ถอดบทเรียนเกี่ยวกับชุมชนออนไลน์ (ตอนที่ 3)


ความเดิม: ถอดบทเรียนเกี่ยวกับชุมชนออนไลน์ (ตอนที่ 2) -- ชุมชนออนไลน์

สังคมออนไลน์ในฐานะของ Chaordic Organization

สังคม Chaordic เป็นสังคมที่รวมกันอยู่อย่างหลวมๆ มีอิสระทางความคิด แต่เดินทางร่วมกันสู่เป้าหมาย เป็นสังคมที่ไม่หยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงทุกองคาพยพให้ดีขึ้น เก่งขึ้น ใช้ประโยชน์จากความรู้และประสบการณ์ของสมาชิกอื่นๆ ในสังคมนั้นเพื่อต่อยอด เพื่อวัตถุประสงค์ร่วมกัน

สังคม Chaordic เป็นสังคมที่ควรจะปรับเปลี่ยนตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้อง คิดเห็น-ทำ เป็นเนื้อเดียวกัน อาจมีผู้นำได้หลายกลุ่ม แต่ทุกกลุ่มมุ่งสู่เป้าประสงค์ของสังคมอันเดียวกัน (แม้อาจจะใช้วิธีที่ต่างกัน) ในหลายครั้ง การใช้ความแตกต่างให้เป็นประโยชน์ กลับช่วยให้องค์กร ก้าวสู่เป้าประสงค์ได้ดีขึ้น

บทความของ Dee Hock ข้างบนนี้ ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับลักษณะขององค์กรในปัจจุบัน [ที่เน้นเรื่องของการสั่งการจากบนลงล่างและการควบคุม อันถอดแบบมาจากอุตสาหกรรมการผลิต และสงคราม] ไว้หกข้อว่า 

First: The greatest danger to people and civilization was not the hydrogen bomb or degradation of the environment, but greater and greater concentration of power and wealth in fewer and fewer hands.

Second: The real consequence of emerging science and technology was not gadgets, whether hydrogen bombs or silicon chips, but radical, social change: ever-increasing diversity and complexity in the way people live and work. Which, in turn, demands radical organizational change.

Third: Industrial Age, hierarchical command-and-control pyramids of power, whether political, social, educational, or commercial, were aberrations of the Industrial Age, antithetical to the human spirit, destructive of the biosphere, and structurally contrary to the whole history and methods of physical and biological evolution. They were not only archaic and increasingly irrelevant, they were a public menace.

Fourth: Just as the human body is organized around a neural network, so complex as to defy description, so too were electronic communication systems emerging and interconnecting into an equally complex economic and social network around which institutions and society would be forced to reorganize.

Fifth: The so-called Information Age could best be understood as the Age of Mindcrafting, since information is nothing but the raw material of that incredible chaord we call mind and the pseudo-mind we call computer. Software, the tool with which we shape and manage that information, is purely a product of the mind.

Sixth: The most abundant, least expensive, most underutilized and frequently abused resource in the world was human ingenuity; the source of that abuse was archaic, Industrial Age institutions and the management practices they spawned.

การไม่ตระหนักในข้อสังเกตทั้งหกนี้ นำไปสู่องค์กรแบบอำนาจนิยม ที่บริหารงานแบบเถ้าแก่ ซึ่งในสังคมปัจจุบันก็เป็นแบบนี้แทบทั้งหมดจนรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา โดยที่ประโยชน์มักไปตกอยู่กับเถ้าแก่เป็นหลัก ไม่ใช่ส่วนรวมหรือองค์กร

ในยุคเริ่มต้น คงไม่มีใครคาดคิดว่าอินเทอร์เน็ตจะ "ประสบความสำเร็จ" มากมายขนาดนี้ ข้อสังเกตที่น่าสนใจที่สุดของเรื่องนี้คือ

  1. อินเทอร์เน็ต ไม่ได้เติบโตด้วยการควบคุมของใคร แม้แต่รัฐบาลสหรัฐ
  2. ชุมชนอินเทอร์เน็ต อยู่ร่วมกันด้วยมาตรฐานกลาง ซึ่งร่วมกันร่าง ไม่มีขาโจ๋ ขาใหญ่ คอยชี้นิ้วสั่งใคร มีแต่คำแนะนำ มีการปฏิบัติให้ดู มีแนวปฏิบัติที่ดี มีทางเลือกให้เดิน มีการแข่งขันเพื่อสร้างสิ่งที่ดีกว่าอยู่เรื่อยๆ และที่น่าสนใจที่สุดคือมีความไว้เนื้อเชื่อใจว่าสมาชิกของสังคม จะเลือกในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทั้งตนเองและสมาชิกอื่นทั้งหมด
  3. การพัฒนาเปลี่ยนแปลง เกิดจากความแตกต่าง ซึ่งไม่ได้ถกเถียงเพื่อเอาชนะ แต่เป็นไปเพื่อให้สังคมเน็ตทั้งหมดดีขึ้น เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่กลับไม่มีการบังคับให้ใครทำอะไร
  4. อินเทอร์เน็ต เป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสารอย่างอิสระ เหมาะสำหรับผู้มีวุฒิภาวะ แต่ก็ไม่ได้กีดกันกั้นกรองผู้ใด

การพัฒนาทางความคิดของผู้มีอำนาจในสังคมใดๆ จะเป็นปฏิภาคกับความคิดที่จะควบคุมสังคมนั้นๆ -- เราเห็นปรากฏการณ์นี้ในอินเทอร์เน็ตเช่นกัน 

ผมเห็นว่าสังคมออนไลน์ เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของ Chaordic อันหนึ่ง

ผู้นำในสังคม Chaordic

สังคม Chaordic ยอมรับในความแตกต่าง และความหลากหลาย มีมุ้งเล็กในมุ้งใหญ่ มีอิสระที่จะเลือกเรียนรู้ เลือกทำ ออกจะเป็นเรื่องเข้าใจยากสำหรับผู้ที่ไม่คิดว่าคนมีแรงผลักดันที่จะเป็นที่ยอมรับของสังคม และถูกควบคุมด้วยบรรทัดฐานของสังคม ซึ่งสมาชิกของสังคมนั้นยึดถือปฏิบัติ

แต่หากท่านจะสรุปว่าสังคม Chaordic ไม่มีผู้นำแล้วละก็ ผมคิดว่าท่านสรุปเร็วไป

ที่จริงแล้ว สังคม Chaordic ก็มีผู้นำเช่นกัน เพียงแต่ไม่ได้คงอยู่ในฐานะของผู้มีอำนาจ มนุษย์ยอมรับกันได้เองโดยที่ไม่ต้องมีใครมาสั่ง ลองนึกถึงมหาตมะคานทีที่ปลดปล่อยอินเดียจากอังกฤษ หรือโมเสสใน Exodus ที่นำชาวยิวอพยพหนีความเป็นทาสจากอียิปต์ไปตั้งถิ่นฐานใหม่โดยไม่ต่อสู้ดู แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำในสังคม Chaordic นั้น ตรงกันข้ามกับทฤษฎี Great Man (ฮีโร่ อัศวินขี่ม้าขาว ผู้ปกครองสมบูรณ์แบบ สุดยอดอัจฉริยะที่เก่งทุกอย่าง ฯลฯ) ซึ่งได้รับการขยายผลจากวีรบุรุษสงครามโลกครั้งที่สอง+การฟื้นตัวของโลกหลังสงคราม จนกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันในเชิงการจัดการ ว่าการบู๊ล้างผลาญไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ยอมรับได้เพื่อผลประโยชน์ไม่ว่าจะของใคร -- ใช้คำว่า "ต้อง" อยู่ตลอดเวลา

Dee Hock เคยเขียนบทความเรื่อง The Art of Chaordic Leadership ลงในเว็บของสถาบัน Leader to Leader Institute บทความนี้หายไปแล้ว โชคดีที่มีผู้เซฟไว้ (คลิกเพื่ออ่านฉบับเต็ม) ซึ่งผมตัดตอนแง่คิดที่เกี่ยวกับ Chaordic Leadership มาให้อ่าน

On Chaordic Leadership

Many convictions about leadership have served me well over the years. Although each of these few examples could benefit from pages of explication, a few words may provide insight to chaordic leadership.

  • Power: True power is never used. If you use power, you never really had it.
  • Human Relations: First, last, and only principle -- when dealing with subordinates, repeat silently to yourself, "You are as great to you as I am to me, therefore, we are equal." When dealing with superiors, repeat silently to yourself, "I am as great to me as you are to you, therefore we are equal."
  • Criticism: Active critics are a great asset. Without the slightest expenditure of time or effort, we have our weakness and error made apparent and alternatives proposed. We need only listen carefully, dismiss that which arises from ignorance, ignore that which arises from envy or malice, and embrace that which has merit.
  • Compensation: Money motivates neither the best people, nor the best in people. It can rent the body and influence the mind but it cannot touch the heart or move the spirit; that is reserved for belief, principle, and ethics.
  • Ego, Envy, Avarice, and Ambition: Four beasts that inevitably devour their keeper. Harbor them at your peril, for although you expect to ride on their back, you will end up in their belly.
  • Position: Subordinates may owe a measure of obedience by virtue of your position, but they owe no respect save that which you earn by your daily conduct. Without their respect, your authority is destructive.
  • Mistakes: Toothless little things, providing you can recognize them, admit them, correct them, learn from them, and rise above them. If not, they grow fangs and strike.
  • Accomplishment: Never confuse activity with productivity. It is not what goes in your end of the pipe that matters, but what comes out the other end. Everything but intense thought, judgment, and action is infected to some degree with meaningless activity. Think! Judge! Act! Free others to do the same!
  • Hiring: Never hire or promote in your own image. It is foolish to replicate your strength. It is stupid to replicate your weakness. Employ, trust, and reward those whose perspective, ability and judgment are radically different from your own and recognize that it requires uncommon humility, tolerance, and wisdom.
  • Creativity: The problem is never how to get new, innovative thoughts into your mind, but how to get old ones out. Every mind is a building filled with archaic furniture. Clean out a corner of your mind and creativity will instantly fill it.
  • Listening: While you can learn much by listening carefully to what people say, a great deal more is revealed by what they do not say. Listen as carefully to silence as to sound.
  • Judgment: Judgment is a muscle of the mind developed by use. You lose nothing by trusting it. If you trust it and it is bad, you will know quickly and can improve it. If you trust it and it is consistently good, you will succeed, and the sooner the better. If it is consistently good and you don't trust it, you will become the saddest of all creatures; one who could have succeeded but followed the poor judgment of others to failure.
  • Leadership: Lead yourself, lead your superiors, lead your peers and free your people to do the same. All else is trivia. 

กล่าวโดยย่อ บันทึกนี้พูดถึงพลวัตของสังคมที่มีอิสระทางความคิดและการกระทำ ผลรวมของความคิดและการกระทำของสมาชิกในสังคมนั้น จะเป็นตัวบอกว่าสังคมนั้นเป็นอย่างไร

ดังที่กล่าวแล้วในหัวข้อ ความเป็นบุคคล ไม่มีความสำคัญเลยสำหรับสังคมออนไลน์ ในตอนที่แล้ว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อย ที่การกระทำของสมาชิกบางคนในสังคม อาจส่งผลต่อสังคมนั้นได้ หากจะเกิดกรณีอย่างนั้นขึ้น ก็จะเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว

สังคม Chaordic ไม่ได้รวมเป็นเนื้อเดียวกัน จึงมีความแตกต่างในแง่คิด มุมมองกันอยู่บ้าง ดังนั้นจึงมีผู้นำได้หลายคน แล้วก็ไม่มีใครถามใครว่า "ใครใหญ่" เพราะทุกคนทำเพื่อเป้าหมายร่วมกัน "ใครใหญ่" จึงเป็นเหมือนคำหยาบ -- มีแต่คำถามว่าใครทำอะไร/จะสอดประสานกันได้อย่างไร -- หากผู้นำแต่ละกลุ่มหันไปทางเดียวกัน นำพาผู้คนสู่เป้าหมายร่วมกัน ก็จะเกิดการรวมพลังขึ้นได้ 

ส่วนประเทศไทยรวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย ที่ต้องเรียกร้องความสมานฉันท์นั้น เป็นเพราะว่าเราหันหน้าเข้าหากัน เราจึงมองกันไปคนละทิศคนละทาง เห็นกันคนละภาพ ทำเรื่องที่เชื่อมต่อเข้ากันไม่ได้ จับมือกันได้แต่ไม่สามารถรวมพลังกัน; เมื่อเทียบกับลักษณะของสังคม Chaordic แล้ว ไม่ตรงอยู่สองอย่างครับ

  1. เราไม่มีเป้าหมายร่วมกัน แล้วก็ไม่พยายามหาเป้าหมายร่วมกัน หรือ มีแต่ไม่ทำ แถมผลักภาระไปให้คนอื่นจะทำแทน 
  2. เราใช้อำนาจควบคุม ไม่ว่าจะด้วยกฏระเบียบ ระบบอาวุโส เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย โดยไม่เชื่อว่ามีผู้ใดสามารถทำได้ดีกว่าผู้มีอำนาจ กฏระเบียบไม่เปิดโอกาสให้ใครได้ทำอะไร -- สังคมที่เป็นระเบียบ ไม่ได้หมายความว่าเหมือนกันไปหมด แต่หมายถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เคารพสิทธิ์ และความแตกต่างของผู้อื่น

ชักออกนอกเรื่องแล้ว พอก่อนดีกว่าครับ

ของแถม

ของแถม 2

โปรดติดตามตอนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 165659เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2008 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

P

Conductor

 

สงสัยศัพท์นี้  Chaordic ลองค้นดู เค้าว่ามาจาก choas + order จาก ที่นี้

สับสน + ระเบียบ ? ทำให้นึกถึงปรัชญาการเมืองของอริสโตเติล ในเรื่องการแปรกลับไปกลับมาของรูปแบบการปกครอง ตามแผนผัง ที่นี้

คล้ายๆ กับการนำมาใส่เครื่องปรุง ชิมดู แล้วปิดฉลากใหม่เท่านั้น....

จึงเสนอความเห็นไว้เล่นๆ...

หรือว่าอาตมา มั่ว ไ่ปเอง.... 

เจริญพร 

ี้

สาธุ  ไม่มั่วครับ เป็นอย่างนั้นจริงๆ

สวัสดีวันสบายครับ

สังคม Chaordic ไม่ได้รวมเป็นเนื้อเดียวกัน จึงมีความแตกต่างในแง่คิด มุมมองกันอยู่บ้าง ดังนั้นจึงมีผู้นำได้หลายคน แล้วก็ไม่มีใครถามใครว่า "ใครใหญ่" เพราะทุกคนทำเพื่อเป้าหมายร่วมกัน "ใครใหญ่" จึงเป็นเหมือนคำหยาบ -- มีแต่คำถามว่าใครทำอะไร/จะสอดประสานกันได้อย่างไร -- หากผู้นำแต่ละกลุ่มหันไปทางเดียวกัน นำพาผู้คนสู่เป้าหมายร่วมกัน ก็จะเกิดการรวมพลังขึ้นได้ 

คนไหนเล็ก คนนั้นใหญ่

คนไหนเล็กดี รสโต...ผู้คนยอมรับ นำมาซึ่งพลัง

ขอบคุณครับ

 

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วย ที่บอกว่า ชุมชนอินเทอร์เน็ต เป็นสังคม Chaordic  ซึ่งไม่ได้รวมเป็นเนื้อเดียวกัน จึงมีความแตกต่างในแง่คิด มุมมองกันอยู่บ้างค่ะ และเห็นได้อย่างชัดเจนถึงธรรมชาติของ คน ว่าคนชอบอยู่รวมกันเป็นสังคม  และจะมีความสุข ถ้ามีโอกาส ได้มีส่วนร่วมในสังคม ที่ตนพอใจมีโอกาสในการสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง  โดยไม่มีใครมาบังคับ หรือมีกฏเกณฑ์ตายตัวจริงๆ นี่เป็น ธรรมชาติของมนุษย์นะคะ   เคยอ่านงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งยืนยันด้วยกรณีศึกษาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งประชาชนต้องการการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการต่างๆ ของตนเองอย่างชัดเจน  และอ้างถึงงานวิจัยของ ดร.โสรัจ หงลดารมณ์  ที่ว่า  ความสุขอาจมาจากการมีโอกาสได้รับอำนาจ     ซึ่งรวมถึงอำนาจในการพัฒนาความรู้ และรับรู้ข้อมูลของตนเอง ตลอดจนการออกแบบสร้างชุมชนออนไลน์ของตนเองผ่านอินเทอร์เน็ต Web 2.0 (Hongladarom, Soraj and Bauwens, Michel)

โดยส่วนตัวแล้ว  ยอมรับว่า การมาอยู่ในชุมชนอินเทอร์เน็ตที่โกทูโน นี้

ให้ความสุขทางสังคม ความพึงพอใจในชีวิต  นอกเหนือจากความสุขทางรูปธรรม  ได้ในระดับหนึ่งจริงๆค่ะ

เพราะเป็นแหล่งสำคัญ ที่จะกระตุ้น ให้ทั้งเกิดความคิด  และการขยายความคิดของตนเองให้กว้างขึ้น จากการบริโภคข้อมูลที่หลากหลายมาก ได้มีโอกาสรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้อีกมากขึ้นด้วย   แต่ สิ่งหนึ่งที่พบจากชุมชนออนไลน์ทั่วๆไป คือ    แต่ละชุมชนมีบริบท และความละเอียดอ่อนที่แตกต่างกันพอควร     แต่ก็เป็นสิ่งที่ตัวเองได้เรียนรู้ และสามารถเลือกชุมชนที่เหมะสมกับจริตของเราได้ค่ะ

 

ชอบใจโมเดล Chaordic Organization ของม.นเรศวรค่ะ

(ข้อ)สังเกตที่น่าสนใจที่สุดของเรื่องนี้คือ

  1. อินเทอร์เน็ต ไม่ได้เติบโตด้วยการควบคุมของใคร แม้แต่รัฐบาลสหรัฐ
  2. ชุมชนอินเทอร์เน็ต อยู่ร่วมกันด้วยมาตรฐานกลาง ซึ่งร่วมกันร่าง ไม่มีขาโจ๋ ขาใหญ่ คอยชี้นิ้วสั่งใคร มีแต่คำแนะนำ มีการปฏิบัติให้ดี มีแนวปฏิบัติที่ดีู มีทางเลือกให้เดิน มีการแข่งขันเพื่อสร้างสิ่งที่ดีกว่าอยู่เรื่อยๆ และที่น่าสนใจที่สุดคือมีความไว้เนื้อเชื่อใจว่าสมาชิกของสังคม จะเลือกในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทั้งตนเองและสมาชิกอื่นทั้งหมด
  3. การพัฒนาเปลี่ยนแปลง เกิดจากความแตกต่าง ซึ่งไม่ได้ถกเถียงเพื่อเอาชนะ แต่เป็นไปเพื่อให้สังคมเน็ตทั้งหมดดีขึ้น เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่กลับไม่มีการบังคับให้ใครทำอะไร
  4. อินเทอร์เน็ต เป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสารอย่างอิสระ เหมาะสำหรับผู้มีวุฒิภาวะ แต่ก็ไม่ได้กีดกันกั้นกรองผู้ใด

        .....ขอบคุณบันทึกที่เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญานี้ค่ะ......

ขอบคุณคุณกบ พี่ศศินันท์ กับพี่ติ๋วนะครับ ทุกคนมีหน้าที่ต่อชุมชน ถ้าหากเราไม่ทำ ชุมชนก็อยู่ไม่ได้-ไม่ยั่งยืนครับ

ในมุมหนึ่ง ผมมองว่าชุมชนออนไลน์เป็นแบบจำลองวิวัฒนาการของสังคม มีเกิด มีดับ เป็นธรรมดา แต่ชีวิตก็ต้องแสวงหาความก้าวหน้าต่อไป บางที หากเราสามารถเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนแห่งนี้ได้ ก็จะช่วยให้เข้าใจพลวัตของสังคมได้ง่ายขึ้น

ผมนำบทความเรื่อง การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน มาฝากครับ

ในส่วนคำว่า.....ชุมชนออนไลน์เป็นแบบจำลองวิวัฒนาการของสังคม

คุณConductor คงได้เคยสังเกต แนวโน้มใหม่ๆ ที่น่าสนใจทางด้านเทคโนโลยีแล้วนะคะว่า

แต่ก่อนๆมา  ผู้ที่สนใจเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารส่วนใหญ่แล้ว เป็นผู้คนประเภทที่ไม่ค่อยชอบสมาคมกับคนอื่น   ทั้งวัน ชอบอยู่กับคอมฯ และชอบหา อุปกรณ์ใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ

แต่ปัจจุบัน สังคมเปลี่ยนไป พวกที่ชอบอยู่หน้าคอมฯ กลับเป็นพวกที่ชอบเข้าสมาคมกับผู้อื่น และยังชอบติดตามข่าวสารต่างๆด้วย เรียกว่า เป็นคนทันสมัย

คือ กลายเป็นว่า เทคโนโลยี กลายเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้ผู้คนเข้าสังคมมากขึ้น  เช่น Facebook หรือ Myspace ที่กลายเป็นสังคมและชุมชนออนไลน์ขนาดใหญ่

แต่ขณะเดียวกัน คนที่ชอบเก็บตัว ไม่ค่อยชอบพุดคุย ก็จะใช้การพิมพ์ มากกว่าพูดเช่นกัน

และที่แปลกคือ แต่ก่อน ผู้ชาย คือพวกที่ชอบเทคโนโลยีมากว่าผู้หญิง แต่เดี๋ยวนี้ ผู้หญิงไล่ตามมาติดๆนะคะ

นี่เป็น ตัวอย่างของวิวัฒนาการทางด้านสังคม ใช่ไหมคะ

เห็นครับพี่ พลวัตของสังคมเป็นเรื่องซับซ้อนจนตัวตนของบุคคลแทบไม่สำคัญในระดับของสังคมเลยครับ สังคมไม่เคยอยู่นิ่ง ถ้าอยู่กันนิ่งๆ ก็เป็นสังคมที่ตายแล้ว หรือไม่เราก็เข้าใจอะไรผิดกันสักอย่าง
  • ได้เข้ามาเยี่ยมชมและอ่านข้อเขียนในบล็อค ขอขอบพระคุณครับกับความรู้ที่กรุณานำมาแบ่งปัน

     ผมได้อ่านบทความนี้ รวมทั้งกระทู้ตอบบทความทั้ง 4 ตอน แล้วทำให้ได้ความรู้ แง่คิด และเข้าใจสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นมากเลยครับ

     จึงขออนุญาติลิงค์บทความ...ถอดบทเรียนเกี่ยวกับชุมชนออนไลน์ ทั้ง 4 ตอนนี้ ไปให้ชุมชนออนไลน์ที่ผมเป็นสมาชิกได้อ่านด้วยนะครับ

                                                     ขอบคุณครับ.

อ้าว นี่ผมเพี่งนึกขึ้นได้ว่ายังมีการบ้านมาเขียนเรื่องนี้ต่ออีก เฮ้อ...

  • ตามมาอ่านบทเรียนที่ถอดออกมาเรียบร้อยแล้ว
  • ขออนุญาตเอาไปบอกต่อนะคะ
  • จริงๆค่ะ
  • เดี๋ยวนี้ผู้หญิงมีชุมชนออนไลน์ที่ไม่แพ้ผู้ชายเลย
  • ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับบทเรียนดีๆ

 

  • น่าสนใจ เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่น่าศึกษา
  • อย่างน้อยก็ประดับความรู้ เอาไว้คุยกับใคร ๆ ได้
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท