ชำฆ้อพอเพียง [๑] : "ผมอยากเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน"


“ผมอยากเป็นผู้บริหารโรงเรียน”  

ประโยคหนึ่งที่ ผอ..ธีระวัธน์ สิงหบุตร ได้คุยกับผมขณะที่ผมนั่งในรถส่วนตัว ผอ. ธีระวัธน์   เรามุ่งไปโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม ผ่านเรือกสวนไร่นา ป่ายางพารา ดูเขียวขจีสดชื่น บทสนทนาระหว่างผมกับ ผอ.ธีระวัธน์ เป็นไปอย่างออกรส

 IMG_1352 by you.  IMG_1312 by you.

“ผมอยากเป็นผู้บริหารโรงเรียน ไม่ใช่ไม่อยาก”

ผมนั่งเงียบคอยฟังว่า ผอ. ธีระวัธน์ จะเล่าต่ออย่างไร?

“เพราะอะไรนะหรือ ผมเคยเป็นครู เป็นครูน้อยคิดแล้วไม่ได้ทำ ทำไม่ได้ 

เคยเป็นรองผู้อำนวยการ แต่ก็ได้แค่คิดหากผู้บริหารไม่โอเคด้วย ก็หยุด

เมื่อผมมีโอกาสเป็นผู้บริหารผมจึงใช้โอกาสนี้ คิดและก็ทำตามฝันและอุดมการณ์”

ผอ.ธีระวัธน์ เล่าถึงเหตุและผลต่อเนื่องจากประโยคที่ท่านได้กล่าวขึ้นมาตอนแรก

IMG_1348 by you.

ผมพร้อมกับคุณหญิง จากมูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์ ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ในช่วงเช้าตรู่ นั่งรถวิ่งผ่านถนนมอเตอร์เวย์ ตรงไปชลบุรี  พอเลยด่านพานทองเตรียมชิดซ้ายออกไปทางบ้านบึง ชิดขวาขึ้นสะพานมีป้ายเขียนว่าไป อำเภอแกลง  นั่งไปเรื่อยๆจากระยะทางที่ลงจากทางด่วนมอเตอร์เวย์จนถึงสี่แยกชุมแสงประมาณ ๗๐ กม. ให้เลี้ยวซ้ายตามป้ายที่บอกไป อำเภอเขาชะเมา ที่บรรยายเส้นทางแบบละเอียดนี้เพราะว่า หากเราวิ่งรถไปผิดเส้นทางก็จะอ้อมไปไกลกว่า ๑๐๐ กิโลเมตร ก่อนที่จะถึงที่หมาย

ผอ. ธีระวัธน์ โทรศัพท์แจ้งผมว่า ท่านได้จอดรถรอที่หน้าสถานที่แห่งหนึ่ง บอกเลขทะเบียนรถ ยี่ห้อรถ ให้เป็นที่สังเกต พอถึงที่หมายผมให้รถตู้จอดและลงไปทักทายกับท่าน ผอ.ธีระวัธน์  และนั่งรถส่วนตัวของท่าน ให้รถตู้วิ่งตามหลัง เพื่อจะได้พูดคุยกันก่อนที่จะเดินทางไปถึงโรงเรียน

“ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง”  ผมได้รายละเอียดโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม และ รายละเอียด ผอ.ธีระวัธน์  จากเอกสารของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ที่ทางมูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์ รวบรวมให้ผมมาอ่านเพื่อดูข้อมูลในเบื้องต้น และผมต้องขอบคุณมากสำหรับบันทึกของ คุณซวง ที่ได้เล่าถึงรายละเอียดคร่าวๆจากการที่ได้ฟัง ผอ.ธีระวัธน์ ท่านออกอากาศพูดเรื่อง โรงเรียนที่ขับเคลื่อนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้วประทับใจ เก็บมาเขียนเล่าในบันทึก บังเอิญผมเข้าไปอ่านหลังจากนั้นก็ได้ติดต่อตรงไปยังท่าน ผอ.ธีระวัธน์ เพื่อขอพบและเยี่ยมโรงเรียน  ในมือผมจึงมีข้อมูลระดับหนึ่ง เพียงแต่ไปดูของจริงว่าที่นี่ทำอะไรกันบ้าง และ ใช้ความรู้สึกในการสัมผัสพื้นที่จริงนั้นเหมือนหรือคล้ายที่เอกสารได้อรรถาธิบายมาหรือไม่?

IMG_1345 by you.

เราของเรามุ่งตรงไปยังโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม  บรรยากาศสดชื่นจากป่าเขา ต้นไม้ที่มีชีวิตชีวายามต้นฝน บทสนทนาเพื่อทำความรู้จักกัน และบริบทเริ่มต้นของการเป็นโรงเรียนที่ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นหลักในการพัฒนาโรงเรียน พัฒนาบุคลากร และมุ่งสู่คุณภาพของนักเรียนได้อย่างแท้จริงนั้นเป็นมาอย่างไร  และที่สะดุดกับประโยคบอกเล่าของ ผอ.ธีระวัธน์  ก็คือ “ผมอยากเป็นผู้บริหารโรงเรียน”

แน่นอนว่า ความฝัน และอุดมการณ์ที่มีอยู่ในตัว รวมถึงประสบการณ์ที่ ผอ. ธีระวัธน์ เคยทำงานมาแล้วในหลายแห่ง เป็นแรงผลักดันให้ ความคิดที่บ่มเพาะเป็นจริงและเกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมและประจักษ์ด้วยผลงานที่โรงเรียนซำฆ้อพิทยาคม

ก่อนที่ ผอ.ธีระวัธน์ จะย้ายมาที่โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม  ท่านมาจากโรงเรียนการทำมาหากิน ที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงเรียนรูปแบบพิเศษ รับนักเรียนประจำ จากนักเรียนทั่วประเทศ มีทุนการศึกษาให้  โรงเรียนนี้ท่านปลัดฯ โกวิทย์ วรพิพัฒน์ (อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ) ก่อตั้งขึ้น และใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Learning by doing  โรงเรียนการทำมาหากิน มีพื้นที่ ประมาณ ๑๐๘ ไร่ รูปแบบการเรียนก็ให้เรียนทฤษฏีในช่วงเช้า ช่วงบ่ายก็ทำนา ทำสวน เลี้ยงปลา ปลูกพืช ฯลฯ  ที่โรงเรียนนี้เองที่ทำให้ ผอ.ธีระวัธน์ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานภายใต้ความหลากหลาย มีนักเรียนต่างศาสนา เข้ามาอยู่ร่วมกัน การประกอบกิจทางศาสนาที่ต้องให้ความสำคัญ และเรื่องความเป็นอยู่ สิทธิต่างๆ ที่นักเรียนเหล่านั้น ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง แต่ทั้งหมดอยู่บนฐานของความเชื่อเรื่องของความแตกต่างระหว่างกัน และการเรียนรู้อัตลักษณ์ของแต่ละศาสนารวมไปถึงบุคคล  ทำอย่างไรให้ทุกคนอยู่ร่วมกันภายใต้ความสมานฉันท์ ตรงนี้เป็นแนวความคิดที่ ผอ.ธีระวัธน์ ได้ดำเนินการในโรงเรียนทำมาหากิน เป็นการสร้างความสมานฉันท์ผ่านการบริหารจัดการความรู้สึกไปด้วย

IMG_1331 by you.

สิ่งที่ ผอ.ธีระวัธน์ พบเห็นอีกอย่างหนึ่งที่โรงเรียนการทำมาหากินก็คือ นักเรียนที่นี่มีระเบียบวินัยในตัวเองมาก รู้ตน รู้หน้าที่ว่าในแต่ละวันจะทำอะไร และมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ทำจนแล้วเสร็จ และนักเรียนที่นี่เมื่อเรียนสำเร็จจากชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๖ แล้ว สามารถสอบเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้หลายคน

รูปแบบการจัดการศึกษาแบบทางเลือกที่โรงเรียนการทำมาหากิน นั้น ทำให้ ผอ.ธีระวัธน์ ได้นั่งทบทวนอย่างหนักว่า แท้จริงแล้วการศึกษาเพื่อสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้รูปแบบที่สอดคล้องกับการพัฒนาศักยภาพคนนั้นน่าจะเป็นอย่างไร?  การเรียนการสอน รูปแบบ “โรงเรียนกระแสหลัก” นั้น ตอบสนองการพัฒนาศักยภาพคนได้จริงหรือ ?

ผลผลึกของประสบการณ์และพลังที่ ผอ. ธีระวัธน์มี เป็นแรงผลักดันให้มีความตั้งใจที่จะพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางเลือกในโรงเรียนที่ย้ายเข้ามาที่โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคมในปัจจุบัน  แม้ว่าจะมาในฐานะ “ผู้บริหาร” อย่างเต็มภาคภูมิ แต่เส้นทางการทำงานของ ผอ.ธีระวัธน์ เป็นเรื่องท้าทาย ไม่ว่าจะการปรับตัวกับพื้นที่ใหม่ บุคลากรใหม่ๆ ที่ล้วนแต่อยู่และคุ้นชินภายใต้แนวคิดการจัดการศึกษาแบบเดิม  การริเริ่มนำเปลี่ยนนั้นของท่านนั้นต้องใช้การพิสูจน์ตัวเองอยู่ตลอดเวลา

เรื่องราวที่ “ชำฆ้อ” มีบริบทที่มา กว่าจะมาถึง วันนี้ “ชำฆ้อพอเพียง” จะมีความเป็นมาอย่างไร? ผมขอเริ่มที่ ผอ.ธีระวัธน์ สิงหบุตร ที่มีความสำคัญต่อวิธีคิดแรกในการเริ่ม และค่อยๆก้าวย่าง สร้างพื้นที่การเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมจนประสบความสำเร็จมีผลงานเป็นที่ประจักษ์มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบัน...

ขอเกริ่นนำ ปฐมบทของ “ชำฆ้อพอเพียง”  ไว้ในบันทึกแรกเท่านี้ก่อนครับ

 


โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต ๒

ต.ชำฆ้อ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง

 

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๖ กรกฏาคม ๒๕๕๒

 

 

หมายเลขบันทึก: 273922เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (39)

แวะมาทักทายค่ะ

มีความสุขในทุกๆวัน นะคะ

ปลอดภัยในทุกเส้นทาง

ขอบคุณค่ะ

รักวิชาชีพครู เช่นกันค่ะ   :)

ขอบคุณครับ ทำให้ผมรู้จักโรงเรียนซำฆ้อ มากขึ้น อยากไปศึกษาเยี่ยมชมครับ

รูปแบบการเรียนก็ให้เรียนทฤษฏีในช่วงเช้า ช่วงบ่ายก็ทำนา ทำสวน เลี้ยงปลา ปลูกพืช ฯลฯ  ที่โรงเรียนนี้เองที่ทำให้ ผอ.ธีระวัธน์ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานภายใต้ความหลากหลาย มีนักเรียนต่างศาสนา เข้ามาอยู่ร่วมกัน

พี่ชอบมาก จบไป น่าจะทำมาหากินได้เลยนะคะ เอก

IMG_1349 by you.

สวัสดีครับทุกท่านครับ

เรื่องราวของโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม ขอแบ่งออกเป็นตอนๆครับ เพราะ บริบทเริ่มต้นของโรงเรียนนั้นน่าสนใจมาก และ การก้าวสู่โรงเรียนที่มีระบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จเกิดจากวิธีคิดที่ตกผลึกของ ท่าน ผอ.ธีระวัธน์ รวมไปถึง ปัจจัยด้านอื่น

เศรษฐฏิจพอเพียงที่นี่จึงไม่ใช่แค่ทำ และนำเสนอ แต่ เศษฐกิจพอเพียงที่นี่ "สร้างคน" ครับ

ขอบคุณมูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์ สำหรับโอกาสที่ดีในงานที่ผมได้พัฒนาตนเอง ขอบคุณมูลนิธิสยามกัมมาจลสำหรับหนังสือ ขอบคุณคุณซวงครับสำหรับบันทึกที่สร้างจุดเชื่อม ขอบคุณ ผอ.ธีระวัธน์ กับเรื่องราวที่ดีงาม ที่ผมนำมาเขียนเผยแพร่

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่านครับ

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

สวีดีคะคุณเอก

  • แวะมาทักทายคะ
  • จะรอติดตามตอนไปนะคะ
  • เดินทางบ่อยรักษาสุขภาพด้วยนะคะ

ขอบคุณครับ ครูสายธาร ขอให้มีความสุขกับวันหยุดเช่นกันครับ

ครู สันติ หมื่นไวย  เรื่องราวที่ชำฆ้อมีอีกหลายตอนครับ จะพยายามเขียนออกมาตามที่ได้สัมผัส พบเเละสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ขอบคุณครับ

พี่ แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช โรงเรียนการทำมาหากิน ตอนนี้ก็คงเป็นรูปแบบหนึ่งที่โรงเรียนทางเลือกหลายแห่ง ใช้ คือ หลักสูตรที่เน้นการปฏิบัติมากขึ้น เรียนนอกห้องเรียนมากขึ้น

และประสบการณ์ที่โรงเรียนนี้เอง ที่เป็นที่มาของเรื่องเล่า ชำฆ้อ พอเพียง โดยมี ผอ.ธีระวัธน์ เป็นต้นเรื่องครับ

ขอบคุณ น้อง ครู ยอดฉัตร  ดูแล สุขภาพเช่นกันนะครับ คุณครู

สวัสดีค่ะคุณเอก

  • ลงตัวเหลือเกินข้อความและภาพ  ง่าย  งาม
  • ครูและเด็กได้อ่านได้ชมภาพคงปลื้มนะคะ

            

P

ผมชอบเพลง...ที่ร้องว่า

"ขอบคุณฟ้าที่ให้เจอ ขอบคุณเธอที่ให้ใจ..."

เพลงอะไรครับ??

เพลง ขอบคุณที่เธอให้ใจ

ศิลปิน  ก๊อท จักรพันธ์/ต่าย  อรทัย

  • พี่ตาลจะทยอยจัดให้นะคะ รวมทั้งเพลง แทนความคิดถึง ด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • มาอ่านหลายเที่ยวแล้วค่ะ
  • รอเม้นท์พร้อมกับเบอร์ ๙ ค่ะ

สวัสดีค่ะ

“ผมอยากเป็นผู้บริหารโรงเรียน ไม่ใช่ไม่อยาก”

ผมนั่งเงียบคอยฟังว่า ผอ. ธีระวัธน์ จะเล่าต่ออย่างไร?

“เพราะอะไรนะหรือ ผมเคยเป็นครู เป็นครูน้อยคิดแล้วไม่ได้ทำ ทำไม่ได้ 

เคยเป็นรองผู้อำนวยการ แต่ก็ได้แค่คิดหากผู้บริหารไม่โอเคด้วย ก็หยุด

เมื่อผมมีโอกาสเป็นผู้บริหารผมจึงใช้โอกาสนี้ คิดและก็ทำตามฝันและอุดมการณ์”

อยากค่ะอยากได้...แบบนี้ ไม่รู้ว่าอยากมากไปหรือเปล่านะคะ

ขอบคุณค่ะ...^_^

คุณเอก พืเอ่านเรื่องโรงเรียนซำฆ้อ รู้สึกว่าน่สนใจมากคูณเอกเขียนแล้วทำให้เกิดจินตนาการตาม ขอบคุณมากสำหรับเรื่องราวดีๆเช่นนี้

อ่านแล้วอยากไปโรงเรียนซำค้อมากครับ เส้นทางที่คุณจตุพรเขียนยังไม่เคลียร์ครับ

กลัวหลงครับ คุณบอกว่าถ้าหลงจะพลาดไปถึง 100 กม.

สวัสดีครับ คุณครูตาล อิงจันทร์

บันทึกนี้อุ่นหนา ฝาคั่ง ไปด้วยคุณครู น่าดีใจนะครับ

ผมคิดว่า เรื่องราวที่ดีงามในวงการศึกษา เราหาได้ไม่ยาก แต่การนำเสนอนั้นเรามีการนำเสนอน้อย และที่สำคัญ การศึกษาเป็นจำเลยของทุกคนในสังคม ประมาณว่า สังคมมีปัญหาเราก็โทษการศึกษาเป็นต้น จริงๆมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย การศึกษาเป็นเพียงหนึ่งในจำเลยที่มักถูกกล่าวอ้างเสมอๆครับ

ผมเดินทางไป เยี่ยมโรงเรียนด้วยหน้าที่งานของผม คือ ไป mapping ค้นหาโรงเรียนที่ดี คุณครูที่มีกระบวนการคิดและการปฏิบัติที่แตกต่าง ผลลัพธ์ของกระบวนการที่เกิดจากการคิดนั้น ทำให้เกิดการพัฒนาที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ แม้ว่าเราปฏิเสธนโยบายการศึกษาระดับที่สูงขึ้นมาไม่ได้ แต่ทางเลือกการบูรณาการเป็นทางเลือกที่ดี โรงเรียนและคุณครูเหล่านั้นท่านได้สร้างคนให้ ดี เก่ง มีความสุข ให้เห็นเป็นเชิงประจักษ์ถือว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษาที่น่าสนใจ

บันทึกนี้...

ผมเริ่มต้นด้วยที่มาของ การก้าวสู่การเป็น ผอ. ของ ผอ.ธีระวัธน์ ก่อนครับ บริบทนี้สำคัญมากต่อวิธีคิดของท่าน ต่อการพัฒนาชำฆ้อพิทยาคมมาก บันทึกต่อๆไป ก็จะลงในเนื้อหารายละเอียดมากขึ้น ว่าที่นั่นเขาทำอะไร เขาเรียนกันอย่างไร เขาสุขกันอย่างไร และตอบโจทย์ ดี สุข เก่ง ในมิติใด

ขอบคุณมากครับพี่ครูตาล...ให้กำลังใจในการทำงานด้วยนะครับ

 

 

 

 

ขอแจ้งรายละเอียดสำหรับการเดินทางไปที่ โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม อ.เขาชะเมา ดังนี้

เดินทางจาก กทม. โดยการขึ้นทางด่วนมอเตอร์เวย์ จ่ายเงินที่ ด่านเก็บเงินพานทองก่อนแล้วจึงลงมา ขับมาตามป้ายที่บอกทางไป อ.บ้านบึง  หลังจากนั้นก็ขับมาตามป้ายที่บอกไป อ.แกลง ขับตรงมาเรื่อยๆ จนถึงหลักกิโลเมตรที่ ๗๙ ก็ถึง สี่แยกชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง (ซึ่งระยะทางจากที่ลงจากทางด่วนมอเตอร์เวย์ จนถึง สี่แยกชุมแสงประมาณ ๗๐ กม.) พอถึงสี่แยกชุมแสงให้เลี้ยวซ้ายไปตามป้ายที่บอกทางไป อ.เขาชะเมา

หรือ ติดต่อสอบถามเส้นทาง  โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม โทรศัพท์ ๐๓๘ ๖๑๕ ๒๒๔ 

email : chumkho (at) hotmail.com

http://school.obec.go.th/chumkhorpit/

ธีระวัธน์ สิงหบุตร ผู้อำนวยการโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม ๐๘๑-๘๖๒๖๑๕๖

I am waiting to read more ka, the picture above is very nice.

I insert this picture for you, it is not so nice because there is almost always raining in Tokyo ;p

 

Resize11

อ.Wasawat Deemarn
โรงเรียนนี้มีดี ไม่แพ้โรงเรียนใดๆที่ผมไปเยี่ยมมาเลยครับ ประทับใจท่าน ผอ.ธีระวัธน์ มากๆ หากเราสามารถโคลนนิ่งได้ ก็อยากจะโคลนนิ่งท่านไว้เยอะๆครับ

เอาไว้ผมทยอยเล่าเรื่องไปเรื่อยๆก่อนนะครับ บันทึกนี้ถือว่าเป็นปฐมบท

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ ครูคิม

สำหรับครู เทียนน้อย  ขอให้ครูสมหวัง ได้ทำในสิ่งที่ครูคิดฝันจะทำนะครับ :)

สวัสดีครับพี่เอก 555

ไม่ได้เข้ามาทักทายตั้งนานครับ ยังยุ่งอยู่มั้ยพี่?

สู้ๆครับ ;) บันทึกนี้ชอบการทำนาช่วงบ่าย เอ๊ะ! ไม่ทราบว่าเด็กๆมีการนอนกลางวันที่ เถียงนาน้อย มั้ยครับพี่เอก อิอิ

ขอบพระคุณมากครับผ๊ม ;)

ขอบคุณเรื่องราวดีดี

ขอให้ท่านมีสุขภาพดีครับ

รักประเทศไทย ตำรวจเป็นมิตรใกล้ชิดประชาชน

ผมดีใจนะครับ ที่ครู พิศมัย เทวาพิทักษ์  มาอ่านบันทึกนี้  ยังคิดถึงบรรยากาศและความรู้สึกดีๆที่โรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็กอยู่เลยครับ หากมีโอกาสคงจะขอเข้าไปเเลกเปลี่ยนเรียนรู้อีกสักครั้ง

ชวนคณะครู เขียนบันทึกกันด้วยนะครับ...จะรออ่านครับ :)

โรงเรียนของเราร่มรื่นน่าอยู่ นักเรียนน่ารัก รู้จักดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐพอเพียง เพราะพวกเราทุ่มเททั้งกายและใจเพื่อพัฒนาอย่างเต็มความสามารถ ครูทุกคนต้องรวมกันเป็นหนึ่งเดียว

จาก ครูชำฆ้อพิทยาคม

  • เดินทางย้อนรอยติดตามการทำงานของคุณเอกค่ะ
  • ได้แง่มุมชีวิตแบบ beyond description เช่นเคยค่ะ
  • เห็นการทำงานที่เหน็ดเหนื่อยอย่างต่อเนื่องยาวนาน
  • เป็นกำลังใจให้แต่ละก้าวสร้างคุณค่าแก่มหาชนค่ะ
  • อย่าลืมพักผ่อนให้มาก ๆ นะคะ ได้เวลาพลบค่ำแล้ว

คุณเทพณรงค์ เทพรัตนากร

ผมจะเขียนเรื่องราวชำฆ้อฯ อีกหลายตอนครับ ตอนนี้ขอเป้นปฐมบทก่อน รายละเอียดการเดินทางตามรายละเอียดด้านบนครับ

พี่เล็ก ภูสุภา
สวัสดีเจแปนครับ...

ภาพมุมสูง ดูสวยแปลกตา พี่คงสบายดี

รออ่านเรื่องราวต่างถิ่นอยู่นะครับ

กลับเมืองไทยเมื่อไหร่ จะเลี้ยงกาแฟพี่เล็กครับ ;)

ขอบคุณ คุณครูสองท่าน ครูกิติยา เตชะวรรณวุฒิ  และ ครูอิงจันทร์  ครับ

น้องชาย adayday  ผมสบายดีครับ ตอนนี้ก็ยุ่งกับการเรียน (ส่วนใหญ่) และ งานหลายชิ้นครับ ที่กำลังเริ่มต้นตอนนี้ เคลียร์ได้ ระดับหนึ่งคงจะมาเขียนบันทึกมากขึ้นกว่านี้ครับ :)

ให้กำลังใจท่าน พ.ต.อ.ชาญเดช ด้วยครับ

สวัสดีครับ ครู  AA

ดีใจและภูมิใจแทนนักเรียน ผู้ปกครอง และคุณครูซำฆ้อพิทยาคม

หากครูมีความสุข จึงไม่แปลกใจอันใดเลยที่ ผมเข้าไปชมที่โรงเรียนพบแต่บรรยากาศแห่งความสุขไปด้วย :)

  • ทุกคิดมีสิทธิ์จะคิดฝัน
  • และมุ่งมั่นตามสิทธิ์ที่คิดถึง
  • อุปสรรคขวากหนามไม่คำนึง
  • ก็จะถึงซึ่งฝันอันอำไพ
  • ขอเป็นกำลังใจแด่ท่านผอ. คณะครูและน้องเอกค่ะ

ขอบคุณมากครับ ครู คุณครู วรางค์ภรณ์ เนื่องจากอวน  กำลังใจนี้ไปถึงท่าน ผอ. และคณะครู รร.ชำฆ้อพิทยาคมแล้วครับ

ฝาก เวปประชาสัมพันธ์โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม

http://school.obec.go.th/chumkhorpit/

 

ขอชื่นชมและชมด้วยใจจริงที่คุณสร้างหลายๆอย่างไว้ให้คนอ่าน ผมเข้ามาครั้งแรกโดยบังเอิญ เข้ามาดูหลายๆ อย่างที่คุณสร้างไว้ ผมไม่มีเวลาอ่านหรอกครับ แต่ผมให้กำลังใจ และศรัทธา งานเขียนของคุณก็ดูแล้วไม่ซีเรียส ดีครับ คุณจตุพร วิศิษฎ์โชติอังกูร

(ลงทุนพิมพ์ชื่อโดยไม่copy จะได้จำได้ ทั้งที่ผมไชอบการพิมพ์มากๆ เพราะผิดบ่อย )

ปล.คุณเป็นหมายเลข 1 ที่ผมค้นเจอ

ขอบคุณเช่นกันครับ คุณเสรี สุขโยธิน

ลองหาเวลาว่างๆอ่านดูครับ และจะได้แลกเปลี่ยนกันบ้าง ถึงแม้ว่าคุณไม่ชอบการพิมพ์แต่ยังตั้งใจพิมพ์ชื่อผมถูกต้อง ทั้ง ชื่อและนามสกุล เป็นความตั้งใจที่ผมต้องขอบคุุณมากๆครับ

ยินดีเสมอครับสำหรับมิตรภาพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

คุณน่ารักมาก

ขอให้พบพานแต่สิ่ง ๆ ดี

คุณมุ่งมั่นและศัทธาในความดี

อ่านผลงานคุณแล้ว

คุณคือ เบอร์หนึ่ง

กิตติภพ ก้านสารชัย

โรงเรียนดีมีคุณธรรม.......จากเด็กเก่า.ช.พ

คิดถึงเพื่อน...ฟ้า-ขาว

ขอบคุณที่มีบันทึกแรกของคุณจตุพร "ชำฆ้อพอเพียง" รออีกไม่นานจะมีบันทึกต่อมา "ชำนาญพอเพียง" ของผอ.ธีระวัธน์ สิงหบุตร ตามมาอย่างแน่นอน โปรดอดใจรอ รับรองไม่ผิดหวังและดังกว่าเก่าอย่างแน่นอนเจ้าค่ะ

จาก..ครูชำนาญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท