อารมณ์ ความรู้สึกเป็นเพียงอาภรณ์ห่อหุ้มจิตใจ


หลวงพ่อถึงบอกว่า “ให้อยู่เหนือโลกเหนืออารมณ์แงะ ถ้าเราอยู่ได้อารมณ์ ก็เหมือนเราอยู่ใต้อิทธิพลของเสื้อผ้า ใต้อิทธิพลของเสื้อผ้า ก็คืออะไรหล่ะ ก็คือ ฉันต้องแต่งแบบนี้ฉันถึงจะดูดี อยู่ใต้อิทธิพลของอารมณ์ คือ อะไรหล่ะ อารมณ์มันคอยครอบงำเราไปทางนี้แบบนี้ แบบนี้

ต่อยอดจากบันทึก เรากลับไปแก้อดีตที่มันผิดพลาดไม่ได้ แต่ให้ยอมรับมันอย่างนอบน้อม

ครูสอนว่า

จริง ๆ แล้วมันไม่มีอะไรหรอก เหมือนเราขับรถผ่านเส้นทางเดิมขับผ่านไป๊ ขับผ่านมาอย่างนี้ แล้วต้นไม้ต้นเดิมมันก็เป็นต้นเดิมอยู่ แต่สิ่งที่เรารับรู้มันก็ไม่เหมือนเดิม แต่เราก็รับรู้ได้ว่า อ้อ เราได้ผ่านเส้นทางนี้มาละ แค่นั้น

เพราะฉะนั้นอย่าไปคร่ำครวญกับมันว่า มันทุกข์ มันเศร้า มันหมอง

เดี๋ยวต่อไปติ๋วจะรู้ว่า

 

ไอ้ อารมณ์ ความรู้สึกเหล่านี้เนี่ย

มันเป็นเพียงแค่ อาภรณ์ ที่ห่อหุ้มจิตใจเราไว้ แค่นั้นหน่ะ

อาภรณ์คือ อะไรหล่ะ ก็คือ เครื่องแต่งกาย

เหมือนร่างกาย มีเสื้อผ้าห่อหุ้มใช่ไหม

ใจของเราก็มีจิตห่อหุ้มไว้

จิตแบบไหนหล่ะ?

จิตมันก็เป็นไปตามอารมณ์จิต ที่มันปรุงแต่งขึ้นมาไง

 

 

อารมณ์ โกรธ อารมณ์ อะไรอย่างเงียะ นี่แหละ หลวงพ่อถึงบอกว่า “ให้อยู่เหนือโลกเหนืออารมณ์แงะ

ถ้าเราอยู่ใต้อารมณ์ ก็เหมือนเราอยู่ใต้อิทธิพลของเสื้อผ้า

ใต้อิทธิพลของเสื้อผ้า ก็คืออะไรหล่ะ ก็คือ ฉันต้องแต่งแบบนี้ฉันถึงจะดูดี

อยู่ใต้อิทธิพลของอารมณ์ คือ อะไรหล่ะ อารมณ์มันคอยครอบงำเราไปทางนี้แบบนี้ แบบนี้

 

 

"พี่หน่ะอย่างแค่เรากระฟัด กระเฟียดใส่พี่มันขี้ปะติ๋วมาก นิดเดียว มีคนพาลโกรธพี่ อาฆาตแค้นพี่มากมาย แต่เขาไม่รู้หรอกว่า สิ่งที่เราปฏิบัติต่อเขาหน่ะ คือ ความปรารถนาดีอันยิ่งใหญ่เลย"

ก็อย่างเคสพี่ที่คุ้นเคยกับครูที่หนูเคยเล่าในบันทึกนี้ ครูย้ำอีกว่า

“ณ วันหนึ่งพี่เขาก็อาจจะรู้ ได้ว่าเราหน่ะ กำลังช่วยเขาไง แต่พี่ก็ไม่ได้อธิบายอะไรเขาหรอก พูดแค่ว่า ก็คนมันกำลังจะตกเหวถ้าเราไม่ช่วยก็จะทำไงหล่ะ ตกคนเดียวไม่พอ ดึงคนอื่นไปด้วย  ตกยังไงหล่ะตกในเรื่องราวที่ จิตจอมปลอม ความหลอกลวง...........(สัญญาณขาด ๆ หาย ๆ) ”   

แล้วครูจึงเอ่ยตอนช่วงที่สัญญาณกลับมาว่า "เออ เดี๋ยวสัญญาณมันจะไม่มี เอาแค่นี้แหละ ไปทำความรู้ซะ" "เจ้าค่ะ"

 

การสนทนานี้ที่ถูกบันทึกไว้เพียง สองนาทียี่สิบวินาที ทำให้หนูได้เรียนรู้ธรรมะที่เป็นธรรมชาติ ทุกครั้งที่ได้เรียนรู้จากท่านเป็นช่วงเวลาที่มีค่ามาก ๆ เลยค่ะ

กราบขอบพระคุณครูค่ะที่เมตตา

หมายเลขบันทึก: 324228เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2009 06:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ขอบคุณน้องมากค่ะ ที่เขียนบันทึก ขัดเกลาจิตใจ ครูอ้อยได้ดีจังค่ะ
  • ขอบคุณอีกครั้ง มีความสุขมากๆนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ ครูอ้อย แซ่เฮ P ที่ให้กำลังใจ หนูประทับใจคำนี้จังเลยค่ะ

เขียนบันทึก ขัดเกลาจิตใจ


หนูมองย้อนเข้ามาในตนเอง ตั้งแต่ครูท่านมอบหมายให้เขียนบันทึกใน G2K หลายอย่างในจิตใจหนูก็เปลี่ยนไป จากเดิมที่รู้สึกกลุ้มใจมาก ๆ ค่ะ ยอบรับเลย เพราะว่าปกติไม่เคยเขียนอะไรแบบนี้ ถ้าจะพอมีเขียนบ้างก็เป็นงานด้านวิชาการ พอครูท่านให้มาเขียน ประมาณว่า ได้เรียนรู้อะไร ได้คิด ได้ เห็น ได้รู้สึกอย่างไร ใจเราคิดอย่างไรเขียนออกมาอย่างนั้น

หนูอึ้ง อยู่หลายบันทึก ถ้าเคยอ่านบันทึกเก่า ๆ ของหนู ก็คงไม่ปฏิเสธคำพูดนี้ใช่ไหมค่ะ ฮิ ๆ ๆ ความจริงมันเป็นแบบนี้แหละค่ะ

อย่างนี้กระมั่งที่เขาว่ากันว่า เป็นเรื่องของการฝึกฝน แต่อย่างที่บอกค่ะ ติ๋วไม่ได้ทำงานนนี้คนเดียว ติ๋วมี โค๊ช ที่ดี คอย Comment ครูท่านเมตตา ให้คำแนะนำชี้แนะ ให้เขียนออกมาจากใจ เขียนความจริงใจ หนูอยากจะบอกว่า

"ท่านรู้ใจหนู มากกว่าหนูรู้ใจตัวเองอีกค่ะ เฮอะ ๆ"

การเขียนถอดบทเรียนเล่าความรู้สึก และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากครู เป็นอะไรที่ทำให้หนูได้ทบทวน สิ่งที่ได้เรียนมาจากท่าน ถ่ายทอดออกมาเป็นบันทึก หรือ บางคราก็เป็นแบบ หนูเอาไปลองทำ เเล้วผลเป็นยังไง

ซึ่งความลึกซึ้งในความเข้าใจ ก็แตกต่างไปเรื่อง ๆ ตอนแรก ๆ หนูเขียนด้วยความเครียด ถัดมาเขียนด้วยความมันส์ ผสมปรุงแต่ง หลัง ๆ เขียนด้วยความตั้งใจ และใส่ใจ

พอมองเข้ามาที่ใจตนเองตอนที่เขียนบันทึก ก็เหมือน ยิ้มอยู่ขณะที่ถ่ายทอดข้อความ เหมือนได้พลังบางอย่าง หนูก็บอกไม่ถูกค่ะ ลมหายใจจากเดิมที่ กระพร่องกระแพร่ง กลับชัดเจนแม้จะแผ่วเบา

ขอบพระคุณครูอ้อยค่ะ มาต่อที่นี่เลย=>เขียนบันทึก G2K ขัดเกลาจิตใจ

  • สวัสดีครับ
  • ผมคิดอยู่เสมอว่า ความรู้เหมือนหนังสือ เรื่องราวดีๆ ถึงแม้ภาษาไม่สละสลวยแต่ก็มีข้อคิดดีๆ แอบแฝงอยู่ แต่ถ้าเราใช้อารมณ์ในการอ่าน อ่านแล้วไม่ชอบใจ ไม่สนุก ไม่ตื่นเต้น ไม่เร้าอารมณ์และความรู้สึก ก็ไม่อยากอ่าน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราข่มอารมณ์และความรู้สึก บ่มจิตใจด้วยความเพียรที่จะอ่านให้จบ เราจะได้ทั้งความรู้และข้อคิด
  • แต่คนเราโดยส่วนมาก มักเลือกอ่านในตอนที่จิตกระทบกับเหตุการณ์ ทำให้เกิดอารมณ์ที่อยากอ่าน เพียงเพื่อบำเรอความอยากทางอารมณ์ เอามาแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้น
  • และในขณะที่เราอ่านเพื่อบำเรอความอยากทางอารมณ์ เอามาแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เราจะเห็นถึงคุณค่าของหนังสือเล่มนี้ เมื่อเราได้นำมันมาใช้เท่านั้น ซึ่งบางที กาลเวลาทำให้ข้อความลบเลือนไปหรือฉีกขาดไป กว่าจะรู้ว่ามันดีก็คงสายเสียแล้ว
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ นะครับ ได้ข้อคิดเยอะมากครับ 
  • ตามมาอ่าน ความคิดเห็น ของคนที่มองลึก มองกว้าง 
  • ดีใจที่น้องมีความสุขที่ได้เขียน ได้อ่าน
  • เรามาจับมือกันเขียนสร้างสรรค์ในสิ่งที่ดีงามทางอักษรที่กลั่นออกมาจากใจ มีสุข

ขอบคุณน้องมากนะคะ

Belle111

ขอบพระคุณค่ะคุณ P ณัฐวรรธน์ ที่ท่านบอกว่า

  • ผมคิดอยู่เสมอว่า ความรู้เหมือนหนังสือ เรื่องราวดีๆ ถึงแม้ภาษาไม่สละสลวยแต่ก็มีข้อคิดดีๆ แอบแฝงอยู่ แต่ถ้าเราใช้อารมณ์ในการอ่าน อ่านแล้วไม่ชอบใจ ไม่สนุก ไม่ตื่นเต้น ไม่เร้าอารมณ์และความรู้สึก ก็ไม่อยากอ่าน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราข่มอารมณ์และความรู้สึก บ่มจิตใจด้วยความเพียรที่จะอ่านให้จบ เราจะได้ทั้งความรู้และข้อคิด
  • แต่คนเราโดยส่วนมาก มักเลือกอ่านในตอนที่จิตกระทบกับเหตุการณ์ ทำให้เกิดอารมณ์ที่อยากอ่าน เพียงเพื่อบำเรอความอยากทางอารมณ์ เอามาแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้น
  • และในขณะที่เราอ่านเพื่อบำเรอความอยากทางอารมณ์ เอามาแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เราจะเห็นถึงคุณค่าของหนังสือเล่มนี้ เมื่อเราได้นำมันมาใช้เท่านั้น ซึ่งบางที กาลเวลาทำให้ข้อความลบเลือนไปหรือฉีกขาดไป กว่าจะรู้ว่ามันดีก็คงสายเสียแล้ว
  •  

    ทำให้หนูคิดย้อนถึงตนเอง เมื่อก่อนเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมาก ๆ ค่ะ อ่านทั้งนิยาย เรื่องสั้น สาระความรู้ การท่องเที่ยว การ์ตูน สารพัดรูปแบบโดยเฉพาะหลัง ๆ ก่อนที่จะรู้จักครู หนูหันมาอ่าน ที่เกี่ยวกับข้อคิดปรัชญา การพัฒนาตนเอง การปรับตัว การพัฒนาสมอง ธรรมะเล่มต่าง ๆ แค่ยังไม่ได้อ่านพระไตรปิฏกเป็นเรื่องเป็นราว

    พอมารู้จักครู ท่านเอาหนังสือให้เล่มหนึ่งค่ะคือ อิทัปปัจจยตา เพราะตอนนั้นหนูไปบ้านท่านช่วงระหว่างรอท่านบอกว่าทำตัวตามสบาย หนังสือในตู้ก็อ่านได้ ระหว่างที่ครูทำธุระ หนูจึงหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน

    พอท่านออกมาท่านบอกว่า "พี่ยกให้" หนูรู้สึกประหลาดใจแต่ก็ขอบพระคุณแล้วก็ถือกลับมาที่บ้าน

    พอมาถึงที่บ้านหนูจริง ๆ หนูก็เปิดอ่านไม่กี่ครั้ง หลายเดือนผ่านไปก็อ่านไม่จบสักที เลยเล่าให้ครูฟังแบบ ขำ ๆ ว่า ตั้งแต่ได้หนังสือ อิทัปปัจจยตา จากครูไปหนูยังอ่านไม่จบเลยค่ะ ท่านเอ่ยกับหนูว่า

    "เลิกอ่านซะ"

    หนูรู้สึกงงเป็นไก่ตาแตกแล้วคิดว่า "อ้าว ถ้าไม่ให้หนูอ่านแล้วให้หนูมาทำไม"

    ท่านบอกว่า อ่านหนังสือมากขนาดไหน จำได้มากขนาดไหน ก็ไม่พ้นทุกข์ แม้หนูจะจำพระไตรปิฏกได้ทั้งเล่ม เล่าได้เป็นฉาก ๆ วิเคราะห์ วิจารณ์ สารพัด แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้หนูพ้นทุกข์

    คำพูดนี้ของครูเรียกความสนใจหนูได้มากแล้วเกิดคำถามขึ้นมาในตอนนั้นว่า "แล้วหนูต้องทำยังไงหล่ะ ในใจหนูถามแบบนี้"

    ครูเอ่ยต่อว่า "ก็ต้องมีศีล มีสมาธิ ถึงจะมีปัญญา พ้นทุกข์"

    ครานี้ใจหนูแฟ๊บลง เพราะอะไรรู้ไหมค่ะ ก็ตอนนั้นหน่ะ

    คนที่เข้าวัดใน มโนภาพของหนูคือ คนแก่ ๆ ใส่ชุดขาวไปถอศีล แล้วก็กลับบ้านมาทะเลาะกะคนข้างบ้านเหมือนเดิม

    แล้วใจหนูก็คิดขึ้นมาว่า "เฮอะ ๆ ถ้าต้องเป็นแบบนี้ ไม่เอาดีก่า"

    แต่ตอนนั้นหนูก็ไม่ได้เอ่ย อะไรกับครูนะคะ แค่คิด ๆ และเก็บไปคิดต่อ เห็นไหมค่ะ หนูโง่ดักดาน ขนาดนี้เลยค่ะ ทั้ง ๆ ที่ ครูท่านเมตตามาก ๆ

    มาต่อที่บันทึกนี้เลยค่ะ => วางตำรา แล้วหันมาอ่านใจ

    ขอบพระคุณค่ะ Pครูแป๊ว กัลยาณี 

    สวัสดีปีใหม่เช่นกันค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท