กระบวนกร แปลว่า อะไร?


Socratic Method

Dialogue ;

ไอ้เจย์ : กระบวนกร แปลว่า อะไร?
คุณกวิน : กระบวนกรมาจากคำว่า วิทยากร

วิทยา+อากร=วิทยากร

วิทฺยา เป็นภาษาสันสกฤต ในภาษาบาลี ออกเสียงว่า วิชฺชา ทั้งสองคำแปลว่า "รู้"
อากร นี้แปลว่า  ภาษีชนิดหนึ่งที่เราจะต้องเสีย

วิทยากร แปลว่า เงินภาษีชนิดหนึ่งที่เราจะต้องใส่ซองเพื่อจ่ายให้กับคนมีความรู้ เมื่อแปลออกมาเช่นนี้แล้ว ภาพลักษณ์ของ วิทยากร จึงไม่ค่อยสวยหรูดูดีเท่าไรนัก วิทยากร จึงเรียกตัวเองเสียใหม่ว่า กระบวนกร 

ไอ้เจย์ : กระบวนกร รู้อะไร ทำอะไร อย่างไร เพื่ออะไร?
คุณกวิน : ปกติไม่ค่อยชอบ เดินสายรับทรัพย์ (อากร) ก็เลยไม่สามารถตอบปัญหาของแกได้ว่ะ แต่สิ่งที่แกพยายามถามหาความรู้จากฉัน แกก็ กำลังเป็น/กลายเป็น subset ของกระบวนกรโดยไม่รู้ตัวแล้วล่ะ ขอเถอะเพื่อน อย่ามาใช้ Socratic Method กะฉัน ฮ่าๆๆ

คำสำคัญ (Tags): #dialogue ;#socratic method
หมายเลขบันทึก: 256510เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2009 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

สวัสดีค่ะคุณกวิน

มี กัลยาณมิตร ที่ช่วยสร้างสรรค์ปัญญาต่อกันดีจริง ๆ ค่ะ

(^__^)

สวัสดีค่ะคุณกวิน

แวะมาทักทาย...วันนี้สบายดีนะคะ

มีข่าวว่าวันนี้อากาศที่กทม.อาจร้อนถึง 40 องศา...!!!!

มีความสุขมาก ๆ ค่ะ

(^___^)

คุณกวินคะ

เอา...ดอกพิกุล มาฝากค่ะ....

พิกุลนี่ เป็นดอกไม้โบราณที่เป็นไม้มงคล มีสรรพคุณทางยามากมายค่ะ แล้วก็สวยด้วย...

(^___^)

Pb2801044

ขอบคุณครับ ถ้าเป็นไปได้จะไปหามาปลูกไว้ที่บ้านครับ จำได้ว่าวัดแถวบ้านมีต้นพิกุลปลูกไว้ครับ

แวะมาเยี่ยมเยือน...สบายดีนะคะ

ขอยก คำพูดที่พี่ Ka-Poom  @37507 เขียนเอาไว้ที่ว่า "องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"  ซึ่งเป็นต้นแบบทั้งในเรื่องสุนทรียสนทนาและการจัดการความรู้ ผู้ที่นำ "ความรู้" ที่ปรากฏจากพระพุทธองค์มาบันทึกเก็บไว้ถึงสองพันห้าร้อยห้าสิบ+ คือ"พระอานนท์"ดังนั้นหากจะว่าไปแล้วการจัดการความรู้ด้วยปัญญาและพลังแห่งความเมตตานี้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วและเป็นการตัดทอนเส้นทางแห่งการเรียนรู้ให้สั้นลงเพื่อเข้าสู่ความเข้าใจแห่งรากเหง้าทาง "จิตวิญญาณ" ตามที่พระพุทธองค์ทรงชี้สอนสั่งและบอกทาง และคงยังไม่มีใครที่เลิศในเรื่องนี้ไปยิ่งกว่าพระพุทธองค์เป็นแน่แท้ในเรื่องดังกล่าว

อันนี้เห็นด้วยนะครับ ถ้าเคยสวดมนต์ตอนเช้า บทสวดมนทำวัดเช้าที่ที่สวดว่า โย ธมฺมํ เทเสสิ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ แปลว่า พระองค์ใด ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม ไพเราะ/ดี/งามในเบื้องต้น ไพเราะ/ดี/งามในท่ามกลาง ไพเราะ/ดี/งามในที่สุด

สมัยก่อน พระพุทธองค์ และ พระสงฆ์ผู้เป็นสาวก ก็คือ กระบวนกร (facilitator) และ การฟังพระธรรมเทศนา ก็คือการฟังอย่างลึกซึ้ง  (Deep Listening)

พระพุทธองค์
และ พระสงฆ์ผู้เป็นสาวก คือผู้ที่

สุปะฏิปันโน =เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว (พระโสดาบัน)
อุชุปะฏิปันโน =เป็นผู้ปฏิบัติ(ซื่อ)ตรงแล้ว (พระสิกทาคามี)
ญายะปะฏิปันโน=เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้องแล้ว (พระอนาคามี)
สามีจิปะฏิปันโน =เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว (พระอรหันต์)
 
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา =ท่านเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตามลำดับได้ 8 บุคคล คือ

คู่ที่ 1 พระโสดาปัตติมรรค กับ พระโสดาปัตติผล,
คู่ที่ 2 พระสกิทาคามิมรรค กับ พระสกิทาคามิผล,
คู่ที่ 3 พระอนาคามิมรรค กับ พระอนาคามิผล,
คู่ที่ 4 พระอรหัตมรรค กับ พระอรหัตผล. รวม 4 คู่ 8 บุคคล ฯ)

แต่น่าเสียดายที่คนห่างวัด เมื่อห่างวัดก็จึงห่างพระ เมื่อห่างพระก็คือห่าง กระบวนกร (facilitator) แล้วก็ไปสถาปนา กระบวนกร ที่เป็น ฆราวาสที่มีศีลกระพร่องกระแพร่ง มาทำหน้าที่แทนพระ เหมือนเอาคนตาบอดจูงคนตาบอด  แล้วก็พากันลงเหว เหมือนดังเช่นในปัจจุบัน

  • สมัยก่อน พระพุทธองค์ และ พระสงฆ์ผู้เป็นสาวก ก็คือ กระบวนกร (facilitator) และ การฟังพระธรรมเทศนา ก็คือการฟังอย่างลึกซึ้ง  (Deep Listening)
    ....................................................................................
  • ..ขอบคุณค่ะน้องกวินที่อธิบายสิ่งที่ติดค้างและข้อสงสัยเกี่ยวกับสุนทรียสนธนาอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน...
กวิน (เข้าระบบไมได้เพราะโดนแบน แค่ 30 วันเอง ฝากไว้ก่อน)

อาทิกลฺยาณํ  (ไพเราะในเบื้องต้น)
มชฺเฌกลฺยาณํ (ไพเราะในท่ามกลาง)
ปริโยสานกลฺยาณํ (
ไพเราะในที่สุด)

จริงๆ จะเขียนอธิบายท่อน นี้ ครับ พี่นุส เพราะคำว่า กัลยาณ+มิตร ที่(พี่สาว) ของกวินชอบพูดถึงบ่อยๆ ว่าคนโน้นคือกัลยณมิตรของเธอ คนนี้คือกัลยาณมิตรของเธอ ซึ่งหากอ้างอิงจากบทสวดมนต์ทำวัดเช้าที่แปลคำว่า กัลยาณ ว่า ไพเราะ นั้น คงจะทำให้พี่สาวกวิน เข้าใจอะไร ไขว้เขว ไปได้ เพราะพี่สาวของกวิน
เธออาจจะตีความคำว่า กัลยาณ+มิตร ว่า คือ มิตร ที่..

พูดจา ท่อน อาทิ (at the beginning) ก็ไพเราะ น่าฟัง
พูดจาท่อน มัชเฌ/มัชฌิม(ะ)/มัชฌิมา(middle) ก็ไพเราะ น่าฟัง
พูดจาท่อน ปริโยสาน {the end (of being)} ก็ไพเราะ น่าฟัง

 



 

อาทิกลฺยาณํ (ไพเราะในเบื้องต้น)

มชฺเฌกลฺยาณํ (ไพเราะในท่ามกลาง)

ปริโยสานกลฺยาณํ (ไพเราะในที่สุด)

จริงๆ จะเขียนอธิบายท่อน นี้ ครับ พี่นุส เพราะคำว่า กัลยาณ+มิตร ที่(พี่สาว) ของกวินชอบพูดถึงบ่อยๆ ว่าคนโน้นคือกัลยณมิตรของเธอ คนนี้คือกัลยาณมิตรของเธอ ซึ่งหากอ้างอิงจากบทสวดมนต์ทำวัดเช้าที่แปลคำว่า กัลยาณ ว่า ไพเราะ นั้น คงจะทำให้พี่สาวกวิน เข้าใจอะไร ไขว้เขว ไปได้ เพราะพี่สาวของกวินเธออาจจะตีความคำว่า กัลยาณ+มิตร ว่า คือ มิตร ที่..

พูดจา ท่อน อาทิ (at the beginning) ก็ไพเราะ น่าฟัง

พูดจาท่อน มัชเฌ/มัชฌิม(ะ)/มัชฌิมา(middle) ก็ไพเราะ น่าฟัง

พูดจาท่อน ปริโยสาน {the end (of being)} ก็ไพเราะ น่าฟัง

ภาษาบาลีข้างต้นที่ชม พระพุทธองค์ว่า พูดจา ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง และไพเราะในที่สุด นั้นเป็น โวหารภาพพจน์ (FIQUE OF SPEECH) เพราะ พระพุทธองค์ ในสายตาของคนในสมัยนั้น ท่านออกจะเพี้ยนๆ และพูดจา กวนๆ ยี ยวน บาทาของใครหลายๆ คนอยู่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น

เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ ทรงทอดพระเนตรเห็น กลุ่มพราหมณ์ ผู้กำลังต้อนฝูงแกะ เพื่อจะนำไปประกอบพิธีบูชายัญ ท่านก็ เข้าไปขวาง และ ทรงแบกลูกแกะไว้บนพระอังสะ แล้วทรงห้ามปรามกลุ่มพราหมณ์มิให้นำลูกแกะไปประกอบพิธีบูชายัญ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า หากท่านต้องการประกอบพิธีบูชายัญ จงประกอบพิธีบูชายัญตัวท่านเอง บูชายัญตัณหาของท่าน บูชายัญความอยากทางวัตถุของท่าน บูชายัญความทะยานอยากทางโลกีย์ทั้งปวงของท่าน การประกอบพิธีบูชายัญดังว่ามานี้แล เป็นการประกอบพิธีบูชายัญที่ประเสริฐสุด พราหมณ์เกิดสติและใจอ่อน จึงโยนอาวุธทิ้ง ลูกแกะรอด (ยุ่งเรื่องของชาวบ้านแบบนี้ แถมพูดจา ด่า เอ้ย เตือนสติ กลุ่มพราหมณ์ แบบนี้ ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง และไพเราะในที่สุด หรือไม่?)

อีกตัวอย่างหนึ่งก็เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทอดพระเนตร เห็น กลุ่มพราหมณ์ผู้ไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคาเพื่อล้างบาป พระพุทธองค์ท่านก็ ด่า เอ้ย สุนทรียสนทนา ว่า ถ้าต้องการล้างบาปไม่จำเป็นต้องไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา ขอให้ชำระกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ คือ เว้นทุจริตทางกาย วาจา ใจ และประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ นั่นแหละคือการอาบน้ำล้างบาปมีในศาสนาของพระองค์ ถ้าประพฤติอยู่ในสุจริตแล้ว แม้น้ำดื่ม น้ำอาบ ธรรมดาก็จะกลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย อนึ่ง ถ้าน้ำในแม่น้ำคงคาสามารถล้างบาปได้จริงและอำนวยผลให้ผู้ลงไปอาบไปสวรรค์ได้จริงแล้ว พวก กุ้ง หอย ปู ปลา ก็มีโอกาสไปสวรรค์ได้มากกว่ามนุษย์เพราะอาศัยอยู่ในแม่น้ำนั้นตลอดเวลา (ยุ่งเรื่องของชาวบ้านแบบนี้ แถมพูดจา ด่า เอ้ย เตือนสติ กลุ่มพราหมณ์ แบบนี้ ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง และไพเราะในที่สุด หรือไม่?)

ฉะนั้น เราจะต้อง ตีความบาลี ที่ว่า โย ธมฺมํ เทเสสิ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ ที่แปลว่า พระองค์ใด(ก็พระพุทธองค์อย่างไรเล่า) ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด

ในบทสวดมนต์ คำว่า กัลยณ ถูกแปลและให้ความหมายเอาไว้ว่า ไพเราะ นั้น เราจึงควรจะตั้งคำถามในใจของเราว่า พุทธพจน์ของพุทธองค์ นั้น ไพเราะ แบบไหน เพราะอะไร? หากเราทราบความหมายของคำว่า กัลยาณ ในแบบของพุทธองค์ ถ่องแท้ดีแล้ว ก็จะแปลความหมายของ คำว่า กัลยณมิตร ได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

และย่อมจะไม่มีทางที่จะแปลความคำว่า กัลยาณมิตร ว่าคือมิตรที่ดีแต่ พูดจาเพราะๆ ตลอดเวลาของการสนทนา

อาทิกลฺยาณํ (ไพเราะในเบื้องต้น)

มชฺเฌกลฺยาณํ (ไพเราะในท่ามกลาง)

ปริโยสานกลฺยาณํ (ไพเราะในที่สุด)

จริงๆ จะเขียนอธิบายท่อน นี้ ครับ พี่นุส เพราะคำว่า กัลยาณ+มิตร ที่(พี่สาว) ของกวินชอบพูดถึงบ่อยๆ ว่าคนโน้นคือกัลยณมิตรของเธอ คนนี้คือกัลยาณมิตรของเธอ ซึ่งหากอ้างอิงจากบทสวดมนต์ทำวัดเช้าที่แปลคำว่า กัลยาณ ว่า ไพเราะ นั้น คงจะทำให้พี่สาวกวิน เข้าใจอะไร ไขว้เขว ไปได้ เพราะพี่สาวของกวินเธออาจจะตีความคำว่า กัลยาณ+มิตร ว่า คือ มิตร ที่..

พูดจา ท่อน อาทิ (at the beginning) ก็ไพเราะ น่าฟัง

พูดจาท่อน มัชเฌ/มัชฌิม(ะ)/มัชฌิมา(middle) ก็ไพเราะ น่าฟัง

พูดจาท่อน ปริโยสาน {the end (of being)} ก็ไพเราะ น่าฟัง

ภาษาบาลีข้างต้นที่ชม พระพุทธองค์ว่า พูดจา ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง และไพเราะในที่สุด นั้นเป็น โวหารภาพพจน์ (FIQUE OF SPEECH) เพราะ พระพุทธองค์ ในสายตาของคนในสมัยนั้น ท่านออกจะเพี้ยนๆ และพูดจา กวนๆ ยี ยวน บาทาของใครหลายๆ คนอยู่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น

เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ ทรงทอดพระเนตรเห็น กลุ่มพราหมณ์ ผู้กำลังต้อนฝูงแกะ เพื่อจะนำไปประกอบพิธีบูชายัญ ท่านก็ เข้าไป ขวาง และ ทรงแบกลูกแกะไว้บนพระอังสะ แล้วทรง ห้ามปราม กลุ่มพราหมณ์มิให้นำลูกแกะไปประกอบพิธีบูชายัญ พระพุทธองค์ทรง ด่า เอ้ย สุนทรียสนทนา ว่า หากท่านต้องการประกอบพิธีบูชายัญ จงประกอบพิธีบูชายัญตัวท่านเอง บูชายัญตัณหาของท่าน บูชายัญความอยากทางวัตถุของท่าน บูชายัญความทะยานอยากทางโลกีย์ทั้งปวงของท่าน การประกอบพิธีบูชายัญดังว่ามานี้แล เป็นการประกอบพิธีบูชายัญที่ประเสริฐสุด พราหมณ์เกิดสติและใจอ่อน จึงโยนอาวุธทิ้ง ลูกแกะรอด (ยุ่งเรื่องของชาวบ้านแบบนี้ แถมพูดจา ด่า เอ้ย เตือนสติ กลุ่มพราหมณ์ แบบนี้ ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง และไพเราะในที่สุด หรือไม่?)

อีกตัวอย่างหนึ่งก็เช่น เมื่อพระพุทธองค์ ทรงทอดพระเนตร เห็น กลุ่มพราหมณ์ผู้ไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคาเพื่อล้างบาป พระพุทธองค์ท่านก็ ทรง ด่า เอ้ย สุนทรียสนทนา ว่า ถ้าต้องการล้างบาปไม่จำเป็นต้องไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา ขอให้ชำระกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ คือ เว้นทุจริตทางกาย วาจา ใจ และประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ นั่นแหละคือการอาบน้ำล้างบาปมีในศาสนาของพระองค์ ถ้าประพฤติอยู่ในสุจริตแล้ว แม้น้ำดื่ม น้ำอาบ ธรรมดาก็จะกลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย อนึ่ง ถ้าน้ำในแม่น้ำคงคาสามารถล้างบาปได้จริงและอำนวยผลให้ผู้ลงไปอาบไปสวรรค์ได้จริงแล้ว พวก กุ้ง หอย ปู ปลา ก็มีโอกาสไปสวรรค์ได้มากกว่ามนุษย์เพราะอาศัยอยู่ในแม่น้ำนั้นตลอดเวลา (ยุ่งเรื่องของชาวบ้านแบบนี้ แถมพูดจา ด่า เอ้ย เตือนสติ กลุ่มพราหมณ์ แบบนี้ ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง และไพเราะในที่สุด หรือไม่?)

ฉะนั้น เราจะต้อง ตีความบาลี ที่ว่า โย ธมฺมํ เทเสสิ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ ที่แปลว่า พระองค์ใด(ก็พระพุทธองค์อย่างไรเล่า) ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด

ในบทสวดมนต์ คำว่า กัลยาณ ถูกแปลและให้ความหมายเอาไว้ว่า ไพเราะ นั้น เราจึงควรจะตั้งคำถามในใจของเราว่า พุทธพจน์ของพุทธองค์ นั้น ไพเราะ แบบไหน เพราะอะไร? หากเราทราบความหมายของคำว่า กัลยาณ ในแบบของพุทธองค์ ถ่องแท้ดีแล้ว ก็จะแปลความหมายของ คำว่า กัลยณมิตร ได้ถูกต้องยิ่งขึ้น และย่อมจะไม่มีทางที่จะแปลความคำว่า กัลยาณมิตร ว่าคือ มิตรที่ดีแต่ พูดจาเพราะๆ ตลอดเวลาของการสนทนา

สวัสดีค่ะคุณกวิน

กัลยาณมิตร มักจะให้สิ่งที่ดี ๆ ที่ตัวเองชอบกับเพื่อนค่ะ

ดื่มแล้วมีความสุข อารมณ์ดี ยิ้ม ๆ ได้ค่ะ

(^___^)

ได้ความรู้ดีจัง ขอบคุณค่ะ

คนพูดไพเราะตลอดทุกกาล ไม่จำเป็นต้องได้ชื่อว่ากัลยาณมิตรนะคะ ยิ่งคนพูดไพเราะอย่างผิดปกติ พี่ว่าออกจะน่ากลัว อาจเข้าทำนองปากปราศัย น้ำใจเชือดคอ แต่คำพูดของกัลยาณมิตรอาจไม่ถูกใจแต่จริงใจให้ประโยชน์

สวัสดีครับ น้องกวิน

         แต่พี่เป็น "วิทยากร" ที่ไม่ค่อยได้ "อากร" ครับ ;-)

         ในฐานะที่กวินรัก (สาว) อักษร ก็เลยชวนไปทานอาหารไทยในชื่อฝรั่งกันหน่อย...ดูซิว่าจะกล้าทานเมนูไหน

        คลิกตามภาพไปเล้ยยยย....

          ชื่อแปลอาหารไทย...ที่ฝรั่งร้องจ๊ากส์ส์ส์

สวัสดีครับคุณกวิน

ไม่ได้มาทักทายนานแล้ว ตามอ่านงานไม่ทันครับ

คุณกวินสบายดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท