ที่โรงเรียนบ้านเปือย ไม่มีเงินก็มาโรงเรียนได้


ครูรำลึกเสมอว่า “การพัฒนาคนต้องเริ่มพัฒนาไปจากเด็ก” เข้าทำนองคำพังเพยที่ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” และสิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ “ครูคือผู้สร้าง ผู้แก้ไข ผู้พัฒนาคน หากคนหรือสังคมมีปัญหา ครูจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้”

 >>> โรงเรียนสร้างคนดีที่บ้านเปือย อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี

ที่นี่ไม่ให้เด็กนำเงินติดตัวมาโรงเรียนกันจริงเหรอครับ?  ผมถาม ผอ.บงการ ตรงๆด้วย อยากจะเข้าสู่ประเด็นนี้โดยเร็ว หลังจากที่ได้อ่านข้อมูลมาส่วนหนึ่ง

“จริ้ง” ผอ.ตอบเสียงสูงพร้อมกับส่งยิ้มพราวเต็มหน้า (บุคลิกท่าน ผอ.บงการ ดูเป็นคนใจดี ยิ้มง่าย)

ในปัจจุบันโรงเรียนไม่ว่าจะชนบทในเมือง ปกติเวลาลูกไปโรงเรียนต้องให้เงินลูกกินขนมวันละหลายๆบาท ขึ้นถึงหลักร้อยก็ยังมี

แต่ โรงเรียนบ้านเปือย ตั้งกฏเหล็กว่า ไม่ให้เด็กนำเงินมาโรงเรียนนับ ๑๐ ปี มาแล้ว

ด้วยเงื่อนไข ที่แทบเป็นไปไม่ได้ในสังคมที่บริโภคนี้ แต่โรงเรียนบ้านเปือยทำได้ และภายใต้เรื่องราวที่โรงเรียนปฏิบัติตามเป็นวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนเปือยได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการเด็กไทยไม่กินหวาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต ๕  เขาทำได้ยังไง?

จริงๆแล้วคำตอบนี้ หากตอบตรงๆก็คือ โรงเรียนไม่มีของขาย เพราะแม่ค้าเองก็ไม่รู้จะมาขชายของให้ใคร ไม่มีขนมกรุบกรอบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่มีลูกอมรสหวานเจี้ยบทำให้ฟันผุ ไม่มีขนม ไม่มีขยะ โรงเรียนก็สะอาดปราศจากถุงพลาสติก เป็นผลที่ได้ต่อเนื่องกัน และที่น่าสนใจอีกก็คือ ความซื่อสัตย์ของเด็กนักเรียน ที่ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเดินทางเข้าไปในตัวอำเภอ หรือไปต่างที่ ก็สามารถหักห้ามตนเองได้ หรืออาจทานของหวานบ้างแต่เพียงเล็กน้อยตามประสาอยากรู้อยากชิมของเด็ก คุณครูสาวท่านหนึ่งบอกผมว่า เด็กนักเรียนบางคนที่เข้าไปในเมืองมาสารภาพว่าไปกินขนมหวาน ลูกอม  แต่ไม่เกินปริมาณ ครูได้เล่าให้ผมฟังต่อว่า "ด้วยเราเป็นโรงเรียนวิถีพุทธการกล่อมเกลาด้วยวิธีคิดคุณธรรมทำให้เด็กรู้ดี รู้ชั่ว และซื่อสัตย์ต่อตนเอง"

 

ผมสนใจเรื่องของแนวคิด “การห้ามเด็กนำเงินติดตัวมาที่โรงเรียน”  ว่าทำไมถึงคิดทำโครงการนี้ และเป็นไปได้อย่างไรที่เด็กจะไม่ใช้เงินในขณะที่พวกเขามาโรงเรียน (ย้อนอดีตสมัยเด็กๆผมเองคุ้นชินขอตังค์คุณพ่อคุณแม่ไปโรงเรียนทุกวัน )

ผอ.บงการ ตอบว่า “ โครงการอาหารอาหารกลางวันของโรงเรียนรัฐสนับสนุนเงินงบประมาณเพียงพอที่โรงเรียนจะจัดอาหารกลางวันที่พร้อมด้วยคุณภาพแล้วจึงไม่จำเป็นต้องนำเงินมาโรงเรียน”

และคุณครูเองก็มีมติและขอความเห็นชอบ ความร่วมจากทางผู้ปกครองทดลองไม่ให้เด็กนำเงินติดตัวมาที่โรงเรียน เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ติดตามผลและพบว่าเกิดผลดี ทุกอย่างวิวัฒนาการมาเป็นกฏที่นักเรียนทุกคนต้องไม่มีเงินติดตัวมาโรงเรียน นอกจากนี้ก็ยังมีบริบทที่ส่งเสริมให้เกิดกฏ กติกาเช่นนี้ กล่าวคือ “คนชนบทอีสานยากจน” ผู้ปกครองที่นี่ยากจนบางครอบครัวไม่มีเงินสักบาท แต่พอมีกฏเช่นนี้ทำให้ผู้ปกครองสบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าทุกครั้งที่ลูกไปโรงเรียนจะหาเงินได้ที่ไหน และแนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจนแนวทางหนึ่งคือการออมทรัพย์

 

โรงเรียนจัดอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนได้กินทุกคนทุกวันในวันที่เปิดเรียน และอาหารก็มีคุณภาพ เป็นอาหารที่นักเรียนคิดเองทำเอง โดยใช้วัตถุดิบที่นักเรียนทำขึ้นส่วนหนึ่งคือ พืชผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษและมีประโยชน์อย่างแท้จริง

นักเรียนมีความเสมอภาค คือทุกคนไม่ว่ายากดีมีจน ก็มาโรงเรียนโดยไม่มีเงิน นักเรียนได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เอยว์วัยในเรื่องการดำนินชีวิตที่เป็นสุขและพอเพียงโดยไม่ใช้เงินเป็นตัวชี้วัด

ดังนั้น “เงิน” สำหรับที่โรงเรียนบ้านเปือย จึงไม่ได้มีความสำคัญไปกว่าสิ่งใดๆ กระบวนการที่ให้เงินมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตน้อยที่สุด สร้าง-บ่มเพาะ นิสัยให้เด็กรู้จักพอเพียง มีน้อยใช้น้อย ใช้สอยแบบประหยัด

“เคยมีผู้ปกครองบอกมาว่า ไม่ให้เด็กใช้เงินเดี๋ยวใช้เงินไม่เป็น”  ผอ.บงการตั้งประเด็นต่อน่าสนใจ

“จริงๆแล้วไม่ใช่ครับ หากเราวิเคราะห์กันดีๆ การใช้จ่ายเงินใม่จำเป็นต้องจ่ายเงินออกไป มีวิธีการเรียนรู้การจ่ายออกไปอยู่แล้ว แต่ที่โรงเรียนเรามีพร้อม อาหารกลางวันเราก็จัดได้เต็มที่ อาหารมากคุณค่า มีประโยชน์ งบที่ทางรัฐสนับสนุนมาให้ก็เพียงพอ มาโรงเรียนก็ไม่ต้องเสียค่าเดินทาง เงินจึงไม่จำเป็น ในที่สุดผู้ปกครองเห็นประโยชน์จึงเลิกคัดค้านแนวคิดนี้”

นอกจากเด็กไม่ใช้เงินแล้ว พวกเขายังอดออมหยอดกระปุกไม้ใผ่ ในทุกวัน เงินที่ได้มานอกจากเป็นเงินที่ผู้ปกครองให้แล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเงินจากน้ำพักน้ำแรงของเด็กเอง ที่รับจ้างขุดมัน รับจ้างสารพัดในชุมชนช่วงวันหยุด ในช่วงวันที่ ๑ – ๕ ของเดือน กิจกรรมออมทรัพย์ ที่โรงเรียนเล็กๆแห่งนี้ มีชีวิตชีวายิ่งนัก กระปุกออมสินที่ทำจากไม้ใผ่ ถูกผ่ากลางนำเงินเหรียญออกมานับฝากธนาคารกันอย่างมีความสุข

ผอ.บงการเล่าต่อว่า “เราริเริ่มทำธนาคารออมทรัพย์ในโรงเรียนขึ้นเพื่อให้เด็กได้เริ่มออมกันตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล  ซึ่งเป็นการเรียนรู้การประหยัด อดออม ให้รู้จักวิถีชีวิตที่พอเพียง ชีวิตที่มีความสุขโดยไม่ต้องมีเงื่อนไขเรื่องมีเงินมาก”

แม้ว่าเงื่อนไขของชีวิตชนบทห่างไกล อาจมีปัจจัยที่ทำให้กิจกรรมลักษณะนี้สำเร็จลงได้โดยง่าย แต่นั่นเอง ก็ถือว่า เป็นความพยายามของโรงเรียนในการคิดหากระบวนการ “สร้างคน” กล่อมเกลาพัฒนาจิตใต้สำนึกของเยาวชน ให้เป็นคนดี และมีความสุข ไม่ใช่สอนสั่งแต่เพียงอย่างเดียว การปฏิบัติสำคัญยิ่งในการพัฒนาเด็กไปอย่างช้าๆ

"เงินมีความสำคัญก็จริงอยู่ แต่ไม่ใช่คำตอบทุกอย่างในการดำเนินชีวิตในสังคม"

คนมีเงิน มองสิ่งที่อยู่รอบตัวเองเป็นธุรกิจที่จะเพิ่มจำนวนเงินของตัวเองให้มีมากขึ้น แม้ธุรกิจที่จะเพิ่มจำนวนเงินนั้นจะแลกด้วยความพิการ หรือชีวิตมนุษย์ก็ไม่สนใจ แต่สิ่งที่คนมีเงินตอบตนเองไม่ได้คือ “มีเงินเท่าไหร่ถึงจะพอ”

ที่โรงเรียนบ้านเปือยสอนให้เยาวชนรู้จัก คำว่า “พอ” และ สอนให้รู้จักการดำเนินชีวิตโดยปลดพันธนาการบางอย่างให้หลุดพ้นไป การดำเนินชีวิตที่เป็นสุขและพอเพียงโดยไม่ใช้เงินเป็นตัวชี้วัด

จากการดำเนินงานดังกล่าวของโรงเรียนบ้านเปือย ขอเชิญทุกคนมาร่วมพิสูจน์การสร้างคน สร้างสังคม สร้างชาติ สร้างสุข โดยวิธีการที่ง่าย ไม่ต้องลงทุนมากได้ที่โรงเรียนตลอดเวลา และคณะครูรำลึกเสมอว่า “การพัฒนาคนต้องเริ่มพัฒนาไปจากเด็ก” เข้าทำนองคำพังเพยที่ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก”

และสิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ “ครูคือผู้สร้าง ผู้แก้ไข ผู้พัฒนาคน หากคนหรือสังคมมีปัญหา ครูจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้”

เพราะครูคือ ผู้แก้ไขปัญหาให้สังคม ไม่ใช่สร้างปัญหาให้สังคม

 

จะปลูกไม้ให้ดอกบานงามทั่วถิ่น

จะปั้นดินด้อยราคามีค่ายิ่ง

จะฝาฟันแม้ยากลำบากจริง

จะสร้างสิ่งดีไว้ให้แผ่นดิน(1)

(1)

เอกสาร รายงานการดำเนินการโรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนบ้านเปือย ต.บุเปือย อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ,สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๕

หมายเลขบันทึก: 253761เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2009 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (52)

สวัสดีคะคุณพี่เอก

แวะตามมาอ่านติดตามเรื่องราวโรงเรียนวิถีพุทธที่น่าสนใจยิ่ง

อ่านไปแล้วชวนให้คิดถึงวัยเด็กๆ โรงเรียนเล็กๆ...ที่มีสุข

ผู้นำดี มีวิสัยทัศน์ ผู้ตามดี ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันสร้าง

เทียนน้อยแอบหวังว่าสักวันหนึ่งสิ่งๆต่างเหล่านี้จะเกิดกับเด็กๆที่

โรงเรียนบ้างนะคะ ...แต่ตอนนี้ขอบคุณที่ได้สานฝันแนวคิด

แบ่งปันสิ่งดีงาม...

 “ครูคือผู้สร้าง ผู้แก้ไข ผู้พัฒนาคน หากคนหรือสังคมมีปัญหา ครูจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้”

                                                       ^_^ 

                                                             

      "จะปลูกไม้ให้ดอกบานงามทั่วถิ่น

จะปั้นดินด้อยราคามีค่ายิ่ง

จะฝ่าฟันแม้ยากลำบากจริง

จะสร้างสิ่งดีไว้ให้แผ่นดิน"

ชื่นชมอุดมการณ์ของครูที่โรงเรียนบ้านเปือยค่ะ

เห็นด้วย กับการเรียนรู้เรื่องของ "การใช้เงิน" ผ่าน "การไม่ใช้เงิน"

ส่วนใหญ่เราจะถูกสอน หรือสั่งสอนว่าให้ "ฉลาดซื้อ" (นั่นหมายถึงการใช้เงินอย่างไร)

แต่...เราไม่ค่อยสอนเรื่อง "ฉลาดไม่ซื้อ"  (เพราะหลายๆ ครั้ง ไม่ซื้อ ฉลาดกว่า)

เห็นที่นี่เป็นตัวอย่างแรกๆ ของสังคมไทยกระมัง ที่สอน "ฉลาดไม่ซื้อ"

ขอบคุณ "ครูดีๆ ที่ รร.บ้านเปือย" ค่ะ ที่สร้างกระบวนการเรียนรู้เช่นนี้สำหรับอนาคตของชาติ

ขอบคุร "คุณเอก" ที่เผยแพร่ค่ะ.

   บรรจงหยิบ ดอกไม้มา บูชาครู.

 

 

  • สวัสดีวันหยุดค่ะ
  • รักกันไว้...คนไทยด้วยกันนะคะ

 

ร่วมกันส่งแรงใจให้ประเทศไทยสงบสุข  ...6 เมษายน วันจักรี...

  • สวัสดีค่ะ น้องเอก
  • ขอร่วมชื่นชมด้วยคนค่ะ
  • หากทุกคนรู้จักความพอดีดอเพียงก็อยู่เป็นสุขนะคะ
  • อิสานยังยากจนอยู่มากเลยค่ะ

สวัสดีครับ น้องเทียนน้อย

โดยเนื้อหาของการทำงานประเด็น Humanized Edu Care ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนประเภทไหน ไม่จำกัดเฉพาะ วิถีพุทธ อย่างเดียวนะครับ ผมอยากให้มองถึง "กระบวนการ" ที่คุณครูคิด และ อาจเรียกได้ว่าเป็น "นวัตกรรมการศึกษา" ไปด้วย...อยากเผยแพร่สิ่งดีๆนี้ไว้ครับ

พื้นที่ Gotoknow มีคุณค่าอย่างยิ่ง ที่จะเป็นพื้นที่นำเสนอเรื่องราวเหล่านี้สู่สังคม

ขอเป็นกำลังใจให้ครู เทียนน้อยๆ ส่องสว่างกลางใจเยาวชนไทย

ด้วยความจริงใจเป็นอย่างยิ่งครับ

:)

สวัสดีครับ คุณ pis.ratana

โรงเรียนบ้านเปือยเป็นโรงเรียนเล็กๆครับ มีครูเพียงไม่กี่คน เด็กๆก็ร้อยกว่าคน แต่ก็เรียกได้ว่า "เล็กแต่คุณภาพคับแก้ว"

ผอ.บงการท่านก็อยู่มานานกว่า ๒๔ ปีแล้ว การทุ่มเท รวมถึงการตามติดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ ผอ.และคณะครู โดยมีเด็กเป็นเดิมพัน คณะครูที่นี่จึงทุ่มเทในการสร้างชาติ สร้างสังคม สร้างคนที่ดีเพื่อเป็นผลผลิตของสังคมเรา

น่าชื่นชมครับ

ขอส่งพลังแรงใจจากผู้มาอ่าน กลับไปยังคณะครูที่โรงเรียนบ้านเปือยด้วยครับ

คุณปลายฟ้า

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมและอ่านบันทึก จากข้อเสนอแนะ ผมได้ทราบว่าวันนี้คือ วันจักรี

;)

สวัสดีครับ pa_daeng

ยินดีเสมอนะครับป้าแดง...ผมเห็นด้วยครับ หากเรามีความ"พอเพียง"ในจิตใจ สังคมเราก็อยู่เย็นเป็นสุข

เราทุกข์กันในวันนี้ ก็เพราะความไม่พอดี และความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด

ขอบคุณมากครับ อ. Wasawat Deemarn 

เรื่องราวดีๆแบบนี้มีให้สังคมเราชื่นใจ เสมอยามที่ชุลมุนวุ่นวายในขณะนี้

:)

มีโอกาสเราคงได้นั่งสนทนากันนะครับผม

สวัสดีค่ะ

***เพราะครูคือ ผู้แก้ไขปัญหาให้สังคม ไม่ใช่สร้างปัญหาให้สังคม ฝากส่งต่อข้อความนี้เป้นกำลังใจให้ครูทุกคน

สวัสดีครับ

“มีเงินเท่าไหร่ถึงจะพอ”

คำถามง่ายๆ แต่หาคำตอบได้ยากชะมัด!!

ขอบคุณครับ

สวีสดีครับพี่เอก

โอ๊ย กระทบใจ 555

ดีใจทุกครั้งที่พี่เอกมีเรื่องราวดีๆมาให้พวกเราเสมอนะครับ

เรื่องนี้น่ะเจ๋งดี มีผลหลายๆอย่างในกระบวนการก้าวเดินของเด็กในวันที่ต้องเป็นผู้ใหญ่

จะดีนะครับถ้าเด็กๆเหล่านี้ไม่ถูกขัดขวางให้ก้าวมาอยู่แถวหน้า แล้วช่วยให้ระบบของเราไม่ตื่นเงินตื่นทองไปมากกว่านี้ :)

ขอบคุณมากๆครับพี่ ชอบจัง ปรบมือให้นะครับกับคุณครูผู้สร้าง และคนดีที่บอกต่อ(เดย์หมายถึงพี่เอกนะครับ)

สวัสดีค่ะ คุณจตุพร

เป็นโรงเรียนจิตอาสาค่ะ

สวัสดีครับคุณ กิติยา เตชะวรรณวุฒิ

เรื่องราวดีๆ ของวงการการศึกษามีเยอะครับ หากเรามีพื้นที่การนำเสนอ ผมเชื่อว่า คุณครูจะมีพลังแรงใจมากขึ้นกว่าเดิมเยอะเลยครับ

:)

ให้กำลังใจคุณครูครับ

 

พี่พิทักษ์

หากเราไม่พอเพียง เราก็ไม่มีวันพอ เมื่อไม่พอก็วิ่งหา กระบวนการเรียน การสอนที่ โรงเรียนบ้านเปือยเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ช่วยกล่อมเกลาเยาวชนให้มีหัวใจที่พอเพียง..

ไม่มีเงินก็ไปโรงเรียนได้...ไม่เพียงแต่เป็นนวัตกรรมทางความคิด(ที่เราไม่เคยคิดว่าจะเป็นไปได้) แต่สามารถทำได้

หลายท่านอาจเเย้งว่า ก็เพราะ ปัจจัยที่เฉพาะที่โรงเรียนบ้านเปือย ทำให้สำเร็จ แต่ผมอยากให้มองถึง กระบวนการคิดของวิธีการมากกว่า ส่วนเนื้อหานั้นเราค่อยออกแบบให้เหมาะกับบริบทของพื้นที่ ของคน

ขอบคุณมากนะครับ :)

 

น้องเดย์ ครับ  adayday

เป็นเพียงวิธีการหนึ่งที่พื้นที่ได้ทำและทำได้ดี มานานกว่า ๑๐ แล้วครับ โรงเรียนบ้านเปือยแม้จะเป็นโรงเรียนเล็กๆ แต่ที่ไม่เล็กก็คือ การคิดใหญ่ เปิดใจกว้างของ ท่าน ผอ.และคณะครู

สิ่งที่ผมเห็นในเวทีอีกอย่างก็คือ  ชุมชน รักโรงเรียน หากผมเปรียบการทำงานของโรงเรียนกับชุมชน ก็เหมือน ปลากับน้ำที่แยกออกจากกันไม่ได้

เมื่อไหร่ก็ตามที่ชุมชน (น้ำ) แห้งเหือดไป โรงเรียน(ปลา) ก็อยู่ไม่ได้

ดังนั้น ปลา และ น้ำต้องอยู่ด้วยกันครับ

------------------------

ขอมอบกำลังใจ จากน้องเดย์ ผ่านบันทึกนี้ให้กับคุณครูของชาติ ที่โรงเรียนบ้านเปือยด้วยนะครับ

สวัสดีครับ คุณberger0123

บันทึกต่อไป ผมจะนำเสนอโรงเรียน "จิตอาสา" ที่เป็นโรงเรียนเล็กๆเช่นเดียวกันครับ โรงเรียนนี้อยู่ใน จ.กาญจนบุรี ครับ ไม่ไกลจาก กทม. โรงเรียนเล็ก ๆ แต่กิจกรรมน่าประทับใจ และน่าชื่นชมครับผม :)

เมล์ด่วน ! เดินทางไปถึงแล้วครับ :)

ถึงกลางเมืองเชียงใหม่เรียบร้อยเเล้วครับ บรรยากาศเก่าๆมาเยือนอีกครั้ง!!!

  • แอ่วเมืองเหนือ...โตยคนได้บ๊อ
  • ฮิ ๆ ๆ ๆ ๆ
  • พี่คิมรู้ความลับ...ละกัน
  • ฮ่า ๆ ๆ ๆ ๆ

ครับพี่  ครูคิม 
  จริงๆแล้วไม่ได้ปิดเป็นความลับอะไรหรอกครับ เพียงแต่มาเเบบเงียบๆครับ นัดทานข้าวกับ อ.Wasawat Deemarn และ พรุ่งนี้เข้าไปที่โรงเรียนร้องขี้เหล็กเพื่อเก็บข้อมูลครับ

ย้ำหนักหนา ว่าให้ส่งภาพมาให้ลุงเอก....

เท้าเล็กๆ บางๆ ย่ำบดไปตามพื้นถนน  ...

 

สวัสดีครับคุณเอก แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

มีความสุขครับท่าน

สวัสดีครับคุณ พนัส แผ่นดิน

ดีใจและรู้สึกภูมิใจมากครับที่ได้เห็นภาพ "เณรน้อย"

บอกท่านเณรน้อยด้วยนะครับ ว่าลุงเอก มีความสุขมากและขออนุโมทนากับเณรน้อยด้วย :)

ตื่นนอนตี สาม ..ทำวัตร และออกบิณฑบาตเป็นสิบๆ กิโลเมตร ...
กลับเข้าวัดสองโมงเศษๆ ..

สวัสดีครับ บัง วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- 
ครับ

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม มีความสุขกับการทำงานนะครับผม :)

อ่านเรื่องราวยที่บังเขียนตลอดครับ โดยเฉพาะเเง่มุม การจัดการความขัดเเย้งตรงกับประเด็นที่ผมทำอีกประเด็นหนึ่งในขณะนี้ครับ

:)

ภาพเหล่านี้เป็นภาพที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าของวันนี้ครับ..

คุณพนัสแผ่นดิน

เณรคงมีความสุขดีนะครับ ทำให้ผมย้อนหลังไปคิดถึงวัยเด็กที่ภาคฤดูร้อนได้บวชเณร  ช่วงนั้นซนจนเจ้าอาวาสท่านปวดหัว :)

เณรท่านดูมีความสุขดีนะครับ

สวัสดีคะคุณเอก

พี่ประกาย กำลังทำการบ้าน หาโรงเรียนในฝันที่จังหวัดขอนแก่นะคะ

คุณครูที่บ้านจะแนะนำให้ พอดีคุยกันในงานศพผู้ใหญ่บ้าน เลยยังไม่ได้รายละเอียด

ขอบคุณครับ พี่ ประกาย~natachoei ที่~natadee

รู้สึกอบอุ่นครับ การเดินทางเพื่อทำงาน(ครั้งที่มีความสุขที่สุด) เพราะมีกัลยาณมิตร คอยช่วยเหลือตลอดเวลา ผมเองได้เรียนรู้และได้บทเรียนใหม่ๆมากมายครับ

มีข้อมูลอัพเดตกรุณาเเจ้งผมด้วยนะครับ

 

ถ้าเป็นสมัยก่อน

พี่ประกายไม่เคยได้เงินไปโรงเรียน

ซิสเตอร์ เลี้ยงข้าว และให้ห่อข้าวไปทานที่โรงเรียน

สมัยนี้ ในเมืองต้องจ่ายให้อย่างน้อยเกือบห้าสิบบาท

โรงเรียนนี้ฝึกเด็กได้ดีนะคะ ทำตามกติกาได้ ชื่นชมนะคะ

พี่ ประกาย~natachoei ที่~natadee

"เงินไปโรงเรียน" แล้วแต่เงื่อนไข ปัจจัยแต่ละที่แตกต่างกันครับ สิ่งที่ผมอยากให้เห็นคือ กระบวนการคิด กระบวนการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ที่โรงเรียนบ้านเปือยทำได้

ผมสอบถามผู้ปกครองที่อยู่ใน กทม.รายจ่ายต่อคนก็ร่วม ๑๐๐ - ๒๐๐ บาทต่อวัน นับว่าสูงมากครับผม

:)

  • น่าทึ่งมากครับ
  • แบบนี้ก็มีเนาะ..
  • ขอบคุณที่นำมาเล่าครับ

มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคิดถึงระลึกถึงเสมอ

พี่เกษตร(อยู่)จังหวัด

เรื่องราวดีๆที่มาจากพื้นที่ มีมากมายครับ เพียงเเต่เราไม่รับทราบ ผมมีหน้านำมาเผยแพร่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ไปถึงที่แล้วอิ่มอกอิ่มใจครับ เมืองไทยเราไม่ล่มสลายหรอกนะครับ เรามีของดีเต็มแผ่นดิน เพียงแต่ขอพื้นที่ในการนำเสนอบ้างเท่านั้นเอง

โรงเรียนนี้ เป็น ตัวแทนโรงเรียนหนึ่งทางโซนอีสานครับ

วันนี้ไป รร.บ้านร้องขี้เหล็ก  อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่มาครับ โรงเรียนนี้ก็มีเรื่องราวดีๆ ไม่แพ้ที่ รร.บ้านเปือยครับผม 

พี่ เบดูอิน

ขอบคุณมากครับ :)

ยังไม่ขึ้นเครื่อง แต่ยังไวในการตอบนะครับ :)

  • มาอ่านธนาคารไม้ไผ่
  • และการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง
  • ตั้งแต่วัยเยาว์
  • สุดยอดของแนวคิด
  • ขออนุญาตยืมไปเผยแพร่  บอกต่อ
  • เลยเอา ธนาคารความดี  มาฝากด้วย
  • ลองเข้าไปดูนะคะ

 

อ.Wasawat Deemarn

พอดี เครื่อง delay  ครับ ต้องรออีกครึ่งชั่วโมง ไม่น่ารีบทานข้าวเลยพลอยทำให้อาจารย์ Was รีบไปกับผมด้วย เอาไว้เดือนหน้าแก้ตัวใหม่นะครับ ;)

สวัสดีครับ พี่มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)

วันนี้เพิ่งกลับมาจากเชียงใหม่ครับ อบอุ่นกับการต้อนรับของเพื่อนๆที่เชียงใหม่...ไว้โอกาสหน้า จะไปทักทายพี่นะครับ

ผมไปโรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก อ.ดอยสะเก็ดมาครับ โรงเรียนนี้มีดี และ มีให้อวด ผมจะนำมาเขียนบันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเร็วๆนี้

เคยไปถ่ายรายการที่เกาะเหลา จังหวัดระนอง บนเกาะนั้นมีโรงเรียนแห่งเดียว ที่พี่น้องชาวมอแกน และคนไทยมุสลิม ไทยพุทธบนเกาะ ได้ส่งลูกหลานไปเรียน

...

ที่นั่นก็ไม่ต้องใช้เงินเหมือนกันครับ

หนึ่งคือ ไม่มีอะไรขาย

สองคือ ความยากจน

สามคือ ธรรมชาติเค้าอุดมสมบูรณ์จนไม่ต้องซื้อหาขนมอะไรมากิน

...

ฟังดูเหมือนจะดีนะครับ แต่จริงๆ แล้วคือความดีที่เกิดบนความขาดแคลน และเสียสละอย่างสูง ของคุณครูหลายๆ คนที่นั่น

...

ชื่นชมครับ ทั้งที่เกาะเหลา และ อุบลราชธานี

จะปลูกไม้ให้ดอกบานงามทั่วถิ่น

จะปั้นดินด้อยราคามีค่ายิ่ง

จะฝาฟันแม้ยากลำบากจริง

จะสร้างสิ่งดีไว้ให้แผ่นดิน

ครูคือ  เปลวเทียนส่องใจให้เกิดปัญญาแก่ศิษย์

เดินทางไกล ดูแลสุขภาพตัวเองด้วยนะคะ

เมื่อเช้าคุยกับครูโรงเรียนหนึ่งในอ.มหาราช ผอ.พยายามจะไม่ให้นักเรียนใช้เงิน จัดทุกอย่างให้ แต่นักเรียนก็ยังอยากใช้เงิน โดยหาซื้อจากร้านค้าที่อยู่ใกล้โรงเรียน

แล้วอะไรล่ะที่เราอยากให้เป็น

ไม่ใช้เงิน เพราะไม่มีเงิน

ไม่ใช้เงิน แม้มีเงิน เพราะ ...

ใช้เงิน เพราะมีเงิน

ใช้เงิน แม้ไม่มีเงิน เพราะ ...

คิดแล้วกลุ้ม

สวัสดีค่ะ

  • แหมผ่านหน้าบ้านพี่ไปได้ไง
  • พี่ก็อยู่สันทรายติดชายขอบอำเภอดอยสะเก็ด
  • คราวหน้ามาเชียงใหม่ต้องบอกล่วงหน้า
  • เพื่อน G2K เจียงใหม่ยิ๋นดีต้อนฮับเจ้า
  • เพราะพวกเราจะรวมกลุ่มมาเจอกันบ่อยๆ
  • และยินดีมากๆถ้ามีแขกแก้วมาเยือน
  • พี่เขี้ยวมาบอกว่าวันนี้
  • เอาบันทึกนี้ไป link ให้โรงเรียนที่เข้าโครงการคนไทยไร้พุง
  • ไปดูหลายโรงเรียน
  • เผื่อเขาจะได้เอาไปต่อยอด
  • เลยแวะมาขอบคุณอีกครั้ง

สวัสดีค่ะ คุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เข้ามาทักทายยามค่ำคืนที่ยังไม่ดึก

สุขสันต์วันสงกรานต์นะคะ

อย่าลืมเก็บภาพทางเชียงรายมาฝากบ้างนะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีเจ้า

แม่ต้อยนะคะ รุ้สึกดีมากๆ ที่ได้อ่านและรับรู้เรื่องรวดีดี ในสังคม

อบอุ่นใจอย่างบอกไม่ถูกคะ

แม่ต้อยจะมาบอกว่า วันที่ไปปาย หมอสุพัฒน์ ได้พาแม่ต้อยผ่านหน้าบ้านน้องเอกคะ เลยขออนุญาตถ่ายรูปมา

ไม่ได้ลงไปกราบคุณแม่ เพราะว่า คุณหมอรีบพาไปไหว้พระธาตุ แม่เย็นคะ  ฝีมือพอไหวไหมคะ  กึ้ดเติงหาบ้านไหมเจ้า

สวัสดีคะคุณเอก

พี่ได้รายชื่อโรงเรียนมาแล้วคะ ในเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น ผอ.โรงเรียนวิสัยทัศน์กว้างไกล โรงเรียนดีเด่นในเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น และมีครูที่บ้านอยู่ใกล้กัน พี่เล่าเรื่องให้ฟัง บอกว่าขอเข้าร่วมได้ไหม สนใจมาก ๆ

กำลังตรวจสอบดูก่อนว่าจริงตามที่ครูแนะนำไหมนะคะ

ถ้าเรียบร้อยคาดว่าหลังสงกรานต์ จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

มีคำถามโรงเรียนเก่าที่พี่เรียนเป็นโรงเรียนเอกชน ครูสนใจนะคะ

ปืน บีเวอร์ ครับ

ชีวิตการทำงานของน้องปืนได้ไปหลากหลายพื้นที่เหมือนกันนะครับ ผมว่า การเดินทางเป็นเหมือนเราได้เรียนรู้ตำราเล่มใหญ่ ไม่มีที่สิ้นสุด

การทำงานของผมก็เหมือนกันครับ โอกาสที่ได้รับ เป็นความรู้ใหม่ เพื่อนใหม่ และเข้าใจโลกเข้าใจชีวิตมากขึ้น

ที่ โรงเรียนของชาวมอร์แกน น่าสนใจนะครับ เราเห็นถึงความไม่เท่าเทียมของมนุษย์ด้วยกัน แต่เขาเอง (ชาวมอร์แกน) ก็มีความสุขในวิถีของเขา ที่เราไม่ได้เอามาตรฐานความสุขของเราเข้าไปจับ

การไม่ใช้เงิน เป็นตัวอย่างทางนามธรรมมากๆครับ ในสังคม แต่ที่บ้านเปือย มีปัจจัยจำเพาะบางเรื่อง ทำให้ทำได้ และ ใช้กระบวนการแบบนี้กล่อมเกลาเด็กให้รู้จักความพอเพียง 

คิดว่าค่อนข้างยากสำหรับการนำไปใช้ แต่อยากให้เห็นวิธีคิดของผู้อำนวยการและคณะครูที่นั่นครับ ว่าเขาคิดอะไร เขาทำอย่างไร และเขาเชื่อมโยงวิถีพุทธกับการปฏิบัติอย่างไร..

ขอบคุณครับ น้องปืนครับ :)

-----------------

*** มีความสุขในวันสงกรานต์นะครับ

ครูพี่นกครับ

สวัสดีวันสงกรานต์นะครับ ให้กำลังใจคุณครูในการทำงานเพื่อสังคมไทยครับ :)

ครูศิริวรรณ

ไม่ต้องกลุ้มครับผม ...ผมพยายามนำเสนอเรื่องราวเพื่อให้เห็นแนวคิดการบูรณาการครับ ดังนั้นภายใต้ความคิด อาจต้องประยุกต์ให้เหมาะกับพื้นที่ครับ

ให้กำลังใจครูนะครับ

พี่เขี้ยว มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)

ขออภัยครับที่ไปเชียงใหม่ไม่ได้เเจ้งเจ้าที่ อ.Was ท่านรับรองได้อิ่มหนำมาก อีกทั้งเวลาที่ไปก็จำกัดครับ

ขอบคุณพี่เขี้ยวมา ณ โอกาสนี้นะครับ ครั้งหน้าเจอกันครับ

ครูภัทรานิษฐ์ เจริญธรรม

บ้านผมอยู่ที่ "ปาย" ครับ ไม่ใช่เชียงราย

แต่พื้นที่เชียงรายเป้นพื้นที่ผมเดินทางไปทำงานบ่อยๆครับ รับรองว่ามีภาพสวยๆมาอวดแน่นอนครับ

สวัสดีปีใหม่ไทยนะครับ :)

 

แม่ต้อย ครับ

โอ้...ถ่ายรูปทางเข้าบ้านผมด้วย นี่แสดงว่าไปถึงจริงๆ :) ต้องขอบคุณมากครับที่รู้สึกดีๆกับบ้านเกิดของผมนะครับ

ขอให้แม่ต้อยมีความสุขในเทศกาลปี๋ใหม่เมือง  ;)

 

พี่ประกาย~natachoei ที่~natadee

ขอบคุณที่ช่วยในการค้นหาช้างเผือกนะครับ ตอนนี้มีโรงเรียนแห่งหนึ่งทางอีสานแจ้งมา แถบนครราชสีมาครับ กำลังตรวจสอบข้อมูลอยู่ครับ

 

สวัสดีปีใหม่ไทยครับ :)

  • สวัสดีปีใหม่ขอให้ประเทศไทยและคนไทยมีความสุข

ผมก็หวังเช่นนั้นครับคุณเบดูอิน ขอให้ผู้ไม่หวังดีต่อประเทศไทยเราพร้อมไพร่บริวาร ต้องมีอันเป็นไปครับ

สวัสดีครับ ผมคนหนึ่งที่ได้เรียนที่โรงเรียนบ้านเปือย ตั่งแต่ ป.1 - ป.6 และได้เรียนกับครูใหญ่ ครูเป็นคนดีมากสอนด้วยหลักธรรมมาโดยตลอด ณ ตอนนี้ผมอายุ 36 ปีแล้ว ครูใหญ่ยังสอนด้วยหลักธรรมเหมือนเดิมและดียิ่งกว่าเดิมขึ้นอีก จากการถามลูกสาวผมดู เพราะลูกสาวผมก็เรียนที่นั่น ป.1 - ป.3 เช่นกัน ขึ้น ป.4 ผมก็พาลูกมาเรียนกรุงเทพฯด้วย มาอยู่แรกๆ เขาจะไม่เอาเงินไปโรงเรียน ไม่กินของที่หวาน ไม่กินน้ำอัดลม และพวกลูกอม แต่ตอนนี้เริ่มจะทำตรงกันข้ามหมดเลย คิดดูก็อยากให้ลูกเรียนอยู่ที่ โรงเรียนบ้านเปือย แต่เราก็อยากอยู่กับลูกจำเป็นต้องเอามาอยู่ด้วย อยากให้โรงเรียนทั้งประเทศเป็นเหมือนโรงเรียนบ้านเปือยจังเลย เน้นสอนด้วยหลักธรรม

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท