เป็นนักเรียนสถาบันพระปกเกล้าตอนที่๑๒(วันปฐมนิเทศ ศ.ดร.บวรศักดิ์)


ประชาธิปไตยแบบเสียงข้างมาก(เริ่มล้าสมัย) ปัจจุบันเรากำลังพูดถึงประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

        หัวข้อที่ท่านรับเชิญบรรยายคือสถาบันพระปกเกล้า(และท่านทั้งหลายและหน่วยงานของท่าน)กับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย หัวข้อที่เชิญไม่มีวงเล็บ ส่วนที่วงเล็บท่านเติมเข้าไปเพื่อให้พวกเรานักศึกษาที่เข้าเรียนได้ตระหนักและคิดถึงการช่วยจัดการความขัดแย้งในสังคมเพราะเป็นความคาดหวังของสถาบัน

        เป็นที่ทราบกันว่าความขัดแย้งเป็นธรรมดาของมนุษย์ ขัดแย้งในครอบครัว เพื่อนฝูง ที่ทำงาน กลุ่ม ฯลฯ

        การแก้ไขปัญหาในอดีตจะใช้อำนาจที่เหนือกว่ามาแก้ปัญหาความขัดแย้งเช่นผู้บังคับบัญชา แก้ปัญหาความขัดแย้งของลูกน้อง สั่งให้คืนดีกันและสงบทั้งสองข้าง

        จัง จาค รุซโซ บอกว่าการปกครองเกิดจากการแย่งผลประโยชน์สาลีเกษตรจึงต้องมีผู้มาตัดสินแบ่งผลประโยชน์ ยกให้ผู้นั้นเป็นกษัตริย์ จึงเป็นการปกครองโดยผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า การออกกฎหมายจึงเขียนขึ้นมาเพื่อยุติความขัดแย้ง ศีลจึงถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนขัดแย้งกันในสังคม

        ฐานคิดนี้มาจากตะวันตก เริ่มมาตั้งแต่อาณาจักรโรมัน มีการปราบปรามเผ่าต่างๆเพื่อรวมเข้ามาในจักรวรรดิ์ เมื่อรวมเข้ามาอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มก้อนจึงเกิดสันติภาพ เรียกว่า Roman Peace  ต่อมาอาณาจักรโรมันก็ถูกพวกบาบาเรียนทำลาย และก็พัฒนามาเรื่อย จนเกิดทฤษฎี อำนาจรัฐเป็นอำนาจสูงสุด แล้วก็พัฒนาความคิดจนเกิดความคิดอย่ากมีรัฐบาลโลกหรือสันนิบาตโลก แล้วพัฒนามาเป็นสหประชาชาติ แต่ก็ยังทำให้โลกสงบอยู่กันอย่างสันติไม่ได้

        เหตุการณ์ ๑๑ กันยายน หรือที่เรียกว่า ๙๑๑ เกิดขึ้นก็เพราะตอบโต้อำนาจรัฐ

        ในปัจจุบันมีคดีขึ้นสู่ศาลมากขึ้น ก็ย่อมแสดงว่าความขัดแย้งยังคงเพิ่มขึ้น การจัดการความขัดแย้งควรจัดการด้วยการมีส่วนร่วมของคนที่เสมอภาคกัน หันมาดูในพุทธศาสนา เมื่อพระสงฆ์สวดระงับอธิกรณ์ ภิกษุที่สวดอธิกรณ์จะต้องเป็นภิกษุที่ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ทำหน้าที่ ทางตะวันตกเมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งแก้ไขไม่ได้ก็มาเอาแนวคิดทางตะวันออกไปใช้ มีการนำแนวความคิดป้องกันความขัดแย้ง แต่เดิมรัฐจะทำอะไรก็สั่งไป แต่เดี่ยวนี้ต้องลงไปฟังความเห็นของประชาชนก่อน ที่เรียกว่า Public Hearing

        ในศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ เป็นยุคประชาธิปไตยแบบเสียงข้างมากแต่เคารพเสียงข้างน้อย Majority Rule Minority Right แต่ในยุคปัจจุบันพัฒนามาเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม Participation ซึ่งเชื่อว่ามันจะเป็นเครื่องมือป้องกันความขัดแย้งในอนาคต การจัดสรรทรัพยากรจึงสมดุลย์และเป็นธรรม และที่สุดก็จะยั่งยืน

        ในประเทศไทย ปี ๒๕๔๙ คนรวย ๒๐ % ของประเทศไทย เป็นเจ้าของรายได้ประชาชาติ ๕๘ % เศษ ส่วนคนจนมีรายได้เพียง ๓.๘% ความขัดแย้งยิ่งมากขึ้นเมื่อรัฐบาลเอาคนจนมาเป็นฐานทำประชานิยม ชนชั้นกลางเกิดความรู้สึกว่าถูกกีดกันออกจึงวิพากย์วิจารณ์แต่กลับถูกปิดช่องการวิพากย์วิจารณ์ จึงก่อให้เกิดรัฐประหารเมื่อ ๑๙ กันยายน มันไม่ใช่เรื่องเอานายกคนเก่าหรือไม่ แต่มันเป็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็จะยังไม่จบ...ครับพี่น้อง....

        ความขัดแย้งที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ยังไม่รู้อนาคต

        การแก้ปัญหาความขัดแย้งของไทยเปราะบางมาก เพราะรัฐบาลได้มาโดยการ....เสียง อิอิ อาจารย์บรรยายมาหลายวันแล้ว ผมเพิ่งมาเขียนบันทึกวันนี้ เมื่อวานก็ถูกใบแดงอีกใบหนึ่งแล้ว กรรมการบริหารพรรคปั่นป่วนอีกแล้วครับท่าน....

        กลไกการมีส่วนร่วมก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ไม่มีผลจริงจัง กลไกทางกฎหมายก็ยังมีการเลือกข้าง ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหม่มีการสนับสนุน แต่ไม่ได้เหลียวแลชาวนา คนจน คนขายขายข้าวได้ราคาแต่ชาวนาขายข้าวไม่ได้ราคาเพราะการกำหนดราคามาจากที่อื่น

        คนไทยรู้จักพลิกแพลงให้ตัวเองได้ประโยชน์ เพราะจะเข้าหาผู้ใหญ่(ข้าราชการ อิอิ)ผู้ใช้กฎหมายเพื่อขอความช่วยเหลือไม่ให้บังคับเอากับตน

        สิ่งเหล่านี้อาจารย์บอกว่าอย่าไปท้อแท้ เพราะมันยังมีสัญญาณที่ดี คือการที่ชุมชนต่างๆแก้ปัญหากันเองอย่างได้ผล

        ศาลก็ให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์

        สถาบันการศึกษาก็ให้ความสนใจกับการจัดการความขัดแย้ง เช่น สถาบันพระปกเกล้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น โดยเฉพาะหลักสูตรที่พวกเราเรียนกันอยู่นี้ได้รับความสนใจมาก

หน้าที่ของเรา

        ๑.Identified ความขัดแย้งและสาเหตุ ศึกษาทั่วประเทศว่าขัดแย้งเรื่องอะไร สาเหตุมาจากอะไร การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง กรณีศึกษาของจริงทั้งที่แก้ไขปัญหาสำเร็จและล้มเหลวโดยสถาบันฯต้องสร้างเครือข่าย

        ๒.มีหน้าที่ต้องเผยแพร่สิ่งที่เรารู้เห็นร่วมกัน รวมทั้งเทคโนโลยีแก้ปัญหาแก้ปัญหาความขัดแย้ง ตอนนี้สถาบันพระปกเกล้าหันมาดูเรื่องการเมืองภาคพลเมือง

หลักสูตรที่เราเรียนต่างจากหลักสูตรอื่นอย่างไร

        -ต้องการให้ผู้เรียนและผู้สอนเรียนรู้การแก้ปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน

        -สถานที่เรียนจะไม่ใช่ห้องเรียนเหมือนหลักสูตรอื่น จะอยู่ในรถ ในโรงแรม ในพื้นที่ ฯลฯ

        -ไม่ได้ต้องการให้ทำเอกสารส่วนบุคคล แต่จะเน้นเอกสารกลุ่มที่ได้จากการคิดร่วมกัน

        -มีหน้าที่ร่วมกันนำสิ่งที่ค้นพบเอาไปเผยแพร่ใช้แก้ปัญหาในสังคมและประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รับรู้ในสังคม ถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่ขัดแย้งและไม่ขัดแย้ง

        -หลักสูตรนี้ไม่คิดเงิน แต่หลักสูตรอื่นคิดเงินเพื่อต้องการให้นักศึกษาเป็นภาคีช่วยกันทำงาน และทำให้ความขัดแย้งในสังคมไทยมีทางออก

        ผมฟังอาจารย์บรรยาย โน้มน้าว จิตใจทำให้เคลิบเคลิ้ม มุ่งมั่นที่จะนำความรู้ที่เรียนมาไปช่วยแก้ปัญหาสังคมเท่าที่คนไทยคนหนึ่งและข้าราชการคนหนึ่งอย่างผมจะพึงมี  ผมจึงตั้งใจบันทึกย่อวิชาที่เรียนมาเพื่อให้ทุกท่านที่ผ่านเข้ามาอ่านบันทึกนี้ได้ประโยชน์ไปด้วย และหากท่านทั้งหลายได้ศึกษาและมีความตั้งมั่นที่จะช่วยกันในการที่จะทำให้สังคมของเราอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข นั่นก็ถือว่าผมได้ใช้ทุนคืนสถาบันไปมั่งแล้ว อิอิ

หมายเลขบันทึก: 193171เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2008 07:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

อย่าเคลิ้มจนหลับนะครับ

  • ขอบคุณท่านอัยการ  ที่สละเวลาอันมีค่ามาถ่ายทอดความรู้ที่น่าสนใจในชาว gtk ได้เรียนรู้ด้วย
  • ผมเสียดายที่พลาดโอกาสที่ดีในชีวิต  ทั้งๆที่ปรารถเรียน ทั้งปปร และ วปอ  แต่ก็ถือว่ายังโชคดีที่ท่านอัยกายมาบันทึกให้อ่าน  เหมือนว่าผมเองได้เข้ารับการอบรมด้วยตนเอง
  • ความดีที่ท่านได้สร้างนี้  ถือเป็นวิทยาทานที่ยิ่งใหญ่  เป็นมหากุศลครับ  ขอให้ท่านจงมีความก้าวหน้าในหน้าที่ราชการ และครอบครัวทุกคนมีความสุขครับ

มานั่งเรียนด้วยครับ

ผมยังเชื่อมั่นว่าถ้าเราศึกษาความขัดแย้งในระดับครอบครัวคือใกล้ตัวให้ดี

จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษา แก้ปัญหาความขัดแย้งในระดับที่ใหญ่ขึ้นๆจนถึงระดับประเทศและระดับโลก

บางที หากเรียนอะไรที่นอกตัวมากเกินไป จนลืมมองดูสิ่งรอบตัว

จบหลักสุตรก็ยังมีความขัดแย้งในครอบครัว.....ก็อาจถือว่ายังไม่จบนะครับ

น่าจะเป็นว่าใครที่จบหลักสุตรนี้ จะมีชีวิตครอบครัวที่มั่นคง สุขสันต์เพราะสามารถสมานฉันท์กันในครอบครัวได้

ถือโอกาสเรียนถึงท่านเอกชัยด้วยนะครับ

มาเพิ่มเติมอีกนิดครับ

เหมือนกับหลักสูตรผู้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คลังสมอง วปอ.นะครับ

ที่เรียนกันแล้ว นำหลักดังกล่าวกลับไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

นั้นคือสิ่งที่มีคุณค่าครับ

ถ้าครอบครัวแก้ปัญหาความขัดแย้งได้แล้ว ระดับที่ใหญ่ขึ้นก็จะได้รับผลดีด้วยครับ

  • มารายงานตัวเก็บชั่วโมงเรียนค่ะ
  • ส่งวัตถุดิบไปให้ทางเมล์แล้วนะค่ะ
  • การบ้านยังทำไม่เสร็จ ไม่มีช่องว่างให้แทรกเลยค่ะ 

ลุงเอกครับ ไม่เคยหลับเวลาเรียนครับ เพียงแค่วูบๆ อิอิ

ท่าน riceman ครับ

ขอบพระคุณที่ท่านอวยพร

ผมเพียงแค่อยากให้สังคมนี้มีความสุข แบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในเรื่องต่างๆ ทั้งในเรื่องวิชาการ ความสุข การบ้าน การครัว ฯลฯ ยิ่งสิ่งที่แบ่งปันเป็นความรู้ที่จะช่วยให้สังคมนี้ดีขึ้นยิ่งเต็มใจที่จะทำครับ

ท่านอัครราชฑูตครับ

ครอบครัวเป็นพื้นฐาน ผมเคยสอนน้องๆที่เป็นอัยการว่า จะดูว่าใครเป็นอัยการที่ดีหรือไม่ ดูง่ายๆดูที่ครอบครัวเขา เขาให้ความเป็นธรรมแก่ครอบครัวของเขาไหม เขานอกใจภรรยาหรือเปล่า ถ้าเขานอกใจ เชื่อไว้ก่อนว่าจะหาความเป็นธรรมจากคนๆนั้นยาก เพราะเขาจะคิดถึงแต่ตัวเขาเป็นหลัก ดังนั้นหากมีเงินมาง้าง เชื่อหรือว่าเขาจะไม่เอา..

การทำให้สังคมสันติสุขก็เช่นกัน จะไปแก้ปัญหาสังคม แก้ปัญหาให้คนอื่นในขณะที่เราไม่เคารพสิทธิของคนในครอบครัว ใครจะมาเชื่อถือเราละครับ ผมจึงเห็นด้วยกับท่านที่ให้สร้างสันติสุขในครอบครัวก่อนครับ

อ.ขจิต ครับ

นี่ผมเปิดโรงเรียนแบบแอบแฝงสถาบัน ใครอ่านของผมและเข้ามา comment ทุกครั้งแบบอ.ขจิต ถือว่าจบหลักสูตรเหมือนกันดีไหม อิอิ

พี่หมอเจ๊ครับ

วันนี้ได้คุยกันหลายท่านได้ข้อมูลเยอะว่าจะโทร.หาพี่หมอเจ๊แต่เห็นว่าดึกแล้วค่อยเล่าให้ฟังพรุ่งนี้นะครับ

แอบกรี๊ดอ.บวรศักดิ์ ชอบเป็นการส่วนตัว เก่งมากๆ ท่านนี้ ถ้าเจอท่านอีกฝากบอกนะคะว่ามีแฟนคลับเชียร์

สวัสดีครับ Little Jazz

ถ้าเจอ อ.บวรศักดิ์ จะบอกให้ครับว่ามีคนแอบกร๊ด....

อ่านบันทึกนี้ก็เคลิ้มครับ

เป็นตาม่วนแฮง

น้องออต

ผมตามไปอ่านเวบของมหาชีวาลัยแล้วครับ

อยากเรียนจบหลักสูตรนี้ต้องไปตามอ่านมาตั้งแต่ตอนแรกครับ อิอิ

สวัสดีค่ะท่านอัยการ

- รออ่านตอนที่ 13 ต่อไปค่ะ กำลังสนุกทีเดียวค่ะ

- แนวคิดต่อครอบครัวของท่านอัยการนี่ต้องได้รับการปรบมือให้ดังๆ เลยค่ะ ขอชื่นชมค่ะ

ขอบคุณนะคะ จะรออ่านตอนต่อไปค่ะ/อ้อยค่ะ

ต้องขอขอบคุณท่านอัยการครับ ผมนั่งข้างหลัง เห็นท่านพิมพ์ยิกๆตลอดเลย พ่วงขบวนบุญไปด้วยคนนะครับ ผมได้นำความรู้ไปใช้จริงทุกอาทิตย์เลยครับ ขอเป็นแฟนคลับด้วยคนครับ

  • ผมนี่หลับประจำ 
  • เพราะใช้วิธีเรียน แบบนั่งทางใน
  • จะไปห่วงอะไรละครับ?
  • เมื่อมีนักสรุปเนื้อหาที่ดีที่สุดคนหนึ่งของแผ่นดินนี้
  • ทำการบ้านอย่างดีเยี่ยม เหมาะแก่การคัดลอกยิ่งนัก
  • เรียนแบบลอกตะบันราดนี่แหละ ที่ทำให้ญี่ปุ่น เกาหลี ใต้หวัน ผลิตสินค้าได้เก่งกว่าประเทศตะวันตกเสียอีก
  • ผมจึงดีใจ ที่ท่านอัยการตั้งใจทำการบ้านสม่ำเสมอ
  • ตั้งใจว่าจะอุ้มไก่ไปแลกการบ้านสักวัน

ขอบคุณ อ.อ้อย ที่ติดตามอ่านทุกตอนครับ

คุณคนนั่งหลังอัยการครับ

พิมพ์ยิกๆนั่นมาทีหลังจากการจดยิกๆ เพราะพอจดยิกๆแล้วกลับไปถึงที่พักก็เอามาพิมพ์ยิกๆอีก คราวนี้ก้เลยเอาโน้ตบุ๊คไปพิมพ์เสียเลย เวลาสรุปก็จะง่ายขึ้นแล้วตัดต่อเร็วพร้อมนำขึ้นบันทึกได้เลย เพียงแต่ตกแต่งรูปอีกนิดหน่อยก็ใช้ได้แล้วครับ

ช่วยกันแลกเปลี่ยนในสิ่งที่จดไม่ทันด้วยนะครับ จะเกิดประโยชน์มากหากบันทึกของผมชุดนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระหว่างบรรดานักศึกษาด้วยกันเองและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาว gotoknow ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นครับ ผมว่าจะเกิดประโยชน์อย่างมากมายเกินความคาดหมายของสถาบันเลยแหละครับ จึงฝากทุกท่านที่เข้ามาอ่านบันทึกชุดนี้ช่วยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ

อะ อะ พ่อครูบา เรียนนั่งทางในด้วยเหรอครับ อิอิ ใครสอนหลวงพี่ติ๊กหรือเปล่า เห็นเสวนากันนานจนผมนึกว่าจะอดข้าวเที่ยงซะแล้ว อิอิ

ไก่ที่จะอุ้มมาแกงมาเลยดีกว่ามั๊ง แฮ่ะๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท