วางตำรา แล้วหันมาอ่านใจ


"อ่านหนังสือมากขนาดไหน จำได้มากขนาดไหน ก็ไม่พ้นทุกข์ แม้หนูจะจำพระไตรปิฏกได้ทั้งเล่ม เล่าได้เป็นฉาก ๆ วิเคราะห์ วิจารณ์ สารพัด แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้หนูพ้นทุกข์"

จากความคิดเห็นของคุณ P ณัฐวรรธน์ ในบันทึก อารมณ์ ความรู้สึกเป็นเพียงอาภรณ์ห่อหุ้มจิตใจ ที่ท่านบอกว่า

  • ผมคิดอยู่เสมอว่า ความรู้เหมือนหนังสือ

  •  ใจหนูไปสะดุดที่คำว่า "หนังสือ"

    ทำให้หนูคิดย้อนถึงตนเอง เมื่อก่อนเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมาก ๆ ค่ะ อ่านทั้งนิยาย เรื่องสั้น สาระความรู้ การท่องเที่ยว การ์ตูน สารพัดรูปแบบโดยเฉพาะหลัง ๆ ก่อนที่จะรู้จักครู หนูหันมาอ่าน ที่เกี่ยวกับข้อคิดปรัชญา การพัฒนาตนเอง การปรับตัว การพัฒนาสมอง ธรรมะเล่มต่าง ๆ แค่ยังไม่ได้อ่านพระไตรปิฏกเป็นเรื่องเป็นราว

    พอมารู้จักครู ท่านเอาหนังสือให้เล่มหนึ่งค่ะคือ อิทัปปัจจยตา เพราะตอนนั้นหนูไปบ้านท่านช่วงระหว่างรอท่านบอกว่าทำตัวตามสบาย หนังสือในตู้ก็อ่านได้ ระหว่างที่ครูทำธุระ หนูจึงหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน

     

    พอท่านออกมาท่านบอกว่า "พี่ยกให้" หนูรู้สึกประหลาดใจแต่ก็ขอบพระคุณแล้วก็ถือกลับมาที่บ้าน

    พอมาถึงที่บ้านหนูจริง ๆ หนูก็เปิดอ่านไม่กี่ครั้ง หลายเดือนผ่านไปก็อ่านไม่จบสักที เลยเล่าให้ครูฟังแบบ ขำ ๆ ว่า ตั้งแต่ได้หนังสือ อิทัปปัจจยตา จากครูไปหนูยังอ่านไม่จบเลยค่ะ ท่านเอ่ยกับหนูว่า

     

    "เลิกอ่านซะ"

     

    หนูรู้สึกงงเป็นไก่ตาแตกแล้วคิดว่า "อ้าว ถ้าไม่ให้หนูอ่านแล้วให้หนูมาทำไม"

    ท่านบอกว่า

    "อ่านหนังสือมากขนาดไหน จำได้มากขนาดไหน ก็ไม่พ้นทุกข์ แม้หนูจะจำพระไตรปิฏกได้ทั้งเล่ม เล่าได้เป็นฉาก ๆ วิเคราะห์ วิจารณ์ สารพัด แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้หนูพ้นทุกข์"

    "ถ้าติ๋วภาวนาเป็น ติ๋วจะเข้าใจ "อิทัปปัจจยตา" โดยที่ไม่ต้องอ่านเลย"

     

    คำพูดนี้ของครูเรียกความสนใจหนูได้มากแล้วเกิดคำถามขึ้นมาในตอนนั้นว่า "แล้วหนูต้องทำยังไงหล่ะ ในใจหนูถามแบบนี้"

    ครูเอ่ยต่อว่า

    "ก็ต้องมีศีล มีสมาธิ ถึงจะมีปัญญา พ้นทุกข์"

    ครานี้ใจหนูแฟ๊บลง เพราะอะไรรู้ไหมค่ะ ก็ตอนนั้นหน่ะ คนที่เข้าวัดใน มโนภาพของหนูคือ คนแก่ ๆ ใส่ชุดขาวไปถือศีลที่วัด แล้วก็กลับบ้านมาทะเลาะกะคนข้างบ้านเหมือนเดิม

    แล้วใจหนูก็คิดขึ้นมาว่า "เฮอะ ๆ ถ้าต้องเป็นแบบนี้ ไม่เอาดีก่า"

    แต่ตอนนั้นหนูก็ไม่ได้เอ่ย อะไรกับครูนะคะ แค่คิด ๆ และเก็บไปคิดต่อ เห็นไหมค่ะ หนูโง่ดักดาน ขนาดนี้เลยค่ะ ทั้ง ๆ ที่ ครูท่านเมตตามาก ๆ

    พอมาเริ่มภาวนาจริงจังก็สักประมาณเมษายนปีนี้ เพราะต้องย้ายเข้ามาเมืองนนท์ เหมือนเริ่มต้นชีวิตใหม่ ทุกอย่างใหม่หมด แถมครูมาส่งขึ้นรถอีก เป็นการเริ่มต้นที่รู้สึกดีค่ะ

    หลังจากครูท่านให้เลิกอ่านหนังสือธรรมะ ท่านก็สอนให้หนู ดูใจตนเอง อ่านใจตนเอง แต่รู้อะไรไหมค่ะ ตอนนั้น หนูไม่รู้เรื่องอะไรเลย มีแต่ งง ๆ งง และ ก็งง

    ท่านสอนให้หายใจ หนู ก็ยัง งง

    สอนให้วิ่ง หนู ก็ วิ่งนะคะ แต่ก็ คิด ตลอด ให้หนูวิ่งทำไม

    หลัง ๆมา ครู ให้เขียนบันทึก หนูงง อีกค่ะ เขียนทำไม อะ เขียนไม่เป็น

    แล้วท่านก็สอนให้หนู ดูใจตนเอง อ่านใจตนเอง

    มาถึงตอนนี้รู้สึกขอบพระคุณครูมาก ๆ ค่ะ ทั้งหมดทั้งมวลที่ครู ฝึกฝนมา ทำให้หนูก้าวมาได้ จนถึง ณ ทุกวันนี้

     

    เข้าใจแล้วว่า ทำไมครูให้วาง ตำราลงก่อน แล้วให้มาภาวนา เพราะเมื่อก่อน อ่านยังไง ก็ ไม่เข้าใจ แต่ตอนนี้พอมาอ่าน ก็จะเข้าใจมากขึ้น ๆ ว่าทุก ๆ สิ่งเนื่องแต่เหตุ ถ้าเราทำเหตุพอ ผล มันก็เกิดขึ้นเอง

    เหมือนกับการปลูกข้าว ตอนที่เราดำนา ก็ยังไม่มีข้าว แต่เมื่อเราดูแล จนถึงพร้อม ข้าวออกรวง เราก็เก็ยเกี่ยวได้ มีข้าวให้เก็บเกี่ยวเป็นธรรมดา

    ถ้าเราไม่ปลูกข้าว.....ก็ไม่มีข้าวให้โต.....ถ้าข้าวไม่โต...ก็ไม่มีข้าวให้เกี่ยว

    แต่ถ้าเราปลูกข้าว....ดูแลจนข้าวโต.....ก็จะมีข้าวให้เก็บเกี่ยว...มันก็เป็นเช่นนี้เอง

     

     

    สุดท้ายหนูก็จำไม่ได้ละ ว่าเริ่มภาวนาเป็นเรื่องเป็นราวเมื่อไหร่แน่ ๆ แต่ก็เหมือนกับ แค่มีเรื่องกลุ้มใจ ไม่มีใครให้เล่าให้ฟัง ก็มาเล่าให้ครูฟัง โทรหาท่าน โทรถามท่าน หรือ ไม่ก็นัดเจอท่านที่ร้านนม ช่วงปีแรก ๆ เป็นแบบนี้แหละค่ะ

    ลุ้มลุกคลุกคลาน กล้ำกลืน อดทน ทั้งครูและหนู จนพอจะหายใจเป็นบ้าง เสียสละเป็นบ้าง ถึงตอนนี้ถ้านับตั้งแต่รู้จักครูก็ 2 ปี แล้วค่ะ แต่ถ้าเริ่มจริงจังกับการภาวนาก็ 8 เดือนได้ อืม ครูท่านอดทนและมีเมตตาในการสั่งสอนหนูจริง ๆค่ะ  

    กราบขอบพระคุณครูค่ะ

    หมายเลขบันทึก: 324245เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2009 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (2)

    มาอ่านเรื่องราวดีๆ อีกเช่นเคยครับ

    • คราวนี้ได้ข้อคิดมากมายจริงๆ ครับ ได้มุมมองเพิ่มขึ้นครับ
    • ธรรมะ ที่แท้จริงอยู่ที่การปฏิบัติด้วยตนเองมากกว่า ส่วนทฤษฎีคำสอน จะอยู่ในหนังสือ ที่เป็นแนวทางการไปสู่การปฏิบัติ
    • อ่านหนังสือสิบเล่ม สู้การปฏิบัติจริงเพียงครั้งเดียวไม่ได้
    • ขอบคุณท่านอย่างยิ่ง ที่ได้แลกเปลี่ยนคำสั่งสอนจากครูที่เป็นประโยชน์ให้กับคนอื่นด้วยครับ

    กราบขอบพระคุณเช่นกันค่ะ ณัฐวรรธน์P ติดตามอ่านบันทึก

    และแสดงความคิดเห็นให้หนูได้ทบทวนใจตนเองค่ะ

    (^_^) 

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท