การเรียนรู้เพื่อความเป็นไท : มหาชีวาลัยอีสาน


ผมเชื่อว่า การเรียนรู้ที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง คือความพึงพอใจ และมีความสุขกับกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกจัดเตรียมไว้อย่างแยบยล โดยธรรมชาติ เมื่อเรามีความสุขกับการเรียนรู้ นั่นก็หมายถึง การยอมรับ เปิดรับ เรื่องราวความรู้ใหม่ๆ สนธิกับความรู้เดิม เกิดวัฏจักรความรู้ใหม่ๆ ขับเคลื่อนชีวิตและสังคม

การเรียนรู้เพื่อความเป็นไท

ท่ามกลาง “ผู้กล้าสอน” ที่แปรความคิดผ่านประสบการณ์ มาเป็นผลึกปัญญาถ่ายทอดวิธีคิดอันเป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ที่ต้องพบเจอในช่วงเวลาต่อไปของชีวิต  นั่นคือ การเอื้อกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดพลัง แรงบันดาลใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่ อย่างไร้กรอบและเป็นอิสระอย่างแท้จริง

เรื่องราวที่มหาชีวาลัยอีสาน ที่มีพ่อครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านของมณฑลแห่งอีสาน เคี่ยวกรำงานทำกิน สั่งสมประสบการณ์ผ่านความล้มเหลว และความสำเร็จมานับครั้งไม่ถ้วน ผลผลึกของประสบการณ์ที่นำเสนอผ่านผืนป่าขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่การเรียนรู้เชิงประจักษ์ที่ถือว่าเป็นห้องเรียนที่กว้างใหญ่ พร้อมที่จะนำเสนอความจริงเพื่อการเรียนรู้ โดยเฉพาะการเรียนรู้ที่เชื่อมต่อความอิสระของความต้องการเรียนรู้ของคน กับความหลากหลายของสวนป่า

ที่ผมเกริ่นมาแบบนี้เพราะ ผมเชื่อว่า การเรียนรู้ที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง คือความพึงพอใจ และมีความสุขกับกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกจัดเตรียมไว้อย่างแยบยล โดยธรรมชาติ  เมื่อเรามีความสุขกับการเรียนรู้ นั่นก็หมายถึง การยอมรับ เปิดรับ เรื่องราวความรู้ใหม่ๆ สนธิกับความรู้เดิม เกิดวัฏจักรความรู้ใหม่ๆ ขับเคลื่อนชีวิตและสังคม

ผู้กล้าสอน และ ผู้ที่กล้าที่จะเรียนรู้ ท้าทายกับความรู้ใหม่ ที่ปราศจากพันธนาการที่เกี่ยวรัด ย่อมหมายถึงจุดเริ่มต้นของกระบวนการเรียนรู้ที่เราเรียกว่า KM ธรรมชาติ”   ตัดเรื่องถูกผิดออกไปในกระบวนการเรียนรู้ “เราจึงต้องเรียนรู้ เพื่อขจัดความไม่รู้” ยิ่งผิดยิ่งดี เพราะเราจะได้ความรู้ใหม่ๆ

จากบันทึกของ ดร.แสวง รวยสูงเนิน >>> การเรียนแบบ “KM ธรรมชาติ” ที่มหาชีวาลัยอีสาน ที่นำนักศึกษา สาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชั้นปีที่ ๑ กว่า ๓๘ ชีวิตเข้าไปเรียนรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป ถือว่าเป็น “โอกาส” ที่ดีสำหรับนักศึกษาที่ได้เห็นภาพรวมของความรู้ธรรมชาติ ก่อนที่จะเรียนทฤษฏี วิชาการ

Img_3456

กระบวนการเรียนรู้ใช้กระบวนการ  KM ธรรมชาติ  ผสานกับเทคโนโลยี “ครูเครื่อง”  และ “ครูคน” ที่ช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ของกระบวนการเรียนรู้ โดยให้โจทย์ใหญ่ เป็นโจทย์ง่ายๆ คือ ค้นหาความรู้จากผืนป่าใหญ่แห่งมหาชีวาลัยอีสาน ได้เห็นอะไร ได้คิดอะไร และ สรุปรวบยอดความอะไรบ้างเชื่อมต่อกับวิถีชีวิต เรียกได้ว่า ดูของจริง เรียนรู้จากของจริง ที่เป็นความสำเร็จที่เกิดจากปัญญาปฏิบัติของปราชญ์ชาวบ้าน

ความอุดมของสวนป่าฯ ทำให้ โจทย์ การค้นหา KM ที่ซ่อนอยู่ อย่างสนุกสนาน นักศึกษาได้โจทย์พร้อมร่วมกระบวนการเรียนรู้ไปกับ พ่อครูบาสุทธินันท์  ในผืนป่า ห้องเรียนที่กว้างใหญ่ มีต้นไม้หลากชนิด ความหลากหลายทางชีวภาพที่ป่าสร้างตัวเองขึ้นมาต่อจากนั้น ความหลากหลายของการผสานความคิด ผสานเทคโนโลยี ช่วยให้ศาสตร์ธรรมชาติมีความแข็งแกร่งขึ้นมาอย่างสมดุล

นักศึกษาต่างนั่งล้อมวงฟังเรื่องเล่าจากพ่อครู อย่างสนใจ กลิ่นป่าหอมกรุ่น ลมพัดเบาๆ เสียงนกร้องขับกล่อม ห้องเรียนแห่งนี้ จึงเป็นห้องเรียนธรรมชาติที่รื่นรมย์

น้องโก๊ะ บอกความในใจในวงแลกเปลี่ยนบอกว่า  เขามีความสุขมากที่ได้นั่งลงสัมผัสกับธรรมชาติ บนพรมหญ้าสีเขียวกลางป่า เรื่องราวที่บอกเล่าผ่านครูคน ผนึกลงในความคิดของเขา เป็นห้องเรียนที่สนุกและมีความสุขที่สุด

เมื่อเรียนรู้จากธรรมชาติแล้ว เรามานั่งทำกระบวนการเรียนรู้เชิงประเด็น

  • ประเด็นการเลี้ยงสัตว์ หมูเหมยซาน ไก่ต๊อก นกกระจอกเทศ นกยูง
  • ประเด็นพืชผักและสมุนไพรในสวนป่า
  • ประเด็นงานวิจัย มะรุม และ ต้นเอกมหาชัย
  • ประเด็น ต้นไม้สายใยชีวิต

โจทย์นี้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกันแลกเปลี่ยนหลังจาก เรียนรู้ความรู้ที่หลากหลายในสวนป่ามีค่อนวัน การนั่งรวมกลุ่มเปิดโอกาสให้นักศึกษาคิดกันอย่างอิสระ และรูปแบบการนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนอิสระ ทำให้บรรยากาศของการเรียนรู้

เราเชื่อมั่นว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมคุณค่าอันประเสริฐ ซึ่งเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา และมนุษย์สามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เพียงแต่ กระบวนการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ เอื้อให้มนุษย์เรียนรู้สิ่งที่อยากรู้ สามารถสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง ศึกษาพัฒนาตนเองได้เพราะเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ การออกแบบการเรียนรู้จึง สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนามนุษย์ เติมความรื่นรมย์ ชีวิตชีวาลงไปอย่างสมดุล

 

 บันทึกที่เกี่ยวข้อง

น้ำจิตน้ำใจเล่าฮูแสวง รวยสูงเนิน ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

การเรียนแบบ “KM ธรรมชาติ” ที่มหาชีวาลัยอีสาน ดร.เเสวง รวยสูงเนิน

ความสุขหาง่าย พบได้ทั่วไปในหน้าที่การงาน อ.พินิจ พันธุ์ชื่น

เพลิดเพลิน สวนป่ามหาชีวาลัย จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เรียนอย่างไรให้สุข : มหาชีวาลัยอีสาน จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

การเรียนรู้เพื่อความเป็นไท : มหาชีวาลัยอีสาน จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

 

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ศาลายา

๒๖ ตค.๕๒

 

หมายเลขบันทึก: 308601เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2009 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

ปรัชญาการศึกษาที่แท้จริงนั้น คือ การศึกษาเป็นการพัฒนาคนให้เจริญงอกงาม

อันความเจริญงอกงาม หมายถึง ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และ จิตใจ

การเข้าถึงธรรมชาติ คือ การศึกษาที่ขั้นพื้นฐานมากที่สุด ไม่ใช่ วิธีการของ สพฐ. อย่างในปัจจุบัน

;)

ภาพสวยมากคะ ดูเป็นธรรมชาติมากเลย

ขอบคุณมากครับ อ.Wasawat Deemarn

การศึกษาที่เน้นทฤษฏี ความรู้สำเร็จรูป  ก็อาจทำให้มองผิดทิศผิดทาง การศึกษาเพื่อพัฒนาคน อาจไม่มีเวลาทดลองเพื่อถูกผิด ซ้ำเเล้วซ้ำเล่า..

ต้อง!!! เปิดโอกาสให้ทางเลือกใหม่ สำหรับการเรียนรู้ของผู้คน ด้วยความเข้าใจในมนุษย์

และ ขอบคุณครับ ทั้งสองท่าน น้องครูโย่ง หัวหน้า~ natadee   และ คุณkoy  :)

  • ตามมาเก็บเกี่ยวเรื่องราวดีๆที่เราได้สัมผัสร่วมกันมาครับ
  • เมื่อเช้า อ.ดร.แสวง ก็โทรมาคุยต่อยอด แลกเปลี่ยนกัน ลากยาวไปร่วม 20 นาทีแบบไม่รู้ตัว ประเด็นหลักคือเราจะทำอย่างไรต่อเพื่อให้ "ไฟไม่มอด"
  • เมื่อวานแอบไป Download เพชรเม็ดงาม .. งานรวบรวม เรียบเรียง เรื่องราวจากเวทีของคุณครู ที่ท่าน คุณนายดอ๊กเตอร์ และ ท่าน ศิลา ช่วยกันเจียระไนไว้อย่างงดงามและทรงคุณค่า
  • อย่างนี้จะไม่ให้เรียกหัวหน้าทีมว่า พระเอก ได้อย่างไร
  • เรียกทั้งที่ยังไม่ได้บวชนี่แหละ
  • อิ อิ อิ

ตามเม้นท์ข้างต้น สมควรที่จะถูกเรียกว่า พระเอกค่ะ ต่อไปอาจจะเป็นมหาเอกก็ได้ ทำดีไม่มีสิ้นสุด บวชใจไปแล้ว เหลือแต่ตัวนะคะเนี่ย

ขอบคุณครับ อ.Handy

ประเด็น ว่าทำอย่างไร ไฟไม่มอด นั้น?? ผมมองว่า ไม่ต้องห่วงครับ เด็กๆได้รหัสเปิดสมองไปเเล้ว เขาจะเรียนรู้ด้วยทุนเขาเอง กระบวนการเรียนรู้ที่มหาชีวาลัย ผมเชื่อแน่ว่า ต้นกล้าพันธุืดีเหล่านั้นได้ปุ๋ย น้ำที่ดี พร้อมจะเติบโต ผลิยอด ออกใบ

อาจหาเวลามา ฟื้นคืน บรรยากาศการเรียนรู้อีกบ่อยๆตามโอกาส โดยให้ น้องนักศึกษากลุ่มเดิม มามีเวลาเรียนรู้ร่วมกันใหม่

ประเด็น "ครูเพื่อศิษย์" ที่ผมและทีมงานทำเอกสารประกอบฯให้ครูได้อ่านในเวทีนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนครับ

รายงานฉบับสมบูรณ์และหนังสือ ที่คิดจะเขียนกำลังทยอยปั่นความคิด ไม่นานคงเรียบเรียงออกมาได้ แล้วจะมีให้ได้อ่านอีกครับผม

ขอบคุณ อาจารย์Sila Phu-Chaya  ครับ หนึ่งในทีมงานคุณภาพ 4H สร้างสรรค์ (head -heart -hand- health)

 

รักพระเอกน้อยๆแต่ขอให้รักนานๆนะครับ

 

                                                                                 พระเอก

การประเมินผลจาก ดร.เเสวง รวยสูงเนิน ใน การเรียนแบบ “KM ธรรมชาติ” ที่มหาชีวาลัยอีสาน ดร.เเสวง รวยสูงเนิน

นักศึกษาเรียนรู้ทั้งในเชิงธรรมชาติ วิชาการ และจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ ที่พร้อมจะทำหน้าที่ของมนุษย์ที่พึงมี พึงทำต่อโลก ต่อทรัพยากร ต่อสังคม ต่อชุมชน ต่อครอบครัว และต่อตนเอง ได้อย่างถูกต้อง

ทุกคน (๑๐๐ %) ประทับใจในกระบวนการเรียนรู้ และต้องการกลับไปเรียนอีก เมื่อมีโอกาส

ที่แสดงว่าการเรียนรู้ครั้งนี้ ได้กระตุ้น “ต่อมการเรียนรู้” และ “จิตวิญญาณ” ของนักเรียน ออกมาทำงานได้ดีกว่า จนสามารถ "เรียนได้ดี" กว่าที่เคยเป็นมา

ที่อาจถือได้ว่า การเรียนโดยหลักของ KM ธรรมชาติ มี “ครูธรรมชาติ” นำทาง เป็นวิธีการที่ดี ที่จำเป็นต้องมีการสนับสนุนด้วย “ครูคน” จาก “พันธมิตรอิงระบบ” ไม่ติดกรอบภาระหน้าที่ แต่ทำงานวิชาการแบบถึงลูกถึงคน เป็นวิทยากรกระบวนการ ที่ไม่ใช่แบบบรรยายไปเรื่อยๆ และมี “ครูเครื่อง” คอยสนับสนุนอยู่ห่างๆ แบบ “บูรณาการ” ตามสไตล์ของ “มหาชีวาลัย”

นักศึกษา เกษตร มข.  ณ มหาชีวาลัยอีสาน

Img_3500

  • ธรรมชาติให้อะไรเรามากกว่าการเป็นธรรมชาติ
  • ธรรมชาติคือชีวิตครับ
  • ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ ที่คุณนำมาถ่ายทอด

 

  • ตามมาอ่าน
  • เดินทางไปพัทลุงแล้วใช่ไหม
  • ดีใจที่นักศึกษาจาก มข
  • ได้ลงในพื้นที่จริงๆๆของบ้านพ่อครูบา
  • สบายดีนะครับ
  • เดินทางปลอดภัยครับ

สวัสดีครับ คุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • แวะมาติดตามมหาชีวาลัยอีสานครับ

 

สวัสดีค่ะ

ธรรมชาติสอนเราดีจริง ๆ

บั้นปลายของชีวิตอยากอยู่กับธรรมชาติแบบนี้ค่ะ

  • เรียนเพื่อรู้รู้เพื่อรับซับคุณค่า
    กลิ่นพฤกษาหอมกรุ่นอุ่นไอฝัน
    ล้วนธาตุสี่สอดผสานผ่านคืนวัน
    ห่มร่างขันธ์รูปนามความสมดุล

        มหาชีวาลัยหรือคือชีวิต
        จงรู้คิดรู้เพียรเพื่อเปลี่ยนหมุน
        โลกวัตถุท่วมท้นเที่ยวขาดทุน
        จิตวิญญาณว้าวุ่นว่างเปล่าดาย...

       
         คิดเพื่อค้นค้นเพื่อคิดพินิจค่า
         ปรารถนาสิ่งใดเล่าสหาย
         แม้เป็นเพียงหิ่งห้อยส่องประกาย
         จงอย่าอายเติมเต็มเพื่อแผ่นดิน....

                             ดอกไผ่
                        ๒๗  ตุลาคม ๒๕๕๒

    

อ่านแล้วอบอุ่นใจยังงัยก็ไม่รู้ครับ

สวัสดีค่ะ

  • เรียนรู้จากธรรมชาติ ดีจังเลยค่ะ
  • สีเขียวดูสดชื่นดีนะคะ
  • แวะมาบอกว่า ลงรูปเพลินวานเรียบร้อยแล้วค่า ^____^ ที่นี่เลยค่ะ

สมัยพี่สุเป็นนักศึกษา ก็ไปดูงานเกษตรยั่งยืนที่ เครือข่ายอินแปง จังหวัดสกลนคร  โดยคำแนะนำของ ดอกเตอร์เสรี พงศ์พิศ เหมือนกันคะ เน้นอยากให้อยู่แบบธรรมชาติ  กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน แล้วนำเอาวัสดุในท้องถิ่นที่มีมาก มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ คือให้ช่วยเหลือตนเองแบบครบวงจร เน้นการพึ่งพาตนเอง

และให้ความคิดว่า การศึกษาความเป็นอยู่ในชีวิต ก็มีความจำเป็นพร้อมๆกับวิชาการ แต่ไม่อยากให้เรียนวิชาการ จนลืมความจริงของชีวิต ที่จำเป็นจะต้องอาศัยธรรมชาติโดยอาศัยหลักเศรษฐกิจพอเพียง  เกษตรยั่งยืน เกษตรชุมชน เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจวัฒนธรรมก็ดี   ให้มันลงตัวกัน คะ ที่สวนครูบาสุทธินัน ก็คงจะคล้ายๆกันใช่ไหมคะ

พี่สุละสนใจ สนใจ สวนป่าครูบาสุทธินัน สมัยเป็นนักศึกษา เขาให้เลือกเอาสถานที่ 2 แห่งไปเพื่อการเรียนรู้  เลยเลือกเอาระหว่างอินแปง กับสวนครูบาเลยเลือกเอาอินแปงคะ

ติว่าสวนครูบาอยู่ไกล  ไม่เช่นนั้น พี่สุได้ไปเยี่ยมแล้ว ถ้ามีโอกาส จะไปเที่ยวคะ

                                         

             เอาธรรมชาติ น้ำตกมาฝากคะ เห็นว่าจะไปเที่ยวปีนเขาไหน กับท่านวอญ่า

ยังไปไม่ถึง

สักวันคงได้ไปเยือนค่ะ

เดินทางไกลห่วงใยสุขภาพตัวเองด้วยนะคะ

เพลิดเพลินใจได้เรียนรู้ความจริงแห่งชีวิตท่ามกลางธรรมชาติที่แท้จริง การเรียนทุกระดับของเมืองไทยน่าจะนำผู้เรียนได้ใกล้ชิดเรียนรู้จากธรรมชาติอย่างละเอียดลึกซึ้งเช่นนี้นะคะ

ว่าแต่ไปเดินป่าเมืองพัทลุงหลุดชายแดนไปไหนหรือเปล่าคะเนี่ย หายไปเลย ทีมงานคิดถึงและเป็นห่วง

กฐินโบราณ ..เสร็จสิ้นแล้วนะครับ

http://gotoknow.org/blog/pandin/309692

นึกว่าจะได้อ่านเดินป่าแล้วครับ..แล้วจะมาติดตามใหม่

กำลังเดินทางไปกรุงเก่าครับ ขอบคุณทุกท่านนะครับที่มาเยี่ยม มาอ่านบันทึก "สวนป่ามหาชีวาลัย"

เดินป่ากลับมาเเล้ว งานค้างเพียบเลยครับผม

สวัสดีค่ะ คุณเอก

เห็นด้วยกับ  อ.Wasawat

ปรัชญาการศึกษาที่แท้จริงนั้น คือ การศึกษาเป็นการพัฒนาคนให้เจริญงอกงาม

อันความเจริญงอกงาม หมายถึง ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และ จิตใจ

การเข้าถึงธรรมชาติ 

             ขอบคุณค่ะ  

เอาภาพโคมเชียงใหม่ฝากค่ะ

 

 

สวัสดีครับ ครูนายก้ามกุ้ง

ธรรมชาติ เป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ที่เนียนกับชีวิต และเป็นกระบวนการที่ไม่แปลกเเยก ทำให้ความรู้ที่มี สนธิเข้ากับใจที่เปิดรับความรู้ได้อย่างเนียนๆครับ

สวัสดีครับ อ.ดร.ขจิต

 ผมสบายดีครับ เดินทางตลอด เเละได้เที่ยวตลอด (ทำงานไปด้วย) เพลิดเพลินครับ

อาจารย์คงสบายดีนะครับ

ตอนนี้มีงานชิ้นหนึ่งกับ พอช. หากมีอะไรที่ผมต้องขอเเรงช่วย ผมจะขออนุญาตติดต่อไปครับ

ไม่ได้มาตอบรับ ข้อเสนอแนะของมวลมิตรนานมากเลย ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ขอบคุณครับทุกท่าน

พี่คนทำGIS

ครูเอ เห็นภาพเชียงใหม่เเล้วคิดถึงบ้านครับ

ครู ธนิตย์ สุวรรณเจริญ ผมกำลังจะเขียนบันทึก เขาเจ็ดยอด อีกเป็นบันทึกที่ ๒ ครับ..

ขอบคุณมากคุณแผ่นดิน ครับ สำหรับลิงค์

พี่ อ.ดร.นุช คุณนายดอกเตอร์กำลังเตรียมโครงร่างการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์อยู่ครับผม

ขอบคุณครับ ในความห่วงใย พี่ NU 11 ดูเเลตัวเองด้วยเช่นกันครับ

สวนป่าพ่อครูบา ...มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายครับ มีโอกาสพี่สุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ที่ไม่มีวันปิดทำการ ไปเยี่ยมคุณพ่อได้ครับ

ขอบคุณ Hana ครับ ตามไปชมภาพเเล้ว สวยมากครับ และขอบคุณ จารุวัจน์ شافعى มีความสุขกับ ฮารีรายอ ครับ

บทกลอนของ คุณ ธรรมทิพย์ ประทับใจทุกครั้งที่อ่าน ขอบพระคุณมากๆเลยครับ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ คุณ น้ำผึ้งสีชมพู

ขอบคุณ คุณพ่อ  ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์   ครับ เป็นกำลังใจที่ดีสำหรับผมเลยทีเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท