หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

มาขอความช่วยเหลือค่ะ


แล้วก็มีโจทย์มาว่า ให้ไปช่วยดูหน่อย อาหารสดแค่ไหน

เมื่อวานซืน   ผู้บริหารประชุม  มีโจทย์เข้าไปปรึกษาเรื่องอาหารคนไข้    มีข่าวว่า โรงพยาบาลผลิตอาหารด้อยคุณภาพ   คนไข้เลยไม่อยากจะกิน     ผู้ปรึกษาบอกมาว่าคาดว่าอาหารไม่สด   ผู้บริหารเลยมอบหมายคุณผู้หญิงทั้งหลายช่วยกันหน่อย  ไปดูให้ด้วย  อาหารสดหรือไม่   เอาแล้วละซิ  ฉันก็เป็นผู้หญิงนะ   ไปดูอาหารแล้วจะบอกได้ไหมนี่ว่าอาหารไหนสดไหนไม่สด 

 

ตกค่ำเลยโทรถามเพื่อนที่ประมงจังหวัดภูเก็ต   ถามเรื่องดูยังไงว่าปลาตรงหน้ายังสด  ได้คำตอบว่า ให้ดูตาและเหงือกมัน   ถ้ามันยังสด  ตามันจะใสแวววาวและตึงเต็มอิ่ม   ถ้าเหงือกมันแดงแบบสีเลือดหยดนั่นแหละสดดีเชียว   นึกได้ว่าปลาที่ตลาดสด  บางร้านแช่น้ำแข็งไว้  เลยถามเพิ่มไปอีกว่า  แล้วปลาแช่น้ำแข็งดูอย่างไร  ได้คำตอบว่า ดูเหมือนๆกัน  ที่ดูได้ยาก คือ ปลาแช่เย็นแบบ freeze    

 

ถามว่าจะดูกุ้งว่าสดละค่ะ จะดูที่ตรงไหน ดูเปลือกลอกยากได้หรือไม่   ได้คำตอบว่าให้ดูที่เนื้อมัน หากว่าเนื้อมันใสนั่นแหละสดดีนัก   และให้ดูแก้มกุ้ง  ถ้าแก้มมันดำๆ แนะนำว่าอย่าซื้อ แปลมันได้ 2 ทาง ทางหนึ่งคือ เป็นโรค อีกทางหนึ่ง คือ  ไม่สด   เลยถามว่าหากกุ้งนั้นปอกเปลือกแล้วจะดูอย่างไรว่ามันสดและอยู่ดี  คำตอบ คือ ไม่รู้ว่าจะดูอย่างไร เพราะกุ้งลอกเปลือกขายจะมาจากเอาเนื้อกุ้งหลากหลายขนาดหลากชนิดมาปอกรวมกัน

ปลาสด

 

 

ผ่านเรื่องเนื้อสัตว์ทะเล ที่พอจะมีหลักๆให้ไปช่วยดู   ทีนี้ยังเหลือ เรื่องการดูผัก ดูอย่างไรจึงเรียกว่า สด    คราวนี้นึกไม่ออกว่ามีเพื่อนคนไหนให้ถามอีกบ้าง  นึกไปนึกมาไม่มีเพื่อนเก่าให้ถาม มีแต่ชาวเฮฮาศาสตร์ที่พึ่งได้   เลยมา post คำถาม ขอคำแนะนำ วิธีเลือกผัก ดูยังไงว่าสดใหม่ ไม่ใช่สดเพราะน้ำ   ใครช่วยแนะนำเคล็ดลับการดูผักว่าสดมากน้อยแค่ไหนให้หน่อยนะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 181345เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • ตอบยากครับคุรหมอ  เพราะว่าผักมีหลายอย่างเหลือเกิน
  • คุณหมอต้องระบุ มาเป็นอย่างๆ ได้ไหมครับ
  • แต่ถ้าตอบแบบรวมๆ การดูผักสดก็คือ ผักที่ยังไม่เหี่ยวนั่นแหละครับ เอิ๊กๆ

เรียน ท่านหมอเจ๊ ฅน งาม ขออนุญาต ออกความเห็น

  • ประการแรก ก็ ถามที่ปรึกษา ท่านว่า สด ไม่สด วัดอย่างไร ดูอย่างไร ท่านคงมีเกณฑ์ นิ
  • ประการที่สอง ถามผู้ป่วย ทำ Focus Group เลย ทำไมไมอยากทานอาหารโรงครัว ไม่สด ไม่อร่อย หรือ ไม่ถูกปาก นิ
  • ประการที่สาม ผู้บริหาร ผู้บริคูณ สาวสาว ไปลองบริโภค อาหาร จากโรงครัว จะได้ รู้แล้วรู้รอด
  • ตัดสินจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ใช้ Evidence Base และ Stakeholder Voice ครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • เรื่องคนไข้ไม่ชอบอาหารโรงบาลคงเป็นปัญหาทุกที่มังคะ
  • อาหารที่โรงครัวทำมาให้เรากิน เรายังกินกันไม่ค่อยได้เลย เพราะทำแต่ละที ทำกันซะหม้อใหญ่กะทะใหญ่
  • -----
  • ส่วนเรื่องผักสด คุณสามีจะเป็นคนไปตลาดอ่ะค่ะ รับผิดชอบเรื่องครัว อิอิอิ  หากเลือกเองก็จะเลือกผักที่เป็นใบเขียวไม่เหลืองค่ะ
  • ขึ้นอยู่กับฝีมือ เครื่องปรุง น่าทาน ร้อนๆ
  • คนไข้เองก็บอกไม่ถูก เลยไปกำหนด สดไม่สดวัตถุดิบ ก็มีส่วน แต่น่าจะมีส่วนประกอบอื่นๆด้วย บางทีอยากได้กำไรเยอะ เหมาผักมา แต่ถ้าฝีมือดี ผักเหี่ยวต้มจับฉ่าย ก็พอไหว อิ อิ เรื่องนี้ต้องมาถกกันต่อในสวนป่า

สวัสดีค่ะพี่หมอเจ๊

เบิร์ดวิ่งตามคุณหมอคนชอบวิ่งที่ท่านไปลากมาจาก ที่นี่ค่ะ

อืม...เบิร์ดว่าน่าจะมาจากหลายสาเหตุ

และเห็นด้วยกับอาจารย์หมอ JJ ค่ะ ว่าน่าจะดูจากสาเหตุต่างๆอย่างเช่นเมนูอาหารเป็นอาหารใต้หรือว่าอาหารภาคกลาง

คนไข้ส่วนใหญ่้เป็นคนที่ไหน  ทดลองชิมอาหารดูว่าเป็นอย่างไร เรื่องนี้ยาวมากค่ะ..ค่อยๆสอบถามกันทางเมล์ก็ได้นะคะแล้วเบิร์ดจะให้เบอร์โทร.ค่ะ

ส่วนเรื่องผักนั้นเบิร์ดเคยลองสอบถามแม่ค้าในตลาดที่กระบี่ พบว่าเป็นผักนำเข้าจากจังหวัดใกล้เคียงเป็นส่วนใหญ่อย่างเช่นจากนครฯ  ชุมพร เพราะพื้นที่ของกระบี่ถูกนำไปปลูกปาล์มน้ำมัน+ยางพาราที่ได้ราคาดีกว่าค่ะ  ทำให้ต้องนำผักเข้ามาจากจังหวัดใกล้เคียงนี่อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งก็ได้นะคะที่ทำให้ผักมีรสชาติไม่ดี

ถ้าเป็นไปได้เบิร์ดอยากให้ รพ.กระบี่นำร่องเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยค่ะ เพื่อสร้างกระแสให้มีผลผลิตที่ดีสำหรับคนในพื้นที่ได้บริโภคผัก ผลไม้ อาหารสด อาหารแห้งที่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง โดยการเริ่มผลิตในพื้นที่ที่มี โอย..อยากนั่งคุยเรื่องนี้จริงๆจังๆ จังเลยค่ะ เพราะอาทิตย์นี้มีอาจารย์จาก สวรส.มาถอดบทเรียนการดำเนินงาน รพ.อาหารปลอดภัยที่ชร. เพราะเราได้รางวัล รพ.ต้นแบบอาหารปลอดภัยดีเด่นของประเทศน่ะค่ะ และคนไข้ รวมทั้งบุคคลภายนอกก็พอใจกับอาหารโรงครัวของเราในระดับที่ดีทีเดียวค่ะ

ไว้เจอกันที่สวนป่านะคะ

เห็นคุณหมอ P ต้องรีบคลิกเข้ามาดู  เพราะมีของดีดี อาหารอร่อย

  • ขอบคุณทุกๆท่านค่ะ
  • .......
  • หมอเจ๊ลืมบอกไปว่า โรงพยาบาลได้รางวัลต้นแบบอาหารปลอดภัยหลายปีแล้วค่ะ
  • ........
  • ตอนนี้ก็ยังผ่านอยู่
  • ........
  • ประเด็นคือ ซื้อผักในพื้นที่.....จากแหล่งปลอดสารพิษ
  • วิธีซื้อคือประมูลให้มีตัวแทนมาส่ง
  • ........
  • แต่ได้ผักที่ปลอมปน ดูจากของสดก่อนปรุงไม่ได้คุณภาพ
  • ........
  • ผู้บริหารจะเลิกประมูล......เลยให้มีการตรวจสอบ
  • ผู้ที่จะตรวจสอบ.....ขอให้ช่วยตั้งเกณฑ์ว่าจะให้เหตุผลด้วยข้อเท็จจริงว่าอย่างไร......เรื่องสดและไม่สด
  • ผู้มาปรึกษามาให้ข่าวว่าคนไข้ก็รู้สึกว่า.....อาหารทำจากของสดที่ไม่มีคุณภาพ.......ทำอาหารไปบริการก็เลยเหมือนทำทิ้ง......ยังไงยังงั้นค่ะ

สวัสดีค่ะ มาอีกรอบเพราะเห็นว่าเริ่มจูนตรงกันแล้ว

ระบบที่ชร.ทำ เราไม่ได้ใช้ระบบประมูลค่ะ เราใช้คอนแทกกับผู้ผลิตโดยตรง เพราะตราบใดที่เรายังใช้พ่อค้าคนกลาง เราหวังได้ยากว่าจะได้ของที่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์แน่นอน รวมทั้งผัก ผลไม้ที่เป็นของสดด้วย

เรามีระบบตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งที่ ี่ไดผลผลิตว่าต้องไม่มีการปนเปื้อนสารเคมีทั้ง 6 ชนิด ซึ่งในตลาดตามมาตรฐานตลาดสดน่าซื้อนั้น จะมีมาตรฐานอยู่ที่ตรวจพบยาฆ่าแมลงในระดับปลอดภัยก็ถือว่ายอมรับได้ แต่ของเราที่เริ่มตั้งแต่การควบคุมระบบการผลิตโดยตรงตั้งแต่เริ่มต้นเพราะเราคอนแทกผู้ผลิตจึงต้องไม่พบเลยค่ะ

ส่วนรพ.อาหารปลอดภัยตามมาตรฐานของกรมอนามัยนั้น เราก้าวข้ามขั้นนั้นค่ะ เพราะตามมาตรฐานของกรมอนามัยคือผลผลิตที่ใช้ในโรงครัวตรวจสอบแล้วต้องไม่พบสารปนเปื้อนทั้ง 6 ชนิดมากกว่า 90 เปอร์์เซนต์ขึ้นไป 3 ครั้งถึงได้รับการรับรอง..แต่รูปแบบที่เราทำนอกจากครัวของเราแล้ว เรายังไปยุ่งกับระบบการผลิตทุกหน่วยตั้งแต่เกษตรกร ผูุ้ประกอบการร้านอาหาร แม่ค้าในตลาด โรงเรียน วัด เรือนจำ รพช. สอ.ฯลฯ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงมาตรฐานทั้งหมดอย่างจริงจังและเราใช้มาตรฐานในการประเมินในที่ต่างๆละเอียดกว่าของกรมอนามัยค่ะ

ส่วนเรื่องผักสด วิธีดูก็ไม่พ้นว่าต้องไม่เหี่ยว ใบเขียวสด ที่เบิร์ดพูดถึงผักในตลาดของกระบี่ก็เพราะผักที่ใช้ในตลาดถ้ามาจากจังหวัดอื่น ก็คงสู้ผักที่ได้จากผู้ผลิตตัดสดๆไม่ได้น่ะค่ะ

ซึ่งรพ.กระบี่สามารถตรวจสอบได้ว่าพ่อค้าในระบบประมูลนั้นเค้ารับผักจากที่ไหน  อย่างไรโดยสอบทวนก็จะทราบล่ะค่ะว่าผัก ผลไม้ที่ได้มานั้นตัดมาส่งในเวลากี่ชม. เพราะใช้ระยะเวลาน่าจะดีกว่าการใช้การดูผลผลิตนะคะ

การจัดเก็บก็สำคัญค่ะ ตู้แช่ของรพ.ทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นตู้แช่เบียร์ทำให้อุณหภูมิของตู้เย็นจัดเกินไป ผักที่ใส่กล่องส่วนล่างๆที่ติดพื้นตู้มักจะช้ำ อาจต้องดูส่วนนี้ด้วยค่ะ รวมทั้งอุณหภูมิของตู้เย็นด้วยนะคะ

สงสัยที่สวนป่า  คงคุยกันต่ออีกเยอะ  หมอเจ๊ขอรับบัตรคิวได้ที่คนชอบวิ่งนะครับ  อิอิ

พี่หมอเจ๊คะ

นำเสนอว่า ถ้าจะให้แน่ใจเรื่องผัก คงต้องหาแหล่งวัตถุดิบที่น่าเชื่อถือได้คะ จะทำโครงการปลูกผักปลอดสารพิษก็น่าจะดีเหมือนกันนะคะ

สำหรับอาหารของคนไข้นั้น จริงๆ อยากจะแนะนำเรื่องหน้าตาของอาหารคะ สภาพจิตใจคนป่วยก็อาจจะอยู่ในภาษาเศร้า กังวล ถ้ามีของสวยๆ งามๆ อาหารตกแต่งน่าทาน ก็เป็นส่วนหนึ่งให้เจริญอาหารนะคะ  มันต้องมีทั้งรูป รส กลื่น ประกอบเข้ากันคะ ถึงจะทำให้ดึงดูดและน่ากิน :)

 

  • ขอบคุณทุกท่านทีมาช่วยให้ความรู้เพิ่ม
  • น้อมรับความรู้ไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
  • ........
  • ขอบคุณหมอเบิร์ดสำหรับรูปแบบการทำงานในอีกมุมหนึ่ง
  • ........
  • ขอบคุณน้องมะปรางที่มาช่วยอีกแรง
  • ........
  • สำหรับคนชอบวิ่ง....รู้นะว่าคิดอะไรอยู่
  • เรื่องที่หมอเบิร์ดทำไว้....สำหรับกระบี่ต้องละเลียดทำ...เริ่มทำจากจุดเล็กๆที่ทำไปง่ายๆได้ก่อน....แหละเรื่องนี้คือจุดเริ่มที่กาหมายไว้....จะออกไปทำอะไรนอกบ้านได้....เรื่องในบ้านต้องไร้วางใจได้ก่อนค่ะ
  • เมื่อกำลังคนมีความพร้อมในเรื่องของใจ...คราวนี้หมอเจ๊ก็จะเริ่มพาวิ่งเลยค่ะ.....ตอนนี้อยู่ในขั้นเตรียมใจของคน....ให้พร้อมวิ่งลุย
  • หมอเจ๊สังเกตว่า....คนจะให้ใจได้ต้องรู้จักความสุขก่อนค่ะ
  • และเมื่อทำแล้วมีความสุข....เขาก็ยินดีทำกับหมอเจ๊ค่ะ
  • ........
  • ขอบคุณอีกครั้งสำหรับทุกท่าน
  • มีความสุขแล้วถ้าจะขอ...หมอเจ๊ขอได้หมดเลยค่ะ
  • ขอแก้ไขค่ะ
  • .....จะออกไปทำอะไรนอกบ้านได้...เรื่องในบ้านต้องไว้วางใจได้ก่อนค่ะ

สวัสดีครับคุณหมอเจ๊ แซ่เฮ

ในฐานะที่เคยสอนวิชาปลูกผัก ผมอยากเรียนว่า ผักกินใบ ผักกินผล(ฝัก) หรือผักกินราก (หัวใชเท้า แครอท)แทบทุกชนิด ที่ซื้อหาจากตลาดสดทั่วไป จะมียาฆ่าแมลงหลงเหลืออยู่ครับ เหลืออยู่มากหรือน้อยก็แล้วแต่ว่า ผักชนิดนั้นๆ แมลงชอบกินไหม

ผักกาดหอม ผักชี หนอนไม่ชอบกิน เลยค่อนข้างปลอดจากยาฆ่าแมลง

แต่พวกถั่ว ทั้งฝักยาว ฝักสั้น ถั่วลันเตา ถั่วแขก รวมถึงมะเขือ พวกนี้มีของแถมมาให้ทั้งนั้นครับ

ผักคะน้า ต้นอวบๆ ใบสวยๆ หากหลีกเลี่ยงได้ก็ควรจะเลี่ยงครับ ยิ่งกะหล่ำปลี หากไม่มาจากโครงการหลวงละก้อ ควรจะเลี่ยงเด็ดขาด

บร๊อคโคลี่ เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการและอนามัย แต่ว่าอายุการปลูกยาวนานกว่าคะน้า การสะสมยาฆ่าแมลงก็มากตาม

แถว ทุ่งสง ผมกำลังจะยุให้น้องๆ ปลูกผักปลอดสารพิษขายให้กับ รพ.ตอนนี้เอาเห็ดไปขายอยู่ครับ

หากมีเครือข่ายที่กระบี่ ก็จะยุให้ปลูกผักปลอดสารพิษ มาขายให้กับ รพ.ของหมอก่อนเพื่อน

จังหวัดกระบี่ ไม่ค่อยเห็นสวนผัก มีแต่ปาล์ม กับยาง ผักและผลไม้คงมาจาก กทม เหมือนกับที่ภูเก็ต

อาหารคนไข้ใน รพ.คงเอาผักพื้นบ้านไปทำอาหาร คงทำได้ยาก แต่หากจะทำสักเมนู ผมขอเสนอ ใบเหมียงต้มกะทิ ใส่กุ้งแห้ง คนไข้และญาติคงพอรับไหว

ใบเหมียง เป็นผักปลอดสารพิษ เพราะปลูกแซมในป่ายาง คงไม่มีใครเอายาฆ่าแมลงไปฉีดพ่นต้นยาง

สำหรับกะทิ ตอนนี้เรารู้แล้วว่า ดีต่อสุขภาพมากกว่าข้อเสียที่เราเคยกลัวกัน

หากหมอเจ๊ ได้รับ น้ำมันมะพร้าวที่ผมวานให้ท่านอัยการช่วยแจก ในงานที่ภูเก็ต ก็คงจะทราบถึงสรรพคุณแล้วครับ

ผมคงช่วยคุณหมอได้เพียงแค่นี้ครับ

  • ธุ คุณหมอเจ้ค่ะ..

เคยต้องไปนอนโรงพยาบาลมาบ้างเหมือนกัน สมัยยังเด็กๆ   และจำได้ว่าไม่เคยทานข้าวของโรงพยาบาลเลย   ทุกครั้งที่(แค่)ชิมจะได้รสชาติเหมือนกันคือ..ไม่อร่อย(คิดคนเดียว)   คงเพราะรสชาติจืดๆ บวกกับกลิ่นและบรรยากาศของโรงพยาบาล  ตลอดจนบรรยากาศของความป่วยไข้-ความสลดหดหู่ทั้งหลาย   ทำให้ความรู้สึกที่มีต่อรสชาติอาหารก็เลยไม่อร่อยไปใหญ่

อยากรู้ว่าเป็นยังไง  ผู้บริหารน่าจะไปนั่งทานข้าวแบบเดียวกับคนป่วยดูนะคะ  เอาในห้องรวมและใช้จาน-ชามแบบเดียวกันเลย   ลองดูๆๆ

 

  • หมอเจ๊ขอบคุณลุงพูนค่ะ
  • .......
  • คุณเนปาลีค่ะ....หมอเจ๊ขอบคุณนะค่ะ
  • .......
  • ที่ร.พ.หมอเจ๊....มีโครงการจัดอาหารกลางวันให้เจ้าหน้าที่กินเป็นรายเดือน.......เมนูเดียวกับคนไข้เป๊ะเลยค่ะ
  • สรุปว่า....เจ้าหน้าที่กับคนป่วย....กินอาหารเหมือนๆกันค่ะ
  • .......
  • ดังนั้น.....ยิ่งแล้วใหญ่เลยค่ะ....ถ้าอาหารทำจากวัตถุดิบด้อยคุณภาพ.....ก็เหมือนกำลังวางยาเจ้าหน้าที่เราเองไปด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท