สร้างพลังเครือข่ายครูวิจัยส่งเสริมเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน


"....คุณครูและเครือข่ายโรงเรียนเหล่านี้ ไม่เพียงมีพลังความสนใจที่แสดงผ่านการสมัครเข้าร่วมโครงการเองแล้วเท่านั้น ..."

ตอนเย็นของเมื่อวาน วันพฤหัสบดี ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ผมไปที่โรงแรมรอยัลซิตี้เพื่อแวะไปเจอเพื่อนและถือโอกาสดูการจัดประชุมเพื่อพัฒนาเครือข่ายครูพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะสร้างศักยภาพทางวิชาการแก่ครูสหสาขา กับสร้างพลังเครือข่ายครูและหน่วยปฏิบัติการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนโดยกระบวนการวิจัย เป็นโครงการความร่วมมือกันของมูลนิธิสยามกัมมาจลกับภาควิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเครือข่ายครูที่ทางมูลนิธิสยามกัมมาจลเลือกโรงเรียนจำนวนหนึ่งจากทั่วประเทศ แล้วให้คุณครูของโรงเรียนในกลุ่มที่ได้รับการพิจารณานั้นสมัครเข้าร่วมโครงการด้วยตนเอง โดยให้โควต้าโรงเรียนละ ๓-๔ คน

อาจารย์พนม จันทร์ดิษฐ์ ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านหนองไผ่ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นผู้หนึ่งที่นำเสนอแนวคิดและผลักดันให้เกิดการริเริ่มโครงการนี้ อาจารย์พนมเล่าให้ผมพอได้ทราบความเป็นมาบ้างเล็กน้อยว่าได้แสดงความสนใจและนำเสนอแนวคิดกับผู้บริหารของมูลนิธิสยามกัมมาจล แล้วก็ได้รับการสนับสนุนให้ค่อยๆริเริ่มและทำมาเรื่อยๆ

ความสนใจเดิมมีอยู่ ๒ เรื่องที่สำคัญ คือ มุ่งสร้างเครือข่ายเพื่อช่วยกันพัฒนาโรงเรียนและการเรียนการสอนที่ส่งเสริมแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อน้อมใส่เกล้าและดำเนินตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานทั้งแก่สังคมไทยและเผยแพร่แก่นานาประเทศ ให้เป็นหนทางแก้ปัญหาโดยวิถีแห่งปัญญาและความมีเหตุมีผล อันนำไปสู่การก่อเกิดสุขภาวะร่วมกันทั้งของสังคมไทยและมวลมนุษยชาติ มีความสมดุลกันของความเป็นท้องถิ่นกับโลกาภิวัตน์ มากยิ่งๆขึ้น

อีกความสนใจหนึ่งก็คือ ต้องการทำให้เป็นโอกาสในการเสริมศักยภาพทางวิชาการและการพัฒนาตนเองอย่างบูรณาการของครูและโรงเรียน โดยเชื่อว่าจะทำให้โรงเรียนที่ร่วมมือกันเป็นเครือข่ายนี้สามารถยกระดับการพัฒนาขึ้นอย่างบูรณาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การได้สะท้อนหลักปรัชญาและแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เข้าสู่การจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับคนส่วนใหญ่ มีนัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศผ่านการสร้างคนในรุ่นอนาคต รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาบทบาทของโรงเรียนให้มีความเป็นหน่วยวิชาการ จัดการความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนในท้องถิ่น

อาจารย์พนมได้คุยความคิดนี้กับผมมาเป็นปีแล้วในหลายฐานะด้วยกัน ทั้งในฐานะเป็นเพื่อนกันและผมกับภรรยาของอาจารย์ก็เป็นคนหนองบัว นครสวรรค์ บ้านเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคืนพอคุยกันไปสารพัดเรื่องก็เพิ่งได้ทบทวนให้ผมจำได้ว่า อาจารย์พนม จันทร์ดิษฐ์นี้เคยไปเป็นครูที่โรงเรียนบ้านผม คือ โรงเรียนวันครู(๒๕๐๔) หลัง คุณครูประสิทธิ์ ยั่งยืน (พ่อของลิขิต ยั่งยืน เพื่อนร่วมรุ่นผมที่หนองคอกและเป็นนักกีฬาฟุตบอลของโรงเรียน) และก่อนคุณครูบุญส่ง ว่องสารกิจ (ถึงแก่กรรมแล้ว) ไปเป็นครูใหญ่

ผมเองก็มีความสนใจไปด้วยในหลายเรื่อง ทั้งอยากเป็นคนช่วยค้นหาและช่วยเชื่อมโยงให้คนทำงานทางการศึกษาในแนวทางใหม่ๆได้เป็นเครือข่ายร่วมคิดและริเริ่มทำสิ่งต่างๆด้วยกันกับผู้บริหารและคนของมหิดลในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมหิดลจะหนุนให้มีมหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ บ้านเกิดของผม และอีกทางหนึ่ง ก็เป็นความสนใจที่จะเรียนรู้ไปเรื่อยกับคนที่เป็นมือทำงานดีๆทางด้านต่างๆและมีวิถีทำงานในแนวประชาคม เอาไว้เป็นกลุ่มนั่งคุยและชวนกันทำงานให้กับท้องถิ่นบ้านเกิดในโอกาสต่างๆ รวมทั้งสะสมเป็นข้อมูลและกรณีตัวอย่างจากแหล่งประสบการณ์ของหน่วยทางสังคมเล็กๆที่มีแบบแผนใหม่ๆในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในสังคมไทยให้หูตากว้างสำหรับทำวิจัย เขียนหนังสือ สอนและบรรยาย ให้ทันสมัยกับสังคมและสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ ทั้งหมดนี้เลยทำให้คุยกันได้อรรถรสในทุกเรื่อง

ตลอดการคุยและหารือกันมาอยู่เรื่อยๆนั้น อาจารย์พนม จันทร์ดิษฐ์ ปรารภว่า มีประสบการณ์จากการทำกิจกรรมพัฒนาในโรงเรียนมาพอสมควรแล้ว ต่อไปจึงมีความสนใจที่จะทำโดยมีการถอดบทเรียนและมีการวิจัยเพิ่มขึ้นมาอีกมิติหนึ่ง โดยมีทีมอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเข้าไปเป็นพี่เลี้ยง

ในทรรศนะผมแล้วก็เห็นถึงโอกาสเสริมพลังการพัฒนาหลายมิติที่จะสามารถทำให้มีนัยะต่อการก่อเกิดนวัตกรรมสังคมและสิ่งสร้างสรรค์ของเครือข่ายลักษณะนี้ ทั้งโอกาสได้พัฒนาตนเองของครู โรงเรียน ชุมชน และเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสร้างพลังปฏิรูปการศึกษาขึ้นมาจากเครือข่ายในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เครือข่ายครูและโรงเรียนจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของกันและกันโดยมีบทเรียนการทำจริงของตนเองเป็นครู พร้อมกับได้รับการถ่ายทอดศักยภาพทางวิชาการของมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการศึกษาทางด้านศึกษาศาสตร์ในขั้นสูง ผ่านการวิจัยและการเรียนรู้ที่บูรณาการไปกับการได้ลงมือปฏิบัติอย่างลึกซึ้ง เป็นโมเดลที่จะสะท้อนภูมิรู้เชิงบริบทของสังคมไทยอย่างดีที่ไม่สามารถนำเข้าจากวิทยาการและความรู้ของภายนอกแต่เพียงลำพัง ซึ่งน่าวิจัยและพัฒนาซ้อนลงไปอีกชั้นหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง เห็นลางๆว่ามีบทเรียนที่จะใช้ชี้นำการพัฒนายุวชนของประเทศอย่างบูรณาการที่มาจากเครือข่ายผู้ปฏิบัติในวิถีชุมชน ซึ่งยืดหยุ่นไปกับเงื่อนไขระดับจุลภาคและสอดคล้องกับบริบทอันหลากหลายของท้องถิ่นและชุมชน

มหาวิทยาลัยมหิดล ก็จะได้รูปแบบการพัฒนาบทบาททางวิชาการอีกแบบหนึ่งที่เหมือนกับทำให้เครือข่ายโรงเรียนในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานและสังคมไทย เป็นเครือข่ายสาธิตทางวิทยาศาสตร์การศึกษาของมหาวิทยาลัย เหมือนกับเป็นห้องปฏิบัติการทางสังคมที่สร้างความเป็นจริงกับสังคมทั้งประเทศโดยไม่ต้องทำให้เครือข่ายครู ซึ่งทั้งเก่งทางวิชาการ มีพลังจิตอาสา และมีพลังการริเริ่มออกมาจากตนเองอยู่เป็นทุนเดิมอย่างดี ต้องหลุดออกมาจากงานประจำอย่างแยกส่วน

เมื่อความสนใจมีอยู่อย่างที่กล่าวถึงในข้างต้นแล้ว ก็เลยอยากให้ผมช่วยประสานงานอีกทางหนึ่งกับทีมวิจัยและทีมประเมินผลของรองศาสตราจารย์ ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย จากภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  อาจารย์อยากได้ทีมนี้เป็นพี่เลี้ยงให้ เพราะเคยทำงานมาด้วยแล้วในโครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการจัดการความรู้โรงเรียนชาวนา(มูลนิธิขวัญข้าว และศาสตาราจารย์นายแพทย์วิจารย์ พาณิชย์ ในนามสถาบันการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคม เป็นแกนนำหลักของโครงการนี้ด้วย) เรียกว่ามีทุนประสบการณ์และได้ความประทับใจกันเป็นทุนเดิมอยู่มากแล้ว การขอแรงผมให้ช่วยประสานงานจึงเป็นเพียงช่วยเสริมความมั่นใจเพิ่มขึ้นอีกเท่านั้น

ผมก็นำเอาความสนใจนี้ไปนั่งคุยให้ทราบต่อท่านรองศาสตราจารย์ ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย รวมทั้ง นายแพทย์สมพงษ์ ยูงทอง ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ดูแลมหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์ อยู่เสมอมาเป็นปีเหมือนกัน ทุกท่านดูมีความใส่ใจไปในทางที่สอดคล้องกัน แล้วก็ค่อยคิดและทำไปตามเหตุปัจจัยที่เอื้อให้ทีละเล็กละน้อย ยกระดับให้เชื่อมโยงกันไปตามลำดับ ซึ่งคนทำงานแนวประชาสังคมเรียกแนวการทำงานอย่างนี้ว่าเป็นแนวลึกและเล่นประเด็นเย็น ครั้งหนึ่งผมเคยได้ยิน ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย เรียกนักวิชาการในแนวนี้ว่า นักวิชาการแนวพิราบ ไม่มุ่งต่อสู้หวือหวาหรือปะทะดุดันก้าวร้าวเพียงเพื่อเอาชนะคะคานกัน ไม่ไหลตามกระแสสังคม

เมื่อหารือกันมาได้ระยะหนึ่งแล้วทางมูลนิธิสยามกัมมาจลก็สนับสนุนให้จัดประชุมระดมความคิดพัฒนากรอบความสนใจและประเด็นการวิจัย เพื่อค่อยๆทำให้เป็นเครือข่ายครูวิจัย โดยแต่ละโรงเรียนก็จะมีชุดโครงการวิจัยย่อยๆที่หลากหลายไปตามความสนใจของแต่ละแห่งและของคุณครูแต่ละคน ทว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ได้ประเด็นความสนใจมาจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะมุ่งพัฒนาให้สะท้อนการเรียนรู้จากกิจกรรมในโรงเรียน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่บูรณาการการเรียนรู้บางหน่วยในสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ นาฏศิลป์ และอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับนำมาจัดการเรียนรู้ได้ตามแนวทางของโครงการ อะไรที่ไม่เหมาะก็ใช้วิธีอื่น เช่น จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนดังเดิม เหล่านี้เป็นต้น

การริเริ่มโครงการนี้มีความน่าสนใจหลายอย่างด้วยกัน โดยเฉพาะความเป็นเครือข่ายครูและความเป็นเครือข่ายโรงเรียนซึ่งลงทุนพัฒนาคนรุ่นอนาคตด้วยกัน ซึ่งการมุ่งลงทุนไปที่การสร้างคนและพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่พลเมืองเด็ก | สร้างความรู้ให้เป็นทุนทางสังคมที่ติดอยู่กับตัวของปัจเจกและอยู่ในความเป็นชุมชนระดับต่างๆ | และพัฒนาการจัดการ ที่มีปัญญาการปฏิบัติของคนลงมือทำ กำกับอยู่เบื้องหลัง | เหล่านี้ นอกจากสอดคล้องกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมากแล้ว ก็นับว่าเป็นปัจจัยบ่งชี้การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง   

อีกทั้งเท่าที่ผมเห็น คุณครูและเครือข่ายโรงเรียนเหล่านี้ ไม่เพียงมีพลังความสนใจที่แสดงผ่านการสมัครเข้าร่วมโครงการเองแล้วเท่านั้น แต่เป็นเครือข่ายของคนและโรงเรียนที่มีบทเรียนและทุนประสบการณ์ในแนวทางที่จะทำอยู่แล้วอย่างหลากหลาย

อย่างที่โรงเรียนบ้านหนองไผ่อำเภอหนองบัว นครสวรรค์นั้น ก็เป็นโรงเรียนตัวอย่างความสำเร็จของประเทศทั้งโครงการสวนป่า สวนสมุนไพรในโรงเรียน โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้และการทำเกษตรอินทรีย์ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งทำให้มีของจริงและบทเรียนจากความเป็นจริงทางการปฏิบัติ ที่เป็นทุนตั้งต้นเพื่อพัฒนาไปสู่อนาคตที่ดีมากอย่างยิ่ง

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อทำให้การพัฒนาเครือข่ายในครั้งนี้ มีความเป็นการจัดการความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบด้วยการวิจัยที่ทำเองโดยเครือข่ายผู้ปฏิบัติและมีพี่เลี้ยงทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดลคอยสนับสนุน ความสำคัญของโครงการนี้จึงอยู่ที่การทำเพื่อเป็นกระบวนการเรียนรู้ สร้างบทเรียนจากความเป็นจริงของการแปรแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติที่สะท้อนขึ้นมาจากชุมชนฐานราก อีกทั้งก่อเกิดด้วยพลังของโรงเรียนและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับพลเมืองและคนส่วนใหญ่ของประเทศมากที่สุด.

...........................................................................................................................................................................

โหลดเอกสาร บทความของบันทึกนี้ ได้เลยครับ

หมายเลขบันทึก: 316462เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • ตามเครือข่ายนี้จากพี่ใหญ่ครับ
  • นาง นงนาท สนธิสุวรรณ
  • ได้ความรู้มาก
  • มีการถอดบทเรียนออกมาหลายชุดครับ
  • ขอบคุณอาจารย์ที่เอามาให้อ่านครับ

สวัสดีครับอาจารย์

แวะมาเยี่ยมอาจารย์ครับ

วันก่อนไปนั่งดื่มกาแฟที่ศาลายากับคุณเอก เห็นว่าที่เบิกม่านปิด เลยไม่ได้เข้าไปชมครับ

ผมเล่าให้แม่เฌวาว่ามีรูปเฌวาอยู่ที่นั่นด้วย แกตื่นเต้นใหญ่

ชีวิตผมเริ่มลงตัวแล้ว กับการทำที่พักเล็ก ๆ ที่ดอยมูเซอ จ.ตาก ควบคู่ไปกับการทำพิพิธภัฑณ์ลาหู่

ทำที่พักเพื่อให้มีรายได้ ทำพิพิธภัณฑ์เพื่อให้การศึกษาเรียนรู้กับคนรุ่นใหม่ครับ

อยากเข้าไปคุยและขอคำปรึกษาอาจารย์มาก ๆ เลยครับ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต ฝอยทองครับ : ถ้าอย่างงั้น นอกจากมีเครือข่ายจากพี่ใหญ่ อาจารย์นงนาท สนธิสุวรรณ ของอาจารย์ขจิตแล้ว อาจารย์พนม จันทร์ดิษฐ์นี้ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่เป็นแหล่งวิทยาการให้กับเวทีคุยกันในบล๊อกนี้ของคนหนองบัวร่วมกับอาจารย์นะครับ

สวัสดีครับหนานเกียรติ : สักวันจะพาน้องๆและครอบครัวไปเยือนบ้านหนานเกียรติที่ตากดีกว่า เพราะที่บ้านผมที่บ้านห้วยส้มที่สันป่าตอง ก็มีแนวคิดทำอย่างบ้านหนานเกียรติน่ะครับ แล้วก็เหมือนอย่างที่อาจารย์พนมที่ผมได้คุยถึงในบันทึกนี้ มีความสนใจด้วยครับ เพราะผังบ้านผม ทั้งวางแผนการใช้สอยพื้นที่ตามสัดส่วนในแนวเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเลย แล้วก็ออกแบบบ้าน ซื้อไม้ มาให้ช่างพื้นบ้าน ช่วยทำเป็นบ้านที่อยู่กับธรรมชาติให้มากที่สุดครับ

มีอาคารสำหรับทำกิจกรรมชุมชนอย่างที่เป็นแนวการทำงานและการใช้ชีวิตไปด้วยของผมกับภรรยาครับ คือ เป็นที่แสดงงานศิลปะ แหล่งการเรียนรู้ชุมชนในด้านที่ผมอยากนำมาจัดแสดงให้ดู ที่นั่งคุยและพบปะเสวนาทางวิชาการกับงานเคลื่อนไหวทางความคิด แหล่งจัดกิจกรรมเจริญสติภาวนา เอาไว้รองรับเพื่อนๆที่ทำงานหนังสือและงานศิลปะ กับคนทำงานวิชาการแนววิจัยชุมชนรวมทั้งช่างชาวบ้าน ที่เป็นคอเดียวกัน

มีบางอย่างที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอยู่บ้างก็คือ สระบัว ซึ่งแม่ยายและพ่อตาผมช่วยปลูกให้ผมเอาไว้ศึกษาและเขียนรูป แต่ในนั้นเลี้ยงปลาทับทิมและปลานิลมากมาย ก็กะว่าจะเป็นแหล่งโปรตีนที่ไม่ต้องซื้อหาแหละครับ แต่พอเขาโตเต็มที่แล้ว ก็ทำกินไม่ลงครับ เพราะเวลาผมและทุกคนในบ้านเดินไปให้อาหารทุกๆเย็นนั้น ผมกับพวกปลาในบ่อก็ดันเรียนรู้ที่จะผูกพันกันไปโดยไม่รู้ตัว กระทั่งเวลาเดินผ่าน ก็เหมือนกับพวกเขาพากันกระโดดโลดเต้น ผุดโผงผางขึ้นมาทักทาย เดินไปทางไหนก็ว่ายน้ำกรูตาม ตกลงเลยจับขึ้นมาทำกินเป็นอาหารไม่ลงครับ เลยเน้นปลูกผัก ต้นไม้ดอกไม้ ไผ่และหน่อไม้หวาน และผลไม้  แต่จะไม่เลี้ยงสัตว์ไว้กินหรือขาย

รูปของเฌวานั้น วลาคนดูและผมได้อยู่พาเดินชมรูปเขียนไปด้วยกัน ผมก็จะเล่าถึงที่มาของรูปด้วยเช่นกันว่าผมอ่านเรื่องราวของเฌวาและเรื่องราวของหนานเกียรติยามดึกแล้วประทับใจ  แล้วก็สื่อความประทับใจเพื่อให้กำลังใจแก่หนานเกียรติกับครอบครัวด้วยการเขียนรูปนี้ขึ้น ทุกคนก็จะประทับใจเหมือนกับทุกคนในบล๊อกที่เอ็นดูเฌวาและประทับใจวิธีคิดในเรื่องต่างๆของหนานเกียรตินะครับ

                     

ผมกะว่า หลังจากแสดงและปิดนิทรรศการนี้แล้ว จะถ่ายเอกสารชนิดคมชัดแล้วก็เข้ากรอบรูปนี้ให้หนานเกียรติกับครอบครัวนะครับ ส่วนรูปจริงนั้นขอยืมไว้ตระเวนจัดแสดงในโอกาสอื่นๆก่อน ตั้งใจว่า หลังจากที่เฌวาได้เรียนจบมัธยมแล้วก็จะมอบรูปต้นฉบับจริงให้เฌวา เพื่อให้เป็นทุนความงดงามของชีวิตที่สะสมไว้แต่ก่อนเก่าจากครอบครัวและพ่อแม่ สำหรับเป็นกำลังใจและเป็นแรงหนุนส่งให้เขาได้เติบโตงอกงามต่อไปนะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • เครือข่ายครูพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะสร้างศักยภาพทางวิชาการให้แก่ครูและสร้างพลังเครือข่ายทั่วประเทศโดยกระบวนการวิจัย
  • โรงเรียนที่ได้รับการดูแลโชคดีมาก ๆ นะคะ  เป็นการนำหลักปรัชญาและแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เข้าสู่ระบบการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนในขั้นพื้นฐาน มีการบูรณาการท้องถิ่นและภูมิปัญญา
  • วันที่ ๘-๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ หนานเกียรติ และทีมงานจิตสาธารณะ  จะไปจัดค่ายให้ที่โรงเรียนวิทยสัมพันธ์ค่ะ เป็นการเรียนรู้ท้องถิ่นค่ะ
  • ขอขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ
  • เห็นอาจารย์พูดถึงบัว
  • เลยเอามาฝาก
  • จากไร่ผมครับ
  • พยายามทำไปเรื่อยๆๆ

สวัสดีครับคุณครูคิม : อย่าลืมนำมาบันทึกถ่ายทอดสู่กันฟังบ้างนะครับ รูปแบบการทำเป็นกิจกรรมค่ายและหน่วยประสบการณ์ย่อยๆในกิจกรรมค่าย ก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจมากครับ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีความเป็นนวัตกรรมชุมชนและสร้างการเรียนรู้ทางสังคมให้กับผู้เรียนด้วยครับ ปัจเจกและกลุ่มความสนใจย่อยๆที่มีรายละเอียดแตกต่างกัน จะสร้างประสบการณ์ตรงเพื่อเรียนรู้ไปด้วยว่าเรามีตัวตนที่พอดีอยู่ตรงไหนและจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีสุขภาวะได้อย่างไร ซึ่งเป็นการเรียนรู้เพื่อได้ความสำนึกต่อสาธารณะที่ดีรูปแบบหนึ่งครับ จะตามอ่านนะครับ

สุดยอดเลยครับอาจารย์ขจิต เห็นแล้วอยากไปกินข้าวกับน้ำพริกเลย

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

วัดหนองไผ่ มีญาติมีศักดิ์เป็นปู่ นามสกุลเดียวกับอาตมา ท่านเป็นมรรคนายกวัดด้วย

เคยนิมนต์ชักชวนให้ไปเป็นเจ้าอาวาสเพราะทราบว่างเว้นเจ้าอาวาสบ่อย ๆ

ดูเหมือนจะปีนี้นี่แหละเห็นลงข่าวหนังสือพิมพ์วางศิลาฤกษ์สร้างโบสถ์

ก็ยินดีด้วยมาก ๆ เลยที่มีผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำทั้งการศึกษาและเศรษฐกิจชุมชนในหมู่บ้าน

เข้ามาเรียนรู้งานวิจัยครับ น่าสนใจ

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เเจ้งข่าวอาจารย์ครับ

พรุ่งนี้จะมี พี่ครูนก จุฑารัตน์  จะเดินทางมาที่ เบิกม่านครับ คาดว่าน่าจะถึงสักก่อน ๑๐ โมงเช้าครับผม

กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอาจารย์มหาและครับ : ที่โรงเรียนบ้านหนองไผ่ นอกจากมีผู้บริหารและครูเก่งแล้ว การริเริ่มของครู โรงเรียน กับเครือข่ายชุมชน ก็น่าจะส่งผลมากต่อโอกาสการพัฒนาสุขภาวะของชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านครับ เป็นแห่งหนึ่งของชุมชนหนองบัวที่ชาวบ้านและครอบครัวของเด็กยังขาดการเข้าถึงโอกาสการพัฒนาต่างๆอีกมากครับ ความจำเป็นเยอะแยะหลากหลายอย่างนั้น ให้การสนับสนุนได้ดีที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องการศึกษาที่มีพลังต่อการนำการเปลี่ยนแปลงที่พอเหมาะพอดีอย่างนี้แหละนะครับ

สวัสดีครับท่านผู้อำนวยการครับ คุณครูพรชัยครับ ขอบคุณและยินดีที่คนเมืองยะโสแวะมาอ่านและทักทายกันครับ

เห็นคุณครูนก จุฑารัตน์ เข้ามาบอกอยู่เหมือนกันครับ ตั้งใจไปดูงานหรือไปธุระที่ไหนด้วยหรือเปล่าครับ หากถึงร้านเบิกม่านแล้วขอรบกวนใครช่วยโทรบอกสักหน่อยได้ไหมครับเนี่ย จะพาเดินดูรูปและขอเลี้ยงข้าวมื้อเที่ยงฝีมือคนศาลายามื้อหนึ่งทั้งคุณเอกและคณะของน้องครูนกเลย อันที่จริงคุณครูจุฑารัตน์นี่เขาเพื่อนของน้องสาวผมด้วยครับ แต่คงไม่ได้ไปรับให้มาเจอกัน ทั้งเพราะอยู่ถึงเมืองมีนคนละฟากของกรุงเทพฯ และผมก็ไม่มีรถน่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์

43.
ณัฐรดา
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 20:41
#1703046 [ ลบ ]

สวัสดีค่ะ

วันนี้ไปร้านเบิกม่านมาแล้ว ภาพวาดอาจารย์วิรัตน์ดูมีชีวิตชีวากว่าในบล็อคอีกนะคะ

ฝากของขบเคี้ยวเล็กๆน้อยๆไว้กับทางร้านค่ะ (ถึงอาจารย์ กับคุณจตุพรด้วย) พรุ่งนี้คงได้เปลี่ยนบรรยากาศกาแฟยามเช้านะคะ

44.
อ้อยเล็ก
เมื่อ ส. 28 พ.ย. 2552 @ 20:46
#1703061 [ ลบ ]

..พี่ตุ๊กตาไปวันนี้..พรุ่งนี้ครูNu11กับณัชพัชร์จะไปร้านเบิกม่าน..ฝากความคิดถึงถึงพี่อาจารย์วิรัตน์ด้วยนะคะ..ฝากทุกคนเลยที่ไปเจอพี่ดร.วิรัตน์น่ะค่ะ

 

ขอบคุณอาจารย์ณัฐพัชร์ครับ แล้วก็ขอสวัสดีคุณณัฐรดากับคุณครูอ้อยเล็กด้วยนะครับ อันที่จริงเมื่อวานนี้ผมเห็นคอมเม้นต์เหล่านี้ผ่านๆไปแล้วครั้งหนึ่งครับ แต่ไปเข้าใจว่าอาจารย์ณัฐพัชรโพสต์ผิด รวมทั้งเธอขอให้ผมลบข้อความบางส่วนออกผมก็ดันลบออกไปเสียทั้งหมด

ขอบคุณคุณณัฐรดาที่ไปเยี่ยมและดูกิจกรรมกับการแสดงงานศิลปะที่พวกเราจัดกันครับ รวมทั้งขอบคุณของฝากด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท