โศกาทิตย์- เตวิช บรม-พระสมณโคดม


หลายวันก่อนเดินไปเยี่ยม เลขาแผนกสูติฯ เธอเพิ่งคลอดลูกด้วยวิธีการผ่าท้องแบบซีซาร์ (Caesarean Section) เจอ extern คนหนึ่งที่ชั้น 6 กำลังนั่งเขียน Progression note อยู่ที่หอผู้ป่วยชั้น 6 ได้หยุดทักทายและคิดว่าคงจะคุยด้วยไม่นาน ทำไปทำมานั่งคุยกันประมาณ 4 ชั่วโมง (16.30-21.30 น.) ได้ใช้กระบวนการ Bohmian Dialogue+Socratic Method ในการสนทนา จริงๆ คงต้องบอกว่า extern เขานั่งปรับทุกข์ด้วยต่างหาก

Dialogue  ที่เรากำลัง เบอร์ 5 (เบอร์ 5 ไม่ได้เป็นเครื่องหมายแสดงความประหยัดไฟ แต่เป็นคำผวนหมายถึง บ้าเห่อ) เป็น มรรควิธีโบร้าณ โบราณ ที่มีผู้เริ่มใช้มาก่อนแล้วในสมัยก่อน

ในหนังสือ Socrates’s Way ของ Ronald Gross ระบุว่าโสคราติส (Socrates) นักปราชญ์ชาว กรีก (ภาษาสันสกฤต คงจะเขียนว่า โศกาทิตย์ แปลว่า พระอาทิตย์เศร้า ที่พระอาทิตย์ (หรือผู้มีปัญญารุ่งเรืองเหมือนแสงอาทิตย์ ต้องเศร้าก็เพราะว่า นายโศกาทิตย์ ถูกลงมติให้ดื่มเหล้าผสมยาพิษ จากสภากรุงโรม โทษฐานตั้งตนเป็นเจ้าสำนัก มอมเมาประชาชน)  (โศกาทิตย์ มีชีวิตระหว่าง 495-399 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นคนคิดวิธีที่เรียกว่า Socratic Method หรือถ้าแปลเป็นไทยก็คงจะประมาณว่า วิธีการ (แกล้งโง่) ของโศกาทิตย์  คือ เมื่อมีคนไปถามเขา เขาจะไม่ตอบ แต่จะตั้งคำถามกลับเพื่อให้คนคิดเองเป็น หลายครั้งคนพบคำตอบด้วยปัญญาของตัวเอง หากตั้งคำถามดีๆ (1) 


ปกหนังสือ วิธีแสวงหาสัจจะแบบโสคราติส

ในหนังสือ วิธีแสวงหาสัจจะแบบโสคราติส  ของ Peter Kreeft ศาสตราจารย์ทางด้านปรัชญา แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ซึ่งผู้เขียนได้หยิบเอาวิธีการค้นหาความจริงแบบโศกาทิตย์ นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ นั้นคือ การสนทนาเพื่อถกเถียง อภิปรายกับใครต่อใคร เพื่อให้ได้มาซึ่งสัจจะ มาพิจารณาประเด็นการทำแท้ง ซึ่งยังคงเป็นประเด็นที่ไม่อาจยุติได้โดยง่าย ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้กำหนดให้โศกาทิตย์ สนทนากับแพทย์ นักปรัชญา และนักจิตวิทยา ซึ่งต่างก็มีมุมมองเกี่ยวกับการทำแท้งที่แตกต่างกันไปตามวิชาชีพและความคิดเห็นของตน โดยตั้งอยู่บนหลักเหตุและผลที่เป็นระบบ (2)


เรารู้จัก วิธีการ (แกล้งโง่) ของโศกาทิตย์  ไปแล้วที่นี้เรามาทำความรู้จักคำว่า  dialogue ในแบบของนาย เตวิช บรม (David Bohm)  (เตวิช ภาษาบาลี ออกเสียง ว่า เตวิชโช โดยที่ เต หรือ ไตร ภาษาอังกฤษออกเสียงว่า three แปลว่า 3 ส่วนคำว่า วิชา แปลว่า รู้ ดังนั้น เตวิช (David) จึงแปลว่า รู้ 3 อย่าง ได้แก่  

1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ  (reminiscence of past lives)
2. จุตูปปาตญาณ (knowledge of the decease and rebirth of beings; clairvoyance)
3. อาสวักขยญาณ (knowledge of the destruction of mental intoxication)(3)


ส่วนคำว่า บรม (Bohm) มาจาก ปรม แปลว่า เลิศ รวมความแล้ว เตวิช บรม (David Bohm) แปลว่า เลิศในการรู้วิชา 3 อย่าง (ว่าไปนั่น)

นาย เตวิช บรม  เป็นเจ้าของแนวคิด Bohmian Dialogue หรือแปลเป็นไทยว่า “สุนทรียสนทนา” “สนทนาแลกเปลี่ยน” “วาทวิจารณ์”   “การสนทนาเพื่อคิดร่วมกัน”   “สนทนาวิสาสะ” ซึ่งหมายถึงการพูดคุยแบบคนคุ้นเคยกัน  นาย เตวิช บรม   ไม่เชื่อหรอกว่าสิ่งที่เขาเรียกว่า dialogue   นั้น จะเป็นคำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาอันสลับซับซ้อนบนโลกใบนี้ได้ทุกเรื่อง แต่เขาคิดว่าสุนทรียสนทนาเป็นเพียงการเริ่มต้นของการแก้ปัญหาที่มนุษย์สร้างขึ้นนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งความเชื่อนี้อาจจะเป็น   จริง เพราะปรัชญาตะวันออก  (คงจะหมายถึงพุทธศาสนาว่าด้วยเรื่องตัวกูของกู*) ซึ่งเป็นต้นธารความคิดเรื่องสุนทรียสนทนาของ นาย เตวิช บรม  ได้ให้การรับรองไว้ว่า ถ้าคนสามารถถอดถอนอำนาจ อุปาทาน ความคิด ความเชื่อที่ห่อหุ้มอยู่อย่างแน่นหนาทั้งหลายทั่วโลก มานั่งพูดคุยกันแบบมนุษย์สัมผัสมนุษย์ได้ ก็น่าจะเป็นการเริ่มต้นของการแก้ปัญหาของโลก แต่ความรักจะโบยบินออกไปเสมอ ตราบใดคนพูดจากันไม่รู้เรื่อง และสร้างโลกของความหมายร่วมกันไม่ได้ (Love will go away if we can not communicate and share meaning) (4)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิวกานท์ ปทุมสูติ ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับ Bohmian Dialogue ไว้ในร้อยกรองจากต้นธารวจนะ เดวิด โบห์ม (เตวิช บรม)  เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2547 ความว่า

เสมือนเราร่วมเปล่งเพลงกลอนด้น    ร่วมคิดค้นคำเพราะเสนาะเสียง
เริงระบำร่วมกันใต้แสงตะเกียง        ส่อสำเนียงสู่ความหมายและปลายทาง
ถ้าเราจะช่วยกันสร้างสรรค์รัก         ถัก ทอสังคมอันมีค่า
เราจำเป็นต้องร่วมคิดพิจารณา        และพูดกันด้วยภาษาภราดร
ถ้าเราทำให้มิ่งมนต์การสนทนา       ยั่งยืนด้วยศรัทธาประภัสสร
เราจะพบว่าคำพูดคือคำพร            ที่อาทรแห่งถ้อย หลอมร้อยเรียง(5)

พูดไปพูดมา สิ่งที่ โศกาทิตย์ และ เตวิช บรม กล่าวเอาไว้นั้น สอดรับกับที่ พระพุทธองค์ (พระสมณโคดม) ทรงตรัสไว้เกี่ยวกับเรื่อง สุญตา อนัตตา นั่นเอ้ง นั่นเอง  

อ้างอิง


(1) วิธีโค้ชแบบโสคราติส .โพสต์ ทูเดย์ - ไลฟ์สไตล์ [cited 2009 june่ีืำ 19]. Available from: http://www.posttoday.com/lifestyle.php?id=10761

(2) ปีเตอร์ ครีฟท์ (Peter Kreeft).วิธีแสวงหาสัจจะแบบโสคราติส. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเด็ก, 2546 อ้างใน วิธีแสวงหาสัจจะแบบโสคราติส .Kidsquare [cited 2009 june่ีืำ 19]. Available from: http://www.kidsquare.com/show.php?pid=7056

(3) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). วิชชา 3. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม [cited 2009 june่ีืำ 19]. Available from: http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=106

(4) โสฬส ศิริไสย์ .Bohmian Dialogue “สุนทรียสนทนา” เพื่อการคิดร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ: แนวคิดและวิธีการจัดการ .สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา [cited 2009 june่ีืำ 19]. Available from: http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=transteam&topic=10&page=2

(5) ศิวกานท์ ปทุมสูติ. ร้อยกรองจากต้นธารวจนะ เดวิด โบห์ม อ้างใน  ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์,ปาริชาต สถาปิตานนท์ .ไดอะล็อก: การสนทนาอย่างมีสมาธิ . ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล [cited 2009 june่ีืำ 19]. Available from: http://www.ce.mahidol.ac.th/web/ce_download/trianing/%E0%CD%A1%CA%D2%C3%20%CD.%AA%D1%C2%C7%D1%B2%B9%EC%20%A4%C3%D1%E9%A7%B7%D5%E81/Dialogue.ppt

คำสำคัญ (Tags): #socrates#david bohm
หมายเลขบันทึก: 256226เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2009 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีครับคุณกวิน


น่าสนใจมาก ๆ ครับ เรื่องนี้กำลัง เป็นที่่สนใจ หรือ เห่อกันมากมายกว้างขวาง ใครไม่พูดเรื่องนี้ เชยไปเลย


แต่ที่่กำลังสนใจคือ เรารู้จริงกันแค่ไหน  บางคนพูดมากทั้งที่ยังเข้าใจไม่หมดแต่พูดเพราะรู้มาบ้าง 

ทำให้คิดถึง ปาโล แฟร์ ซึ่งกล่าวไว้ถึงเรื่อง  วัฒนธรรมเงียบ  บางคนไม่มีพื้นที่ในสังคม จึงไม่กล้าพูดอะไร ได้แต่เงียบ


พูดไปกลัวไม่เป็น ภาษาเดียวกับกลุ่ม พวก ที่เขาคุยกันอยู่


ผมก็ต้องศึกษาบ้าง เพราะมีเพื่อนหลายคนคุยกันเรื่องนี้

ส่วนเรื่องเปาโล แฟร์รรี่นี้ ถ้าสนใจคุยกับคุณคนไม่มีรากได้ เธอศึกษาจนคนเรียกว่า "เจ้าแม่เปาโล แฟร์รี่" ครับ

 

ปากจัดจังเลย จัดว่าดีค่ะ คุณกวิน

เมื่อไหร่ ฉันจะได้ กลอนไม่สุภาพของทานค่ะ

ต้องหมั้นก่อนถึงจะแต่งได้ครับ

คือต้องมุ่งมั่นก่อนจึงจะแต่งกลอนได้อยากได้กลอนเพราะๆต้องใจร่มๆครับ(เล่นตัวนั่นเอง)

สวัสดีค่ะคุณกวิน

บันทึกนี้ให้ความรู้มากมายและวิเคราะห์ไว้ดีมาก ๆ เลยค่ะ....

ไม่เชื่อหรอกว่าสิ่งที่เขาเรียกว่า dialogue   นั้น จะเป็นคำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาอันสลับซับซ้อนบนโลกใบนี้ได้ทุกเรื่อง แต่เขาคิดว่าสุนทรียสนทนาเป็นเพียงการเริ่มต้นของการแก้ปัญหาที่มนุษย์สร้างขึ้นนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

คนมักเข้าใจเรื่องของ "สุนทรียสนทนา" ตามแบบที่ได้รับการอบรมมาและบ้างก็อธิบายเพิ่มเติมตามความเห็นของตนเพิ่มไปอีก ความจริงแล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่... รากฐานของ dialogue มีมาตั้งแต่สมัย โสคราติส (Socrates) นักปราชญ์ชาวกรีก นั่นแล้ว และมีนักปราชญ์ นักคิดที่สืบทอดต่อกันมา โดยเฉพาะนำมาใช้กับงาน "การพัฒนาชุมชน" ค่ะ

คนที่ทำงานพัฒนาเพื่อให้ชาวบ้านเกิดความตระหนักรู้ กล้าที่จะ "พูด" ในสิ่งที่ตัวเองรู้ แม้จะไม่ได้พูด "ภาษาเดียวกันกับนักวิชาการ" ก็คือ เปาโล แฟร์รี่ นักปฏิวัติสังคมชาวบราซิล คนนี้เองค่ะ

(มาเจอคนวางยาไว้...โห...พี่คนตัดไม้ ยกให้คนไม่มีรากเป็น "เจ้าแม่เปาโล แฟร์รี่" เลยหรือคะ...ออกจะเขินเล็กน้อยค่ะ)

dialogue เป็นกระบวนการ วิธีการหนึ่งที่ใช้กระตุ้นให้มนุษย์รับรู้ถึงศักยภาพที่มีอยู่ในตัว เมื่อมนุษย์ตระหนักถึงศักยภาพของตนแล้ว ก็จะกล้าพูด กล้าแสดงความรู้สึก กล้าคิดต่าง ... จึงหลุดพ้นจาก "วัฒนธรรมเงียบ"  (Silence culture)

ซึ่งเปาโล แฟร์รี่ กล่าวไว้ว่า เจ้า "วัฒนธรรมเงียบ"  (Silence culture) นี้ เป็นสิ่งที่ทำลายคุณค่าของความเป็นมนุษย์ (Dehumanization) อย่างแท้จริงค่ะ

แล้วอะไรจะน่าเศร้ามากไปกว่า...การที่มนุษย์ดูถูกมนุษย์ ด้วยกันอีกเล่า?

ชักอยากเล่าเรื่องของ เปาโล แฟร์รี หนุ่มในดวงใจเสียแล้วค่ะ

(^___^)

ขอบคุณคนไม่มีราก ครับ ได้ความรู้มากมายเลยครับ

บันทึกนี้อ่านสนุกและได้ความรู้ดีค่ะคุณกวิน ชอบค่ะ ชอบ

แถมด้วยคุณคนไม่มีรากที่มาต่อยอดเรื่องของเปาโล แฟร์รี ด้วย ฮ่า ๆ

เสร็จเรา.. สักวันหนึ่งอาจได้เอาไปใช้ อิ..อิ..

ขอบคุณนะคะคุณกวินที่เขียนบันทึกนี้ ..^__^..

กิตติกรรมประกาศ

ขอบคุณ ศ.ดร. กู เกิ้ล ด้วยนะครับ

ตามมาจากบันทึกนี้ค่ะ ชอบค่ะ แถมได้รู้จักวัฒนธรรมเงียบด้วย อิอิ ชอบๆ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณกวิน

แวะมาทักทายค่ะ...^_^...

มาส่งข่าวว่า หาหนังสือ เกี่ยวกับ แฟร์ให้ไม่ได้

เลยส่งบทความที่เคยเขียนส่งอาจารย์ไปให้อ่านพลาง ๆ ค่ะ

ไม่ค่อยสมบูรณ์นักนะคะ...ตอนนั้นมือใหม่ค่ะ

กำลังจะเขียนเป็นบันทึกลงใน G2K ค่ะ

ส่งให้ทางเมลแล้วนะคะ

(^___^)

ขอบคุณครับได้รับบทความแล้วครับ

เข้ามาอ่าน..ขอบคุณค่ะฝากขอบคุณคนไม่มีรากอีกคนนะคะที่ให้ความหมายซึ่งเปาโล แฟร์รี่ กล่าวไว้ว่า เจ้า "วัฒนธรรมเงียบ"  (Silence culture) นี้ เป็นสิ่งที่ทำลายคุณค่าของความเป็นมนุษย์ อย่างแท้จริงค่ะ....

ขอบคุณพี่นุส ครับ ดอกไม้อะไรครับเนี่ย สวยดีเหมือนดอกดาหลา หรือพุทธรักษา

สวัสดีค่ะ
เข้ามาอ่าน และขอแก้ จากดอก ดาหลา เป็นกาหลาค่ะ 

  • แวะมารับความรู้ค่ะ อ่านแล้วโล่งใจดีจัง

สวัสดีค่ะ ไม่ได้พบกันนานแล้ว สบายดีนะคะ มาแวะทักทายเลยได้ความรู้กลับไปด้วย น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท