โรงเรียนแห่งความสุข : The School Of Happiness


ในศตวรรษที่ ๒๑ ครูผู้สอน ไม่ได้เป็นเพียงผู้ถ่ายทอดความรู้จากตำราสู่เด็กเหมือนอย่างที่เป็น บทบาทครูกลายมาเป็น ผู้เอื้อกระบวนการเรียนรู้ให้กับศิษย์ และให้กำลังใจ สร้างแรงบันดาลใจ กล่อมเกลาศิษย์รักข้ามผ่านแต่ละช่วงอย่างอบอุ่น ปลอดภัย

หากมีพื้นที่ และกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นมิตร ผ่อนคลาย ผมคิดว่า ผู้คนที่อยู่ภายใต้กระบวนการเหล่านี้ พร้อมเสมอที่จะเติบโต ผลิบาน

ผู้ประสานงานจากทางเชียงใหม่ เขียนเล่าถึงสรรพคุณของผู้เข้าร่วมกระบวนการที่จะมาถึง ว่าเป็นใคร มาจากไหน และต้องระมัดระวังในเรื่องใด ซึ่งผมคิดว่าทั้งหมดเจ้าบ้านเป็นห่วงผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ว่าจะมีความคาดหวังสูงในการทำงานและจะผิดหวังเอาง่ายๆ

ความคิดของผมเปลี่ยนจากการทำงานครั้งแรกๆมาก และมากจนกระทั่งรู้เห็นเป็นเรื่องธรรมดา ของการ “รับ” หรือ “ไม่รับ” ของผู้เข้าร่วมกระบวนการ ทั้งนี้การตัดสินใจของผู้เข้าร่วมเป็นการตัดสินใจเชิงคุณค่าผ่านประสบการณ์เขา เราเป็นเพียงผู้เชื้อเชิญให้เห็นความสวยงามของความรู้ที่มีอยู่รอบๆตัว เราเป็นผู้ชี้ชวนให้มองเห็นมิตรภาพที่มาคู่กับความรู้ และเมื่อไหร่ก็ตามที่มิตรภาพเหล่านั้นผูกโยงใย เครือข่ายจะมีพลัง เมื่อนั้นเองความรู้เล็กๆที่เป็นเสมือนกิ่งก้านแขนงสายธาร จะหลอมรวมกันเป็น “ธารปัญญา” ที่ทรงพลังและยิ่งใหญ่

ผู้ร่วมเป็นวิทยากรบางท่านเปรยกับผมถึง ความคาดหวังในใจเธอ และความกริ่งเกรงถึงความเพิกเฉยของผู้เข้าร่วมเวทีผ่านคำรำพึง ผมบอกเธอว่า "ไม่มีปัญหาอะไร เพียงแต่เราทำให้ดีที่สุดในบทบาทของวิทยากรที่จะช่วยโอบอุ้มหล่อเลี้ยงเขาในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน" ผมเชื่อว่า มนุษย์ทุกผู้ทุกนามต้องการสิ่งบางสิ่งที่ไม่แตกต่างกันมากนัก หากเราให้เขาได้เพื่อเป็นเชื้อไฟในการจุดประกายสิ่งใหม่ๆ ความท้าทายเล็กที่เขาสามารถก้าวข้ามผ่านทีละขั้นๆนั้น จะทำให้พวกเขาเเละเธอมีความสุขและภาคภูมิใจในตัวเองเสมอ...

หลายครั้งที่เราลืมความภูมิใจเล็กๆของเรา เพราะเราคอยแต่จ้องมองความสำเร็จใหญ่ๆที่นอกตัวเรา ที่สำเร็จโดยผู้อื่น เมื่อหันกลับมามองตัวเอง ก็พบว่า สิ่งที่สำเร็จสิ่งเล็กๆที่เกิดขึ้นกับเรา ทำไมช่างจิ้บจ้อยด้อยค่าเสียจริงๆ ...ความรู้สึกแบบนี้ ลดทอนความศรัทธาในตัวตนของตัวเองโดยสิ้นเชิง

กระบวนการเริ่มต้นของ Workshop : The School Of Happiness จึงใช้โอกาสนี้ค้นหาความสำเร็จเล็กๆแต่ทว่ายิ่งใหญ่ และเราทั้งหมดในวันนี้จะเป็นผู้ชมและชื่นชมสิ่งดีๆเหล่านั้น คุณพนัส ปรีวาสนา รับผิดขอบใน session นี้ เราให้ทุกคนวาดรูป “วีรกรรมทำเพื่อศิษย์” โดยผ่านคำถามว่า “สิ่งเล็กๆวีรกรรมเล็กๆที่พวกเราแสนที่ประทับใจที่ได้ทำกับศิษย์ในฐานะครู เรื่องไหนที่ประทับตราตรึงใจที่สุด” การสื่อสารจากภายในตัวเองสู่ภายนอกโดยผ่านการวาดภาพน่าจะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด แม้เเต่ผู้ที่ไม่มีความสามารถในการวาด แต่การขีดเขียนสัญลักษณ์ลงไปในกระดาษที่ว่างเปล่าก็สามารถทำได้ และสื่อสารเรื่องราวเหล่านั้นผ่านสัญลักษณ์เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นการสื่อความหมายที่ง่ายและทรงพลัง เขาเเละเธอมีความสุขในการยึดโยงประสบการณ์ผ่านสิ่งแทนคำพูดนับพันคำ รอยยิ้มและเสียงหัวเราะของผู้เข้าร่วมเวทีจึงเป็นบรรยากาศที่เราสามารถประเมินได้คร่าวๆว่า เราทำได้สำเร็จแล้วในการเปิดใจยามเช้า “รู้จักฉัน และรู้จักเธอ”  


ช่วงรอยต่อของเวลา...

ปิดตาลงเบาๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อยู่ในท่าที่สบายที่สุด แสงไฟในห้องโถงใหญ่ริบหรี่ลงอย่างละมุน เสียงดนตรีบรรเลงเบาๆ ดังขึ้นเสียดระหว่างความเงียบงัน เป็นเสียงดนตรีบรรเลงที่ไพเราะที่สุด ผมพูดคุยเบาๆในความมืดสลัว ชวนให้ทุกคนโลดแล่นอยู่กับจินตนาการที่งดงาม สมมุติว่าตัวเองเป็นเด็กตัวน้อยๆ ที่กำลังวิ่งเล่น เริงร่า ซุกซนกับสวนสวย ดอกไม้งาม บรรยากาศที่ดูจะผ่อนคลายที่สุด ทุกอย่าง disconnection & reconnection ใหม่ เริ่มจากเวลานี้ กระบวนการ Meditation ง่ายๆที่นำไปสู่บทเรียนใหม่..ทุกคนพร้อมแล้ว 

ผมนำเสนอสไลด์แรงบันดาลใจที่ผมประทับใจ ในเรื่องราวของ “สมอง” ความสำคัญของสมองเป็นความมหัศจรรย์ของชีวิต น้อยคนนักที่จะเรียนรู้สมองของเราอย่างถ่องแท้ Workshop ที่มีคุณครูมารวมตัวกันมากมายขนาดนี้ หากเราเข้าใจเกี่ยวกับ “สมอง” ทั้งในแง่มุมของ Anatomy และ การทำงานที่สัมพันธ์กับปัจจัยหลายอย่างที่สร้างได้ จากครูและพ่อแม่...สู่โจทย์ใหม่ที่ท้าทายคุณภาพชีวิตของสังคมไทย คือ BBL : Brain Based Learning 

ช่วงที่มีสีสันและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของครูเพื่อศิษย์ ครูพิศมัย เทวาพิทักษ์ ครูแห่งโรงเรียนบ้านร้องขี้เหล็ก อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ผ่านการเสวนาหน้าห้อง เป็นการพูดคุย คุ้ยพลังแรงบันดาลใจ “ครูเพื่อศิษย์”  ผมเชื่อว่ากระบวนการพูดคุยและแลกเปลี่ยนกับครูพิสมัยในเวทีนี้ จุดฟืนให้ไฟแห่งอุดมการณ์ของทุกคนให้ลุกโชน ...ผมก็ได้รับพลังเหล่านั้นพร้อมๆกับผู้เข้าร่วม Workshop ด้วยเช่นกัน

ในศตวรรษที่ ๒๑ ครูผู้สอน ไม่ได้เป็นเพียงผู้ถ่ายทอดความรู้จากตำราสู่เด็กเหมือนอย่างที่เป็น บทบาทครูกลายมาเป็น ผู้เอื้อกระบวนการเรียนรู้ให้กับศิษย์ และให้กำลังใจ สร้างแรงบันดาลใจ กล่อมเกลาศิษย์รักข้ามผ่านแต่ละช่วงอย่างอบอุ่น ปลอดภัย  

ผู้เข้าร่วม Workshop ทั้งหมดจับจองที่นั่งได้ตามอัธยาศัย สองชั่วโมงครึ่งจากนี้ไป เราใช้ภาพยนตร์คัดสรร Coach Cater มาเปิดให้ชม : Educator and inspiation for the film Coach Cater  

Carter gained notoriety in 1999 when coaching the Richmond High School Oilers. He canceled all of his undefeated basketball team's games and practices for eight days -- forfeiting two games (one non-conference game and one alumni game) -- because fifteen team members had unacceptably poor academic performance. This event was known as "the lockout", and his actions were criticized by the school, players' parents, the community, the schools that his team was scheduled to play, and media commentators.

ห้วงของการชมภาพยนตร์ได้จัดเวลาให้เต็มที่ ไม่ตัดทอนเรื่องราวลงแม้แต่ฉากเดียว เพราะเราเชื่อว่าภาพยนตร์ถูกร้อยเรื่องมาเป็นอย่างดี มีจังหวะบีบ คลาย ที่สมดุล และเมื่อชมภาพยนตร์เรื่องนี้จบ..บทเรียนจะถูกสรุปอยู่ผ่านการสังเคราะห์ของแต่ละท่าน ถ่ายทอดออกมา แลกเปลี่ยนกัน ไม่สรุป ไม่ชี้ถูกผิด เพราะเราเชื่อว่าหมุดหมายของแต่ละคนแตกต่างกัน พลังจากภาพยนตร์คัดสรร จะมาเติมเต็มสิ่งที่เขาศรัทธา และพวกเขาจะก้าวต่อไปอย่างมั่นใจและมีความสุข

เวลา ๑ วัน...สำหรับ workshop ที่ต้องการกระบวนการที่ประณีต ช่วงเวลาอาจจะน้อยเมื่อเทียบกับกระบวนการที่ออกแบบมาอย่างสอดรับในแต่ละช่วง วงสนทนาถูกเบียดเวลาเหลือไม่มาก รวมไปถึงการถ่ายทอดเรื่องราวจากตัวเองสู่สาธารณะเป็นไปอย่างจำกัดเมื่อมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้มากำหนด...

ทุกอย่างเป็นไปตามวาระที่ถูกจัดมาแล้วเป็นเบื้องต้น

ทีมงานวิทยากรมีความสุขและมีพลังมากขึ้นทุกครั้งเมื่อสิ้นสุดกระบวนการ เเละเมื่อเห็นการเติบโตผ่าน “ต้นไม้แห่งความคาดหวัง”

นั่น!! ดูเหมือนจะเป็นดัชนีชี้วัดที่เป็นนามธรรมเพียงไม่กี่อย่างที่พวกเราต่างได้อ่านและมีความสุขกับสิ่งที่ได้รับผ่านกระบวนการทั้งหมดภายใน ๑ วัน ว่าเขารู้สึกอย่างไร เขาได้อะไรกลับไปบ้าง...แน่นอนว่ามากน้อยต่างกัน แต่โดยภาพรวมถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นอีกครั้งก่อนที่ครูทั้งหมดจะเดินทางกลับไปใช้ชีวิต “ครูมืออาชีพ” ในชีวิตจริงที่เขาต้องผจญกับเรื่องราวมากมาย

ขอบคุณผู้เข้าร่วมกระบวนการทั้งหมด ขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ขอบคุณทีมงานของผมที่ต่างก็เติบโต เติมเต็มกันและกัน 

ขอบคุณโอกาสดีๆที่ผมได้รับเสมอมาจากกัลยาณมิตรครับ

 


 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

๒๖ เมย.๕๔

หมายเลขบันทึก: 437060เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2011 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

Workshop : The School of Happiness @Chiang Mai สิ้นสุด Session ลงอย่างน่าประทับใจ ผมขอขอบคุณ รศ.ดร.ชาตรี (รองคณบดี) พร้อมกับทีมงานที่สุดยอดของ มรภ.เชียงใหม่ ทุกท่านถือว่าเป็นกัลยาณมิตรที่น่ารักมากๆครับ ขอบคุณสำหรับทุกอย่างที่เชียงใหม่ครับ 

ถึงแม้ว่าความกริ่งเกรงในความคาดหวังที่เราทีมงานมีความกังวล เนื่องในมีปัจจัยรอบ ๆ ตัวที่กล่อมเกลาบุคคลเหล่านั้นให้มีเกราะกำบังใจที่อยู่ลึกสุดใจที่ต้องทำให้กระบวนการในการค้นหาใจแท้ ๆ ของเรายากขึ้น แต่นั่นก็ทำให้มี "คุณค่า" มากขึ้นด้วย หากเราสามารถทำสำเร็จในสิ่งที่เราอยากให้เขาได้สัมผัส

ไม่น่าเชื่อว่า กลุ่มที่เข้ารับการอบรมกระบวนการจากทีมวิทยากรนับตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม จนกระทั่งมาถึง ปลายเดือนเมษายนนั้น ค่อย ๆ ขยับความเป็นตัวตนที่สูงขึ้นในทุก ๆ กลุ่ม

ธรรมมะคงจัดสรร ... แบบฝึกหัดกระบวนการให้กับทีมวิทยากรและทีมงาน "โรงเรียนแห่งความสุข" เป็นแน่แท้

วิทยากรทุกท่านสุดยอดมากที่ค้นหาวิธีการการหยั่งราก หยั่งใจ และปลุกเร้าพลังให้กับคนทุก ๆ คนที่อยู่ภายในเวทีการเรียนรู้นี้

คำขอบคุณดูน้อยเกินไปครับ

จาก ฤดูหนาว สู่ ฤดูร้อน

ความเป็นกัลยาณมิตรของเราไม่เคยจืดจาง หรือ จางหายไป กลับแน่นแฟ้นขึ้นอย่างน่ามหัศจรรย์

ถึงแม้ว่า ทีมงานจะกลั่นแกล้งวิทยากรทุกอย่างก็ตาม อิ อิ

ขอบคุณมากครับ

 

ผู้ประสานงานโครงการ

เชียงใหม่

๒๖ เม.ย.๕๔

 

ป.ล. ขอแก้ไขตำแหน่งรองคณบดี เป็น ผศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล ครับ (ส่วนตำแหน่ง รศ. เร็ว ๆ นี้แน่นอน ทีมงานทุกคนจะช่วยท่านเต็มที่)

ผมให้ ตำแหน่ง รศ.ไปก่อนเเล้วเหรอครับ ..ต้องขออภัยครับ :)

ขอบคุณมากครับ สำหรับทีมงานที่น่ารัก (ทุกคน) ไปครั้งนี้ สนิทเเนบเเน่นกันมากขึ้น ทำงานมีความสุขเเละได้ผลตามที่เราต้องการ...

ก็อยากมีโอกาสอีกหลายๆครั้งครับ เพื่อได้ช่วยกันทำเวทีที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกันนี้ครับ

...

 

พวกเราดีใจที่ได้ร่วมงานกับวิทยากรที่น่ารักทุกท่านเช่นกันค่ะ..หวังว่าคงได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์อีกในภารกิจครั้งต่อไปนะคะ

ผมพยายามเรียนรู้ไปครับ สุดท้ายเเล้วสิ่งที่ยากก็คือ ปลดล็อกบางอย่างที่ใจของผมเองนี่ละครับ...

เรื่อง หนังสือ นั้น หากเราสามารถรวบรวมได้ รวมไปถึง อ.วัส สามารถจัดสรรงบประมาณได้ เราก็เก็บจาก Blog เเละ สรุปสุดท้ายที่ส่ง email เพื่อให้ได้รวมในเบื้องต้น (ตามพันธะสัญญา) หากเสร็จสิ้น เราคงได้หนังสือ สวยๆ ๑ เล่ม(ที่มีคุณค่า) 

ผมขอลงเเรงช่วยครับ

น้องกบ..kero-jung

ขอบคุณน้องกบมากๆครับ ทั้งน้องกบเเละน้องแหม่ม ทำหน้าที่ในการดูเเล ไม่ขาดตกบกพร่องทำให้ผมเเละ อ.พนัส เกรงใจมาก 

พวกเรามีความสุขมาก เเละ ประทับใจมากๆครับผม

เจอกันอีกครั้งในภารกิจครั้งใหม่นะครับ...

เรื่องงบประมาณกบจะช่วยดูให้ค่ะ คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับงานที่มีคุณค่า และเป็นประโยชน์แก่องค์กร ไม่ต้องห่วงค่ะ อ.เอก ส่งต้นฉบับมาให้กบได้เลยค่ะ ยินดีรับดำเนินการให้ค่ะ

น้องkero-jung

 

ผมจะเจอ อ.พนัส ต้นเดือน พค.นี้ครับ มี workshop ร่วมกัน จะหาโอกาสหารือประเด็นนี้ด้วยครับ ส่วนผมจะช่วยในการเก็บประเด็นที่พวกเราเขียน Blog สรุปประเด็นเข้าด้วยกัน...น่าจะได้หนังสือสวยๆดีๆมีคุณค่า ๑ เล่ม สมเจตนาผู้จัดเเละวิทยากร

ขอบคุณมากๆครับผม

สุภาวดี แสงทองตระกูล

ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเขียนอย่างไรดี....

แต่หลังจากที่เพื่อนในกลุ่มได้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้แล้ว เช้าวันจันทร์เรามีโอกาสได้พูดคุยกันบ้างเป็นกลุ่มเล็กๆ

ทุกคนรู้สึก ว่าเป็นการอบรมที่แปลกใหม่ และทุกคนจะได้สิ่งดีๆกลับมาในแง่มุมของใครของมัน

เท่าที่ถามทุกคนประทับใจไม่มีใครติดลบเลยคะ

แหม่ม.สุภาวดี

สวัสดีครับ ครูแหม่ม สุภาวดี แสงทองตระกูล

ขอบคุณครับที่เรา หากันจนเจอนะครับ ...ต้องขอบคุณธรรมจัดสรรที่ทำให้ผมได้มีโอกาสเจอกับกัลยาณมิตรที่เป็นคณาจารย์โปลิเทคนิคลานนา

หากเราได้ เพราะใจเปิดรับ นั่นถือว่าเป็นกำไร

หากเราไม่ได้หรือเพราะเหตุใด อาจต้องกลับไปใคร่ครวญดู อาจมีปัญหาตรงกระบวนการ หรือการรับสาร หรือไม่ก็ทั้งสองส่วน

เรียนรู้ร่วมกันไป ด้วยหัวใจที่ทรงพลังครับ :)

แวะมารับฟังเรื่องราว และเเง่คิดดีๆด้วยครับคุณจตุพร

ขอบคุณครับ คุณ Peter p  ผมอ่านบันทึกของคุณ peter เเล้วรู้สึกมีความสุข เเละได้เรียนรู้ตัวตนของกันเเละกันไปด้วย

ยินดีมากนะครับที่เราต่างมีโอกาสได้พบเจอในบรรยากาศของการเรียนรู้ที่ Gotoknow

รอให้บันทึกนี้เปิดตัวครับ เพราะเชื่อว่าจะเป็นภาพสังเคราะห์โดยรวม และเห็นภาพรวมกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ

สำหรับผมจะต่อยอดบันทึกลงรายละเอียดของเรื่องเล่าอันเป็น "วีรกรรมทำเพื่อศิษย์" และภาพสะท้อนการเรียนรู้ผ่านภาพยนตร์นะครับ

ชอบหลายๆคำของ คุณเอก- วิทยากรหลัก

เช่น “ต้นไม้แห่งความคาดหวัง”

      “ธารปัญญา”

     “ครูมืออาชีพ”

    "วีรกรรมทำเพื่อศิษย์”

แบบนี้ครูทุกคนคงมีความสุขที่ไปร่วมกระบวนการนี้

อาจารย์คะ!

เป็นการสัมมนาที่สุดยอดมากๆๆคะ ไม่เคยเจอรูปแบบนี้มาก่อนเลย ทั้งได้ความรู้แนวคิดที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ซึ่งเป็นกระบวนการที่ถ่ายทอดได้รู้สึกจริง ไม่ทำให้ผู้เข้าร่วมเบื่อหน่ายกับการสัมมนา ทุกๆๆคนตอบเป็นเสียงเดวกันว่าสุดยอดจริงๆๆคะทีมงานวิทยากรที่จัดมาให้ และขอขอบคุณท่านวิทยากรทุกท่านที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา รู้สึกประทับใจมากๆๆคะ

คุณ แผ่นดิน ครับ

ต้องขอบคุณมากครับ ที่ช่วยเติมเต็ม เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานเล็กๆ ที่ทรงพลังอย่างมาก อย่างที่ผมบอกครับว่า คนทำงานไม่ต้องการอะไรมากไปกว่า รักงานที่ทำ ให้เกียรติงานที่ทำ เสมือนทำด้วยหัวใจ คุณพนัสมีสิ่งเหล่านี้ เเละมากกว่าสิ่งอื่นใดคือ "รักมนุษย์" โดยไม่มีเงื่อนไข 

ผมได้เรียนรู้จากคุณพนัสมากมายครับ รวมไปถึงการ รับส่ง ในเวทีไม่ว่าจะมาแบบไหน ก็สามารถรับเเละส่งต่อไปได้อย่างสวยงาม ทั้งลูกตบเเละลูกอันเดอร์ :) ส่วน งานเขียนก็สวยงามมากเป็นงานถอดบทเรียนที่มีชั้นเชิงวรรณกรรมที่มีชีวิต ผมชอบครับ

เจอกันที่อุดรธานีอีกไม่กี่วันนะครับ ...

เชื่อมั่นเเละศรัทธาครับ

 

คุณแผ่นดิน

^ ^ ลืมไปอีกนิดครับ มี "ลูกหยอด" ด้วย (นอกจากลูกตบเเละอันเดอร์)

ขอบคุณพี่ ครู ป. ๑ มากๆนะครับ

คำเหล่านั้น กลั่นมาจากกระบวนการ หากรู้สึกอินกับเรื่องราว คำก็จะลึกไปเรื่อยๆครับ 55+ จริงๆในวิชาชีพครูนั้นเป็นวิชาชีพที่ยิ่งใหญ่มาก ทำกระบวนการกับครู ใช้ความประณีตสูงครับ

 

 

คุณครู ที่ใช้ชื่อว่า "ป.บัณฑิต รุ่น 53 [IP: 180.183.146.123]"

ขอบคุณมากๆครับ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตระหว่างกันเเละกัน เราได้ใช้เวลาที่งดงามร่วมกันในครั้งหนึ่ง

อยากให้จดจำไว้ครับ

ใครมาเล่นวอลเลย์บอลแถวนี้กันครับ

"ลูกหยอด ลูกตบ ลูกอันเดอร์ และลูกเหน็บ (หนาว)"

อิ อิ

แจ้งข่าว เลขาโครงการ "โรงเรียนแห่งความสุข"

เขียนบันทึก แนวทางการพัฒนาโรงเรียนแห่งความสุข (1) : จุดเริ่มต้นของคนข้างหลัง

เรียนเชิญวิทยากรหลักไปเยี่ยมเยือนครับ ;)...

ผมเป็นคนนึงที่เรียนรู้อะไรไม่มาก เมื่อได้เห็นการส่งเสริมให้ได้เรียนรู้ก็ดีใจไปด้วย ชื่นชมจริงๆครับ

ติดตามเสมอมา

สักวันคงได้เจอคุณที่ใหนสักที่

............................................

ในศตวรรษที่ ๒๑ ครูผู้สอน ไม่ได้เป็นเพียงผู้ถ่ายทอดความรู้จากตำราสู่เด็กเหมือนอย่างที่เป็น บทบาทครูกลายมาเป็น ผู้เอื้อกระบวนการเรียนรู้ให้กับศิษย์ และให้กำลังใจ สร้างแรงบันดาลใจ กล่อมเกลาศิษย์รักข้ามผ่านแต่ละช่วงอย่างอบอุ่น ปลอดภัย

......................................................................

คงต้องช่วยกันละนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท