ต้นไม้ บำนาญชีวิต เพื่อเรา คนที่เรารัก ชุมชน และแผ่นดิน (2)


" ผืนดินไทยเหมาะปลูกไม้ผลิตกระดาษและเชื้อเพลิงเหลวอันดับหนึ่งในโลก"

       ก่อนที่จะได้นำเสนอภาพตัวอย่างตามที่ลงท้ายของบันทึกเมื่อวาน  ขอนำข้อมูลที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง "การปลูกไม้เชิงเศรษฐกิจ"  จากหนังสือ "เคหการเกษตร" ฉบับที่ 9  เดือนกันยายน  2550  โดยเป็นข้อมูลจากคำให้สัมภาษณ์ของนักวิชาการผู้ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ "ไม้เศรษฐกิจ" ประเด็นที่น่าสนใจมีดังนี้ครับ

  • " ผืนดินไทยเหมาะปลูกไม้ผลิตกระดาษและเชื้อเพลิงเหลวอันดับหนึ่งในโลก"   และ " ...ประเทศไทยมีสภาพพื้นที่และอากาศเหมาะสำหรับปลูกไม้ป่า ไม้โตเร็วมาก  เช่น  สามารถปลูกแล้วนำเอามาทำอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ  จนกระทั้งพิมพ์เป็นหนังสือได้เสร็จสรรพ  ซึ่งทั้งโลกมีไม่กี่ประเทศที่มีศักยภาพตลอดห่วงโซ่เช่นนี้  เรียกว่าศักยภาพนี้เป็นอีกจุดแข็งหนึ่งที่ประเทศอื่นแข่งขันได้ยากมาก  ...ฯลฯ.."  ของ อ.นิคม  แหลมศักดิ์  รองคณะบดีฝ่ายวิจัย  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

  • ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์  รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับไม้ยูคาลิปตัส  ไม้เศรษฐกิจที่เป็นความหวังในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนของโคกเพชร  ดังนี้ " ...จากงานวิจัยทางด้านดิน  พบว่ามีปัญหาเฉพาะประเทศที่มีอากาศเย็นและชื้น  ทำให้ใบไม้ที่มีสารระเหยร่วงหล่นมาย่อยสลายยาก  แต่สำหรับประเทศไทยมีอากาศร้อนทำให้ไม่มีปัญหาด้านนี้  แถมใบยังย่ยสลายกลายเป็นปุ๋ยให้กับพืชอีกทางหนึ่ง...ฯลฯ..."

         จากข้อมูลดังกล่าวนี้  ทำให้โคกเพชรซึ่งมองเห็นทางรอดของเกษตรกรในชุมชน  ด้วยการปลูกยูคาลิปตัส และไม้ยืนต้นเชิงเศรษฐกิจอื่นๆตามหัวไร่ปลายนา มีความมั่นใจมากขึ้นในการจัดการเรียนรู้ "หลักสูตรท้องถิ่นในสาระทักษะชีวิต"  ที่ว่าด้วยเรื่องการทำการเกษตรผสมผสานแบบประณีตให้กับผู้เรียนและชุมชน  ในรูปแบบเฉพาะของที่นี่ ซึ่งอย่างน้อยควรจะเป็นดังนี้ "ไผ่เลี้ยงหวานสีทอง เป็นพืชเศรษฐกิจนำรายได้เพื่อการใช้สอยประจำวัน(ตลอดปี) ยูคาลิปตัส เป็นพืชเศรษฐกิจให้เงินก้อนระยะ 3-4 ปี/ครั้ง(สามารถวางแผนปลูกแบบให้มีรายได้ปีละอย่างน้อย 1 ครั้งได้)  ยางนา ตะเคียนทอง และไม้ป่าอื่นๆ  เป็นไม้แบบบำนาญชีวิตและมรดกสำหรับลูกหลาน  ส่วน "ข้าว" ใช้เป็นทุนสำรองเลี้ยงชีพระหว่างปี"(ไม่ใช่ใช้เป็นรายได้หลักอย่างทุกวันนี้และที่ผ่านมา"  ซึ่งเนื้อหาวิชาดังกล่าวนี้ นอกจากที่ครูจะต้องใช้ศาสตร์ ศิลป์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และตัวอย่างเกษตรกรด้วยกันเอง ที่ลงมือทำจนประสบความสำเร็จให้เห็นเป็นที่ประจักษ์เป็นสำคัญแล้ว ครูยังต้องสอนด้วยสื่อการเรียนรู้ที่เป็น"ชีวิตจริงของครู" ด้วย

        ดังนั้น  ภาพที่นำเสนอต่อไปนี้  อาจมีบางส่วนที่แสดงถึงวิถีชีวิตและตัวตนของตัวครูเองด้วย  ทั้งนี้  เพื่อมิให้เข้าลักษณะของ "สอนแต่ปาก"  หรือ " สอนจากตำรา แต่ครูเองทำไม่ได้"    และที่สำคัญ  เป็นการยืนยันแนวคิดตามหัวข้อ "ต้นไม้ บำนาญชีวิต เพื่อเรา คนที่เรารัก ชุมชน และแผ่นดิน" ให้ชุมชนเห็นเป็นประจักษ์เพื่อความมั่นใจด้วยครับ

Dsc07257 

ต้นแบบป่าบำนาญชีวิต  ณ มหาชีวาลัยอีสาน

Dsc01769

Dsc01785 
 

ครูบาใหญ่ในเรื่อง"ยางนาบำนาญเพื่อชีวิต"คนดัง ร.ต.ต.วิชัย  สุริยุทธิ์

Dsc00117 

ยางนาเพื่อชีวิต ของพ่อพูลสวัสดิ์  สถานพงษ์ บ้านหัวเสือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ

Dsc00957 

Dsc00109 

ยางนาเพื่อชีวิต(ลูก) ผสมผสานกับไม้เศรษฐกิจชนิดต่างๆของคุณประสาร สว่างภพ บ้านหัวเสือ อ.ขุขันธ์

Dsc01089 

Dsc01074 

เรือนยอดแสนสวยและเปี่ยมค่าของยางนาอายุ 16 ปี ที่วัดโคกเพชร

Dsc00938 

ชีวิตบั้นปลายอันมั่นคงจากผลงานด้านป่าไม้ตามหัวไร่ปลายนา       ของพ่อกลั่น แม่สรัน  รับรอง  แห่งบ้านจันลม  อ.ขุขันธ์

Dsc00744 

Dsc000010 

เด็กๆควรต้องได้รับรู้และเข้าใจในวัตถุประสงค์และเป้าหมายแห่งชีวิตของครอบครัวด้วย

Dsc07892 

Dsc07889 
เพราะทั้งเราและเขานั่นแหละ คือ "ผู้รับผลประโยชน์ตัวจริง"

 

Dsc02850 

 

และที่สำคัญที่สุดคือ....เด็กที่โคกเพชรซึมซับเอาแนวคิด "ต้นไม้เพื่อชีวิตที่มั่นคง"  ไปแบบเต็มๆ

 

หมายเลขบันทึก: 134230เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2007 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

สวัสดีค่ะท่าน ผอ...ครูวุฒิ

อ่านบันทึกนี้แล้วชื่นใจ   ที่ท่านได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงค่ะ

ครูอ้อยขอปรบมือให้และเป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ ผอ.ครูวุฒิ

  • คุยกับต้นไม้ไม่มีเบื่อค่ะ
  • ทราบมาว่า "สวนยางของครูบาฯ" มีเห็ดงอกเยอะใช่ไหมคะ...จะแปลงร่างเป็น "ยายฉิม" ค่ะ...
  • ....

เอามะเฟืองมาฝาก...(แกล้ม) .....ค่ะ

P สวัสดีครับครูอ้อย

  • ขอบคุณที่แวะมาพร้อมเสียงปรบมือและกำลังใจอันอบอุ่น
  • "อ่านบันทึกนี้แล้วชื่นใจ   ที่ท่านได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงค่ะ" ทุกอย่างทำไปตามความจำเป็นตามบริบทของชุมชนน่ะครับ แต่ถ้าประโยชน์เกิดอย่างที่ครูอ้อยเห็น  ก็ถือว่า"เป็นผลพวงที่คุ้มค่าที่สุด"ครับ
  • ครูอ้อยสบายดีนะ...  ช่วงนี้กำลังสอบเด็ก  งานคงยุ่งน่าดู รักษาสุขภาพด้วยนะครับ
  • แล้วจะไปเยี่ยมที่บล้อกครับ
  • สวัสดีครับ
  • สวัสดีค่ะคุณครูวุฒิ

      ชื่นชม และชื่นใจ กับข้าในพระองค์ ที่ทำตามรอยเท้าพ่อได้ดีเยี่ยม เห็นเด็กๆ แล้วน่ารักมาก ช่างปั้นคงปั้นด้วยวิญญาณแห่งความเป็นครูที่แท้จริง ขอปรบมือต่อจากครูอ้อยนะคะ ให้เสียงดังไกล ไปทั่วแผ่นดินค่ะ

    P สวัสดีครับครูกั๊ดจัง

    • ขอบคุณสำหรับมะเฟืองที่อร่อยจิ๊ดแบบตาหวานเลย  ต้นโตนะ  ลูกคงดกน่าดู  ทำน้ำหมักได้อย่างต่อเนื่องเลยมั้ง..เนี่ย...
    • "คุยกับต้นไม้ไม่มีเบื่อค่ะ" เห็นด้วยมากๆครับ และ ดูเหมือนจะ"ไม่มีเสีย" ด้วย  รวมทั้งคุยกับคนที่ชอบต้นไม้ด้วยกันอย่าง"ครูกั๊ดจัง" ด้วย...เน้าะ...
    • ประเดี๋ยวจะตามไปคุยด้วยที่โรงเรียนเกษตรอินทรีย์ นะครับ
    • สวัสดีครับ
    • สวัสดีค่ะครูวุฒิ
    • ขอปรบมือด้วยคนค่ะ
    • ปรบให้ดัง ๆ ให้เด็กโคกเพชรทุกคนได้ยินและยิ้มแก้มปริเลยนะคะ
    • เห็นชุดเด็ก ๆ แล้ว  น่าจะนำไปออกรายการสำนึกรักบ้าเกิดนะคะครู  ผ้าขาวม้าตัดเป็นชุดอนุรักษ์ไทย  ให้รู้ไปว่าไผเป็นไผ  ก็ครูวุฒิซะอย่าง  ทำได้ทุกอย่าง นะสิบอกให่

    P สวัสดีครับคุณบุญรุ่ง

    • ขอบคุณมากๆครับ  สำหรับคำชื่นชมที่บรรจงมอบให้ผม 
    • ครับ "รอยเท้าพ่อ" เป็นสิ่งที่อยู่ในห้วงคำนึงและเทิดไว้เหนือหัวเสมอครับ  แต่คงทำได้ไม่เท่าที่ใจอยากทำหรอกครับ
    • คิดว่าคุณบุญรุ่ง  ก็คงทำได้ไม่น้อยเหมือนกันนะครับ
    • จะตามไปฟังเรื่องเล่าสู่ฟังที่บล้อกครับ
    • สวัสดีครับ
    ขอชื่นชมทุกท่านนะครับที่สร้างประประโยชน์ให้กับประเทศชาติ

    สวัสดีค่ะ

    ครูวุฒิ เป็นครูที่เก่งมากค่ะ ขอยกย่อง

    ขออนุญาตนำเรื่องต้นไม้ บำนาญชีวิตเพื่อเรา คนที่เรารัก ชุมชน และแผ่นดิน

    ของครูวุฒิ ไปlink ที่บันทึกด้วยนะคะ

    P สวัสดีครับคุณรักษ์

    • ขอบคุณครับ...ๆ... ๆ ....(เขิลลล..ครับ..เขิลล...)
    • เสียงปรบมือและคำชมของคุณรักษ์และทุกท่าน  จะกระหึ่มกึกก้องอยู่ในหัวใจของชาวโคกเพชรตราบนานเท่านาน  เพราะจะถูกคัดลอกไปเก็บเป็นไฟล์เอกสารนำเสนอต่อชุมชนด้วยครับ
    • ชุดเด็กสำหรับวันศุกร์ที่คุณรักษ์ให้กำลังใจ  ก็อาศัยผลิตภัณฑ์ของชุมชนเป็นหลัก  เพราะเป็น OTOP ของชุมชนน่ะครับ
    • ประเดี๋ยว จะแวะไปเยี่ยมที่บล้อกครับ
    • สวัสดีครับ

    P สวัสดีครับครูเสือ

    • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจ 
    • ผมไม่ค่อยได้แวะไปที่บล้อกครูเสือเลย  เมื่อครู่ก็เห็นแว้บๆที่ MSN  แต่ไม่มีจังหวะทักทาย  ต้องขอโทษด้วย 
    • สบายดีนะครับ  สอบเด็กเสร็จยังน้อ...เหนื่อยไหมเอ่ย? เจ้าลูกชายที่ชอบนั่งสมาธิกับพ่อ  และแม่บ้านก็คงสบายดีทุกคนนะ
    • ไว้คุยกันอีกนะครับ
    • สวัสดีครับ
    P  สวัสดีครับคุณพี่ศศินันท์
    • เมื่อวานผมยังไม่ได้ตอบคุณพี่เลย ต้องขอโทษมากๆเลยครับ  กะว่าเสร็จบันทึกของวันนี้ก็จะแวะไป  แต่ก็ยังติดพันอยู่
    • คำยกย่องของคุณพี่และทุกๆท่าน ผมนำไปฝากเด็กๆทุกเช้าวันทำการ  พวกเขาเองก็รอลุ้นว่าผมจะเขียนเรื่องอะไร  และจะหยิบเอาบันทึกที่ดีๆของท่านใดในชุมชนชาวบล้อกไปฝาก  พวกเขาชอบอ่านครับ (เด็กมีน้อยแค่ 60 คน  จึงค่อนข้างสนิทกับครูใหญ่ทุกคนครับ)
    • ขอบคุณคุณพี่เป็นอย่างมากที่ให้เกียรตินำไปลิงค์ที่บันทึกของคุณพี่ ถ้าพอจะเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ก็ไม่ขัดข้องครับ
    • แล้วจะแวะไปเยี่ยมที่บล้อกครับ
    • สวัสดีครับ
    • ครูวุฒิค่ะ
    • เห็นต้นไม้---->การปลูก  การถนอม   การดูแล    กว่าจะเติบโต ใช้เวลายาวนาน     แต่เวลาตัดไม่กี่นาทีก็เรียบร้อยแล้ว     ทำอย่างไรหัวใจทุกดวงจึงจะเป็นหนึ่งเดียวนะ
    • เห็นต้นไม้---->การปลูก  การถนอม   การดูแล    กว่าจะเติบโต ใช้เวลายาวนาน     แต่เวลาตัดไม่กี่นาทีก็เรียบร้อยแล้ว     ทำอย่างไรหัวใจทุกดวงจึงจะเป็นหนึ่งเดียวนะ  สำหรับผมแล้ว  มองเห็นแนวทางที่พอจะนำมาใช้การได้มีอยู่ทางเดียว  คือ "การปรับกระบวนทัศน์ทางการศึกษาใหม่ทั้งระบบ"
    • หมายความว่า  1) หลักสูตรการศึกษาของไทยควรเน้น"ทักษะชีวิต" มากกว่า "การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ(ทางวิชาการ)" อย่างทุกวันนี้ 2) แนวการเรียนการสอน ควรเน้น"การประยุกต์หรือบูรณาการให้สอดคล้องกับบริบทในทุกด้านของชุมชนท้องถิ่น  โดยเฉพาะทางด้านที่เป็นจุดแข็งหรือโอกาส" ในขณะที่ก็ไม่ต้องตกยุคทางด้านโลกทัศน์ด้วย
    • ประเด็นคำถามของครูหญ้าบัวข้อนี้  ผมคงต้องนำมาเขียนเสนอบนบันทึกในโอกาสต่อๆไปสักวันครับ
    • ขอบคุณที่แวะมาครับ
    • สวัสดีครับ
    • ครูอ้อยตามมาคุยกับ ผอ.อีกค่ะ
    • รู้สึกอบอุ่นนะคะ  ที่ ผอ.ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ
    • อิอิ..ไม่ค่อยได้พบกับบรรยากาศแบบนี้นานแล้วค่ะ
    • ยุ่งสิคะ  งานอบรมก็ตามมา เพราะนักเรียนไม่มีแล้ว  ครูอ้อยกำลังรวบรวมงานที่โรงเรียนใส่แฟ้มให้เสร็จก่อนปิดเทอม และจะได้ตั้งใจเรียนเสียทีค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    • มาสนับสนุบ
    • และมาให้กำลังใจคนทำความดี
    • สงสัยต้องหาทางไปเยี่ยมเสียแล้ว
    • ปลูกต้นไม้วันละนิด จิตแจ่มใสครับ
    • ตาม อ.ขจิตมาคะครูวุฒิ
    • คุณครูวุฒิเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนเลยคะ..เป้นผู้บริหารในฝันเลยคะ..ไม่ใช่โรงเรียนในฝันที่ฝันสลายไปตาม รมต.คะ
    • ไม่ได้ยอเพราะเป็นคนกันเอง...อิอิแอบนับญาติกับครูวุฒิซะเลย
    • เพราะ ครูเป็นตัวอย่างที่ดีในการแสวงหาความรู้
    • และที่สำคัญสอนโดยลงมือกระทำคะ
    • ประสบการณ์ตรงช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดคะ...เหมือนอย่างสอนเด็กอนุบาลให้ทานข้าวให้หมดจาน แล้วบอกเพราะสงสารชาวนา..และแม่โพสพ..เด็กก็ไม่เข้าใจเท่าการมาลงมือดำนาเอง..รอจนข้าวตั้งท้อง..กว่าจะเป็นเมล็ดข้าวให้เรากิน..(มีปัญหากับหลานที่กรุงเทพมากคะ..นอกจากกินข้าวเหลือแล้ว..ยังไม่ยอมล้างจานคะ...)
    • การทำให้ดูเป็นสิ่งที่มีค่ามากคะ..นอกจากเด็กได้อะไร..โรงเรียนได้อะไร..ชุมชนยังได้ประโยชน์ด้วยคะ...มีหลายชุมชนในประเทศคะที่ทำสิ่งดีๆ..แต่น่าเสียดายภาครัฐและสื่อไม่ประโคมอย่างจริงจัง...จะไปสู้โฆษณาขายยา..ขายปุ๋ยในวิทยุได้ไงคะครู..ชาวบ้านฟังทุกวันก็ต้องเชื่อไปตามนั้นคะ
    • ประเทศไทยหลงทางไปกับเกษตรแผนใหม่ซะนานคะ..แต่ยังไม่สายที่เราจะมาใช้เกษตรอินทรีย์นะคะ
    • หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ ท่านเคยกล่าวไว้ว่า เงินทองเป็นของมายา..ข้าวปลาเป็นของจริง คะ
    • หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่
    • รูปหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร จาก

      วิกิพีเดีย คะ

    • ปัจจุบันฟาร์มบางเบิดที่เคยรุ่งเรืองได้กลายเป็นสถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร แล้วคะ

    P  สวัสดีครับครูอ้อย

    • ต้องขอโทษด้วยครับ  เมื่อคืนนี้มีงานสำคัญต้องเตรียมการประชุมก่อนปิดภาคเรียน  เลยยังไม่ได้ตอบครูอ้อย  ไม่ว่ากันนนะครับ
    • ก็ด้วยความเป็นห่วงจริงๆครับ  เข้าใจดีว่าเหนื่อยแบบครู  ไม่เหมือนเหนื่อยแบบอาชีพอื่นๆ  (ล้าสมองจะแย่กว่าล้ากาย  เหมือนกันยังไงยังงั้นเลย)  จริงไหมครับ? 
    • กับครูที่โรงเรียนผมก็จะถามเรื่อยเหมือนกันครับ  ก็ด้วยเหตุผลเดียวกัน โดยเฉพาะในช่วงที่งานอะไรๆจากหน่วยเหนือประดังประเดเข้ามาพร้อมๆกัน 
    • ภารกิจหลักของเราจริงๆคือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ในเวลาราชการเราจึงต้องอยู่กับเด็ก  งานอื่นๆส่วนหนึ่งจึงต้องล้นมาอยู่นอกเวลา ทำให้ครูมีเวลาสำหรับครอบครัวและพักผ่อนน้อยลง  ครูอ้อยเองก็คงเป็นแบบเดียวกัน  ยิ่งเป็นหัวหน้าสาระ ภาระก็ยิ่งเพิ่มขึ้นกว่าเป็นครูผู้สอนธรรมดาอย่างแน่นอน
    • กลัวว่า  จะเป็นเหมือนครูที่อยู่บ้านเดียวกับผมก่อนหน้านั้นเคยแข็งแรงลุยถึงไหนถึงกันได้ตลอด  แต่หลังจากอบรม 13 วันกลับมา  เข้าโรงบาลไป 2 วัน 2  คืน หมดเลือดไป 2 กระปุก กลับออกมาจนถึงวันนี้ยังปรากฏอาการอยู่อย่างเห็นได้ชัด  ที่แน่ๆ พลังหายไปเยอะครับ
    • ห่วงตัวเองบ้างนะครับ  ครูอ้อย
    • แล้วคุยกันใหม่น้ะ...  สวัสดีครับ

    P  สวัสดีครับท่านอาจารย์ขจิต

    • ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจและสนับสนุนครับ
    • "สงสัยต้องหาทางไปเยี่ยมเสียแล้ว"ยินดีต้อนรับเสมอและถือเป็นเกียรติอันสูงยิ่งครับ  สำหรับท่านอาจารย์ขจิตและพันธมิตรชาวบล้อกทุกท่าน  แต่เรียนแจ้งล่วงหน้าไว้ก่อนนะครับว่า โคกเพชร เป็นแค่โรงเรียนเล็กๆ  เก่าๆ  โทรมๆ  ที่จำต้องเอาต้นไม้มาปลูกๆๆๆๆ บังความขี้เหร่เอาไว้  (กันอุจาดตาน่ะครับ)  บรรยากาศจึงอาจไม่ใคร่เหมือนสถานศึกษาตามมาตรฐานของสถานศึกษาทั่วๆไปนะครับ (พูดแล้วอายครับ)
    • ปลูกต้นไม้วันละนิด จิตแจ่มใสครับ เด็กๆคงดีใจมาก  หากท่านอาจารย์ขจิตมาร่วมปลูกด้วยครับ  มีโอกาสเมื่อไร  เชิญนะครับ
    • สวัสดีครับ

    P  สวัสดีครับคุณนารี

    • ขอบคุณมากครับสำหรับคำชม  เพิ่งรู้ว่าเป็นชาวประมงริมน้ำด้วย ("ยกยอ"ไง้...อิอิ..)
    • ....ผู้บริหารในฝัน...zzz...zzz...zz...z...อ๊อ....ฝันค่อนข้างบ่อยครับ...หลังมื้อเที่ยงไง..15 นาทีโดยประมาณ ....ประมาณว่าเรียกความกระปรี้กระเปล่าในช่วงบ่ายถึงค่ำครับ  (ทำไงได้...ก็เขียนบล้อกดึกไง...หะ...หะ....น้ำขุ่นๆเลยแหละ)
    • ดีใจ  ที่มีญาติแบบมั่นๆกับเขาหนึ่งคน  ที่มีอยู่ก่อนนี้น่ะ  เหนียมๆทั้งนั้น  หาใครดุดันแบบถึงลูกถึงคนไม่ใคร่มี ตอนนี้สมหวังแล้ว...เหอะ ๆ...
    • ประสบการณ์ตรงช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดค่ะฯ , การทำให้ดูเป็นสิ่งที่มีค่ามากค่ะ...และ ฯลฯ  ขอบคุณมากๆสำหรับความคิดเห็นที่เสริมให้เห็นภาพของ"การจัดการเรียนรู้แท้"ให้แจ่มชัดขึ้น  ก็มาพักหลังๆนี่แหละครับ  ที่ได้ใช้สื่อการเรียนรู้ที่เป็น"ชีวิตจริง"ของตัวเองและครอบครัวเติมลงไปด้วยเป็นครั้งคราว  เพราะจัดการศึกษาด้วยสื่อในตำราเรียนมากว่า 20 ปี  ประเมินผลดูแล้ว...ไม่รอด... (ทั้งตัวเอง  เด็ก  และชุมชน  ทั้งระบบเลยล่ะ)
    • หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ ท่านเคยกล่าวไว้ว่า เงินทองเป็นของมายา..ข้าวปลาเป็นของจริง คะ สำหรับเจ้าผู้ประสูติมาเพื่อสามัญชนผู้ด้อยโอกาสองค์นี้  โคกเพชรยกองค์ท่านไว้ในที่บุคคลอันควรสักการะเป็นที่ยิ่งอีกท่านหนึ่ง  มีหลักฐานปรากฏที่ http://www.khokpet.thaifix.com (เรื่องที่ 41) และ แผนผังด้านล่างนี้ครับ 

    %e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b8%9c%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%a4%e0%b8%a9%e0%b8%8f%e0%b8%b5%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b9%88+4+%28%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%81%29 

    • ขอบคุณสำหรับลิงค์ที่ให้มาด้วย  ได้ข้อมูลเพิ่มเยอะเลยครับ
    • สวัสดีครับ
    กว่าจะคิด และลงมือทำอะไรได้ ชีวิตก็เหี่ยวไปมากแล้ว

    แย่จริง ออตเพิ่งอ่านบันทึกนี้

    ตอนนี้กำลังเพาะครับ

    P ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

    P ออต

    • แม้ไม่ใช่โหร แต่ผมก็กล้าพยากรณ์ว่า "สิ่งที่พ่อสร้างไว้  จะเป็นตำนานคู่แผ่นดินไทยไปชั่วกาล" ครับ
    • ส่วนน้องออต  เร่งสปีดตามติดเลยครับ  เดี๋ยวพ่อจะทิ้งห่างเกินไป  และจะได้เป็นไม้ยางนารุ่นเดียวกับของท่านหมวดวิชัยรุ่นนี้ Img_1118
    • และสำหรับท่านหมวดวิชัย วันนี้ก็ยังเพาะและปลูกตามเคยครับImg_1122

    สวัสดีครับ พอดีหลงทางมาแถวนี้

    ก็ให้ดีใจว่า ชุมชนรากหญ้ามีความเข้มแข็งกันอยู่

    มีคนพยายามทำเพื่อส่วนรวม ทำเพื่อผู้อื่น ทำเพื่อคนหมูมาก ไม่ใช่เพื่อนายทุน

    มีจิตอาสา มีจิตสาธารณะ

    แต่ก็ให้สะท้อนใจว่า มันมีอะไรบางอย่าง ที่ยังไม่สมบูรณ์

    ตรรกะที่ขัดแย้งกัน

    ระหว่างเรื่อง

    "ไผ่เลี้ยงหวานสีทอง เป็นพืชเศรษฐกิจนำรายได้เพื่อการใช้สอยประจำวัน(ตลอดปี) ยูคาลิปตัส เป็นพืชเศรษฐกิจให้เงินก้อนระยะ 3-4 ปี/ครั้ง(สามารถวางแผนปลูกแบบให้มีรายได้ปีละอย่างน้อย 1 ครั้งได้) ยางนา ตะเคียนทอง และไม้ป่าอื่นๆ เป็นไม้แบบบำนาญชีวิตและมรดกสำหรับลูกหลาน ส่วน "ข้าว" ใช้เป็นทุนสำรองเลี้ยงชีพระหว่างปี"(ไม่ใช่ใช้เป็นรายได้หลักอย่างทุกวันนี้และที่ผ่านมา"

    กับคำกล่าวอ้างถึง มจ.สิทธิพร ที่ว่า "เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง"

    เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องการทำเกษตร เพื่อหารายได้ (เงิน) แต่เราต้องการทำเกษตรเพื่อหาข้าวปลา เพื่อการพึ่งตน เพื่อการเป็นอิสระ เพื่อไม่ต้องขึ้นกับกลไกตลาด พ่อค้าคนกลาง นายทุนเอารัดเอาเปรียบ ต่างประเทศที่ไม่เคยเห็นหัวเกษตรกร ฯลฯ ต่างหากครับ

    ผมว่าแนวความคิดที่คุณครูกล่าวมา จึง ฟังดู กลับหัวหลับหาง

    ด้วยประสบการณ์ที่มีน้อยกว่ามากนัก จึงอยากรับฟังข้อคิดเห็น ข้อชี้แนะ เพิ่มเติม ครับ

    ปล. เรื่องเอาข้อมูล วิทยาศาสตร์ งานวิจัย มาอ้างอิงเป็นเรื่องดีครับ

    แต่ต้องศึกษาให้ละเอียด รอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง "ผลประโยชน์แอบแฝง" สิ่งที่ "เขาเล่าว่า" นั้นไม่พอครับ เราต้องหาทางพิสูจน์ให้เห็นกระจ่าง ไม่งั้นก็น้ำตาตกในสำหรับเกษตรกรไทยอีกเหมือนเดิม

    24. เต้
    เมื่อ อ. 13 พฤษภาคม 2551 @ 13:51
    651717 [ลบ]

    • สวัสดีครับคุณเต้
    • ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจ
    • ประเด็นที่คุณให้ความคิดเห็น ผมยอมรับว่าถ้าเรามองเผินๆอาจจะดูกลับหัวกลับหางอยู่บ้าง
    • แต่ถ้าเราคิดให้ละเอียด "โดยเอาบริบทของสังคมเป็นที่ตั้ง  เอาสถานการณ์ปัจจุบันของเกษตรกรเป็นฐาน"  เราจะพบว่าเป็นไปไม่ได้ที่"เราจะอยู่ได้โดยปราศจากเงิน"
    • ขณะนี้เกษตรกรระดับรากหญ้าเกือบร้อยทั้งร้อย มีหนี้สินระดับที่แทบล้มละลาย (อย่างน้อยก็วิกฤตมาก) ฎ"เงิน"ที่ต้องชำระหนี้เฉพาะหน้าจึงสำคัญไม่น้อย
    • ดังนั้น ถ้าเรามีเพียงข้าว"เป็นความหวังหนึ่งเดียว" อย่างที่เกษตรกรรากหญ้าส่วนใหญ่มีอยู่  จึงยากที่จะอยู่ได้  เราต้องมีพืชเศรษฐกิจหรือกิจกรรมอื่นๆเข้ามาช่วยบ้าง 
    • "ไผ่เลี้ยงหวานสีทอง" ที่แนะนำ เพราะมีคุณสมบัติที่ปลูกง่าย ทนแล้ง หน่อดก(มาก) ขยายพันธุ์ได้เอง(ไม่ต้องรอซื้อต้นพันธุ์จากภายนอก ครั้งแรกอาจซื้อแค่ต้นสองต้น แล้วต่อไปขยายเอง) ให้ผลตอบแทนทั้งในรูปของหน่อเพื่อเป็นอาหารและจำหน่ายเป็นรายได้(ตลาดมีทุกระดับนับตั้งแต่คนข้างบ้าน จนระดับอุตสาหกรรม) ปลูกเสริมความแข็งแรงของคันนาได้ดี(ไม่ต้องเสียเวลาหรือค่าใช้จ่ายในการซ่อมบ่อยๆ) ใบใช้เป็นปุ๋ยได้ดี ลำต้นแปรรูปใช้และจำหน่ายได้หลากรูปแบบ(ถ่านไผ่มีคุณภาพดีระดับเกรดเอ) ฯลฯ
    • "ยูคา" เป็นพืชที่ปลูกง่าย ราคาใช้ได้ ตลาดแน่นอน (ควรมีไว้บ้างตามหัวไร่ปลายนา) ไม่ขายเข้าโรงงานก็ปล่อยให้โตแปรรูปใช้สอยได้ดีไม่แพ้ไม้อื่นๆ (พึ่งตัวเองในด้านไม้ใช้สอย ไม้เพื่อที่อยู่อาศัย)
    • ยางนา ตะเคียนทอง ฯลฯ ไม้มรดกที่ให้ประโยชน์ทั้งต่อคนและสภาพแวดล้อม (15 ปี ใช้ประโยชน์และจำหน่ายได้)
    • พระดำรัสของ มจ.สิทธิพร ฯ มีนัยสำคัญที่ไม่ได้ให้ใช้ชีวิตผูกติดกับเงินและวัตถุเพียงอย่างเดียว หากแต่ควรให้ความสำคัญกับสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตของแต่ละคนแต่ละครอบครัว พร้อมบริบทของแต่ละสังคม แน่นอนครับ  สังคมไทยเราเราคงมีเพียงอาหารอย่างเดียวไม่ได้
    • แม้พระองค์ท่านจะตรัสเช่นนั้น  พระองค์เองก็ทรงเป็นนักเผยแพร่และทดลองปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์พันธุ์ใหม่ๆ(เพื่อให้คุ้มต่อการปลูกหรือเลี้ยง) นะครับ
    • เพราะฉะนั้น การที่เราชักชวนกันทำการเกษตรในเชิงผสมผสานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น(อย่างมีเหตุผล) จึงน่าจะไม่ใช่เป็นไปเพื่อ "ผลประโยชน์แอบแฝง" นะครับ (เรามีผลิตภัณฑ์การเกษตรหลายอย่างย่อมดีกว่ามีเพียงข้าวอย่างเดียว คุณเต้ว่าจริงไหมครับ)
    • ขอบคุณอีกครั้งสำหรับการหลงทางมาแลกเปลี่ยนครังนี้
    • ยินดีแลกเปลี่ยนอีกนะครับ
    • สวัสดีครับ

    ไม้สักเอามาทำกระดาษกล่องได้ไหมครับต้นทุนการทำเท่าไรครับครูวุติ

    ดีใจที่ครูมีกิจกรรมดีดีให้เด็กๆๆ

    สวัสดีครับ

    • มาดูภาพแล้วคิดว่าชุมชนแถวนั้น
    • คงไม่ร้อนครับ
    • คงจะร่มเย็น ปกคลุมด้วยต้นไม้
    • ชื่นชมจริง ๆ ครับ
    ร.ต. สังวรณ์ อุ่นเมืองอิน

    ผมขอชื่นชมผู้นำมีจิตวิญญานในการรักต้นไม้ และปลูกจิตให้เด็กรักต้นไม้ครับผมเองชีวิตที่เหลือก็จะเพาะและปลูกให้มากเท่าที่จะทำได้ครับ

    • ขอบคุณทั้ง 4 ท่านล่าสุดมากๆครับ
    • ต้องขออภัยที่ตอบช้า
    • เพราะไม่ใคร่ได้เช็คเมล์น่ะครับ
    • ดีใจที่มีเพื่อนร่วมทางในการปลูกต้นไม้
    • อ้อ... คุณเบร์ดครับ ไม้สักมีค่ามากเกินกว่าจะเอามาทำกระดาษกล่องครับ
    • สวัสดีครับ

    พอดีมีการจัดอบรมนักวิจัยชาวนาครั้งที่สองนี้ ผมในฐานะคนรุ่นใหม่ ที่เข้ามาทำงานเล็กๆน้อยๆ เราจะเน้นการปลูกต้นยางนา หลังประชุมหนึ่งวันผมไปเห็น ต้นยางนาที่เด็กกำลังกอดอยู่ สวยมากครับ ใกล้ๆมีสวนของพี่ประสารที่น่าเรียนรู้ สิ่งหนึ่งที่ได้จากการแอบฟังอยู่ห่างๆจากเวทีชาวนาภิวัตภ์ครั้งนี้ เป็นสิ่งดีๆทั้งนั้นครับ ไม่ว่าการปลูกต้นไม้ แนวคิดต่างๆ สุดยอดมากครับ คุณพ่อทองนาค โมรินทร์ พูดในฐานะผู้อาวุโสขนลุกเลยครับ ถือว่าโอกาศนี้เป็นประการณ์ที่มีค่ามากครับ ขอบคุณสำหรับประสบการณ์ที่มีค่า จะหาฟังอะไรแบบนี้ไม่ง่ายเลยครับ เสียดาย ที่แนวคิดพวกนี้เข้าไปสู่ชาวนาไทยช้าเหลือเกิน จะมีกี่คนที่นำความคิดเหล่านี้ไปทำอย่างจริงจัง ผมลงไปในเกือบทุกพื่นในฐานะผู้ประสานงานที่เห็นหลายคนทำเริ่มแล้ว ผมว่าเรามีเวทีน้อยเกินไป ที่จะเอาคนกลุ่มนี้มาเจอกัน ระหว่างคนที่มาประชุมครั้งแรกวันที่ 25 ตุลา กับคนที่ไปดูงานที่บ้านพ่อคำเดื่อง เท่าที่ไปดูมาคนที่ไปดูงานที่บ้านพ่อคำเดื่องทำได้ดีครับ แต่คนที่มาวันที่ 25 บางคนมาเพราะเป็นหน้าที่ครับเช่นเป็นผุ้นำชุมชนก็เลยไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าให้ประเมินแล้ว ผมค่อนข้างพอใจกับการปรับตัวของชาวนาที่เข้ามาเป้นเครื่อข่ายพอสมควรครับ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่เข้าใจไปทุกที่ ทุกหมู่บ้าน ต้องมีรถขายกับข้าวทุกที่เลยครับ ทำไมชาวบ้านยังซื้ออยู่ ทำไม่ชาวบ้านไม่ปลูกกินเอง ทำไมชาวบ้านใช้ที่ดินที่มีอยู่ไม่ค้มค่า ผมไปเจอป้าแก่ๆคนหนึ่งที่ปลูกผักขายอย่างละเล็กละน้อยที่ดินหนึ่งไร่ตรงนั้นแก่จะมีรายได้ประมาณวันละ200-300 บาทที่ดิที่ไม่ถึงไร่ทำรายได้ไม่ตำกว่าแสนบาทต่อปี กับยายที่หมู่บ้านผมพื้ที่ 20 ตารางเมตรมีรายได้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งร้อยบาทต่อวันปลูกพื้ให้ดูแลกันและกันแซมกันเข้าไปกับพื้ที่เล็กๆแค่นั้นมีรายได้ไม่ต่ำกว่ปีละ สี่หมื่นบาท ผมเคยเขียนความเล่นๆ ว่าทำไม่คนขุขันธ์ต้องซื้อผักคนโคราชกิน คนขุขันธ์ไม่ใช่เกษตรกรหรือ ตนขุขันธ์ปลูกผักกินไม่เป็นหรือ คนขุขันธ์ปลูกผักน้อยไปหรือ หรือว่าคนขุขันธ์ยังไม่ตื่น กับผักที่นำมาจากโคราชไม่ตำกว่าวันละหนึ่งคันสิบล้อก็ไม่ใช่ว่าเป็นผักที่ปลุกไม่ได้ในขุขันธ์ และที่เจ็บปวดกว่านั้นผักบางอย่างเป็นผักที่ขนไปจากกันทรลักษณ์ คนขุขันธืเป้นเกษตรกร แทนที่จะปลูกผักขายแต่กลับกลายเป็นซื้อผักกิน หลายคนที่เข้ามาทำกินที่ขุขันธ์ ไม่ว่าจะเป็นคนเหนือ คนใต้ อุบล มีฐานะ ชวนพี่ชวนน้องมาอยู่ที่นี้ และยิ่งไปกว่านั้นก็มีห้างมาเปิดอีก เมือเงินที่เข้ามาขุขันธ์ ส่วนใหญ่มาจากข้าราชการและเงินจาการขายผลผลิตทางเกษตรอันได้แก่ข้าวเป็นส่วนใหญ่ เมือข้าราชการเข้าห้าง เงินก็หมุนไปที่ไหนไม่รู้ เมื่อเงินที่เคยหมุนในขุขันธ์ หมุนไปที่อื่น แทนที่จะหมุนไปสู่ชมชน ชาวบ้านเข้าห้างเงินก็หมุนไปที่อื่น ซื้อผักโคราชเงินก็หมุนไปโคราช แสดงว่าอีกไม่กี่ปี คนขุขันธ์จะจนลงอีก ถ้าคนขุขันธ์ไม่ช่วยคนขุขันธ์ใครจะช่วยคนขุขันธ์ คนขุขันธืครับ เมื่อไหร่คุณจะตื่น ตื่นมาช่วยกันป้องกัน ตื่นเข้ามาทำให้ขุขันธ์เป็นเมืองที่มั่งคั่งยั้งยืน เป็นเมืองที่อู่ข้าวอู่นำของคนที่อืน ไม่ใช่ให้ที่อื่นเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของคนขุขันธ์ ห้างจะเจ้งก็เจ้งไป ผักโคราชขายไม่ได้เราก็คงไม่เดือดร้อน และอีกอย่างครับ ฝากไปถึงร้านค้าปลีกครับ ถ้าร้านค้าปลีกทุกร้านในขุขันธ์เลิกขายเหล้า ถามว่าใครจะได้รับความเดือดร้อนจากการไม่มีเหล้าครับ ระบายเล่านะครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท