์บอกว่า...

    เป็นคนที่เวลามีปัญหาแล้วชอบตั้งคำถามค่ะ รู้สึกเศร้าใจทุกครั้งที่ตั้งคำถามแล้วนักศึกษามักตอบว่า ตอบไม่ได้ค่ะ เจอแบบนี้ทุกระดับ คำตอบว่า ไม่ทราบ ยาก ทำไม่ได้ เหมือนปัดภาระให้พ้นตัว อึ้งค่ะที่คนสมัยนี้เอาง่ายเข้าว่า และมีความพยายามน้อยลงทุกที

    ส่วนใหญ่  เด็กๆสมัยนี้ เป็นแบบที่อาจารย์พบค่ะ แต่ที่ดีๆก็มีนะคะ ประมาณสัก 20 % ต้องทำใจค่ะ อยู่ที่การอบรมที่ครอบครัวด้วยค่ะ

    แสดงว่าอาจารย์เป็นนักเพลงเหมือนกันน้า อิๆๆ

    รู้จัก สกา (Ska) กับ เร้กเก้ (reggae) ด้วย

     

    สวัสดีค่ะ อาจารย์ นายประจักษ์

    อาจารย์ วัยรุ่นจังค่ะ มีการ์ตูน มีดอกไม้สวยๆเยอะเลย น่ารักค่ะ ทำให้เราขำๆ อารมณ์ดีนะคะ ชอบค่ะ

    ไม่ทราบอาจารย์จำเรื่องเสรีไทยได้ไหมคะ

    คือประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ ด้วยการประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2485

    โดยก่อนหน้านั้น ประเทศไทยแสดงความเป็นมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นด้วย ด้วยการอนุญาตให้ใช้ไทยเป็นทางผ่านไปโจมตีฝ่ายพันธมิตร ซึ่งทางใต้ คือมลายู และทางตะวันตก คือพม่า

    ซึ่งถ้าญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยก็แพ้ด้วย

    แต่เรามีขบวนการเสรีไทย ที่ร่วมมือกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้ไทยรอดพ้น จาการเสียค่าปฎิกรรมสงครามและไม่ต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยค่ะ

    ข้อมูลจากหนังสือ ผู้แทนเมืองไทย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

    พิพิธภัณฑ์นี้ให้ความรู้ดีครับ และบันทึกนีเ ถ่ายทอดออกมาเห็นภาพ

    ผมสนใจเรื่องการทำหน้าที่ของผู้แทนสมัยแรก เขาทำอะไรกันบ้าง มีแสดงไว้ไหมครับ

    • สวัสดีครับ...คุณพี่ศศินันท์
    • อ่านแล้วได้ความ ได้คิด สะกิดแผลใจได้ดีจัง
      จากฐานแลไต่ขึ้น      เนืองเนือง
      พัฒน์ผ่านสราญเรือง  กึ่งเค้า
      สูงสุดแห่งฝากเฝือง   เยืองสู่ สามัญ
      มันบ่งคืนรากเหง้า     ใฝ่เฝ้า คงขง
    • โชคดีครับ

    สวัสดีครับ

    แวะมาชมภาพใหม่ สดใสๆ ครับ

    ไม่ได้คุยกับคุณพี่นานๆๆๆ มากแล้ว

    หวังว่าสบายดีนะครับ

    ขออนุญาตคอมเม้นต์รูป Avatar นะคะ สวยสง่ามากเลยค่ะ

    ใช่รูปคุณพี่เมื่อสมัยก่อนหรือป่าวคะ อยากชมอีกหลายๆ ภาพจัง

    อยากให้คุณพี่เล่าเรื่องสมัยเรียนบ้าง เคยอ่าน "เราทั้งผอง อักษรา เทวาลัย"

    แล้วรู้สึกประทับใจมาก คุณพี่น่าจะเล่าให้ฟังบ้างนะคะ

    หยุดยาวนี้ กะว่าจะไปชมพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ด้วยค่ะ จะมาเล่าให้ฟังนะคะ

    ตามมาอีกรอบ มาดูว่าพี่สบายดีไหม ได้เขียน INN เพิ่มแล้วครับ

    ขอบคุณนะคะ ที่นำสาระมาฝาก

    สวัสดีค่ะคุณพี่

    • บันทึกของคุณพี่ น่าอ่านมากๆ เลยค่ะ  คุณพี่เป็นผู้ที่รอบรู้จริงๆ น่านับถือ
    • คิดถึงคุณพี่มากๆเลยค่ะ  ครูอ้อยรักและคิดถึงคุถณพี่มากเลยค่ะ

    สวัสดีครับพี่ศศินันท์

    แวะมาเยี่ยมครับ พี่สบายดีนะครับ

     สวัสดีค่ะคุณ มโน

    ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน และขอโทษด้วยที่ตอบช้ามาก พอดีพักนี้ ยุ่งหลายเรื่องเลยค่ะ

    ที่ถาม..   เรื่องการทำหน้าที่ของผู้แทนสมัยแรก เขาทำอะไรกันบ้าง มีแสดงไว้ไหมครับ

    ไม่ได้มีแสดงไว้อย่างชัดเจนค่ะ แต่ที่ในหนังสือ ผู้แทนเมืองไทย ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มีกล่าวถึงไว้ค่ะ...

    ในครั้งนั้น ผู้แทนฯประเภทที่ 1 ที่ได้รับเลือกมี 78คน และได้เข้ามาร่วมกันทำงานกับผู้แทนประเภทที่ 2 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิกคณะราษฏรอีก 78 คน สมาชิกประเภทนี้ ส่วนใหญ่เป็น ข้าราชการ ขุนนาง ในระบอบเก่า พ่อค้าคหบดี และนักหนังสือพิมพ์

    สภาผู้แทนชุดนี้ ได้ทำหน้าที่ นิติบัญญัติ ตามกระบวนการรัฐสภา และมีบทบาทที่สำคัญอย่างอื่นๆอีกด้วยค่ะ

     

     

    สวัสดีค่ะคุณ ทนัน ภิวงศ์งาม

    ขอบคุณมากๆค่ะ ที่แวะมาอ่าน ไม่ได้คุยกันเสียนานเลยนะคะ

    ตอนนี้ ที่ชมพิพิธภัณฑ์มา ก็อยู่ในช่วงยุคใกล้ตัวเราแล้วค่ะ

    ในช่วงนี้ มีข่าวว่า รัฐบาลจะมีนโยบายส่งเสริมและให้ความสำคัญกับการศึกษานอกรูปแบบมากขึ้น

     ซึ่งก็ดีมากๆนะคะ เพราะทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่ามากขึ้น นอกเหนือจาการจับจ่ายใช้สอยซื้อของเท่านั้น

    สวัสดีค่ะ ท่านผอ. นายประจักษ์

    ตอนนี้ ขอคุยเรื่องเกี่ยวๆกับการเมืองนิดๆค่ะ

    คือ อยากเห็นการเมือง มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรมกับคนชนบทด้วย ดิฉันเป็นคนเมือง อดรู้สึกไม่ได้ว่า เรามีมาตรฐานการดำรงชีพ ที่ดี เป็นที่น่าพอใจ ยกเว้น รถที่ติดมาก บางครั้ง แต่พอไป ชนบท บางแห่ง รู้สึกว่า เขาได้รับการจัดสรรน้อยไปนิดค่ะ

    อยากให้โฟกัสไปให้ที่ชนบทอีกค่ะ

    แต่อย่างไร อาจารย์อย่าลืมพาลูกศิษย์มาชมพิพิธภัณฑ์นะคะ ดีมากๆค่ะ เปิดแล้วค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ ธ.วั ช ชั ย

    ไปเที่ยวมาหรือยังคะ  "มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้"  พี่ไปมาแล้ว รู้สึกว่า คุ้มค่าที่ไปค่ะ   "พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้" เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกที่เน้นการสร้างประสบการณ์สดใหม่ในการชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบของแหล่งเรียนรู้ที่น่ารื่นรมย   ทำให้เด็กและเยาวชนไทยรู้จักตนเอง รู้จักเพื่อนบ้าน และรู้จักโลกมากขึ้นค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ MO คะ

    ขอบคุณที่ชมรูป Avatar นะคะ ก็เป็นรูปเก่าค่ะ แต่เห็นชัดดีก็เลยเอามาเป็นรูปในหน้าประวัติ

    ถ้าไปชมพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แล้ว มาเล่าให้ฟังด้วยนะคะ ว่า ประทับใจอะไรบ้าง

    พี่เอง ก็ทึ่งที่ ทางพิพิธภัณฑ์ได้นำรูป "คนกบแดง" หรือ รูปคนทำท่าเป็นกบ มาเป็นสัญลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

    เพราะกบจัดเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์

     และยังได้มีการนำไปทำเป็นลวดลายบนกลองมโหระทึกของอุษาคเนย์ ที่เป็นเครื่องมือใช้ประโคมตีในพิธีกรรมขอฝนด้วยค่ะ

    อีกห้องหนึ่ง ที่น่าประทับใจคือห้อง"สยามยุทธ์"  มีจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวการสงครามต่างๆ ในประเทศไทย 

    เราจะได้เรียนรู้ถึงการจัดกระบวนทัพต่างๆ ในการรบผ่านเกมส์ที่ทางพิพิธภัณฑ์จัดตั้งขึ้น และสนุกสนานไปกับการยิงปืนใหญ่ ที่ให้ความตื่นตาตื่นใจไม่แพ้กับเกมส์คอมพิวเตอรที่เราๆ คุ้นเคยกันค่ะ

     

     

     

    สวัสดีค่ะคุณขจิต ฝอยทอง

    หนุ่มเชียร์บล็อก เชียร์อนุทินมาเยี่ยมแล้ว ดีใจค่ะ จะได้มีคนมาอ่านบล็อกพี่มากหน่อย ขอบคุณค่ะ

    อีกประโยคหนึ่งที่พี่ ประทับใจจากพิพิธภัณฑ์นี้ ก็คือ....

    "วันพรุ่งนี้ของประเทศไทยจะเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับคนปัจจุบันเท่านั้นที่จะเป็นคนให้คำตอบได้"

    เป็นความจริง เช่นนั้นค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณ kmseveral_red-pink

    ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ

    ถ้าไปชม ขอแนะนำห้อง "เปิดตำนานสุวรรณภูมิ" ที่แสดงถึงวิวัฒนาการสังคมก่อนจะมาเป็นบรรพบุรุษสุวรรณภูมิ ที่แห่งนี้มีมาประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว

    ซึ่งในช่วงนี้  กรุงเทพฯ ที่ยังคงจมอยู่ใต้ทะเล ซึ่งจากการศึกษาโครงกระดูกหลุมฝังศพ และอารยธรรมที่ฝังอยู่ใต้ดิน ทำให้รู้จักดินแดนแห่งนี้มากขึ้น

         ในห้องนี้  เราจะสนุกสนานไปกับการค้นหาโบราณวัตถุผ่านจอคอมพิวเตอร์ แล้วอย่าลืมฟังเรื่องราวของ "โบราณคดี" จาก รศ.ดร. รัศมี ชูทรงเดช ซึ่งเป็นนักโบราณคดีที่มีชื่อเสียงด้วยนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณ ครูอ้อย แซ่เฮ

    คิดถึงครูอ้อย มากเช่นกันค่ะ

    ถ้าไปเที่ยว อย่าลืม  ไปชมห้อง "ไทยแท้" ที่จัดแสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็น การไหว้, อาหารไทย, การตั้งศาลพระภูมิ, การฟ้อนรำทำเพลง และภาษาไทย โดยจำลองบรรยากาศงานวัดสมัยก่อน มีทั้งภาพ แสง สี และเสียงซึ่งให้ความรู้สึกราวกับว่ากำลังเดินเล่นอยู่ในงานวัดจริงๆ

    สนุกค่ะ ไม่เหมือนไปพิพิธภัณฑ์แบบเดิมๆ

    สวัสดีค่ะคุณ ข้ามสีทันดร

    พิพิธภัณฑ์ ที่นี่ เขาใช้  ตัวละครทั้ง 7 ตัว  เป็นคนที่จะพาเราย้อนไปสู่เรื่องราวอันเป็นต้นกำเนิดจากสุวรรณภูมิสู่สยามประเทศ ถึงประเทศไทย เพื่อค้นหาคำตอบว่าเราคือใคร และใครคือคนไทยผ่านการชมภาพยนตร์ในห้อง "เบิกโรง"ค่ะ

    ห้องที่คุณจะชอบมากๆ คือห้อง "พุทธิปัญญา" ซึ่งทำให้ทราบว่า คาถา เย ธมฺมา เป็นคาถายอดนิยมแห่งสุวรรณภูมิ

     ทั้งยังเป็นการบอกให้รู้อีกว่า แม้ว่าในยุคนั้นเราจะมีการนับถือผี แต่การที่พบคาถาเย ธมฺมา ก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาเริ่มเข้ามาในดินแดนแห่งนี้แล้วนะคะ

    คงเกิดภาพสวยๆอีกมากมาย นะครับ

     อ.พิสูจน์ คะ ดีใจที่มาเยี่ยม มาช้าหน่อยไม่เป็นไรค่ะ

    รูปนี้เป็นรูป "คนกบแดง" หรือ รูปคนทำท่าเป็นกบ มาเป็นสัญลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เพราะกบจัดเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และได้รับการนำไปทำเป็นลวดลายบนกลองมโหระทึกของอุษาคเนย์ ที่เป็นเครื่องมือใช้ประโคมตีในพิธีกรรมขอฝนค่ะ

    Redfrog

    ขาดทำการบ้านไปนานเลยครับ  ทำให้ขาดสีสันของความรู้  ขอบคุณที่นำสิ่งดีๆมาให้ครับ

    สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์

    มาขอบคุณดอกกล้วยบัวสวยๆ ที่นำไปฝากที่บันทึกแจ๋วนะคะ

    ขออนุญาตนำดอกคูณเหลืองอร่าม ในซอยบ้านแจ๋วมาฝากด้วยค่ะ

    ขอบคุณนะคะ :)

    สวัสดีค่ะ

    • แวะมาเยี่ยมค่ะ สบายดีนะค่ะ
    • ขอบคุณสำหรับสาระดี ๆ ที่นำเสนอค่ะ

     

    สวัสดีค่ะ ลุงเอก

    ลุงเอกยุ่งมาก ไปทำงานต่างประเทศด้วย คงเหนื่อยน่าดูนะคะ  ขอบคุณที่แวะมา

     เรื่องในบันทึกนี้ ลุงเอกทราบดีอยู่แล้ว หากมีอะไรผิด ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

    ขอบคุณๆแจ๋วค่ะ jaewjingjing

    พี่ชอบมาก ดอกไม้ ชนิดนี้ เพราะเป็นคนชอบสีเหลืองด้วย อร่ามตาจริงๆนะคะ ขอบคุณที่นึกถึงค่ะ

    ขอบคุณ น้องอ้อยควั้น มากค่ะ ที่มาอ่านบันทึกนี้ คงพอเป็นประโยชน์บ้างนะคะ

    ฝนตกที่ภาคใต้บ่อยๆ ระวังสุขภาพนะคะ

    ขอบคุณที่ไปเยี่ยมและให้ข้อคิดครับ

    คนโรงงาน

    ขอบคุณครับ คุณ Sasinanda

    ได้อ่านประวัติ คุณ Sasinanda แล้ว รู้สึกทึ่งถึงความสามารถ

    ของหญิงเก่งครับ หากนำประสบการณ์ทางธุรกิจมาร้อยเรียง ให้ชาว gotoknow

    คงได้ประโยชน์อย่างมากเลยครับ ผมชอบอ่านแนวความคิด คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน มันเป็นข้อคิดที่ดีมากๆครับ

    ขอบคุณครับ

    สวัสดีค่ะ คุณคนโรงงาน

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ เวลาเข้าไปcomment ตามบันทึกของกัลยาณมิตร ก็มักจะมี ประสบการณ์ทางธุรกิจ ติดไปด้วย ตามแต่โอกาสค่ะ

    แต่ก็ไม่ได้เขียนถึงโดยตรงๆบ่อยนักค่ะ เพราะบางทีจะหนักไป และอาจมีการพาดพิง บางคน บางองค์กรด้วย จึงเลี่ยงๆน่ะค่ะ

    จะเข้าไปอ่านบันทึกของคุณอีกบ่อยๆนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์ ขอบคุณที่ไปเยี่ยมพร้อมนำภาพสดชื่นด้วยสีสันของดอกไม้ ใบไม้ที่ตัดกันอย่างโดดเด่นไปฝาก ไม่ได้พบกันมาระยะหนึ่งทีเดียวนะคะ ที่ริงก็ไม่ได้นานมาก แต่ด้วยความคุ้นเคยเวลาเข้ามาเขียน เข้ามาอ่าน และโพสต์ความเห็นทำให้ได้พบกันเสมอๆนะคะ

    พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาตินี้นับว่าเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนควรได้ไปชม ตอนนี้เพิ่งเปิด ออกข่าวประชาสัมพันธ์กว้างขวาง ยิ่งมาอ่านที่คุณพี่พาเที่ยวเช่นนี้ยิ่งทำให้อยากไปชมค่ะ

    สวัสดีค่ะ อ.จ. คุณนายดอกเตอร์


     
    พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ที่จัดสร้างขึ้นใหม่นี้  

    มีจุดเป้าหมายหลักอยู่ที่การเรียนรู้ เพื่อความงอกงามของสติปัญญา ความคิดริเริ่ม และการสำนึกรู้จักตนเอง รู้จักเพื่อนบ้านและรู้จักโลก แก่คนไทยทุกคน โดยเฉพาะยิ่งเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญค่ะ

     

    นักท่องเที่ยวเป็นผลพลอยได้ท่านั้น

    อยากให้อาจารย์ ลองไปชมนะคะ น่าไปเที่ยวค่ะ

     

    ขอให้คุณพระคุ้มครองท่านและครอบครัว จงอยู่รอดปลอดภัยตลอดไปนะครับ

    • สวัสดีครับ คุณศศินันท์ วันก่อนท่านแวะไปเยี่ยมบล็อกพระอุ่ม
    • มอบพระให้แล้ว 1 องค์ เห็นไม่มีเวลาไปรับ เลยตามเอามาส่งให้ครับ
    • I gone with the wind...but still miss you..
    • Have a good day ...na ka
    • see you soon...ka

    สวัสดีค่ะคุณ ทนัน ภิวงศ์งาม

    ขอบคุณเป็นที่สุดเลยค่ะ สาธุค่ะๆๆๆ

    สวัสดีค่ะคุณ naree suwan

    อิฉาจัง ได้ไปเที่ยว แล้วอย่าลืมถ่ายรูปมาฝากนะคะ

    เขียนบันทึกด้วย จะรอค่ะ

    สวัสดีวันวิสาขบูชาค่ะคุณพี่ศศินันท์

    แจ๋วเอาดอกบัวมาฝากค่ะ :)

    สวัสดีค่ะคุณแจ๋ว jaewjingjing

     

    พี่ปลื้มใจและดีใจมาก ที่ได้รับดอกบัว จากคุณนะคะ สวยงามมากๆ

    คุรแจ๋วเป็นตัวอย่าง ของคนที่มีความชื่นชมในศิลปะ (Art Appreciation)อย่างมากค่ะ ชื่นชมๆๆค่ะ

    สวัสดีค่ะ อาจารย์ นายประจักษ์

    ขอบคุณที่มาเยี่ยม ในวันดี คือวันวิสาขะนี้นะคะ

     สวัสดีครับคุณพี่ Sasinanda  มาชวนไปฟังเพลง@184493  ครับ :)

    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ

    นับเป็นโชคของผมจริงๆ ที่พบบทความ จาก BLOG ดีๆเช่นนี้

    ขอขอบพระคุณครับ

    สวัสดีครับ

    • แวะมาทักทาย
    • และมาอ่านความรู้เกี่ยวกับ
    • ประเทศไทย
    • เนื้อหาละเอียดมากครับ
    • ขอชม
    • มีภาพประกอบด้วย
    • เยี่ยมครับ

    สวัสดีค่ะคุณ กวิน

    ไปอ่านและฟังมาแล้วค่ะ  ขณะเขียนนี้ ก็ฟังอยู่ค่ะ ไพเราะมากๆค่ะ

    เป็นที่น่าภูมิใจของคนไทยที่วันนี้เราได้มีพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ล่าสุด ที่จะทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ไปมาหรือยังคะ

     

    สวัสดีค่ะครูโย่ง ขอบคุณที่ชมค่ะ...ขอต้อนรับ ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ

    ที่นี เป็นแนวคิดและภาพลักษณ์ใหม่ของ "พิพิธภัณฑ์" ในสังคมแห่งการเรียนรู้เลยนะคะ   ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เป็นไปอย่างสนุกสนานยิ่งขึ้นมากๆค่ะ

         อาคารของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของ "กระทรวงพาณิชย์" โดยได้มีการปรับปรุงอาคารแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2548   จนมาแล้วเสร็จในปี 2551 และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2551 เป็นต้นมา ต้องไปชมให้ได้นะคะ

     

     

    สวัสดีค่ะ คุณ ธัญศักดิ์ ณ นคร ขอต้อนรับด้วยความยินดีอย่างมากค่ะ

    การชมพิพิธภัณฑ์ จะผ่านการเล่าเรื่อง ของตัวละครทั้ง 7 ตัวที่จะพาเราย้อนไปสู่เรื่องราวอันเป็นต้นกำเนิดจากสุวรรณภูมิสู่สยามประเทศ ถึงประเทศไทย เพื่อค้นหาคำตอบว่าเราคือใคร  และใครคือคนไทยผ่านการชมภาพยนตร์ในห้อง "เบิกโรง"ค่ะ

    Museumsiam

    ขอบคุณค่ะ อาจารย์ นายประจักษ์

    ดอกไม้สวยมากๆค่ะ สีสดจัง ที่บ้านตอนนี้ ดอกราชาวดี กำลังบานสะพรั่ง หอมทั่วไปหมด เลยเอามาฝากอาจารย์ นะคะ ดูดีๆ มีผึ้งตัวเล็กๆกำลังดูดน้ำหวานด้วยค่ะ

    Onebee 

    สวัสดีค่ะ คุณคนโรงงาน

    ขอโทษตอบช้าไปหน่อยค่ะ ดิฉันชอบเข้าไปอ่านที่บันทึกของคุณอยู่เสมอ เพราะ มีอะรที่คล้ายคลึงกับ ประสบการณ์ การทำโรงงานหลายปี ของดิฉันด้วยค่ะ

     ที่มีข้อมูลมาเขียน ประกอบ เพราะได้ศึกษาไปก่อนเหมือนกันค่ะ คิดว่า การที่เราจะไปชมพิพิธภัณฑ์ หรือสถานที่ใดๆ ที่สำคัญๆ การที่เราจะมีข้อมูลล่วงหน้าไปก่อนบ้าง ทำให้การเข้าชม ได้ประโยชน์เต็มที่มากขึ้นค่ะ เพราะเราคงไม่ได้ มีเวลา ไปชมบ่อยๆ

    หนังสือ ที่ดีอีกเล่ม คือคู่มือนำชม กรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีเนื้อหาครบถ้วน ทั้งประวัติสถานที่ ความหมายของการสร้าง อันแสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ เวลาเรามีเพื่อน ต่างประเทศมา เราอ่านไปก่อน จะได้อธิบายเขาได้อย่างถูกต้องนะคะ

    Drถ้าไปแล้ว...อย่าลืมฟังเรื่องราวของ "โบราณคดี" จาก รศ.ดร. รัศมี ชูทรงเดช ซึ่งเป็นนักโบราณคดีที่มีชื่อเสียงด้วยนะคะ

    ตามมาขอบคุณครับ ถ้ามีโอกาสจะแวะไปที่นี่ครับ พี่สบายดีไหม เบื่อม็อบที่กรุงเทพฯพยายามจะหนีไปเส้นทางอื่นจะได้ไม่ติดม็อบครับ...

    สวัสดีครับ

    • แวะมาทักทายครับ
    • รักษาสุขภาพด้วยนะครับ

    ขอบคุณน่ะครับ ที่นำเที่ยว แถมความรู้อีกมากมาย

    มาทักทายค่ะ...

    อยากรู้จักพี่จังเลยค่ะ

    วันนี้เพื่อนโทรมาชวนไปเที่ยวที่พิพิธภัณฑ์นี้ค่ะ นึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเจอใน Blog ของพี่

    เลยนัดกันไว้เป็นวันอาทิตย์หน้าค่ะ ไปกันหลายคน เพื่อนบอกว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่อนุญาตให้ถ่ายรูปเก็บไว้ได้ ดีใจมากเลยค่ะ

    เรย์

     

    คุณ ขจิต ฝอยทอง

    สวัสดีค่ะคุณขจิตคะ ขอโทษ ไม่ได้เข้ามาที่บันทึกตัวเองพอสมควรเลย...ตอนนี้ คงรถไม่ติดมากมั๊งคะ..

    ถ้ามีเวลา แนะนำให้ไปเที่ยวที่พิพิธภัณฑ์นี้ค่ะ ในช่วงที่เป็นสุวรรณภูมิ มี 2 ระยะใหญ่ๆคือ...เปิดตำนานสุวรรณภูมิ ในฐานะภูมิภาคแห่งความหลากหลาย...กับการสืบค้น บรรพชนของเรา กับความหลากหลายของผู้คนค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ ครูโย่ง

    ต่อนะคะ จากคุณขจิต..พอช่วงที่ 2 คือ สยามประเทศค่ะ เป็นการพัฒนารวมตัวกันของบ้านเล็กเมืองน้อย และการก่อรูป ของสยามประเทศ

    มีรัฐใหญ่ๆคือ..นครศรีรรมราช ปัตตานี สุพรรณภูมิ ละโว้ สุโขทัย เป็นต้นค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ นาย เอกราช แก้วเขียว

    ต่อจากครูโย่งนะคะ ...ต่อมา..นครรัฐเหล่านี้ ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆอีก คือ กลุ่มสยาม เสียมก๊ก และกลุ่มละโว้ หลอฮกก๊กค่ะ และพัฒนาขึ้นเป็นราชอาณาจักรสุโขทัย ในกาลต่อมา

    ข้อมูล จากหนังสือ ที่ได้รับแจกในวันไปเข้าชม..Pipitaplearn Special Editionค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ ครูป่าน

    ขอบคุณและดีใจมากๆ ที่คุณเข้ามาเยี่ยมที่บล็อกพี่นะคะ เชิญเข้ามาบ่อยๆค่ะ

    เชิญไปเที่ยวที่พิพิธภัณฑ์นี้ด้วยค่ะ เพราะจะเป็นส่วนหนึ่งของเมืองมรดก ที่มีชีวิตค่ะ

    สวัสดีค่ะ อาจารย์ นายประจักษ์

    ขอบคุณที่มาเตือน ที่บ้าน ไม่มีใครสูบเลยค่ะ โชคดีไปนะคะ

    สวัสดีค่ะ คุณBe An Actuary

    เขาให้ถ่ายรูปได้ตามสบายค่ะ พี่เลยถ่ายมาเสียแยะเลย มาประกอบการเขียนบันทึกค่ะ

     

    สวัสดีค่ะ พี่ Sasinanda

    • ขอบพระคุณค่ะ ที่ให้เกียรติมาเยี่ยมถึงบ้านเลยนะคะ :)
    • พ่อครูบา น่ารัก อบอุ่น สมคำร่ำลือ จริง ๆ ค่ะ
    • สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์
    • ไม่ได้มาเยี่ยมแบบทิ้งร่องรอยไว้นานแล้ว
    • ชอบแอบมาดูค่ะ..^_^
    • คุณพี่สบายดีนะคะ

    ผมเขียนจดหมายหลายฉบับถึงพี่ศศินันท์ ..แต่กลับพับวางไว้อย่างเงียบ ๆ  ในจดหมายมีเรื่องเล่าหลายอย่างและหลายเรื่อง  ที่เดินทางไม่ถึงผู้รับ

    ผมยังคงใช้ชีวิตเหมือนเช่นที่ผ่านมา  แต่ก็ดูประหนึ่งว่ายังต้องรับผิดชอบอะไรอีกมากมาย  ราวกับสถานะไม่เปลี่ยนแปลง ...

    มันเป็นความสุขที่ย่ำเดินอยู่บนความอ่อนล้า ...บ้างครายาวนานและบางครั้งก็สั้นสุดเกินกว่าจะตั้งหลักได้

    ชีวิตทบทวนตนเองอย่างขบขัน ..พบเจอทั้งสิ่งที่ได้ทำและยังไม่ได้ทำ...

    .....

    หวังว่าพี่คงสบายดี

    ระลึกถึงเสมอ...

    • สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์
    • ขอบคุณที่แนะนำแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์
    •  ทำให้ได้ทบทวน ประวัติศาสตร์ เมืองสยามของเรา
    • รักเมืองไทยขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ
    • เปลี่ยนรูปใหม่ สวยจังค่ะ
    •  ขอบคุณที่แวะไปทักทายนะคะ

    สวัสดีค่ะ ครูปู

    ตามอ่าน บันทึกของครูปูตลอดค่ะ ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ dd_L

    พักนี้ ฝนตกชุก ยังไงระวัง สุขภาพด้วยนะคะ เป็นห่วงค่ะ

    ณ ที่ซึ่งเรายืนหยัดอยู่
    หัวใจ, ยืนหยัดสู้ไม่รู้สิ้น
    บางคราความฝันโบกโบยบิน
    ไปยังถิ่นแสนไกลในเวลา

    .....

    วันนี้ไปช่วยงาน อ.JJ  เกี่ยวกับการอบรมคุณอำนวยรุ่นที่ 1 / 2551 ได้พบเจอใครหลายคนที่เราอยากเจอ ... ได้รับฟังเรื่องราวของพวกเขามากกว่าที่เราเล่าให้เขาฟัง

    เป็นวันดี ๆ ..ที่ชีวิตได้พบเจอกับเรื่องดี ๆ ..
    หวังว่าวันนี้,  พี่ก็คงพานพบเจอแต่เรื่องดี ๆ ด้วยเช่นกัน

    ....

     

    สวัสดีค่ะคุณพนัส แผ่นดิน

    พี่ก็คิดถึงบันทึกของคุณอยู่เสมอนะคะ แต่เห็นว่าช่วงนั้น คุณคงอยากอยู่เงียบๆเพื่อครุ่นคิดอะไรบางอย่าง เลยไม่ค่อยกล้าไปรบกวน..ดีใจที่คุณมาเยี่ยม และมีอารมณ์อยากจะพูดคุย อะไรให้ฟังด้วย

    จะเข้าไปเยี่ยมที่บันทึกนะคะ

    คุณพนัสคะ แผ่นดิน

    ช่วงนี้ พี่ก็มีธุระและภาระกิจของทั้งส่วนตัวและของงานเยอะเหมือนกันค่ะ ไม่ค่อยได้เขียนบันทึกเท่าไร มีแต่เขียนอนุทิน ว่างๆ เข้าไปเขียนบ้างนะคะ เป็นข้อความสั้นๆ ความคิดแว้บๆอะไรพวกนี้ค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ เอื้องแซะ

    ดีใจที่คุณมาเยี่ยมค่ะ เมืองไทยนี้ดี เราควรจะรักบ้านเมืองเราให้มากๆค่ะ แม้จะมีอะไรยุ่งๆมั่ง แต่ก็ดีกว่าที่อื่นๆนะคะ

    เข้าไปเขียนอนุทินแล้วนะครับ  แต่ก็ยังเขียนยาวอยู่ดี ..

    ขอบพระคุณที่เป็นพลังสะกิดเตือนผมเรื่อยมา  และสำคัญที่วันนี้ คือชักพาผมไปเขียนอนุทิน

    ...

     

    ดีค่ะ คุณพนัส แผ่นดิน

    ลองดูนะคะ  เหมือนเราจดอะไรเร็วๆ เป็นหัวข้อ หรือ เขียนสั้นๆน่ะค่ะ ถ้ายาวๆต้องเป็นบันทึกค่ะ โต้ตอบกันก็ได้ค่ะ

    พี่ศศินันท์คะ

    วันก่อนหนิงได้ดูทีวี รายการหนึ่ง เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์สยาม  ที่เขาว่าเดิมเป้นธนาคารอะไรสักอย่างนี่แหละค่ะ  (จำไม่ได้)  ยังคิดไว้เลยว่า  อยากไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์จังเลย

    ขอบพระคุณค่ะ  ที่ให้หนิงได้เที่ยวผ่าน blog

    สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์คะ

    มาเพิ่มเติม คคห ที่ 166 ของตัวเองค่ะ  พิพิธภัณฑ์สยาม  อยู่ในสถานที่ที่เดิมเป็นที่ทำการ กระทรวงพานิชย์ค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ DSS "work with disability" ( หนิง )

    ขอบคุณค่ะที่มาอ่าน น่าจะดีเหมือนกันตรงที่ ได้อ่านบทนำมาบ้างแล้ว ไปดู จะได้สนุกยิ่งขึ้นค่ะ

    2 ห้องแรกที่พี่เข้าไปชม นี่ รู้สึกประทับใจมากคุณหนิงค่ะ

    ห้องเบิกโรง (Immersive Theater)

    มีตัวละครทั้งเจ็ดที่จะนำเราย้อนกลับไปสู่เรื่องราวอันเป็นต้นกำเนิด จากสุวรรณภูมิ สู่สยามประเทศ ถึงประเทศไทย เพื่อค้นหาคำตอบว่า…เราคือใคร ใครคือไทย?

    ห้องไทยแท้ (Typically Thai)

    ใครใครพูดถึงไทยแท้แท้อยู่บ่อยบ่อย  ใครใครรู้ว่าไทยแท้แท้แท้อย่างไร  จริงจริงไทยแท้แท้แท้แค่ไหน  ที่แท้ไทยแท้แท้คืออะไร

    ขอบคุณมากครับพี่ กับข้อมูลดี ๆ ที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายและน่าที่จะตามไปดู รากเห้งาของไทย

     สวัสดีค่ะคุณ ภูคา

    พี่ก็ เขียนตามที่ไปชมมา ตามข้อมูลที่ได้รับ และตามความเข้าใจ ของตัวเองด้วยค่ะ

    ความหลากเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม  เป็นเรื่องธรรมชาติธรรมดาของสังคมประเทศไทยนะคะ
    เคยมีรัฐบาลชาตินิยมอยู่พักหนึ่ง และยึดติดกับความ "เป็นไทย" และ   "ไม่เป็นไทย" จึงอาจมีการเลือกปฏิบัติอยู่บ้าง  เช่น ให้มีการ ตั้งชื่อบุคคลที่ไม่ไทยเสียใหม่เป็นต้น 

     แต่ตอนนี้ ทุกคนในชาติ มีสิทธิ์เท่าเทียมกันหมดแล้วค่ะ

    • เห็นการเปลี่ยนแปลงในอดีตแล้ว
    • บ้านเมืองเราเจริญขึ้นจริงหรือคะ
    • หรือเจริญแต่วัตถุ แต่จิตใจอ่อนด้อยลง
    • กำลังรอการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอยู่ค่ะ
    • เฮ้อ คงได้แต่รอ รอ ต่อไปนะคะ

    lสวัสดีค่ะ อาจารย์ naree suwan

    ดีใจที่อาจารย์มาอ่านเรื่องนี้ ซึ่งก็เป็นบันทึกจากการที่ได้ไปเยี่ยมชมมา พร้อมกับข้อมูลที่ได้มาจากหนังสือ ที่ได้รับแจกด้วยค่ะ
    ที่อาจารย์ บอกว่า....เราเจริญแต่วัตถุ แต่จิตใจอ่อนด้อยลง

    พี่ก็เห็นด้วยค่ะ
    กระแสสังคมไทย  มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก หลังการเปลี่ยนการปกครอง  ซึ่งเกี่ยวข้องกับ  2  กระแสคือ
    1.ความก้าวหน้าของวิทยาการด้านเทคโนโลยีต่างๆ
    2.กระแสบริโภคนิยม ที่มีมากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตก
     
    การเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่เป็นสัจธรรม ไม่มีอะไร ที่อยู่คงเดิม อยู่ตลอดเวลา เราคงต้องทำใจนะคะ

    สวัสดีค่ะ

    สวยจังเลย เคยไปบ้างแล้วบางสถานที่ แต่บางที่ยังไม่เคยไป

    ขอทราบว่าทำอย่างไรถึงนำรูปภาพขึ้นค่ะ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้บ้างนะค่ะ

    ขอบคุณมากค่ะ แล้วจะมาเยือนใหม่

     สวัสดีค่ะคุณ อุบล วงศ์ทับแก้ว
    ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมที่บล็อกนี้ ส่วนเรื่องการนำรูปขึ้น ขอให้ดูที่Tutorial ของโกทูโน ในหน้าแรก อธิบายไว้ละเอียดกว่า ดิฉันอีกนะคะ

    174. ดอกบัว
    ขอบคุณค่ะ ที่มาอ่าน....

    "มิวเซียมสยาม" พิพิธภัณฑ์ี่กำลังเป็นสถานที่ฮิต ของคนรุ่นใหม่ค่ะสาเหตุก็เพราะที่นี่ไม่เหมือนกับพิพิธภัณฑ์ทั่วไปซึ่งเต็มไปด้วยป้ายห้ามต่างๆ นานา  จนการเที่ยวพิพิธภัณฑ์หมดความน่าสนใจไป
    จุดเด่นของมิวเซียมสยาม อยู่ที่สาระความรู้ซึ่งถูกสื่อผ่านเทคโนโลยีที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชม ไม่ว่าจะในรูปแบบของภาพยนตร์ แอนิเมชัน และเกมต่างๆ อย่างเช่น หลักฐานโบราณคดี ที่ผู้ชมต้องใช้แปรงปัดที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อให้รูปภาพและคำบรรยายปรากฏ

    หรือจะเป็นแอนิเมชันตอนละ 30 วินาที ที่คนดูต้องคอยตีกลองมโหระทึกเป็นระยะเพื่อจะสามารถดูตอนต่อๆ ไป จนถึงเกมยิงปืนใหญ่ ที่ผู้ชมต้องโยกปืนขนาดใหญ่ขนาดเท่าของจริงเพื่อยิงอริราชศัตรู เป็นต้น

     ใครที่ได้ไปเที่ยวมาแล้ว  ก็บอกต่อๆกันไปปากต่อปาก ใครยังไม่ได้ไป ต้องไปแล้วค่ะ

    ดูสิคะ เอาไปเขียนบันทึก เนื่องด้วยไปเที่ยวตามบันทึกนี้ ของพี่ศศิ แต่จำชื่อเต็ม ๆ เขาไม่ได้ค่ะ

     

    มาบอกว่า "ขอบคุณย้อนหลัง ค่ะ" ที่นี่  ค่ะ

    ขอบคุณที่ บันทึกนี้ มีประโยชน์ค่ะ คุณหมอ
    คิดว่าน้องภู ต้องชอบแน่ๆค่ะ

    ตุ๊กตาหมี เท็ดดี้แบร์

    verry good ^_^

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท