"วิจัยชาติ สู่ท้องถิ่นภาคเหนือ" ฤาเป็นเพียงแค่ละครเรื่องเดิม


เพราะเพียงเริ่มต้นคิด...ระดมความคิดในเวทีแบบนี้ ผมไม่เห็นภาคประชาชนที่เป็นคนท้องถิ่น ที่เป็นปราชญ์ชุมชนในเวทีนี้แม้แต่คนเดียวทำผมคิดว่า เราสะดุดตั้งแต่แรกเริ่ม...และเราก็จะมีปัญหาเหมือนกันซ้ำๆให้แก้ไขกันต่อไป

ผมได้รับเชิญเข้าร่วมเวที "ระดมความคิดเห็นเพื่อการเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติกับกลุ่มเรื่องที่ควรวิจัยเร่งด่วน : ภาคเหนือ" จัดโดยเครือข่ายการบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน

การเข้าร่วมเวทีครั้งนี้ เป็นการบังเอิญเข้าร่วมระดมความคิดแบบงงๆ และ ผมรู้สึกมึนงงจนจบกระบวนการในหนึ่งวันที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเชียงใหม่

ที่ผมตัดสินใจเข้าร่วมเพราะเห็นประเด็นน่าสนใจและเกี่ยวข้องกับประเด็นการบริหารจัดการท่องเที่ยวที่เป็นงานวิจัยส่วนหนึ่งที่ดำเนินการอยู่

 

ภาพจากโปสการ์ดแผ่นเล็กๆที่ผมซื้อจากริมถนนที่เมืองปาย

------------------------------------------

ในครั้งแรกนั้น คิดว่าจะเป็นการระดมความคิดเห็นแนวทางการวิจัยที่สอดคล้องกับภาคเหนือบน (ครั้งนี้จัดอนุภูมิภาค - เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน ลำพูน) ในความเป็นจริงในกระบวนการก็มีการระดมความคิดเห็น แต่เป็นการระดมความคิดเห็นในแนวทางที่มีโครงการวิจัยตามข้อเสนอของหน่วยงานราชการในจังหวัดภาคเหนือที่มีอยู่แล้ว  หมายถึงเนื้อหาที่ได้จากการระดมความคิดเห็นจะนำไปแทรกตรงไหน ในเมื่อมีโครงการวิจัยที่พร้อมอนุมัติอยู่แล้ว...

ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ การระดมความคิดเห็นครั้งนี้ไม่มี "ภาคประชาชน"  ผมคิดว่สำคัญมากทีเดียว หากยุทธศาสตร์ของ วช.จะเน้นการพัฒนาเพื่อ "ตอบโจทย์ท้องถิ่น"  เพื่อประมวลเป็นแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยรูปแบบงานวิจัย เวทีการระดมความคิดเห็นครั้งนี้จึงขาดมิติของคนชุมชนอย่างน่าเสียดาย...

ผมสนใจยุทธศาสตร์ ทั้ง ๕ ยุทธศาสตร์ ของ วช.มาก อ่านเอกสารแล้ว ตัดสินใจเข้าร่วมเพราะเห็นยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้

ในปี ๒๕๕๑-๒๕๕๓ มียุทธศาสตร์การวิจัยชาติดังนี้

  • การสรางศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
  • การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางสังคม
  • การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางวิทยาการและทรัพยากรบุคคล
  • การเสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การบริหารจัดการความรู้ ผลงานวิจัยทรัพยากรและภูมิปัญญาสู่การใช้ประโยชน์ด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสม

ทั้งหมดเป็นยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติที่ผมอ่านแล้ว หัวใจพองโต เพราะหากกระจายกิจกรรมโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทั้งหมดได้ดี กระบวนการพัฒนาท้องถิ่นจะขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ และเอื้อต่อการพัฒนาระบบความรู้ระดับท้องถิ่น

กิจกรรมหลักๆในเวทีเป็นการนำเสนอแนวคิด ยุทธศาสตร์งานวิจัย รวมถึง การชี้แจงโครงการวิจัยที่มีอยู่แล้วพร้อมอนุมัติ และมีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดงานวิจัยตามหัวข้อยุทธศาสตร์

ผมเลือกยุทธศาสตร์ที่ ๕ ที่ผมสนใจที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ รวมถึงการนำผลจากงานวิจัยไปต่อยอดระดับชุมชนน่าจะมีกระบวนการแบบไหน อย่างไร และงานวิจัยที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ข้อนี้ควรเป็นอย่างไร?

ประเด็นหลักๆที่ผมเสนอในเวทีกลุ่มย่อย ยุทธศาสตร์ที่ ๕

  • เน้นการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้โดยใช้"การท่องเที่ยวโดยชุมชน"เป็นเครื่องมือ
  • การพัฒนาระดับเครือข่าย(Network)  โดยใช้ การจัดการความรู้ เป็นทุนในการขับเคลื่อน
  • การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ระดับชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง พัฒนาจากพื้นที่รูปธรรม โดยมีผลลัพธ์เป็นชุดความรู้ท้องถิ่น
  • การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อยกระดับความรู้ชุมชน
  • การพัฒนาเครือข่ายปราชญ์ชุมชน เป็นลักษณะ Human mapping

เหมือนกับการนำเสนอวิธีการ - กระบวนการเดิมๆ แต่ผมยังยืนยันว่าในท้องถิ่น ผมยังไม่เห็นภาพการขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยากเห็นอย่างที่ผมนำเสนอข้างบนนี้ 

ส่วนในการนำข้อมูลวิจัยไปใช้ ประเด็นนี้ถกกันนานถึง งานวิจัยที่ทำแล้ว ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควรจะเป็นทางออกเรื่องนี้เราคุยกันถึง การจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการงานวิจัย เรียกง่ายๆว่าจัดการความรู้จากการวิจัยเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารงานวิจัยระดับอนุภูมิภาค

ผมกำลังมองว่า เราคิดบนฐานของการแก้ปัญหาแบบตื้นเขินมากเกินไป ทางออกของปัญหานี้ไม่ได้แก้ไขที่ การจัดตั้งศูนย์การบริหารงานวิจัย และ/หรือ การจัดตั้งบอร์ดบริหารงานวิจัยระดับภาค หากแต่เป็นการวางระบบการคิดงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์วิจัยจริงๆ เป็นงานวิจัยและพัฒนา สร้างคนเพื่อเป็นนักวิจัยชาวบ้าน รวมถึง การเสริมพลังชุมชนตลอดกระบวนการวิจัย นั่นหมายถึงเราใช้ประโยชน์จากกระบวนการวิจัยตลอดกระบวนการอยู่แล้ว

เรามักเห็นเนืองๆว่า  งานวิจัย ที่ผ่านมาตลอดเวลานั้น

  • เป็นผลงานเพื่อยกวิทยฐานะของบุคลากรทางการศึกษา หาได้มีความจริงใจในการช่วยพัฒนาชุมชนไม่
  • เป็นงานที่บอกว่ามีส่วนร่วม แต่แท้จริงเป็นการมีส่วนร่วมแบบปลอมๆ
  • งานวิจัยเป็นเพียงธุรกิจทางเลือก สร้างรายได้ สร้างเครดิตความรู้ให้ผู้วิจัย และชาวบ้านเป็นเพียงผู้ถูกวิจัยเท่านั้น
  • การจัดสรรงานวิจัยที่ผ่านมาอิงกับสถาบันการศึกษา ไม่มีภาคประชาชนแม้แต่โครงการเดียว
  • งบประมาณวิจัยชาติมีกลไกซับซ้อนเกินกว่าภาคประชาชนจะเข้าถึง

สรุปแล้ว...จะสร้างสถาบันจัดการความรู้จากงานวิจัย หรือจะเกิดบอร์ดเพื่อมาจัดการความรู้จากงานวิจัย กี่สิบกี่ร้อยสถาบัน กี่พันบอร์ด ...น่าจะไม่ใช่ทางแก้ไขปัญหา

เพราะเพียงเริ่มต้นคิด...ระดมความคิดในเวทีแบบนี้ ผมไม่เห็นภาคประชาชนที่เป็นคนท้องถิ่น ที่เป็นปราชญ์ชุมชนในเวทีนี้แม้แต่คนเดียวทำผมคิดว่า เราสะดุดตั้งแต่แรกเริ่ม...และเราก็จะมีปัญหาเหมือนกันซ้ำๆให้แก้ไขกันต่อไป

ผมเดินออกจากเวทีระดมความคิดแบบมึนๆเหมือนตอนเข้ามาครั้งแรก...ความรู้สึกของผมแทบไม่ต่างกัน

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 163737เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2008 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)
สวัสดีค่ะ คุณจตุพร เรื่องการสร้างคน การพัฒนาสำคัญมาก เรื่องการสร้างครอบครัวเป็นพื้นฐานในการสร้างคน เรื่องการวิจัยชาติ สู่ท้องถิ่นภาคเหนือ มองข้ามเรื่องคน โดยเฉพาะคนสูงอายุที่เราไม่ควรมองข้ามค่ะ

เป็นเรื่องวิจัยระดับชาติ...

น่าจะต้องอาศัยความร่วมมือในทุก ๆ ภาคส่วน...

และที่สำคัญภาคเหนือมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย...

และที่สำคัญคนที่น่าจะรู้ดีที่สุด น่าจะเป็นภาคประชาชนที่เป็นคนในพื้นที่นะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

สวัสดีครับ คุณเอก

  • เป็นผลงานเพื่อยกวิทยฐานะของบุคลากรทางการศึกษา หาได้มีความจริงใจในการช่วยพัฒนาชุมชนไม่
  • เป็นงานที่บอกว่ามีส่วนร่วม แต่แท้จริงเป็นการมีส่วนร่วมแบบปลอมๆ
  • งานวิจัยเป็นเพียงธุรกิจทางเลือก สร้างรายได้ สร้างเครดิตความรู้ให้ผู้วิจัย และชาวบ้านเป็นเพียงผู้ถูกวิจัยเท่านั้น
  • การจัดสรรงานวิจัยที่ผ่านมาอิงกับสถาบันการศึกษา ไม่มีภาคประชาชนแม้แต่โครงการเดียว
  • งบประมาณวิจัยชาติมีกลไกซับซ้อนเกินกว่าภาคประชาชนจะเข้าถึง 
  • ทุกข้อที่กล่าวมา ... ถูกต้องทุกข้อ

    ยกฐานะตัวเอง, มีส่วนร่วมปลอม ๆ, เป็นธุรกิจ, อิงสถาบันการศึกษา และ ความซับซ้อนของงบประมาณ

    มีคนนั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง ... ที่นั่งคิดบนยอด โดยลืมมองฐานรากของหอคอย

    แสดงความเห็นด้วย โดยยังไม่มีความคิดเห็นเพิ่มเติม ครับ

    ขอบคุณครับ ... ให้กำลังใจนะคุณเอก :)

    สวัสดีครับคุณ berger0123

    ตามจริงผมมีประเด็นสนุกๆมาแลกเปลี่ยนเยอะเลยครับ ...หลังจากที่หายไปร่วมสัปดาห์และไปเรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย

    ส่วนในประเด็นงานวิจัยนั้น ตามยุทธศาสตร์ก็เน้น เรื่อง"คน" เหมือนกันครับ อาจแทรกตามโครงการวิจัยต่างๆ ล้วนแล้วแต่มุ่งเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต

    สิ่งที่ผมอยากให้เกิดก็คือ การสร้างความเข้มแข็งระดับท้องถิ่นจริง ที่เป็นผลจากการพัฒนาโดยใช้งานวิจัยเป็นฐาน

    ขอบคุณมากครับสำหรับข้อเเลกเปลี่ยน

     

    สรุปแล้ว...จะสร้างสถาบันจัดการความรู้จากงานวิจัย หรือจะเกิดบอร์ดเพื่อมาจัดการความรู้จากงานวิจัย กี่สิบกี่ร้อยสถาบัน กี่พันบอร์ด ...น่าจะไม่ใช่ทางแก้ไขปัญหา 

    ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ การระดมความคิดเห็นครั้งนี้ไม่มี "ภาคประชาชน"  ผมคิดว่สำคัญมากทีเดียว หากยุทธศาสตร์ของ วช.จะเน้นการพัฒนาเพื่อ "ตอบโจทย์ท้องถิ่น"  เพื่อประมวลเป็นแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยรูปแบบงานวิจัย เวทีการระดมความคิดเห็นครั้งนี้จึงขาดมิติของคนชุมชนอย่างน่าเสียดาย...

    ดีใจมากที่ ศูนย์กลางทางความคิดของ น้องเอก แน่วแน่

    ประเด็นสำคัญที่สุด เราจะทำเพื่ออะไร ต้องการอะไร

    ดีใจมากๆครับ 

    สวัสดีครับคุณเอก....

    ผ่านเข้ามาในบันทึกได้ไม่นานก็ต้องแวะออกไป... เลยแทบไม่ได้ทิ้งรอบใดไว้  เดือนนี้เป็นอีกเดือนที่ผมต้องทำงานแบบไม่มีวันหยุด....   ยังคงมีพลังเสมอ  เสาร์อาทิตย์นี้ก็คงต้องยกครอบครัวไปราชการด้วย  เพราะนั่นน่าจะเป็นเวลาของการแบ่งปันไปในตัว....

    นี่เป็นอีกภาพที่ผมบันทึกด้วยตนเองจากหมู่บ้านที่ จ.อุดรธานี

    • สวัสดีครับพี่เอก
    • แวะมาบอกว่ารักษาสุขภาพด้วยนะครับบบบ
    • อย่าคิดมากครับพี่
    • อิอิ

    ไม่ว่าจะเข้ามาเยี่ยมตอนไหน เรื่องราวที่นี่ช่างเข้มข้นเอาจริงเอาจังเหลือเกินนะครับ

    ขอบคุณแทนคนตัวเล็ก ๆ ในสังคมที่มีพี่เอกยืนเคียงข้าง

    ประเด็นที่พี่เอกนำเสนอน่าสนใจมากครับ

    ทำไงให้มีการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง?

    ผมเจอหลายครั้งเหมือนกันที่เหมือนจะต้องการให้เราไปแสดงความคิดเห็น แต่แล้วกลายเป็นให้เราไปคิดตามเขาแล้วต้องเห็นตามเขา เซ็งมาหลายงานมากแล้วครับ บางครั้งขนาดนั่งคุยกับชาวบ้าน เขา(นักวิจัยบางคน)ยังสามารถสรุปประเด็นได้งานวิจัยไปได้ เฉพาะที่เขาตั้งโจทย์เอาไว้ก่อนมาคุย ส่วนเนื้อหาทั้งหมดที่ชาวบ้านนำเสนอหายไปไหนก็ไม่ทราบ

    เมื่อต้นสัปดาห์ มีสมาชิกชุมชนข้างมหาวิทยาลัยเสนอในที่ประชุม (ซึ่งผมนั่งอยู่ด้วย) ว่า เขาได้รับทุนวิจัยมาหนึ่งทุน ปฏิเสธไม่รับก็ไม่ได้ เขาบังคับให้รับ ตอนนี้เลยหาทีมทำอยู่ วันนี้เห็นแล้วว่าใครควรจะเข้ามาช่วยได้อีกแรกหนึ่ง (แล้วมองมาที่ผม) เอางัยดีอาจารย์ ทำไงดี เขาให้ทำเรื่อง....

    ผม.....อึ้ง งง แล้วตอบไปว่า เรื่องแบบนี้ผมไม่ค่อยรู้เรื่องนะครับ เอางี้มัยครับ ลองอบต.นำเสนอสิว่า ตำบลมีปัญหาอะไรต้องแก้ แล้วแทนที่จะเริ่มเป็นโครงการๆ เปลี่ยนเป็นเอางบนั่นมาดำเนินการในรูปของวิจัยเสีย ชาวบ้าน....อึ้ง งง

    ถามว่าทำไมผมตอบอย่างนั้น ก็เพราะผมมีความคิดว่า ถ้างานวิจัยได้เริ่มจากปัญหาของชุมชนเอง และเป็นการหาคำตอบด้วยชุมชนเองจากการเรียนรู้ ลองถูกลองผิดในการทำงานจริงๆ ของเขาเอง แล้วก็สรุปผลเอง น่าจะดีกว่าให้นักวิชาการไปทำให้ดู (คราวนี้เปลี่ยนเป็นนักวิชาการไปนั่งดูชาวบ้านทำบ้าง)

    ขออภัยนะครับที่เขียนยาวไปนิดหนึ่ง

    สวัสดีครับ ดิเรกMr.Direct

    ภาพของการระดมความคิดแต่แรกเริมผมคิดว่าควรจะมีภาคีมากกว่านี้ เพราะมีผลอย่างมากกับโครงการวิจัยที่จะสอดรับกับยุทธศาสตร์ เพราะหากขาดมิติใดมิติหนึ่ง ทำให้เสียโอกาส และครั้งนี้ ฝ่ายที่เสียโอกาสคือ "ประชาชน" เจ้าเดิมนั่นเอง

    ผมเข้าใจว่า แนวคิดการระดมความเห็นครั้งนี้ ที่อยากให้เกิดคือ มีภาคีที่หลากหลายเข้ามาร่วม อาจเป็นความไม่พร้อมหรือเหตุผลอื่นๆ มีการพูดถึงในเวทีเช่นกันครับ

    แต่เราเห็นยุทธศาสตร์ และประเด็นเร่งด่วน ๑๐ ประเด็นแล้วก็น่าดีใจครับ เราเน้นการพัฒนาและยกระดับความรู้ท้องถิ่น เน้นการพัฒนาระดับท้องถิ่นมากขึ้น

    ขอบคุณครับดิเรกที่เข้ามาเติมประเด็น

    สวัสดีครับ อ.Wasawat Deemarn

    แค่ผ่านทาง และมาย้อนความคิดที่เขียน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากครับ

    ยังมีข้อจำกัดการวิจัยในประเทศไทยที่นำมาเสนอในเวทีวันนั้น น่าสนใจครับ

    • ขาดแคลนนักวิจัย
    • ด้อยทักษะในการจัดการงานวิจัย
    • ขาดวัฒนธรรมในการใช้งานวิจัย
    • ขาดการลงทุนในงานวิจัย

    ด้วยเหตุผลทั้งหมด ทำให้เกิดการระดมความคิด ต่อ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ตามที่ผมเขียนบันทึกขึ้นมาอย่างเข้มข้น แต่ผมยังมองว่า เหมือนการแก้ไขปัญหาที่ไม่ค่อยตรงจุด

    ตราบใดที่คนไทยยังไม่ถามหาความรู้??

    ขอบคุณอาจารย์มากครับ

    สวัสดีครับ อ.Wasawat Deemarn

    แค่ผ่านทาง และมาย้อนความคิดที่เขียน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากครับ

    ยังมีข้อจำกัดการวิจัยในประเทศไทยที่นำมาเสนอในเวทีวันนั้น น่าสนใจครับ

    • ขาดแคลนนักวิจัย
    • ด้อยทักษะในการจัดการงานวิจัย
    • ขาดวัฒนธรรมในการใช้งานวิจัย
    • ขาดการลงทุนในงานวิจัย

    ด้วยเหตุผลทั้งหมด ทำให้เกิดการระดมความคิด ต่อ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ตามที่ผมเขียนบันทึกขึ้นมาอย่างเข้มข้น แต่ผมยังมองว่า เหมือนการแก้ไขปัญหาที่ไม่ค่อยตรงจุด

    ตราบใดที่คนไทยยังไม่ถามหาความรู้??

    ขอบคุณอาจารย์มากครับ

    สวัสดีครับ อ.Wasawat Deemarn

    แค่ผ่านทาง และมาย้อนความคิดที่เขียน เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากครับ

    ยังมีข้อจำกัดการวิจัยในประเทศไทยที่นำมาเสนอในเวทีวันนั้น น่าสนใจครับ

    • ขาดแคลนนักวิจัย
    • ด้อยทักษะในการจัดการงานวิจัย
    • ขาดวัฒนธรรมในการใช้งานวิจัย
    • ขาดการลงทุนในงานวิจัย

    ด้วยเหตุผลทั้งหมด ทำให้เกิดการระดมความคิด ต่อ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ตามที่ผมเขียนบันทึกขึ้นมาอย่างเข้มข้น แต่ผมยังมองว่า เหมือนการแก้ไขปัญหาที่ไม่ค่อยตรงจุด

    ตราบใดที่คนไทยยังไม่ถามหาความรู้??

    ขอบคุณอาจารย์มากครับ

    สวัสดีค่ะ คุณเอก

    เหนื่อยแทนคุณเอกนะค่ะ

    คนไทยยังไม่รู้อีกเยอะ จัดการกับปัญหาของตนเองยังไม่ได้ก็มีมาก

    เมื่อชุมชนเกิดปัญหาก็ยากที่จะแก้ไข เพราะการทำเพียงแค่คนกลุ่มเล็กๆ ไม่มีพลังพอเพียง  สำหรับการจัดการปัญหาที่ยิ่งใหญ่ คือ ความไม่รู้ของคน ที่หาเหตุของปัญหา  ที่มาของปัญหา แนวทางแก้ไขปัญหา ไม่ได้ ไม่ตรง เขาบอกว่าคนเราจะรู้หรือ คดิได้  คิดตั้งแต่เด็กจริงไหมค่ะ  เหมือนรุ่นปู่ ยา ตายายของเรา  เขาไม่ได้เรียนหนังสือ แต่ทำไมเขาคิดได้โดยไม่ต้องเรียน ให้ครูสอน หรือป้อนองค์ความรู้ให้ เหมือนเดี๋ยวนี้

    ขอเป็นกำลังใจ ในการทำงานเพื่อชาติต่อไปนะค่ะ

    ซินเจียยู่อี่ครับ โกสิทธิรักษ์ ครับ

    ผมหายจาก gotoknow ไปร่วมสัปดาห์และมีประเด็นที่ค้างสต๊อคเพียบเลยครับ อยากจะเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนให้เข้มข้นต่อไป แต่ต้องเดินทางต่ออีกแล้วครับผม

    สรุปแล้วในบันทึก คือ ประชาชน ก็ยังด้อยโอกาสเสมอสำหรับ งานวิจัยที่จะพัฒนาแก้ไขปัญหาของชุมชน

    เครียดไปหรือเปล่าก็ไม่ทราบนะครับ แต่ผมรู้สึกแบบนั้นจริงๆครับ

    เพราะเราคิดแทน พูดเอง เออเองแบบนี้ การแก้ไขเลยไม่ค่อยถูกจุด และจะมีสภาพการณ์แบบนี้อีกนานครับ

     

    สวัสดีครับ คุณแผ่นดิน

    ผมยังระลึกถึงเสมอครับ...

    ผมเองมีโอกาสไปไปทำงานในพื้นที่หลากหลายช่วงสัปดาห์นี้ ผมเห็นพลังของคนท้องถิ่นที่น่าภาคภูมิใจ ผมเห็นความพยายามในการพึ่งตัวเองอย่างเต็มที่ ขาดก็เพียงแต่การหนุนเสริม พลังใจ พลังปัญญาบางส่วนจากระบบเหนือชุมชน(บ้าง) เพื่อให้เกิดดุลยภาพ

    แล้วจะนำเรื่องราวดีๆเหล่านั้นถ่ายทอดผ่านมายังบันทึกผมนะครับ

    ขอให้เดินทาง ทำงานมีความสุข สำเร็จครับผม

    สวัสดีครับ มะเดี่ยวนายสายลม อักษรสุนทรีย์

    ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไซ้ นะครับ

    บางทีก็คิดมากไปนะครับ ผมก็มองว่าโอกาสของชุมชนเราในเวทีแบบนี้น้อยมากเกินไป น่าจะเปิดโอกาสให้ชุมชนมากกว่านี้

    แลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

    ดูแลสุขภาพด้วยเช่นกันครับ

    สวัสดีครับ อ.ขุน-----ย่ามแดง

    ผมตั้งใจเหลือเกินครับ อยากจะนำเสนอในมุมนี้  อยากให้เวทีแบบนี้ให้โอกาสภาคประชาชนให้มากขึ้นกว่านี้ครับ งบประมาณการวิจัยของเรามีอยู่ ผมคิดว่า หากเราสร้างให้ชาวบ้านเป็นนักวิจัยได้ด้วย เหมือนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของ สกว.ครับ

    ยินดีครับสำหรับการแลกเปลี่ยน

    ขอบคุณครับ

    ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ขอให้มีชีวิตที่ดียิ่งๆขึ้นนะครับ

    ผมเฝ้ารอที่กำแพงจนเบื่อแล้วนะ ที่ปายเห็นแต่รูป ยังไม่ได้บรรยายการท่องเที่ยวเลย รอติดตามอยู่ ( ลูกช้าง )

    คุณเอกครับ

    ผมก็กำลังจะได้ "มีส่วนร่วม" ในการจัดเวที การแสดงละครเรื่องนี้ ที่ขอนแก่น ในวัที่ ๒๒ กุมภานี้

    ผมก็พยายามแต่ก็ยังติดกับอยู่ในระบบความเห็นคนส่วนใหญ่ ดิ้นได้ยาก

    เราจะทุบหม้อข้าว รึ ก็มองไม่เห็นประโยชน์อะไร

    ก็พยายามดึงเต็มที่มากกว่า ดึงมาเชือกก็จะขาด

    รู้ทั้งรู้ว่าได้แค่นั้น เราก็ยังต้องนั่งเป็นพระอันดับให้เขาสร้างความชอบทำในการทำงาน ว่า "ผม" ก็ เห็นชอบในการทำงานของกลุ่ม

    นี่คือโลกแห่งความเป็นจริง

     

    เราก็เป็น "ปัจจัยหนึ่ง" ในค่าเฉลี่ยที่สังคมภายนอกมองเห็น

    คนส่วนใหญ่ หรืออย่างน้อยก็จำนวนหนึ่ง ยังต้องการการ "ศึกษา" ที่แปลว่า "การพัฒนา"

    เพื่อความเข้าใจ และการทำงานที่ถูกต้อง

    แต่บางทีเขาก็ไม่เรียน หรือ เรียนช้ามาก รอกันจนเมื่อย

    และ บางทีเขากลับมองว่าเขาต้อง "สอน" เรา อีกต่างหาก

    จึงกลายเป็นการยัดเยียดกันไป ยัดเยียดกันมา แทนที่จะเป็น "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้"

    ข้อจำกัดตัวนี้มาจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจ อย่างน้อยก็อำนาจเงิน การสั่งการ และการอนุมัติ ที่ทำให้การแลกเปลี่ยนเกิดยาก

    ตราบใดที่เขายังคิดว่าเขาต้องฟังเพราะอำนาจ การแลกเปลี่ยนไม่เกิดแน่นอน

    นี่คือขีดจำกัดของสังคมไทยครับ

       สวัสดีค่ะ  คุณเอก

          อยากเห็นชุมชนเข้มแข็งค่ะ โดยเฉพาะการพัฒนาท้องถิ่น ให้เค้าพึ่งตนเองได้ โดยใช้พลังของปราชญ์ชาวบ้านและคนในชุมชนที่มีอยู่   ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เมื่อจะพัฒนาชุมชนก็ควรเข้าถึง คน ในชุมชน และ ทรัพยากร ที่มีอยู่ และความน่าจะเป็นอย่างแท้จริง  ไม่ใช่เขียนโครงการไว้สวยหรูดูเหมือนจะดี  แต่พอทำจริงๆ ก็ใช้ความคิดของคนไม่กี่คน  จึงทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขที่ตรงจุด  

          พี่ขอเป็นกำลังใจให้  และขอบคุณในความคิดที่ประณีต สามารถถ่ายทอดความเป็นจริงในท้องถิ่น และ งานวิชาการที่ค่อนข้างเห็นแก่ตัว(ความเห็นส่วนตัวค่ะ) ออกสู่สังคมได้อย่างละเอียดอ่อน ชัดเจน ..สู้สู้ ค่ะ

    สวัสดีครับ อาจารย์จารุวัจน์

    แบบเรียก"พี่" ทำให้อึ้งไปชั่วยามนะครับ :)  ตามจริงผมกับ สมพร(เม้ง) อายุเท่ากันครับ

    ยินดีครับสำหรับการต่อยอดยาวๆ ผมได้เรียนรู้ไปด้วย

    ภาพที่อาจารย์นำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่เราพบเห็นเป็นปกติ แต่งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นก็ให้โอกาสชาวบ้านให้ทำงานวิจัยได้เต็มศักยภาพ ใจกว้างพอที่ให้ชุมชนได้ลองผิดลองถูก งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้สร้างโอกาสให้คนท้องถิ่นได้ทำงานวิจัยในปัญหาของตัวเองมากขึ้น

     

    ในที่สุด อบต. น่าจะเป็นแหล่งในการสนับสนุนงบประมาณในการทำวิจัยชุมชนครับ ใช้งานวิชาการ พลังปัญญาเป็นฐานในการพัฒนา

    ที่ภาคเหนือมีหลายๆ อบต. ได้ทำกระบวนการแบบนี้ไปบ้างแล้วครับ

     

    ขอบคุณครับผม

    ขอเพิ่มเติมต่ออีกนิดครับ...

    ภาพที่ผมนำเสนอในบันทึกนี้ เป็นเพียงเสี้ยวที่ผมสังเกตว่า งานวิจัย ของ วช. สนับสนุนงบประมาณมากมายให้ ต้นสังกัดที่เป็นหน่วยงานสถาบันมาก และส่วนใหญ่ วิจัยเสร็จก็ไม่ได้ขับเคลื่อนงานพัฒนารากหญ้าได้เต็มประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก (เป็นเพียงข้อสังเกตจากผมนะครับ)

     

     

     

     

    สวัสดีครับครูเอ

    ผมไม่ได้เหนื่อยอะไรมากมายครับ...เป็นเพียงข้อสังเกต ที่อยากให้ชวนมองครับผม

    ที่สุดแล้ว เราคนท้องถิ่น ต้อง "พึ่งตนเอง" ให้มากครับ ระบบเหนือชุมชนส่งแรงกระแทกมามาก ชุมชนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันก็ไหลตามกระแส ชุมชนที่เข้มแข็งมากพอก็ยังพอต้านได้

    งานสร้างปัญญาเท่านั้น จะทำให้ชุมชนยืนอยู่ได้ ด้วยศักยภาพชุมชน

    ขอบคุณครับครูเอครับ

    ----------------

    ตอนนี้ผมอยู่ที่เชียงรายครับ

    สวัสดีครับครูโต

    ต้องขอบคุณมากครับ สำหรับการติดตาม

    ผมไม่ใคร่มีเวลาเข้ามาใน เวบบล๊อกเลยครับ ตามจริงผมมีเรื่องราวมากมายมาเล่า...อดใจรอด้วยนะครับ

    "ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้"

    เช่นกันครับผม

    ขอบคุณครับผม

    - งานวิจัย ดูเหมือนถูกผูกขาดโดยนักวิชาการเฉพาะสาขานะครับ อย่างใครเรียนจบอะไรมา ทำงานอะไรมา ก็จะถูกจัดคอกให้เป็นนั่นเป็นนี่ เจ้าตัวเองก็เอออห่อหมกไปด้วย ซึ่งบางที มันก็เป็นคุกที่ตัวเองมองไม่เห็น ไม่รู้ว่า ตัวเองยังมีความเก่งอีกหลายด้าน - อีกด้านหนึ่ง มองในแง่ของอำนาจครอบงำ งานวิจัย ไม่เคยบริสุทธิ์ เพราะมันถูกแทรกซึมโดยทุนก็ดี การเมืองก็ดี อคติต่างๆมากมาย โดยกระทำผ่านนักวิชาการ ที่รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง (ว่าตัวเองเป็น "ร่างทรง" ของอำนาจ"มืด" เหล่านั้น - ด้าน "มืด" ของการวิจัย คือวิธีคิดที่อยู่เบื้องหลัง ในแง่ที่เอกพูดมา จะเห็นว่าทิศทางการวิจัยของประเทศถูกกำหนดชี้นำโดยทุนอุตสาหกรรม และการเมืองในสภา การเมืองของชนชั้น อำนาจของนักวิชาการ "หอคอย" นะครับ ซึ่งแน่นอนว่า มันเป็นความไม่ยุติธรรม และเขาไม่มีทางแก้ให้เราหรอก เพราะมันไม่ง่ายที่จะเสียสละเค้กชิ้นโปรด (แม้ว่าเขาจะอ้วนจนพุงปลิ้นแล้วก็ตาม) - ภาคประชาชน ต้องชูธงรบ โดยมีนักวิชาการที่เข้าใจระบบอำนาจเหล่านี้ คอยเป็นพี่เลี้ยง ยึดพื้นที่นี้ ให้คนจน คนชายขอบเข้าไปมีส่วนร่วมให้ได้ - เข้าใจความเหนื่อยยาก แต่บางมุม ก็ต้องหัวเราะให้กับความงี่เง่าของโลกใบนี้บ้าง เพื่อไม่ให้มัน "กร่าง" ที่ครอบงำอารมณ์เราได้ ขอเอาใจช่วยอีกแรงครับ

    ขอบคุณพี่ยอดดอย     ที่แลกเปลี่ยนได้ตรงใจครับ

    ต่อเติมบันทึกผมได้อย่างงดงามยิ่ง

    วันที่ ๑๖ กพ.หากไม่ผิดแผน ผมจะเดินทางไปเข้าร่วมเวที โครงการวิจัย "วัฒนธรรมโลงไม้" ที่ อ.ปางมะผ้า ของ รศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช ครับ ...

    เจอกันในงานนี้นะครับผม

    สวัสดีค่ะ คุณเอก

    ตามมาอ่าน "การประชุมยุทธศาสตร์ ของ วช.ที่ภาคเหนือ" ค่ะ

    • ขอบคุณค่ะที่เป็นต้นทุนทางความคิดที่แน่วแน่ของการสร้างและผลักดัน ประเด็นต่างๆ เหล่านี้
    • เน้นการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้โดยใช้"การท่องเที่ยวโดยชุมชน"เป็นเครื่องมือ
    • การพัฒนาระดับเครือข่าย(Network)  โดยใช้ การจัดการความรู้ เป็นทุนในการขับเคลื่อน
    • การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ระดับชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง พัฒนาจากพื้นที่รูปธรรม โดยมีผลลัพธ์เป็นชุดความรู้ท้องถิ่น
    • การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อยกระดับความรู้ชุมชน
    • การพัฒนาเครือข่ายปราชญ์ชุมชน เป็นลักษณะ Human mapping
    • ทางอีสาน ก็ขอเอาใจช่วยนะคะ

    ขอบคุณครับ คุณบัวปริ่มน้ำ

    ผมได้รับรู้บรรยากาศที่อีสานผ่านโทรศัพท์จาก ดร.แสวง ร่วมชั่วโมง ทราบว่า บรรยากาศเรียบร้อย เป็นไปด้วยดี

    เวทีเรียนรู้ที่อีสาน มีปราชญ์ชุมชนเข้ามาด้วย ทางเหนือกลับไม่มี ต่งกันก็ตรงนี้

    หาก วช.เน้น ชุมชน บรรยากาศที่เกิด รอดไม่รอดก็วัดกันตรงนี้

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท