พูดคุยกับ รศ.ประภาภัทร นิยม : ประเด็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง


พูดคุยกับ รศ.ประภาภัทร นิยม :  

ประเด็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง

 

ท่าน รศ.ประภาภัทร นิยม ท่านแจ้งผมผ่านทางโทรศัพท์ว่า อาศรมศิลป์ที่ท่านอยู่นั้น อยู่ในเขตบางมด ถนนธนบุรี – ปากท่อ ท่านบอกอีกว่า ทางเข้าไปยังโรงเรียนรุ่งอรุณ และ อาศรมศิลป์นั้นต้องข้ามสะพานเล็กๆ ถึง ๘ จุด ด้วยกัน ด้วยความที่ไม่เคยไป ก็คิดว่า โอ้โฮ้ สะพานตั้ง ๘ จุด เชียวหรือ!!!

ท่านกรุณาให้เวลานัดผม ในช่วงเช้าเวลา ๐๘.๐๐ น.ของวัน ที่อาศรมศิลป์ ผมเพิ่งทราบภายหลังว่าอาศรมศิลป์ กับโรงเรียนรุ่งอรุณนั้นคือ ที่ๆเดียวกัน และสะพานที่เราต้องข้ามสะพาน ๘ จุด เป็นเพียงสะพานเล็กๆข้ามคลองเท่านั้นเอง

023

อาศรมศิลป์ - (ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือครับ)

 

ผมเดินทางมาถึงอาศรมศิลป์ในยามเช้า อากาศที่นี่สดชื่นดีมาก และสถานที่ตั้งของโรงเรียนรุ่งอรุณ –สถาบันอาศรมศิลป์ สถาบันทั้งสองมีสถานที่ตั้งอยู่ท่ามกลางแมกไม้สีเขียวขจี ลมพัดเอื่อยๆเย็นกาย ไม่น่าเชื่อว่าจะมีสถานที่สัปปายะเช่นนี้ในเมืองหลวง

022

อาศรมศิลป์ - (ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือ)

ที่อาศรมศิลป์ มีอาจารย์สุรพล ธรรมร่มดี ท่านนั่งรอผมอยู่ก่อนแล้ว และสักครู่ใหญ่ รศ.ประภาภัทร นิยม ท่านก็เดินทางมาสมทบ ประเด็นที่สนทนากันในเช้าที่สดชื่น เป็นประเด็นที่ผมสนใจและเป็นประเด็นที่ตั้งใจจะศึกษาเชิงลึก ได้แก่ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง  หรือ Transformative learning ภายใต้ฐานความเชื่อที่ว่า “ธรรมชาติล้วนไม่หยุดนิ่ง” ธรรมชาติล้วนมีการเปลี่ยนแปลง แต่การศึกษากระแสหลักทำให้หยุดนิ่ง การศึกษากระแสหลักมีกระบวนการเรียนรู้-หลักสูตรที่ นิ่ง และแข็ง  

การเรียนรู้ที่เป็นทางการ เป็นการที่ครูส่งความรู้ก้อนเดียวไปที่นักเรียน ๓๐ – ๕๐ คนในชั้นเรียน ราวกับว่านักเรียนเป็นเครื่องรับที่เหมือนๆกัน แล้วก็คิดเองว่าเด็กคงรับได้ แต่จริงๆ มันไม่ใช่ มนุษย์เรามีความแตกต่างและมีความหลากหลาย การรับรู้ก็แตกต่างกัน

รศ.ประภาภัทร ท่านได้เกริ่นเกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้ ที่ผมเข้าใจว่าส่วนหนึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างรูปแบบการศึกษาที่เป็นเส้นทางเลือกใหม่ๆ เช่น โรงเรียนรุ่งอรุณ ท่านบอกว่า

เด็กๆมักไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง และเขาพร้อมที่จะเรียนรู้ไปพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลง ผู้ใหญ่เสียอีกที่เรียนรู้ผ่านความรู้ที่แข็ง ผ่านการต่อสู้และแข่งขัน และผู้ที่แข่งขันก็ประสบความสำเร็จ และเมื่อสำเร็จ ก็ยึดมันเอาไว้พอกพูนเป็นอัตตา เหตุนี้เองทำให้ผู้ใหญ่ไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลง

โรงเรียนรุ่งอรุณจึงมุ่งเน้นการออกแบบเรียนรู้ ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง ให้มีเวลาใคร่ครวญ ตรึกตรอง ข้อคิด ข้อทำ(ธรรม) และข้อปฏิบัติ ผ่านกระบวนการกลุ่ม ที่โรงเรียนรุ่งอรุณมีเป้าหมายให้นักเรียนเรียนรู้แบบเป็นองค์รวมโดยมีครูเป็นกัลยาณมิตร สนับสนุนให้ทุกคนได้เรียนรู้และมีวิธีการสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น โดยผ่านการลงมือทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่เน้นความเป็นธรรมชาติ และห้องเรียนธรรมชาตินี่เอง ที่เป็นพื้นฐานกระตุ้นให้นักเรียนในแต่ละวัยบูรณาการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

สิ่งที่ รศ.ประภาภัทร และ อ.สุรพล ท่านได้สนทนากับผมก็เพื่อจะเชื่อมให้เห็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียนรุ่งอรุณ และโรงเรียนในเครือข่าย เช่น โรงเรียนสัตยาไส โรงเรียนเพลินพัฒนา ฯลฯ  เรื่องที่เราสนทนาจะไปเชื่อมโยงประเด็นที่ผมตั้งใจจะมาปรึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในสถาบันอุดมศึกษา โดยเราตั้งสมมุติฐานว่า ในสถาบันอุดมศึกษามีกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ อาจจะมีการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ในรายวิชาใด วิชาหนึ่ง หรืออาจเป็นภาควิชา,คณะ (อาจค้นหายาก) แต่เรายังไม่ได้ถอดบทเรียนออกมา ดังนั้น งานที่เราต้องศึกษาและพัฒนาก็จะมุ่งไปยังสถาบันอุดมศึกษา หรือ Transformative learning in higher education  

งานศึกษาและพัฒนาดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการคิดและหากระบวนการขับเคลื่อน และผมเองเข้ามาในฐานะผู้ที่ที่สนใจประเด็นดังกล่าวพร้อมกับผมจะเป็นทีมงานในการทำงานโครงการนี้ร่วมกับ สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา)

ในการประสานงานเบื้องต้นหน้าที่ของผมก็คือ ค้นหา (Mapping)  การจัดกระบวนการเรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษา ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด เช่น อาจารย์ท่านใดท่านหนึ่งที่ใช้กระบวนการเรียนรู้รูปแบบนี้ ภาควิชา คณะ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ  

กระบวนการค้นหาครั้งนี้จะใช้วาระที่ท่าน Dasho Karma Ura ซึ่งท่านเป็นผู้อำนวยการ Centre for Bhutan Studies และเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องความสุขมวลรวมของประชาชาติ หรือ  Gross national happiness (GNH. ) ท่านจะเดินทางมาเมืองไทยราวกลางเดือนธันวาคม ในโอกาสนี้จะมีการ ปาถกฐาพิเศษ ประเด็น GNH in Education ที่กรุงเทพฯ

Dasho Karma Ura  -Director of Centre for Bhutan Studies

 

เราจะใช้เวทีการปราถกฐาของท่าน Dasho Karma Ura เป็นเวทีที่จะดึงเอากลุ่มเป้าหมายเข้ามารวมตัวกัน คาดว่าจะใช้โอกาสนี้ mapping กลุ่มเป้าหมายไปด้วย และอีกเวทีหนึ่งที่จะเกิดขึ้นอีกไม่กี่วันนี้คือ เวที การประชุมวิชาการ จิตตปัญญาศึกษา: ทางเลือก หรือ ทางรอดของสังคม? วันพุธที่ ๒ – วันศุกร์ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒ ณ ห้องแกรนด์บอลลูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ เวทีนี้ก็เป็นอีกเวทีหนึ่งที่จะรวมเอากลุ่มเป้าหมาย ที่เราสนใจมารวมตัวในงานนี้ ซึ่งก็เป็นโอกาสที่ดีอีกวาระหนึ่งในการเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทั้ง ตัวคน  สถานที่ กระบวนการที่ใช้

เป็นการเริ่มต้นในการศึกษา ประเด็น “การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง” หรือ Transformative learning ประเด็นที่ผมสนใจและท้าทายสำหรับผม

 


ขอบคุณผู้ใหญ่ที่เคารพหลายๆท่านที่ให้โอกาสครับ

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช,รศ.ประภาภัทร นิยม,ที่ปรึกษา รมต.ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ,รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกุล รองเลขาธิการ สกอ.,ผอ.สมศักดิ์ ,อ.สุรพล ร่มธรรมดี
อ. ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหิดล ที่ให้กำลังใจและให้คำปรึกษา, Academic advisor รศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหิดล ที่เป็นเเรงบันดาลใจของผม

 

หมายเลขบันทึก: 317290เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2009 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

แวะมาให้กำลังใจครับ

โจทย์ใหญ่และท้าทายมากครับ

อ่านบันทึกแล้วพยายามคิดอยู่เหมือนกันว่าที่ไหนพอจะเข้าข่ายนี้บ้าง

ยังนึกไม่ออกครับ

มีข้อมูลแล้วจะรีบบอกครับ...

พี่เอก แนะนำ ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถค่ะ

มาให้กำลังใจ..อย่างเดียวค่ะ..อิอิ

“การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง” น่าสนใจค่ะ

เกี่ยวข้องกับ Chang Theory หรือการเป็น Chang agent ด้วยรึเปล่านะ

ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีค่ะพี่เอก

น่าสนใจและท้าทายมากเลยค่ะ....ไว้มาเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายคนอารมณ์ศิลป์ค่ะ

พี่ หนานเกียรติ

ในปีก่อนๆทำในประเด็น การเรียนการสอนที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ในกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาที่เป็นสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ของประเทศ แต่เวลานี้ทำในประเด็นที่ใหญ่ขึ้นมาอีก ประเด็นเข้มข้นมากขึ้นอีก ท้าทายดี หากมีข้อมูลตามที่ผมเขียนมา...กรุณาเเนะนำผมด้วยนะครับ

ขอบคุณมากครับ

มาเชียร์ค่ะ

งานท้าทายค่ะ

และอยากรู้ต่อไปว่า

เป้าหมายที่น้องเอกเลือกจะเป็นม.ไหน

ขอบคุณค่ะ

น้อง ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿ 

อยากทราบรายละเอียดท่าน ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ ครับ

เป็นงานท้าทายและน่าสนใจมากครับ...ถ้าไม่ติดงานรัฐศาสตร์แห่งชาติคงไปแน่ๆๆ เสียดายจังครับ จิตปัญญา งานนี้

ดูแลสุขภาพด้วยครับพี่

สวัสดีครับทุกท่านครับ คุณ ชาดา ~natadee ,ครูบันเทิง, น้องเสียงเล็กๆ فؤاد

ครูkrutoiting ครับ เป้าหมายทั่วประเทศครับ แต่ผมยังคิดไม่ออก มองยังมืดๆอยู่ครับ


พี่ สีตะวัน

TL หรือ Transformaive Learning จะมีความหมายเดียวกับ จิตตปัญญาศึกษา เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงและมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ทำนองเดียวกับคำว่าการศึกษาและการเรียนรู้ก็มีความหมายที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันจนบางครั้ง บางบริบท คำสองคำนี้ก็ใช้แทนกันได้ >>>>> อ่านต่อที่นี่ครับ...TL

ขอบคุณมากค่ะคุณเอก สำหรับ TL

อ่านแล้วทำให้เข้าใจในเรื่องของการศึกษามากขึ้น

จะลองศึกษาดูอีกครั้งค่ะ เผื่อจะนำมาประยุกต์ใช้ในงานสร้างสุขภาพได้บ้าง

ตอนนี้นอกจากให้ความรู้แบบครูป้อนให้แล้ว ยังพยายามให้ผู้ฟัง..ที่เป็นชาวบ้าน อสม. หรือนศ. ฝึกงานได้เรียนรู้จากการคิดวิเคราะห์ และสร้างความตระหนักรู้ไปด้วย)

บางทีจิตตปัญญาศึกษาก็แทรกซึมอยู่ในทุกอนูของการเรียนรู้และการทำงาน

เบื้องต้นคือ ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง สร้างเสริมปัญญาให้เกิด และศึกษาเรียนรู้ การทำงานให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ขอบคุณมากมายอีกครั้งค่ะ...^_^

 

เอกครับ

เท่าที่นึกออกตอนนี้ ผมคิดถึง อ.ป้อม ครับ

อ.ป้อมเป็นลูกสาว อ.พิชัย นิรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ

สอนอยู่ที่คณะวิจิตรศิลป์ ม.ช.

ผมมีบันทึกที่เขียนเฉี่ยว ๆ ถึงแกนิดหน่อยที่นี่ครับ

เพื่อนผู้พิการ ตอนที่ ๑ : ชมรมเพื่อนผู้พิการ 
เพื่อนผู้พิการ ตอนที่ ๒ : คนจิตอาสาผู้ขับเคลื่อนชมรมฯ
เพื่อนผู้พิการ ตอนที่ ๓ (จบ) : คนจิตอาสาผู้ขับเคลื่อนชมรมฯ

 

อ้อ... อีกคนนึง

คนนี้ อาจขอข้อมูลเพิ่มเติมจาก อ.ขจิตได้ครับ

ชื่อ อ.ตุ้ม - ดร.ทิพวัลย์ สีจันทร์ สอนอยู่ที่ ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ครับ

สวัสดีครับ พี่หนานเกียรติ

กำลังจะออกจากห้องพอดีเลย แต่ขอตอบกลับด้วยความซาบซึ้งใจครับ นี่เป็นเอนกคุณ ของ gotoknow อีกอย่างหนึ่งที่ผมได้รับ

ต้องขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูล...แน่นอนครับ สำหรับรายชื่อ รายละเอียด ผมต้องตามไปเรียนรู้ถึงที่

ครั้งนี้เป็นสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ

ใน gotoknow ผมก็ได้เห็นอาจารย์-ภาควิชา-คณะ ที่มีกระบวนการเรียนการสอน มีพื้นที่ปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอยู่บ้างนะครับ เช่น อ.ดร.สุรเชต มมส.,อ.ดร.แสวง  มข. และอีกหลายท่านครับ ที่อ่านบันทึกท่านอยู่บ่อยๆ

 

และ อ.ตุ้ม ดร. ทิพวัลย์  ศรีจันทร์ อีกท่านครับ อยากไปนั่งสนทนากับท่านจังครับ

  • แวะมาเรียนรู้ครับ น้องเอก ขอบคุณ
  • ผมเองก็เคยฟังเรื่องนี้จากท่าน รศ.ประภาภัทร ครับ น่าสนใจมาก ๆ
  • การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ผมคิดว่าหัวใจน่าจะอยู่ที่การเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์แท้ครับ
  • บางคนศึกษาและเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่อำนาจภายนอก สร้างอัตตาตัวตน ถักทอรังห่อหุ้มตนเอง แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอำนาจภายในตนเอง สุดท้ายก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง
  • ขอบคุณเรื่องราวดีดี ภาพสวยๆ ถ้าไม่บอกนึกว่าอยู่ชนบทนะครับ

เอ๊ะ เป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์แล้วหรือเปล่าครับ

ไม่ได้ทำจิตตปัญญาศึกษา

ทำแต่จิตตปัญญาเวชศึกษาอ่ะ อิ อิ ผมเขียนไว้ประมาณ 117 ตอนครับ มั่วๆเอาเอง

  • เชื่อในแนวทางนี้เช่นกัน แม้การจัดการเรียนการสอนจริงๆในชั้น ปัญหาอุปสรรคค่อนข้างมาก แต่ก็พยายามอยู่ครับ..
  • ขอบคุณความรู้ดีๆครับ

สวัสดีครับ อ. Panda
ผมขอยืมแผนภาพนี้ไปใช้อ้างอิงบ้างนะครับ

ผมเองก็ถือว่าเป็นมือใหม่นะครับ เพียงเเต่ว่าสนใจและมุ่งเข็มมาศึกษาด้านนี้ ด้วยความคิดที่ว่าประเด้นแบบนี้ละครับที่ critical ดี(ในความคิดผม) และมีพลังต่อการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในอนาคตของสังคมได้ครับ

สวัสดีครับ พี่ถนัด..(พ่อน้องซอมพอ )

ขอเติมข้อเสนอแนะของพ่อน้องซอมพอให้ชัดขึ้นมาอีก จากแนวทางปฏิบัติของ จิตตปัญญาศึกษา ที่มหิดล ดังนี้ครับ โดยจุดมุ่งก็อยู่ที่การพัฒนาคนจากด้านใน

จิตตปัญญาศึกษา เป็นการศึกษาที่เน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาความตระหนักรู้และการเรียนรู้มิติ/โลกด้านใน (อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ ทัศนะ/มุมมองต่อชีวิตและโลก) ของตนเอง ให้คุณค่าในเรื่องการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ ซึ่งหมายถึงการสังเกตอย่างมีสติต่อการเปลี่ยนแปลงภายในของตนเองที่เกิดขึ้นจากการเผชิญกับผู้อื่นและโลกภายนอก ผ่านกระบวนการ/วิธีการและกิจกรรมที่หลากหลาย (การนิ่งสงบอยู่กับตนเอง/การเจริญสติ ภาวนา self and group reflection, Dialogue, deep listening, journaling, กิจกรรมอาสาสมัคร/บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ศิลปะ ดนตรี...ไปจนถึงพิธีกรรมทางศาสนา) มีเป้าหมายก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Fundamental) อย่างลึกซึ้ง (Profound) ทางความคิดและจิตสำนึกใหม่เกี่ยวกับตนเองและโลก ส่งผลต่อการประพฤติปฏิบัติและการดำเนินชีวิตอย่างมีสติและปัญญา มีความรักความเมตตาต่อตนเองและสรรพสิ่งทั้งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ


จิตตปัญญาศึกษาเป็นทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติ ที่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ภายในตน (Self Transformation) ภายในองค์กร (Organizational Transformation) และการเปลี่ยนแปลงภายในสังคม (Social Transformation) โดยที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆ แต่ เป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานอย่างลึกซึ้ง

ขอบคุณครับ อ.Wasawat Deemarn เรียนรู้ร่วมกัน สร้างสรรค์สังคม

อ.จารุวัจน์ شافعى อยู่ในระหว่างดูอยู่ครับ แนวโน้นจะเป็นแบบนั้นนะครับ

 

สวัสดีครับ อ.สกลPhoenix  ครับ

เป็นเรื่องบังเอิญที่เมื่อวานคิดถึงอาจารย์พอดี นั่งอ่านหนังสือ "งาม ดี จริง" จนจบเล่ม  อาจารย์ก็เป็นอีกท่านที่มีโอกาสอยากไปนั่งสนทนาด้วยครับ

ต้องขอบคุณแรงบันดาลใจ รวมไปถึงเรื่องราวในหนังสืองาม ดี จริง ที่ สรพ.ทำขึ้นมา ผมสัมผัสเรื่องราวต่างๆในนั้น "งาม ดี จริง" ครับ

ชื่นชมในปฏิปทา ของครูธนิตย์ สุวรรณเจริญ ครับ..

เพราะผมทราบดีว่าปัจจัยต่างๆในโรงเรียนประถมศึกษานั้น มากมาย เเละหนักมาก จนกระทั่งบีบให้ครูทำตามนโยบายที่มาจากข้างบน ส่วนเด็กจะเป็นอย่างไร ก็ปล่อยตามยถากรรม

จากการที่ผมทำเวที กลุ่มครูระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ที่ผ่านมา ได้สัมผัส รับรู้หลายเรื่อง ทั้งข้อจำกัดและจุดเอื้อ ...และ มีความหวังครับ!!!

ให้กำลังใจครูในความพยายามต่อไปครับ

(บันทึกครูน่าอ่านมากครับ ชอบอ่านบันทึกแนวนี้มากเลย สด ใหม่ และ ได้เห็นกระบวนการเรียนการสอนด้วย) ----งั้นผม ...ขอแสดงความยินดีกับ ว่าที่...สุดคะนึง คนใหม่ด้วยนะครับ

น้องเอก สวัสดีครับ

          ประเด็นนี้เป็นประเด็นใหญ่ & ลุ่มลึกมาก ถ้าจะคุยให้ละเอียดก็คงยาวทีเดียว

          แต่ขอพุ่งไปยังความเชื่อพื้นฐานที่ว่า "ธรรมชาติล้วนไม่หยุดนิ่ง" ซะหน่อยครับ

          แนวคิดนี้น่าคิดทีเดียว และมีหลายแง่มุม...แต่ขอทิ้งข้อมูลไว้เท่านี้ก่อนนะครับ

           1) ที่ว่า "หยุดหรือไม่หยุดนิ่ง" น่าจะเชื่อมโยงกับ สเกลของเวลา (time scale) และลักษณะการรับรู้สิ่งต่างๆ โดยจิตมนุษย์ (หากคิดแค่คน) หรือจิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ (หากมองให้กว้างออกไปกว่าคน)

               หมายความว่า หากมองในช่วงเวลาสั้นๆ ก็จะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ทำให้ดูเหมือน "หยุดนิ่ง" แต่ถ้ามองในช่วงเวลาที่นานเพียงพอ ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนขึ้น

               ตัวอย่างสุดขั้วทางกายภาพก็อย่างเช่น ธรณีวิทยา ซึ่งแผ่นเปลือกโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ (ยกเว้นตอนเกิดแผ่นดินไหว) แต่หากดูในสเกลเวลานานนับสิบ นับร้อยล้านปี ก็จะเห็นสภาพที่แตกต่างกันอย่างน่าทึ่ง 

          ในทางกลับกัน สมมติว่าสิ่งมีชีวิตที่มีอายุขัยสั้นมากๆ เกิดขึ้นมา ระหว่างที่มีชีวิตอยู่นั้น จะรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงโดยรอบ (หรือแม้แต่ในตัวมันเอง) ได้หรือไม่ - อันนี้คิดเล่นๆ นะครับ

           2) ในทางฟิสิกส์ยุคใหม่ (หมายถึง นับตั้งแต่มีการปฏิวัติทางควอนตัมเป็นต้นมา) พบว่า แม้แต่ที่อุณหภูมิ 0 เคลวิน ซึ่งต่ำที่สุดที่เป็นไปได้ในทางทฤษฎี  อะตอมก็ยังไม่หยุดนิ่งครับ! อะตอมจะสั่นไหวน้อยๆ เรียกว่า มีการเคลื่อนไหวที่จุดศูนย์ (zero-point motion) เป็นไปตามหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg's Uncertainty Principle)

              เรื่องนี้ถ้าสนใจรายละเอียด ลองอ่านจากบทความนี้ได้ครับ

                  หลักความไม่แน่นอนทางควอนตัม หมายถึงอะไร (pdf)

 

น้องเอก

ดีมากครับ วันนี้ได้มาอ่านงานของเอก เป็นงานสำคัญมากครับ ตอนนี้พี่มาช่วยดูเรื่องการศึกษาภาพรวมของวิจัยท้องถิ่น เราอยากผลักแนวคิด การวิจัยท้องถิ่นที่สามารถสร้างการเรียนรู้กับนักศึกษา ที่เปลี่ยนแปลงจากการทำวิจัย CB MAG น่าจะเป็นประโยชน์กับงานเอกนะ ให้กำลังใจนะ

ที่ว่า "หยุดหรือไม่หยุดนิ่ง" น่าจะเชื่อมโยงกับ สเกลของเวลา (time scale) และลักษณะการรับรู้สิ่งต่างๆ โดยจิตมนุษย์ (หากคิดแค่คน) หรือจิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ (หากมองให้กว้างออกไปกว่าคน) หมายความว่า หากมองในช่วงเวลาสั้นๆ ก็จะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ทำให้ดูเหมือน "หยุดนิ่ง" แต่ถ้ามองในช่วงเวลาที่นานเพียงพอ ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนขึ้น

สวัสดีครับ พี่ชิว ชอบมากครับ ความเห้นของพี่ชิว ทำให้บันทึกผมได้ต่อยอดมากขึ้น เห็นมุมมองที่ต่างออกไป แบบนี้ทำให้เข้าของบันทึกยิ้มในช่วงเช้า ในวันปีใหม่แบบนี้

มี ดร.อรศรี ท่านมาบรรยายเรื่องโยงใยที่ซ่อนเร้น ไม่กี่วันที่ผ่านมา ท่านพูดถึง "ควอนตัม" ด้วย  ผมเห็นด้วยครับ ภายใต้ความนิ่งเงียบของสิ่งหนึ่ง เเท้จริงคือการเคลื่อนไหว เพียงเเต่เราไม่ได้สนใจตรงนั้น การเกิดของสิ่งหนึ่ง มาจากปัจจัยเเละสาเหตุที่มีอยู่ "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" เรื่องนี้เป็นเรื่องจริว หากมองในระยะยาว

ในทางฟิสิกส์ยุคใหม่ (หมายถึง นับตั้งแต่มีการปฏิวัติทางควอนตัมเป็นต้นมา) พบว่า แม้แต่ที่อุณหภูมิ 0 เคลวิน ซึ่งต่ำที่สุดที่เป็นไปได้ในทางทฤษฎี  อะตอมก็ยังไม่หยุดนิ่งครับ! อะตอมจะสั่นไหวน้อยๆ เรียกว่า มีการเคลื่อนไหวที่จุดศูนย์ (zero-point motion) เป็นไปตามหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก (Heisenberg's Uncertainty Principle)

พอดีเช้านี้ ดู next step ทางเคเบิ้ลว่าด้วยเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเปลือกโลก ดูเเล้วเราก็ได้คำตอบอย่างหนึ่งว่า ทุกอย่างที่เหมือนไม่ข้องเกี่ยวกัน แท้จริงนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไม่น่าเชื่อ

เพื่อให้ได้ถกกับพี่ชิว ให้เจาะลึกมากขึ้น ผมขอไปเก็บผลึกความคิดในการอ่าน หนังสือก่อนนะครับ :)

ขอบคุณครับพี่ครับ

 

สวัสดีครับ พี่ธเนศ [IP: 222.123.155.248]

ผมดีใจครับที่พี่เยี่ยมผม อยู่กันไม่ไกล เเต่ไม่ค่อยได้ไปเยี่ยมหากัน เอาไว้ว่างๆผมจะขอไปเรียนรู้ด้วยนะครับ

ตอนนี้ผมก็ยังอยู่ในช่วงเรียนรู้ครับ กำลัง literature review อยู่ ความก้าวหน้าจะเป็นอย่างไรนั้น

มีเวลาไปนั่งจับเข่าคุยกันที่ เมืองสามน้ำดีกว่าครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท